หวายไทย


หวายเป็นพืชตระกูลปาล์มที่มีลำต้นยาวมาก
หวายเป็นพืชตระกูลปาล์มที่มีลำต้นยาวมาก คนไทยผูกพันกับพืชชนิดนี้มานาน และมีบทบาทต่อชีวิตของผู้คนมาถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เป็นเพราะสัดส่วนการเจริญเติบโตของหวายในธรรมชาติ กับความต้องการใช้เป็นไปในลักษณะไม่สมดุล ทำให้ปริมาณหวายในธรรมชาติมีน้อยลง
ที่ผ่านมามีการศึกษาเรื่องหวายอย่างจริงจัง โดยรองศาสตราจารย์อิศรา วงศ์ข้าหลวง แห่งภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หวายที่พบจะมากที่สุดในภาคใต้ จากการศึกษามีมากกว่า ๔๐ ชนิดขึ้นกระจายในพื้นที่หลายจังหวัด โดยพบมากในท้องที่ป่าดิบชื้นทั้งที่ราบจนถึงยอดเขาสูง สำหรับหวายที่พบในประเทศไทยมี ๖ สกุลด้วยกัน แต่ที่พบมากที่สุดคือสกุลคาลามัส ชนิดของลำหวายที่พบมีตั้งแต่ ๓ เซนติเมตร ถึง ๑๕ เซนติเมตร ชนิดของหวายที่พบมากของไทย ได้แก่ หวายกำพวน หวาย ขี้เสี้ยน หวายน้ำ และหวายเดาใหญ่ ๓ ชนิดแรกมีความสำคัญทางเศรษฐกิจมาก นอกจากนี้ หวายที่มีความต้องการของผู้ใช้มากคือ หวายตะค้าทอง หวายข้อดำ และหวายน้ำผึ้ง  จากรายงานของรองศาสตราจารย์อิศราระบุว่า สาเหตุที่หวายในธรรมชาติลดลงอย่างมากนั้น เป็นเพราะในประเทศไทยมีการตัดหวายจากธรรมชาติอย่างเดียว ไม่มีการปลูกสร้างสวนหวายแต่อย่างใด
งานศึกษาเรื่องหวายที่ดำเนินงานมาแล้ว สรุปได้ดังนี้คือ
เริ่มจากสำรวจและรวบรวมชนิดของหวาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดที่มีประโยชน์และส่อว่าจะมีคุณค่าทางการค้า สำหรับการศึกษาเรื่องการปลูกแล้ว พบว่าหวายที่มีการเจริญเติบโตช่วงแรก ต้องการแสงไม่มากนัก กล้าหวายที่ปลูกในความเข้มข้นของแสง ๒๕ เปอร์เซ็นต์ จะเจริญได้ดี แต่ถ้าปล่อย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว ต้นกล้าหวายจะตายหมด เมล็ดหวายมีการพักตัวยาวนาน แล้วแต่ชนิดของสายพันธุ์ บางชนิด ๑ เดือน บางชนิดยาวนานถึง ๘ เดือน การลดการพักตัว ทำได้โดยการตัดผิวของเมล็ดตรงบริเวณที่แกน จะช่วยให้งอกเร็วขึ้น
การขยายพันธุ์หวาย นอกจากการเพาะเมล็ดโดยตรงแล้ว ขณะนี้ยังมีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งการดำเนินงานก้าวหน้าไปมาก สามารถนำออกปลูกได้แล้ว ส่วนการรวบรวมพันธุ์หวาย ที่ดำเนินการอยู่มี ๒ ที่ด้วยกัน คือ บริเวณสวนยางในสวนจิตรลดา มีพันธุ์หวายอยู่ประมาณ ๑๕ ชนิด ดำเนินการโดยคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา อีกแห่งหนึ่งคือ บริเวณเขาช่อง จังหวัดตรัง ดำเนินการโดยกองบำรุง กรมป่าไม้ ชนิดของหวายไทยที่พบมากของไทย ได้แก่ หวายกำพวน หวายขี้เสี้ยน หวายน้ำ และหวายเดาใหญ่ ๓ ชนิดแรกมีความสำคัญทางเศรษฐกิจมาก
หวายในสภาพปัจจุบัน ถือว่ามีความสำคัญมาก โอกาสต่อไปคงมีการปลูกเป็นสวนขนาดใหญ่ แทนที่จะตัดจากธรรมชาติอย่างเดียว โดยเฉพาะหวายเพื่อการอุตสาหกรรม


คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32248เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2006 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรื่องเกี่ยวกับหวายไทย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท