การประยุกต์ใช้ e-Learning กับการศึกษาในปัจจุบัน


e-learning

การประยุกต์ใช้ e-Learning กับการศึกษาในปัจจุบัน

                e-Learning มีความจำเป็นและเข้ามามีบทบาทกับการศึกษาทั่วโลกอย่างสูง เพราะปัจจุบัน
e-Learning กำลังได้รับความสนใจจากนักเรียน นักเรียน และผู้สนใจอย่างมาก ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเลือกเรียนแบบ e-Learning กันมากขึ้น เนื่องจากสามารถศึกษาหาความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา e-Learning จึงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องภายหลังจากที่กระทรวงศึกษาธิการได้มีการรับรองการศึกษาทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างเป็นทางการตั้งแต่ต้นปี 2549 ทำให้ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาการเติบโตของหลักสูตร e-Learning มีอัตราการเติบโตเป็นเท่าตัว เพราะการศึกษาทางไกลไม่เพียงจะอำนวยความสะดวกและเอื้อประโยชน์ต่อผู้เรียนแล้ว ยังอำนวยประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยในแง่ของการบริหารจัดการด้วย คือ การจัดการการเรียนการสอนด้วย

 e-Learning ทำให้ต้นทุนในการจัดการหลักสูตรต่ำลงด้วยรูปแบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลที่นักเรียนไม่ต้องเดินทางมาเข้าชั้นเรียน และสามารถรองรับนักเรียนได้อย่างไม่มีขีดจำกัด เป็นช่องทางในการสร้างและขยายโอกาสทางการศึกษาให้เข้าไปถึงผู้ที่มีความต้องการได้ในวงกว้างขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนที่อาศัยอยู่ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ
                ดังนั้น e-Learning จึงเป็นช่องทาง โอกาสและทางเลือกไม่เพียงแต่นักเรียนเท่านั้น มหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและภาคเอกชนยังได้ให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้มีการเปิดหลักสูตร e-Learning กันมากมาย เช่น หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยนเรศวร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาการพัฒนาซอฟต์แวร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารจัดการ วิทยาลัยทางไกล เอแบค เป็นต้น และได้มีหลักสูตรใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าจากการขยายตัวของหลักสูตรต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ได้สะท้อนให้เห็นแนวโน้มของ e-Learning ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในงานการศึกษาในอนาคต
                ในการเรียนผ่านระบบ e-Learning ทำให้สังคมระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนกับเพื่อนร่วมเรียนจะมีโอกาสที่จะพบหน้ากันได้น้อยมาก แต่ก็มีช่องทางในการสื่อสารอื่น ๆ เช่น e-mail และการโทรถามครูผู้สอนได้โดยตรง ทั้งนี้ เพื่อให้การเรียนผ่านระบบนี้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพจึงควรมีกิจกรรมที่ควรปฏิบัติ 12 กิจกรรม ดังนี้

1. กรณีศึกษา (Case Study) ต้องกำหนดว่าจะให้นักเรียนวิเคราะห์คนเดียว หรือเป็นกลุ่ม ควรมีกรณีศึกษาที่ต้องทำเป็นกลุ่มด้วย
                2. แบบฝึกหัดท้ายบท (Exercise) ต้องระบุว่าจะให้นักเรียนทำบทละกี่ข้อ
                3. Assignment นักเรียนต้องส่งงานตามที่ครูสั่ง
                4. e-mail นักเรียนต้อง e-mail ถึงครูและเพื่อนอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งโดยครูต้องตอบภายใน 24 ชั่วโมง
                5. Chat นักเรียนจะต้องมาออนไลน์และโต้ตอบกับครูหรือเพื่อนตามตารางเวลาที่กำหนด
                6. Shared Folder นักเรียนสามารถอัพโหลดไฟล์ที่เป็นประโยชน์ในบทเรียน หรือความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้เพื่อนได้สามารถเข้ามาดาวน์โหลดไปไว้ศึกษาต่อได้
                7. Group Meeting นักเรียนจะต้องเข้ามาประชุมกับเพื่อนร่วมกลุ่มเพื่อทำงานร่วมกัน
                8. Message Board นักเรียนจะต้องเข้ามาตั้งคำถามเมื่อมีข้อสงสัยในเนื้อหาวิชา และพยายามค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อตอบคำถามที่เพื่อนได้ Post เอาไว้
                9. Quiz นักเรียนจะต้องทำ Online Quiz
                10. Report นักเรียนจะต้องส่ง Report โดยการส่งผ่านทาง e-mail ไปยังครูผู้สอนหรือส่งผ่านระบบ
                11. Poll Vote นักเรียนจะต้องเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นโดยการโหวตให้กับหัวข้อที่นักเรียนสนใจ
                12. Exam นักเรียนสามารถส่งข้อสอบ Take-home Exam ไปยัง e-mail ของผู้สอนหรือส่งผ่านระบบ

                ข้อคำนึงในการจัดการเรียนการสอนด้วย e-Learning

• ความพร้อมของอุปกรณ์และระบบเครือข่าย การเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นการปรับการนำเสนอเนื้อหารูปแบบเดิมสู่รูปแบบใหม่ จำเป็นต้องมีเครื่องมือ อุปกรณ์ และระบบเครือข่ายที่พร้อมและสมบูรณ์ เพื่อให้ได้บทเรียนดิจิตอลที่มีคุณภาพ และทันต่อความต้องการของเรียน ผู้เรียนสามารถเลือกเวลาเรียนได้ทุกช่วงเวลาตามที่ต้องการ

• ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนและผู้สอนจะต้องมีความรู้และทักษะทั้งด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพอสมควร โดยเฉพาะผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะอื่นๆ ประกอบด้วย เพื่อช่วยในการสร้างสื่อและเว็บไซต์ในการสอนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ให้กับผู้เรียน

• ความพร้อมของผู้เรียน ผู้เรียนจะต้องมีความพร้อมทั้งทางจิตใจ และความรู้ คือ จะต้องยอมรับในเทคโนโลยีรูปแบบนี้ ยอมรับการเรียนด้วยตนเอง มีความกระตือรือร้น ตื่นตัว ใฝ่รู้ มีความรับผิดชอบ กล้าแสดงความคิดเห็นและศึกษาความรู้ใหม่ๆ

• ความพร้อมของผู้สอน ผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้แนะนำ มาเป็นผู้อำนวยความสะดวก โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากเรียนรู้ กระตุ้นการทำกิจกรรม เตรียมเนื้อหาและแหล่งค้นคว้าที่มีคุณภาพ รวมทั้งความพร้อมด้านการใช้คอมพิวเตอร์ การผลิตบทเรียนออนไลน์ และการเผยแพร่บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

• เนื้อหา บทเรียน เนื้อหาบทเรียนจะต้องเหมาะสมกับผู้เรียนให้มากกลุ่มที่สุด มีความหลากหลายให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเลือกเรียนได้ด้วยตนเอง มีกิจกรรมวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เลือกใช้สื่อการสอนที่เหมาะสม และเหมาะสมกับความพร้อมของเทคโนโลยี การลำดับเนื้อหาไม่ซับซ้อน ไม่ก่อให้เกิดความสับสน ระบุแหล่งค้นคว้าอื่นๆ ที่เหมาะสม

 อย่างไรก็ตาม การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานการศึกษา โดยการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถือได้ว่าเป็นแนวโน้มการศึกษาในอนาคตที่น่าจับตามอง เนื่องจากแนวโน้มของ e-Learning ทั่วโลกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและเติบโตอย่างรวดเร็ว

                 ข้อเสนอแนะในการนำ e-learning  ไปใช้ในโรงเรียน

 1. โรงเรียน ควรพิจารณาการจัดสรร จัดหางบประมาณ หรือจัดหาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ให้มีจำนวนเพียงพอเหมาะสมกับจำนวนปริมาณนักเรียน

                2. โรงเรียนควรที่จะต้องจัดหาหรือพัฒนาครูที่สามารถดูแลระบบหรือมีความสามารถในการบริหารจัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เวลาที่เกิดปัญหาทางด้านเทคนิค จะได้แก้ไขปัญหาได้รวดเร็วและไม่เกิดความเบื่อหน่ายสำหรับผู้เรียนและครูผ้สอน

                3. จัดหาและพัฒนาครูให้ครูทุกคนให้มีความรู้ความสามารถ ทั้งทางด้าน การใช้ การสร้าง  

e-learning  การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

4. ต้องให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นกับนักเรียนเพื่อให้นักเรียนสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์และ  e-learning  ได้

5. ผู้บริหารจะต้องให้การช่วยเหลือ ส่งเสริม กำกับ นิเทศ ติดตาม ในการนำ e-learning  มาใช้จัดการเรียนการสอน

 

หมายเลขบันทึก: 321680เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2009 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 08:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท