การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา


การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

ความจำเป็นของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

                โลกยุคปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ประเทศก็ต้องเรียนรู้ปรับตัวกับการเปลี่ยนเปลงอยู่ตลอดเวลา และเพื่อทำให้ศักยภาพที่อยู่ในตัวคนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ให้พร้อมเผชิญกับความท้าทาย 

การประกันคุณภาพภายในตามสาระบัญญัติของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ

                การประกันคุณภาพภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา มีความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษาไทย ได้มีสาระบัญญัติใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ  หมวด 6 มาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา

สภาพปัจจุบันของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

                หน่วยงานต่าง ๆ  มีความเข้าใจและมีความตื่นตัวที่จะดำเนินการประกันคุณภาพภายในมากขึ้น หน่วยงานส่วนราชการ หน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานที่กำกับดูแลในพื้นที่หลายแห่งได้ดำเนินการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา จัดทำคู่มือพัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีความรู้ พัฒนาให้สถานศึกษามีกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา

การนำพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติไปปฏิบัติ

1.  สถานศึกษาจะต้องดำเนินการประกันคุณภาพภายในประจำทุกปี

2.  การประกันคุณภาพภายในส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา ต้องดำเนินการต่อเนื่อง

3.  การดำเนินการประกันคุณภาพภายในทุกขั้นตอน เน้นการประสานงาน การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย

4.  สถานศึกษาควรจัดทำรายงานผลการประกันคุณภาพภาพในให้เรียบร้อยก่อนเริ่มปีการศึกษาใหม่

แนวคิดเกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพทางการศึกษา

1.  การควบคุมคุณภาพ เป็นการกำหนดมาตรฐานคุณภาพ การพัฒนาสถานศึกษาให้เข้าสู่มาตรฐาน

2.  การตรวจสอบคุณภาพ เป็นการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงาน

3.  การประเมินคุณภาพ เป็นการประเมินคุณภาพของสถานศึกษา โดยหน่วยงานในเขตพื้นที่

หลักการสำคัญของการประกันคุณภาพภายใน           

1.  จุดมุ่งหมายของการประกันคุณภาพภายใน  คือ การที่สถานศึกษาร่วมกันพัฒนาปรับปรุงคุณภาพ ให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา

2.  ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ต้องทำให้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการและการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา

3.  การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู – อาจารย์ และบุคลากรอื่น ๆ ในสถานศึกษา

การดำเนินการประกันคุณภาพภายใน

1.  การวางแผน

2.  การปฏิบัติตามแผน

3.  การตรวจสอบประเมินผล

4.  การนำผลการประเมินมาปรับปรุง

การจัดทำรายงานประเมินตนเองหรือรายงานประจำปี

                สถานศึกษาดำเนินการตามแผน มีการประเมินผลภายในเสร็จเรียบร้อย จัดทำรายงานการประเมินตนเองหรือรายงานประจำปี เพื่อเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มได้

บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง

ผู้บริหาร และครู ในสถานศึกษาส่วนใหญ่ มักจัดการศึกษาโดยไม่เน้นการประกันคุณภาพภายใน

อาจจะจัดการเรียนการสอนโดยไม่ค่อยมีการวางแผน  รวมทั้งบุคลากรและองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมเท่าที่ควร

ยุทธศาสตร์สู่ความสำเร็จ

  1. ยุทธศาสตร์ภาวะผู้นำของผู้บริหาร
  2. ยุทธศาสตร์การทำงานเป็นทีม
  3. ยุทธศาสตร์การสร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจ
  4. ยุทธศาสตร์การกำหนดผู้รับผิดชอบ
  5. ยุทธศาสตร์การวางแผนและการกำกับดูแล
  6. ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมและการปรึกษาหารือกับผู้เกี่ยวข้อง
คำสำคัญ (Tags): #พรเจริญ4
หมายเลขบันทึก: 323116เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2009 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้รับความรู้......ดีมาก...พี่สาว ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท