ฝึกวิทยายุทธ์ ยกระดับการสอนกับ อ. ไชยยศ ปั้นสกุลไชย


นอกจากอาจารย์จะทุ่มเทเวลา ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ และเอกสารสื่อการสอน ทั้ง Hardware/ Softwareให้อย่างเกินคุ้มแล้ว อาจารย์ยังได้สร้างเครือข่ายไว้ให้พวกเราให้เข้าสู่ยุทธจักรการฝึกอบรมและการเรียนรู้ด้านอื่นๆอีกด้วย

อ. ไชยยศ ปั้นสกุลไชย เป็นคนที่กำลัง Hot ในวงการฝึกอบรม ท่านเป็นนักฝึกอบรมที่ไม่อิงอยู่ในกรอบรูปแบบกฎเกณฑ์ใดๆ ใช้กลยุทธ์การฝึกอบรมแบบง่ายๆ สบายๆ เหมาะกับสังคมไทย จนได้ฉายา “วิทยากรนอกกรอบ : Innovative Trainer”  ผมได้ยินกิตติศัพท์ท่านมานานแล้ว และได้เคยเขียนบันทึกเรื่องของอาจารย์ไว้ในเรื่อง HR TALK SHOW : Go Training Talk ศักยภาพคนไร้ขีดจำกัด ตอนที่ 6 ที่ http://gotoknow.org/blog/attawutc/251525 แต่เพิ่งได้เป็นลูกศิษย์อย่างเป็นทางการ เมื่อไม่นานมานี้เอง ทางบริษัทได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาวิทยากรให้หลากหลายและครบเครื่อง จึงได้เชิญอาจารย์มาสอนให้กับวิทยากรและผู้ชำนาญการฝึกอบรมของส่วนฝึกอบรมที่ผมสังกัดอยู่ จำนวน 10 คน เมื่อวันที่ 21-22 ธันวาคม 2552 ที่มาผ่านมานี้

 

  

 

ก่อนการฝึกอบรมประมาณ 2 สัปดาห์  อาจารย์ได้ทำการบ้านโดยเข้ามาหาข้อมูลก่อน โดยเข้ามาพูดคุยกับพวกเราประมาณ  2 ชั่วโมง ว่า ใครรับผิดชอบการสอนอะไร และอยากได้อะไรเพิ่มเติมจากการอบรมครั้งนี้ ความคิดเห็นของผมของผมคิดว่าน่าจะ ให้ผู้เข้าอบรมแต่ละคนส่งประวัติ ประสบการณ์ ปัญหาต่างๆ ความคาดหวังในการฝึกอบรม และสิ่งอื่นๆที่คิดว่าน่าจะเป็น  Training Need ให้เบื้องต้นก่อน แล้วค่อยนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ พิจารณา คุยกัน ก่อนที่ไปออกแบบหลักสูตรให้เหมาะสมต่อไปครับ (จ้างมาแล้วกะเอาให้คุ้ม) 

ก่อนการอบรม  1 สัปดาห์ อาจารย์ได้ส่ง Mail มาหาพวกเราเพื่อให้ศึกษาข้อมูลจากเนื้อหาใน Blog ของอาจารย์ที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเพื่อเตรียมตัวสำหรับการทำ Pre-Test ก่อนการอบรม จำนวน 4 เรื่อง คือ

1. เมื่อครูจับได้ว่า.......ลูกศิษย์มีสัมพันธ์ลึกซึ้งในห้องเรียน (โพสต์ 20 พ.ย.52)

http://www.oknation.net/blog/chaiyospun/2009/11/20/entry-1

2. รู้ทัน....สันดานการเรียนรู้ของคน !!! (โพสต์ 15 ต.ค.52)

http://www.oknation.net/blog/chaiyospun/2009/10/15/entry-1

3. วิทยากรฝึกอบรมยุคใหม่ที่ HR สมัยใหม่ต้องการ  (โพสต์ 19 เม.ย.51)

http://www.oknation.net/blog/chaiyospun/2008/04/19/entry-2

4. เหตุเกิดที่ห้องฝึกอบรม SMART Trainer ของเซเว่นอีเลฟเว่น รุ่น 1 (โพสต์ 11 ส.ค.52)

http://www.oknation.net/blog/chaiyospun/2009/08/11/entry-2

 

ในช่วงนั้นผมเพิ่งได้รับตารางเวลาการอบรม อย่างคร่าวๆ ที่พอจะเดาได้ว่าทุกคนต้องเตรียมการสอนมาเพื่อฝึกและรับการ Feed Back แต่อาจารย์ไม่ได้บอกให้แต่ละเตรียมการสอนไว้ เพียงแต่เกริ่นๆ ไว้เท่านั้นว่าจะมีการฝึกคนละ15 นาที และ Feed Back คนละ 15 นาที ผมเลยกันเหนียวไว้โดยนำการสอนที่ผมเคยทำให้กับพนักงานควบคุมรถไฟฟ้าเรื่อง Safety & Service Mind โดยใช้ Music VDO คาราโอเกะ ตามที่ผมได้เคยบันทึกไว้ก่อนหน้านี้มาใช้ในการนี้(http://gotoknow.org/blog/attawutc/320250)  แต่ต้องมีการปรับแต่งเรื่องเวลาให้เหมาะกับการฝึกที่กำหนดไว้แค่คนละ 15 นาที

 

 

 

การอบรมของวันแรก อ. เปิดตัวด้วย การบริหารสมองเพื่อเตรียมความพร้อมในการอบรม โดยให้บวกเลขตามลำดับอย่างรวดเร็ว แล้วเชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาการอบรมต่อไป ซึ่งก็ใช้เวลาประมาณชั่วโมงกว่าๆ โดยเน้นไปยังเรื่องการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=134422 และ http://www.oknation.net/blog/chaiyospun/2009/05/24/entry-1) และลักษณะความแตกต่างของคนในวัยต่าง (Baby Boomer, Gen X, Gen Y) หลังจากนั้นอาจารย์ได้ใช้กิจกรรม เกมการวิเคราะห์ จับคู่  แล้วนำเสนอเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มต้องพยายามโน้มน้าวให้คนเชื่อและคล้อยตามให้ได้ ซึ่งกิจกรรมนี้จะสอนให้คนที่เป็น Trainer ให้เรียนรู้ถึงความสำคัญของการโน้มน้าวให้คนเชื่อและศรัทธา ซึ่งเป็นประตูแรกสุดที่จะทำให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้  ทั้งนี้อาจารย์ได้ให้หลักการสอนเพื่อนโน้มน้าวเป็น Keyword ง่ายๆ ไว้เป็น “PAJES” (http://www.oknation.net/blog/print.php?id=291459)

P-Personal Experience  คือ การใช้ประสบการณ์ที่เราเคยทำมาด้วยตนเองมาโน้มน้าวให้คนอื่นเชื่อ

A-Analogy  คือ การใช้อุปมาอุปมัยเปรียบเทียบมาโน้มน้าวชักจูงให้เชื่อ

J-Judgment of Expert คือ ใช้การอ้างอิงผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ หรือสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ มาอ้างอิง โน้มน้าวให้น่าเชื่อถือ

E-Example คือ การยกตัวอย่างสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เป็นเรื่องจริงของคน หรือเหตุการณ์จริงก็ได้ มาโน้มน้าวชักจูงให้เชื่อ

S-Statistics คือ การโน้มน้าวให้เชื่อโดยการใช้ข้อมูล ตัวเลข สถิติ ผลการทดลอง หรือผลการวิจัย

หลังจากนั้น ก็ให้แต่ละคนได้มีการฝึกสอนกันคนละประมาณ 15 นาที ช่วงที่มีการ Feed back อาจารย์ ก็จะเสริมเชื่อมโยงเนื้อหาเข้าไป เช่น การใช้ Tone เสียง การ Action และ หลักการสอนแบบ "SAVE"  (http://www.oknation.net/blog/chaiyospun/2009/11/06/entry-1)

 

  

 

1. Simplicity : ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ความเรียบง่าย ของเนื้อหา เทคนิคที่ใช้ คำพูดและการนำเสนอ  ทำทุกอย่างให้ดูง่าย

2. Actions : วิทยากรต้องมีระสบการณ์ตรง เคยลงมือทำในเรื่องที่จะสอนมาก่อน และต้องให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง

3. Variety : วิทยากรที่เก่ง ๆ ต้องรู้จักใช้เทคนิคการฝึกอบรมที่หลากหลาย ให้มีความน่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ อย่าใช้เทคนิคเดียวตลอดเวลา

4. Egoless : วิทยากรที่ดีต้องลดอีโก้ให้ได้มากที่สุด ไม่ถือตัว  ถ้าไม่มีอีโก้ได้ยิ่งดี อย่าเผลอนึกว่าตัวเองรู้ทุกเรื่อง เก่งอยู่คนเดียว เดี๋ยวลูกศิษย์จะเข้าใจผิดคิดว่าวิทยากรเป็นเทวดา เขาก็จะไม่กล้า ไม่อยากเรียนด้วย 

วันแรกผมได้มีโอกาสฝึกสอนเป็นคนที่ 2 ซึ่งเริ่มต้นในช่วงบ่าย ผมพกความมั่นใจมาเต็มที่ แต่หลังจากสอนเสร็จ ทำเอาผมเสียความมั่นใจไปเยอะพอสมควร  ผมปลอบใจตัวเองว่าน่าจะเป็นเพราะเรื่องของความไม่สมจริงของการสอน เรื่องเวลา และสิ่งแวดล้อม ที่เราคาดไม่ถึง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมต้องยอมรับว่า สิ่งที่อาจารย์และเพื่อนร่วมห้องได้ Comment มานั้นเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบอกวัตถุประสงค์ การใช้ภาษา ตำแหน่งการยืน และการเลือกเพลงที่เหมาะสมกับผู้เข้าอบรม วันแรกกว่าทุกคนจะได้ฝึกกันหมดก็ประมาณ 6 โมงเย็นพอดี 

 ภาพจาก (http://www.se-ed.com/eShop/(A(otXS1wOcyQEkAAAAYjI3OWY3MGMtNGUxZC00MDcxLTk1NjgtOTY0N2U4NTlmOTQ1kNUZqWQ6s-DmKQcjFf8TxTCxjYM1))/Products/image.axd?picture=2223530000199L.gif&Type=Large)

 

วันที่สองอาจารย์เริ่มต้นด้วยการทำกิจกรรมแบ่งกลุ่มเล่นเกม “จราจรอัฉริยะ” นำรถออกจากจุดจอด แล้วเชื่อมโยงเนื้อหาไปใว้ในการฝึกอบรมว่า ได้อะไรจากเกมนี้ จะนำไปใช้เชื่อมโยงเนื้อหาไปยังการฝึกอบรมอย่างไรได้บ้าง จากนั้นอาจารย์ก็เชื่อมโยงต่อไปยังเรื่องของการใช้สื่อเพื่อจุดประกายเชื่อมโยงความรู้ไปยังเนื้อหาที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ภาพ เนื้อหาจากข่าว ภาพประทับใจ  Clip VDO ของภาพยนต์ รายการโทรทัศน์ โฆษณา เพลง คอนเสิร์ต ฯลฯ นอกจากนี้อาจารย์ยังได้แนะนำ วิทยากรที่มีค่าตัวแพงที่สุดในเมืองไทยไว้ด้วย คือ คุณศุภกิจ   รุ่งโรจน์ (http://www.wh2.co.th/main.html) เจ้าของ Concept “Power of Change” เพื่อให้เป็นแรงบันดาลใจในการทำหน้าที่เป็นTrainer ต่อไป

 

  

 

หลังจากพักกาแฟช่วงเช้าแล้ว ก็เริ่มฝึกสอนต่อในครั้งที่ 2 ผมก็เจอคิวที่ 2 เหมือนเดิม คราวนี้หนักใจกว่าครั้งแรกมาก เพราะไม่ได้เตรียมเรื่องมาเลย ตอนแรกกะว่าจะใช้เรื่องเกี่ยวกับรถไฟฟ้าที่มีเนื้อหาด้านเทคนิคมาสอน จนมาถึงนาทีสุดท้าย อาจารย์ได้พูดสะกิดใจผมว่าพวกเราชอบสอนแบบเดิมๆ ทื่อๆ ซื่อๆ และประจวบเหมาะกับวันนั้นพวกเราเพิ่งไปอวยพรผู้ใหญ่ในบริษัทมา และผู้ใหญ่ท่านนั้นก็ให้โอวาทข้อคิดเกี่ยวกับทัศนคติในการทำงาน ผมก็เลยตัดสินใจโหนกระแสนี้สอนเรื่อง จะทำงานอย่างไรให้ประสบความสำเร็จและมีความสุข โดยใช้มุกเดิมคือใช้เพลง ตื่นเถิดจอมยุทธ์ ของ P2WARSHIP มาเป็นสื่อ(http://gotoknow.org/blog/attawutc/313048) เพื่อจุดประกายการเรียนรู้ ซึ่งไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเลย เพียงแต่นำ Comment ที่ได้รับไปเมื่อวานนี้มาปรับปรุงเท่านั้นเอง ก็เอาตัวรอดไปได้ แบบเฉียดฉิว อาจารย์ ได้ให้แนวคิดว่า มุกนี้อย่าใช้ซ้ำ เพราะผู้เรียนจะจับทางได้ ควรหาอะไรที่ทำให้ผู้เรียนตามมุกเราไม่ทันไว้อยู่เสมอ  การสอนในรอบนี้ผมพยายามใช้หลัก PAJES โดยเฉพาะตัว J (J-Judgment of Expert : การอ้างอิงผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ) ตอนนั้นผมอ้างอิงไปยัง Peter Senge ปรมจารย์ด้านองค์เรียนรู้ ซึ่งมาทราบภายหลังว่าคนให้ห้องไม่มีใครคุ้นชื่อนี้เลย อาจารย์จึงได้ให้ข้อคิดเรื่องการอ้างอิงไว้ 3 ข้อง่ายๆ คือ CEP : Competence, Ethic, Popularity  (http://www.oknation.net/blog/chaiyospun/2009/12/21/entry-1)

1. บุคคลที่เรานำมาอ้างอิงนั้นควรเป็นคนที่เก่งเป็นพิเศษในด้านนั้น ๆ (Competence) ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรากำลังนำเสนอ)

2. เป็นคนดีมีจริยธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต น่าเชื่อถือ ไว้วางใจได้ (Ethics) 

3. ควรเป็นคนที่กลุ่มผู้ฟังกลุ่มนั้น ยอมรับ ชื่นชม ชื่นชอบ  (Popularity) เป็นพิเศษ

 

  

 

การฝึกอบรมในวันที่ 2 ดำเนินไปอย่างเข้มข้นกว่าจะเลิกก็กินเวลาเลิกงานไปจนถึง 1 ทุ่ม ผมคิดว่าการอบรมครั้งนื้คุ้มค่ามาก ที่ได้อาจารย์ท่านนี้มาเป็นวิทยากรให้ เพราะนอกจากอาจารย์จะทุ่มเทเวลา ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ และเอกสารสื่อการสอน ทั้ง Hardware/ Softwareให้อย่างเกินคุ้มแล้ว อาจารย์ยังได้สร้างเครือข่ายไว้ให้พวกเราให้เข้าสู่ยุทธจักรการฝึกอบรมและการเรียนรู้ด้านอื่นๆอีกด้วย นั่นคือ Blog ของ oknation นั้นเอง (http://www.oknation.net/blog/attawutc)

 

 

  

หมายเลขบันทึก: 322690เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2009 19:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท