การวิจัยในชั้นเรียน( Action Research:5)


การวิจัยในชั้นเรียน :แนวทางสู่การเป็นครูมืออาชีพ ผู้เขียนได้กำหนดหัวข้อในการนำเสนอดังต่อไปนี้ 1. การวิเคราะห์ปัญหาและการวางแผนแก้ไข ( Plan ) 2. การจัดกิจกรรมแก้ไข / การพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน ( Act ) 3. การสังเกต ( Observe ) 4. การสะท้อนผล ( Reflect )
การวิจัยในชั้นเรียน  :  แนวทางสู่การเป็นครูมืออาชีพ ผู้เขียนได้กำหนดหัวข้อในการนำเสนอ ดังต่อไปนี้
 1. การวิเคราะห์ปัญหาและการวางแผนแก้ไข (Plan)
   1.1 การตั้งปัญหา การวิเคราะห์ปัญหาในการวิจัยในชั้นเรียน
      - ตัวอย่างการตั้งชื่อปัญหาการวิจัยในชั้นเรียน
   1.2 การศึกษาทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
     - ตัวอย่างการเขียนทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
 2. การจัดกิจกรรมแก้ไข / การพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน (Act)
 3. การสังเกต (Observe)
  3.1

          การเก็บรวบรวมข้อมูล
  3.2          การวิเคราะห์ผล
 4. การสะท้อนผล (Reflect)
  4.1  สรุปผล การอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ
  4.2  การเขียนรายงานผลการวิจัย
       1. การเขียนรายงานผลการวิจัยแบบเป็นทางการ
       2. การเขียนรายงานผลการวิจัยแบบไม่เป็นทางการ
 
 1. การวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนแก้ไข (Plan) ในการ  ดำเนินการวิเคราะห์ปัญหาและการวางแผนแก้ไข ผู้เขียนได้ กำหนดหัวข้อไว้ดังนี้
  1.1          การตั้งปัญหา การวิเคราะห์ปัญหาในการวิจัยในชั้นเรียน
การตั้งปัญหาการวิจัยเป็นเรื่องสำคัญ  ครูผู้ทำวิจัยอาจจดหรือบันทึกปัญหาที่ต้องการทำไว้แล้วเลือกปัญหาที่คิดว่าสำคัญที่สุดและเป็นปัญหาที่รีบด่วน  จำเป็นต้องแก้ไข  การตั้งปัญหาการวิจัยต้องพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้
 - ไม่ควรเสียเวลาขบคิดปัญหาที่ไม่สามารถดำเนินการแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบงานทั้งหมดของโรงเรียน เป็นต้น
 - ควรเลือกเรื่องที่มีขนาดเล็ก ทั้งนี้เพราะว่าสามารถดำเนินการได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งจะทำให้มีกำลังใจในการทำวิจัยในครั้งต่อไปและสามารถประมาณระยะเวลาในการทำวิจัยในชั้นเรียนได้
 - ควรเลือกเรื่องที่มีประโยชน์แก่นักเรียน ตนเองและบุคคลที่เกี่ยวข้องในงานของโรงเรียน เป็นงานที่ต้องการจะทำจริงๆ มิฉะนั้นเมื่อพบกับปัญหาเข้าจริงๆแล้วจะทำให้แรงจูงใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้ทำวิจัยหมดไปด้วย
 ตัวอย่างการตั้งชื่อปัญหาการวิจัยในชั้นเรียน
 การศึกษาการรับรู้คุณค่าของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน ชั้นประถมศึกษา(กาญจนา วัฒายุ 2544 : 32)
 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนวิชาการอ่านภาษาอังกฤษด้วยวิธีสอนแบบปกติกับโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(กาญจนา วัฒายุ 2544 : 32 )
 
  1.2          การศึกษาทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
 การศึกษาทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีความสำคัญ แก่ครูผู้ทำวิจัยเป็นอย่างมาก ถ้าครูผู้ทำวิจัยได้ศึกษาทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตนจะทำวิจัยเป็นอย่างดีแล้วจะเป็นส่วนสนับสนุนให้งานวิจัยในชั้นเรียนมีคุณค่าและมีมาตรฐานทางวิชาการ สามารถอ้างอิงเหตุผลทางวิชาการได้ นอกจากนี้ถ้าครูผู้สอนพบปัญหาในการวิจัยของตนก็สามารถย้อนกลับมาดูทฤษฎีและเอกสารว่าสนับสนุนงานวิจัยของตนหรือไม่ นอกจากนี้สามารถประยุกต์ทฤษฎีไปใช้ในชั้นเรียนของตนได้
 
 ตัวอย่างการเขียนทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
 ชื่องานวิจัย : การศึกษาผลการสอนซ่อมเสริมเพื่อปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษก่อนเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองรีประชานิมิต จังหวัดกาญจนบุรี
 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง :
 - การสอนซ่อมเสริม
 - ความหมายของการสอนซ่อมเสริม
 - สาเหตุที่ต้องมีการสอนซ่อมเสริม
 - หลักของการสอนซ่อมเสริม
 - ทฤษฎีที่ใช้ในการสอนซ่อมเสริม
 - ประเภทของการสอนซ่อมเสริม
 - วิธีการสอนซ่อมเสริม
 - รูปแบบการสอนซ่อมเสริม
 - ลักษณะของนักเรียนที่ควรได้รับการสอนซ่อมเสริม
 - คุณสมบัติของครูที่สอนซ่อมเสริม
 - การประเมินผลการสอนซ่อมเสริม
 - ปัญหาของการสอนซ่อมเสริม
 -  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนซ่อมเสริม
 
 2. การจัดกิจกรรมแก้ไข / การพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน (Act)

  การจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหาและพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน(Act ) ครูผู้สอนต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ การวางแผนที่ดีเหมือนสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง  ครูผู้สอนจะต้องเตรียมการสอน เตรียมกิจกรรม เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียนให้พร้อม เช่น เตรียมแบบทดสอบก่อนการเรียน( Pre-test)ว่าควรใช้ในช่วงใด แผนการสอนต้องมีการปรับปรุงหรือไม่ มีการใช้สื่อและนวัตกรรมที่ใช้ในการวิจัยอย่างไร

 ครั้งต่อไปเป็นเรื่อง...การสังเกต (Observe)ท่านใดมีคำถามและต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้...เขียนมาเลยครับผม...

 

 

คำสำคัญ (Tags): #การวิจัย
หมายเลขบันทึก: 32303เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2006 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2013 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งปัญหาการวิจัยค่ะ

การวิจัยในชั้นเรียนจัดอยู่ในสาขาศึกษาศาสตร์  และใช้วิธีวิจัยแบบคุณลักษณะ

      การวิจัยในสาขาการศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ได้แก่

 (1) การวิจัยในชั้นเรียน  (2) การวิจัยในโรงเรียน  (3) การวิจัยการเรียนการสอนและ  (4) การวิจัยทางการศึกษา

การเลือกปัญหา....                                                                                                        1)  เป็นปัญหาเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบ 2)  เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข    3)  เป็นปัญหาใหม่ที่ยังไม่มีใครศึกษามาก่อน 4)  เป็นปัญหาที่ครูผู้วิจัย  มีความสนใจอย่างจริงจัง  เหมาะกับความสามารถและมองเห็นลู่ทางพอที่จะทำการวิจัยได้

การเลือกแนวทางแก้ปัญหา

 เป็นวิธีที่น่าจะแก้ปัญหาได้

                                   
มีทรัพยากรพอที่จะดำเนินการได้
เป็นวิธีที่ทำได้  สามารถแก้ปัญหาได้ทันเวลา

ครูสนใจ..กันมาก...และมักอยากดูตัวอย่างสำเร็จรูปหลายๆตัวอย่าง..เพื่อให้เกิดความคิดนำไปประยุกตืใช้ให้เหมาะกับบริบทของตนเอง...ดีครับความรู้ที่ให้

ขอโทษ รีบพิมพ์ไปหน่อย ประยุกต์ ไม่ใช่ประยุกตื (ทัณฑฆาตกับรูปสระอือมันอยู่ตำแหน่งล่าง-บน ในแป้นพิมพ์จุดใกล้กันครับ) ไม่ทันตรวจทานเผลอไปกดบันทึก)

คนเก่งทำอะไรก็เป็นเรื่องง่ายๆดีเนอะ

อยากทราบทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวกับปัญหาของการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูว่าประกอบด้วยด้านอะไรบ้าง ขอบคุณล่วงหน้า ถ้ากรุณาตอบ

ขอบคุณทุกๆๆท่านครับ คุณ nakorn ตามไปอ่านตอนปัญหาเกี่ยวกับการทำวิจัยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท