blog คืออะไร


                  blog คืออะไร Blog คืออะไร จริงๆ แล้วกิจกรรม Bloggin เกิดขึ้นก่อนกระแสเห่อ Blog เป็นเวลานานแล้ว เพียงแต่ไม่ได้เป็นที่แพร่หลาย และยังไม่ได้ถูกเรียกว่า Blog เพราะมักอยู่ในรูปแบบที่หลากหลาย กระจัดกระจายและไม่ชัดเจน เช่น อาจเป็นออนไลน์ไดอารี่ส่วนบุคคล เป็นส่วนหนึ่งของโฮมเพจส่วนตัว เป็นพื้นที่แสดงความเห็นของกลุ่มหรือองค์กรต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้บุคคลในกลุ่มหรือองค์กรสามารถเข้าไปในใช้งานได้ตลอดเวลา จึงไม่ได้มีนิยามเป็นของตัวเองอย่างชัดเจน และยังไม่มีผู้ให้บริการอย่างจริงจัง

คำว่า Blog มาเกิดขึ้นทีหลัง โดยมาจากการนำคำว่า Weblog ซึ่งประกอบด้วยคำว่า Web + Log มาย่อลงให้เหลือแค่ Blog ซึ่งจริงๆ แล้ว Weblog เป็นคำที่ใช้เรียกหน้าของเว็บที่เป็นแหล่งรวมลิงค์ไปสู่เว็บไซต์อื่นๆ ที่น่าสนใจซึ่งรวบรวมขึ้นโดยองค์กรหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง คล้ายๆ ไกด์สู่โลกอินเทอร์เน็ตนแบบเฉพาะบุคคล แต่หลังจากที่หลายๆ เว็บไซต์ เช่น www.blogger.com เปิดตัวและเรียกบริการของตัวเองว่า Blog อย่างเป็นทางการเมื่อราว 5 ปีที่ผ่านมา คำว่า Blog ก็กลายเป็นที่เข้าใจตรงกันว่าเป็นชื่อที่ใช้เรียกพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของเว็บไซต์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เหมือนไดอารี่ออนไลน์ซึ่งอนุญาตให้ผู้อ่านแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเจ้าของไดอารี่ได้ หน้าตาของ Blog นั้นก็ไม่ต่างอะไรกับเว็บเพจที่ประกอบด้วยตัวหนังสือเป็นหลักทั่วๆ ไป เช่น หนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่เราคุ้นเคยกันดี ส่วนรูปแบบการจัดหน้าและรายละเอียดลูกเล่นต่างๆ นั้นจะมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละ Blog ขึ้นอยู่กับความชอบและความสนใจของเจ้าของ เช่น บาง Blog อาจใส่รูปภาพของตัวเองเอาไว้ด้านบน ใช้ภาพที่ชอบเป็นพื้นหลัง หรือใช้สีที่ฉูดฉาดตัดกัน Blog ที่สร้างสรรค์มากๆ จะเต็มไปด้วยดีไซต์ที่มีลักษณะเฉพาะ ในขณะที่หลายๆ Blog มักมีลักษณะที่เรียบง่ายเหมือนๆ กันตามแบบที่เจ้าของบริการไว้ให้แต่แรก Blog จึงมีความหลากหลายรูปแบบพอๆ กับลักษณะของคน


ที่มา :   นิตยสาร Marketeer ปีที่ 5 ฉบับที่ 59 มกราคม 2548 หน้า 52 

blog เป็นเครื่องมือใหม่ที่มาแรงมากในอินเทอร์เน็ตขณะนี้ เพราะสามารถดัดแปลงใช้ได้สารพัด แต่ที่ใช้กันมากที่สุด ก็คือการเขียนบันทึกประจำวันส่วนตัว ที่แบ่งให้คนอื่นอ่านด้วย บันทึกเหล่านี้ ถูกใช้เป็นช่องทางในการแสดงความคิดเห็นสู่สาธารณะที่มีประสิทธิภาพ เพราะเงื่อนไขของ blog คือความเป็นส่วนตัวที่เปิดเผย ไม่ใช่กระดานสนทนาสาธารณะ ดังนั้น เจ้าของ blog จึงมีอิสระเต็มที่ที่จะเขียนบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ซึ่งจะต่างกับกระดานสนทนา ที่ส่วนใหญ่เป็นการตั้งคำถาม และคาดหวังคำตอบ แต่สำหรับ blog แล้ว คำตอบเป็นแค่องค์ประกอบที่จะมีหรือไม่ก็ได้ และเนื้อหาของ blog จะไม่ถูกตีกรอบด้วยข้อกำหนดของกระดานข่าว มีแต่เจ้าของ blog นั่นเอง ที่จะตีกรอบตัวเอง

สำหรับ blog ในเว็บโรงเรียนนี้ จะเป็นที่รวม blog ของทุกคน แต่ก็สามารถเลือกอ่าน blog เฉพาะที่เขียนโดยสมาชิกแต่ละคนได้ด้วย

ตัวอย่างการใช้งาน

จากรูปลักษณ์ดังกล่าว ก็มีการประยุกต์ใช้ blog ในด้านต่างๆ มากมาย และขณะนี้ก็ยังนิยามได้ลำบาก ว่า blog มีขีดความสามารถขนาดไหน เนื่องจากยังเป็นเครื่องมือที่ใหม่ และมีรูปแบบการใช้งานใหม่ๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น

  • การแสดงทัศนะส่วนตัว
  • การเล่าเรื่อง นอกเหนือจากทัศนะส่วนตัว เช่น เล่าวิธีแก้ปัญหาที่พบ เล่าเรื่องราวการค้นคว้า เล่าถึงเว็บที่น่าสนใจที่ไปพบมา เล่าประสบการณ์การท่องเที่ยว นิทรรศการที่ไปชมมา ฯลฯ
  • การแบ่งปันความรู้ ด้วยการรวม blog ของหลายคนในหน้าเดียว (เช่น Planet TLWG ของชาวลินุกซ์ไทย, Planet GNOME ของชุมชน GNOME)
  • การนำเสนอข่าวแบบสื่อสารสองทาง (เช่น Blognone เว็บข่าวเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แห่งหนึ่งของคนไทย, Slashdot เว็บข่าวเทคโนโลยีแห่งหนึ่งในอินเทอร์เน็ต, Thai Linux Working Group เว็บสำหรับชาวลินุกซ์ไทย)
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32185เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2006 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท