พืชและสัตว์สารพัดประโยชน์


หม่อนและไหม

         ในฐานะที่ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตชุมพร ได้ดำเนินการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพื่อบริการประชาชน เป็นเวลา 13 ปี แล้ว และได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อสถานีทดลองหม่อนไหมชุมพร มาเป็น ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตชุมพร ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับโครงสร้างใหม่ ยังไม่ทราบโครงสร้างที่ชัดเจน ว่าขึ้นอยู่กับไหมแห่งชาติฯ หรือ กรมวิชาการเกษตร จึงขอแนะนำประโยชน์ของหม่อนและไหมให้ทราบพอสังเขป ดังนี้

         หม่อน (Mullberry) เป็นไม้ยืนต้นจำพวกไม้พุ่ม เช่นเดียวกับปอสา ขนุน และโพธิ์ ลักษณะสำคัญของพืชชนิดนี้คือ มียาง มีขนที่ใบ มีเส้นใย ใบมีรูปร่างแตกต่างกัน เป็นแฉกและไม่เป็นแฉก หม่อนแต่ละพันธุ์จะมีเพียงเพศเดียว ไม่เพศผู้ก็เพศเมีย มีเพียงส่วนน้อยที่พบดอกทั้ง 2 ในต้นเดียวกัน หม่อนที่มีดอกเพศเมียจะมีเมล็ดสำหรับขยายพันธุ์แต่ไม่นิยม นิยมขยายพันธุ์โดยปักชำท่อนพันธุ์

          ประโยชน์ของหม่อน

          1. อาหารหนอนไหม เนื่องจากหนอนไหมมีความสามารถในการเปลี่ยนโปรตีนจากใบหม่อนเป็นเส้นใยได้ดีกว่าพืชอื่น

          2. พืชสมุนไพร   สรรพคุณของหม่อน "ยอดหม่อน" นำมาต้มใช้ดื่มและล้างตา เพื่อบำรุงสายตา "กิ่งหม่อน" ช่วยทำให้เลือดลมไหลเวียนสะดวก รักษาอาการปัสสาวะสีเหลือง และอาการปวดเมื่อย เท้าเป็นตะคริว เหน็บชา นำต้นต้มดื่มสามารถขจัดโรคได้ "ผลหม่อน" รักษาโรคไขข้อ บำรุงหัวใจ บำรุงผมให้ดกดำ "รากหม่อน" ลดปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด และรักษาโรคเบาหวานได้

           3. อาหารและเครื่องดื่มมนุษย์  ผลใช้รับประทาน ผลสุกใช้ทำน้ำผลไม้ ทำแยม ทำไวท์

           4. สารป้องกันกำจัดโรคพืช  พบว่าเนื้อเยื่อของกิ่งหม่อนบริเวณ Cortex และ Xylem มีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อราบางชนิด

           5. อื่น ๆ

               - ทำกระดาษสา ศบป.เชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำลำต้นหม่อนไปทำกระดาษสา

               - ไม้ประดับ ประเทศเขตอบอุ่น เช่น อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

              - อาหารสัตว์ เช่น เป็นอาหารหนอนไหม และใช้เลี้ยงปลานิลหรือปลากินพืช

              - วัสดุเพาะเห็ด เช่น มูลไหมใช้เพาะเห็ดหอม และเห็ดนางรม

              - พิธีกรรมทางศาสนา

              - เชื้อเพลิง

             โปรดติดตามตอนต่อไป...

หมายเลขบันทึก: 3225เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2005 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อยากให้มีประโยชน์ที่เยอะกว่านี้ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท