รายงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ


โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

 ชื่อเรื่อง      รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของโรงเรียนบ้านนา

ชื่อผู้ประเมิน   นายธีรพงค์  คงแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนา

                  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2   อำเภอช้างกลาง

                  จังหวัดนครศรีธรรมราช

                รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของโรงเรียนบ้านนาปีการศึกษา 2551 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) เป็นการประเมินมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นในการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (3) เพื่อประเมินกระบวนการที่ใช้ในการดำเนินงานตามโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านนาจำนวน 9 คน คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านนาจำนวน  15 คน ครูโรงเรียนบ้านนาจำนวน 14 คน นักเรียนโรงเรียนบ้านนาจำนวน 81 คน และผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาจำนวน 81 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 200 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจงและการสุ่มอย่างง่าย โดยสถิติที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ หาค่าความสอดคล้อง (IOC) หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) และการหาค่าอำนาจจำแนก (r) เป็นการวิเคราะห์เพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

สรุปผลการประเมิน 

            ผลการประเมินพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ด้าน และตัวชี้วัดทั้ง 15 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน 14 ตัวชี้วัด โดยมีรายละเอียดสรุปดังนี้

1. ผลการประเมินบริบท / สิ่งแวดล้อมของโครงการ โดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และตัวชี้วัดทั้ง 4 ตัวชี้วัดมีดังนี้

     1.1 ด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก

     1.2 ด้านความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับปานกลาง

     1.3 ด้านความเหมาะสมของการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับปานกลาง

     1.4 ด้านความความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก

2.  ผลการประเมินด้านปัจจัยของโครงการ โดยการประเมิน 5 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์
การประเมินและในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และตัวชี้วัดทั้ง 5 ตัวชี้วัดมีดังนี้

     2.1 ด้านความพร้อมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด

     2.2 ด้านความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับน้อย

     2.3 ด้านความเหมาะสมของสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ เวชภัณฑ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์
การประเมินและอยู่ในระดับปานกลาง

     2.4 ด้านความเหมาะสมด้านสารสนเทศและสื่อการจัดกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก

     2.5 ด้านความเหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อมและสาธารณูปโภค พบว่า ผ่านเกณฑ์
การประเมินและอยู่ในระดับมาก

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ โดยการประเมิน 2 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และตัวชี้วัดทั้ง 2 ตัวชี้วัดมีดังนี้

    3.1 ด้านกระบวนการขั้นตอนสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พบว่า ผ่านเกณฑ์
การประเมินและอยู่ในระดับมาก

    3.2  ด้านกระบวนการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก

4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ โดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และตัวชี้วัดทั้ง 4 ตัวชี้วัดมีดังนี้

    4.1 ด้านการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยอยู่ในระดับมาก

    4.2 ด้านความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก

   4.3 ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโรงเรียน ส่งเสริมสุขภาพ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและโดยอยู่ในระดับมาก

   4.4  สภาวะสุขภาพของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก

5.  ผลการประเมินโครงการ ในภาพรวมของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมาก โดยการประเมินทั้ง 4 ด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมาก  2 ด้าน คือ ด้านกระบวนการของโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ และอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน คือ ด้านบริบทของโครงการ และด้านปัจจัยของโครงการ และตัวชี้วัดทั้ง 15 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน 14 ตัวชี้วัด โดยอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ตัวชี้วัด อยู่ในระดับมาก 10 ตัวชี้วัด และอยู่ในระดับปานกลาง 3 ตัวชี้วัด ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 1 ตัวชี้วัด โดยอยู่ในระดับน้อย

หมายเลขบันทึก: 322105เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2009 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
นายสุริยา โนนเสนา

เข้ามาเยี่ยมให้กำลังใจครับ

เยี่ยม

นงลักษณ์ ลิ้มสันติธรรม

น้องจ๋า..........คำภาษาอังกฤษที่แปลว่าสุขภาพเขียนแบบน้นะจ๊ะ HEALTH

ด้วยความหวังดี

จากพี่คนตรัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท