ชีอปปิ้งมากเกินไประวังจะเป็นโรคนิ้วล๊อคนะค่ะ


ส่วนโรคนิ้วล็อค เป็นความผิดปกติของนิ้วที่พบบ่อยที่สุด ในบรรดาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับมือ โรคนี้พบในผู้หญิงร้อยละ 80 โดยพบในผู้หญิงวัยกลางคนมากที่สุด กลุ่มอายุ 50-60 ปี

ชีอปปิ้งมากเกินไประวังจะเป็นโรคนิ้วล๊อคนะค่ะ
สำหรับคนที่ไม่เคยเป็น ฟังดูอาจจะงง ๆ สักหน่อยกับคำว่า นิ้วล๊อค แต่ถ้าคุณเคยเป็นมาแล้วล่ะก็ จะรู้ซึ้งทีเดียวว่า มันทรมาณแค่ไหน


มีคำเตือนมาจากผู้เชี่ยวชาญว่า สาว ๆ วัยกลางคน อย่าหิ้วของหนัก อย่าหักโหมทำงานบ้าน รวมทั้งกระหน่ำตีกลอ์ฟ เพราะมันอาจจะทำให้คุณเป็นโรคเกี่ยวกับมือชาและนิ้วล็อคได้ ซึ่งโรคมือชานั้น เกิดจากเส้นประสาท มีเดียน บริเวณอุโมงค์มือหรือที่หมอดูเรียกว่า บริเวณเส้นชีวิต ถูกปลอกเส้นประสาทรัด หรือเส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับทำให้มือชา นิ้วมือเหยียดงอไม่ได้ ส่วนการรักษาทำได้ตั้งแต่การเฝ้าดู รับประทานยา ทำกายภาพบำบัด ไปจนถึงผ่าตัด แล้วแต่ความรุนแรงของโรค

ส่วนโรคนิ้วล็อค เป็นความผิดปกติของนิ้วที่พบบ่อยที่สุด ในบรรดาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับมือ โรคนี้พบในผู้หญิงร้อยละ 80 โดยพบในผู้หญิงวัยกลางคนมากที่สุด กลุ่มอายุ 50-60 ปี ส่วนผู้ชายพบร้อยละ 20 ในกลุ่มอายุ 40-70 ปี สาเหตุที่โรคนี้เกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สันนิษฐานว่ามาจากการที่ผู้หญิงใช้มือทำงานซ้ำ ๆ มากกว่าผู้ชาย ขณะที่ผู้ชายใช้มือทำงานออกแรง แต่ไม่ซ้ำซาก เกิดจากการที่เอ็นนิ้วมือ เสียดสีกับปลอกรัดเอ็น ทำให้เกิดการหนาตัวขึ้นของเส้นเอ็น หรือการหนาตัวขึ้นของปลอกรัดเอ็น เกิดการเสียสัดส่วนของอุโมงค์เส้นประสาท ทำให้เอ็นไม่สามารถรอดผ่านได้ ส่งผลให้เกิดการฝืด การตึง สะดุด จนถึงนิ้วล็อคในที่สุด

นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น เรียกได้ว่า ถ้าต้องหิ้วถุงหนัก ๆ ผิดผ้า ซักผ้า กวาดบ้าน ถูบ้าน สับหมูสับไก่ ใช้กรรไกรตัดผ้า หากพบอาการสะดุด นิ้วงอไม่ได้ เหยียดออกไม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์แต่เนิ่น ๆ เพราะปัจจุบัน มีวิธีการรักษาด้วยการรับประทานยา กายภาพบำบัด รวมทั้งการผ่าตัดสำหรับคนที่ไม่เคยเป็น ฟังดูอาจจะงง ๆ สักหน่อยกับคำว่า นิ้วล๊อค แต่ถ้าคุณเคยเป็นมาแล้วล่ะก็ จะรู้ซึ้งทีเดียวว่า มันทรมาณแค่ไหน


มีคำเตือนมาจากผู้เชี่ยวชาญว่า สาว ๆ วัยกลางคน อย่าหิ้วของหนัก อย่าหักโหมทำงานบ้าน รวมทั้งกระหน่ำตีกลอ์ฟ เพราะมันอาจจะทำให้คุณเป็นโรคเกี่ยวกับมือชาและนิ้วล็อคได้ ซึ่งโรคมือชานั้น เกิดจากเส้นประสาท มีเดียน บริเวณอุโมงค์มือหรือที่หมอดูเรียกว่า บริเวณเส้นชีวิต ถูกปลอกเส้นประสาทรัด หรือเส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับทำให้มือชา นิ้วมือเหยียดงอไม่ได้ ส่วนการรักษาทำได้ตั้งแต่การเฝ้าดู รับประทานยา ทำกายภาพบำบัด ไปจนถึงผ่าตัด แล้วแต่ความรุนแรงของโรค

ส่วนโรคนิ้วล็อค เป็นความผิดปกติของนิ้วที่พบบ่อยที่สุด ในบรรดาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับมือ โรคนี้พบในผู้หญิงร้อยละ 80 โดยพบในผู้หญิงวัยกลางคนมากที่สุด กลุ่มอายุ 50-60 ปี ส่วนผู้ชายพบร้อยละ 20 ในกลุ่มอายุ 40-70 ปี สาเหตุที่โรคนี้เกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สันนิษฐานว่ามาจากการที่ผู้หญิงใช้มือทำงานซ้ำ ๆ มากกว่าผู้ชาย ขณะที่ผู้ชายใช้มือทำงานออกแรง แต่ไม่ซ้ำซาก เกิดจากการที่เอ็นนิ้วมือ เสียดสีกับปลอกรัดเอ็น ทำให้เกิดการหนาตัวขึ้นของเส้นเอ็น หรือการหนาตัวขึ้นของปลอกรัดเอ็น เกิดการเสียสัดส่วนของอุโมงค์เส้นประสาท ทำให้เอ็นไม่สามารถรอดผ่านได้ ส่งผลให้เกิดการฝืด การตึง สะดุด จนถึงนิ้วล็อคในที่สุด

นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น เรียกได้ว่า ถ้าต้องหิ้วถุงหนัก ๆ ผิดผ้า ซักผ้า กวาดบ้าน ถูบ้าน สับหมูสับไก่ ใช้กรรไกรตัดผ้า หากพบอาการสะดุด นิ้วงอไม่ได้ เหยียดออกไม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์แต่เนิ่น ๆ เพราะปัจจุบัน มีวิธีการรักษาด้วยการรับประทานยา กายภาพบำบัด รวมทั้งการผ่าตัด

 
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32292เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2006 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท