วิสัยทัศน์ความเป็นผู้นำ


วิสัยทัศน์ความเป็นผู้นำ

วิสัยทัศน์ความเป็นผู้นำ

 นายศรายุทธ  พาณิชพงศกร

 ผู้อำนวยการสถานศึกษา

               วิสัยทัศน์(Vision) หมายถึง ภาพความสำเร็จที่ต้องการในอนาคตขององค์การหรือหน่วยงานวิสัยทัศน์จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องกำหนดให้มี เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางและภาพในอนาคตของสถานศึกษา  ว่าต้องการให้เป็นอย่างไร  มีกิจกรรม   และแนวทางปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จได้อย่างไร หากผู้บริหารปราศจากวิสัยทัศน์ก็จะไม่สามารถสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้เกิดขึ้นกับสถานศึกษาได้

               การกำหนดวิสัยทัศน์  จึงมีคำกล่าวเปรียบเปรย ไว้ว่า  เป็นภาพ “ฝันให้ไกล  ไปให้ถึง” ฉะนั้นการจัดทำวิสัยทัศน์ ของสถานศึกษา จึงมีความสำคัญ เป็นอย่างยิ่ง แนวคิดในของข้าพเจ้า  ในฐานะผู้บริหารผู้บริหารจึงต้องมีวิสัยทัศน์ในตนเอง ต้องพัฒนาตนเองด้านการบริหาร จากการบริหารแบบเชิงรับเป็นแบบเชิงรุก  เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพสังคม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการบริหารงาน กล้าคิด กล้าทำในสิ่งใหม่ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารตามบริบทของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นจากผู้ปกครอง ไม่ทอดทิ้งภูมิปัญญาชาวบ้าน มีความกระตือรือร้น ติดตาม เรียนรู้ และเข้าใจสถานการณ์และทิศทางการศึกษาในอนาคต เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษา   ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นผู้บริหารสถานศึกษา และเป็นผู้นำองค์กรโรงเรียน  จึงต้องมีบทบาทในการจัดทำวิสัยทัศน์อย่างเด่นชัด  โดยการดำเนินงาน อาศัยการมีส่วนร่วมของบุคลากร ทีมงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา  ร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ หรือทบทวนวิสัยทัศน์ที่มีอยู่เดิม ปรับให้สอดคล้องกับสภาพ สถานการณ์และทิศทางความสำเร็จที่ต้องการ  โดยมีแนวทางและขั้นตอนดังนี้

1.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน (SWOT) 

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน(SWOT)

ควรให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ

1.ด้านคุณภาพผู้เรียน

2.ด้านการเรียนการสอน                                 

3. ด้านการบริหารและจัดการศึกษา                                 

4.ด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้

                 โดยวิเคราะห์เพื่อประเมินศักยภาพความพร้อมของโรงเรียน ด้านปัจจัยภายใน เพื่อหาจุดอ่อน  จุดแข็ง และวิเคราะห์ด้านปัจจัยภายนอก เพื่อวิเคราะห์หาโอกาสและอุปสรรค โดยนำการมีส่วนร่วมของอปท. ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ชุมชน สภาพทางเศรษฐกิจ-สังคมและวิถีชีวิตของชุมชน ผลการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ.และอื่นๆ มาเป็นกรอบการประเมิน เพื่อกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของโรงเรียน ว่าอยู่ที่ตำแหน่งดาวรุ่ง หรือตำแหน่งคำถาม หรือตำแหน่ง สุนัขจนตรอก หรือตำแหน่งสภาพปัญหา(Question marks  )หรือตำแหน่ง วัวแม่ลูกอ่อน เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดประเด็นการพัฒนานำไปสู่การกำหนดวิสัยทัศน์ และกำหนดกลยุทธ์

2. ขั้นตอนการกำหนดวิสัยทัศน์

  1. นำประเด็นที่ใช้วิเคราะห์ศักยภาพของ สถานศึกษา ทั้ง 4 ด้านนำมาอภิปราย โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีที่เกี่ยวข้อง ระบุข้อความวิสัยทัศน์ในระยะประมาณ 3-5 ปีข้างหน้า ตามความคิดเห็นของแต่ละคน โดยอาศัยฐานข้อมูลจากการทำ SWOT
  2. กำหนดวิสัยทัศน์แต่ละด้าน
  3. จัดกลุ่มความคิดที่เหมือนกันหรือแนวคิดเดียวกันจัดเป็นหมวดหมู่เข้าด้วยกัน โดยนำ  ข้อความที่เป็นแนวคิดหลัก หรือเป็นหัวข้อเรื่องของแต่ละกลุ่มความคิดมาจัดเรียงลำดับความสำคัญ  เพื่อให้เกิดภาพในอนาคตที่ชัดเจน
  4. สรุปความแนวคิดหลักๆ แต่ละเรื่องมาร้อยเรียงให้เป็นประโยคข้อความ ยกร่างเป็นวิสัยทัศน์ในแต่ละด้าน พร้อมทั้งกำหนดเป้าประสงค์ (ทั้งตัวชี้วัดและเป้าหมาย) ของวิสัยทัศน์แต่ละด้าน
  5. หลอมรวมความคิดทั้งหมด ยกร่างเป็นวิสัยทัศน์ในภาพรวม และเปรียบเทียบกับวิสัยทัศน์ที่มีอยู่เดิมและให้คณะครู บุคลากร ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมตัดสินใจว่าสาระสำคัญของวิสัยทัศน์เปลี่ยนแปลงไปมากน้อยอย่างไร

              ในการกำหนดวิสัยทัศน์ ลักษณะวิสัยทัศน์ที่ดี ต้องมีลักษณะกระชับ มีความชัดเจน  มีความ  ครอบคลุม  ท้าทาย  มุ่งสู่อนาคต มีความมั่นคง และสามารถดลใจให้ผู้ร่วมงานนำสู่การปฏิบัติให้สำเร็จร่วมกัน












 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 322726เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2009 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมาก มีต่อข้อ 3,4,และ 5 รึเปล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท