ฉลาดได้ด้วยดนตรี(๒)


ยิงปืนนัดเดียวได้นก ๓ ตัว


หากเราจะวัดความฉลาดของมนุษย์โดยใช้มาตรIQ (Intelligence Quotient)  ของ LM Terman ที่เริ่มใช้กันมาตั้งแต่ ค..๑๙๑๖ มนุษย์ที่จัดว่ามีฉลาดก็ได้แก่ ผู้ที่มีความสามารถทางด้านภาษา และการคิดคำนวณ  มาในปี ค..๑๙๘๓  Howard Gardner ก็เขียนหนังสือชื่อ  Frams of Mind เพื่อนำเสนอว่า ความฉลาดของมนุษย์นั้นมีอยู่ ๗ ด้านด้วยกัน มาตรวัดตัวใหม่ที่เกิดขึ้นก็คือ MI (Multiple Intelligence)  และต่อมาได้ในปีค..๑๙๙๕ ก็ได้เสนอเพิ่มเป็น ๘ ด้าน ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่  Daniel Goleman เสนอมาตรวัดความฉลาดทางอารมณ์ หรือ  EQ (Emotional Quotient)  ต่อสาธารณะผ่านทางข้อเขียนของเขาเช่นกัน


MI หรือ พหุปัญญา เป็นแนวคิดที่มองมนุษย์อย่างรอบด้าน ที่สำคัญคือมองว่า มนุษย์ทุกคนต่างก็มีการเรียนรู้ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ที่เกิดขึ้นจากการมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมใน ลักษณะต่างๆ จนเกิดเป็นprofileเฉพาะที่แต่ละคนสั่งสมมาตลอดชีวิต สมองซึ่งเป็นเครื่องบันทึกความจำของแต่ละบุุคคลจึงมีลักษณะตัวตามเจ้าของไปด้วย


ปัญญาหรือความสามารถของมนุษย์ ตามการจำแนกของการ์ดเนอร์มีอยู่ ๘ ด้านด้วยกันคือ


  • ปัญญาทางด้านภาษา

  • ปัญญาทางด้านตรรกและคณิตศาสตร์

  • ปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์

  • ปัญญาทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว

  • ปัญญาทางด้านดนตรี

  • ปัญญาทางด้านมนุษยสัมพันธ์

  • ปัญญาทางด้านการเข้าใจตนเอง

  • ปัญญาทางด้านธรรมชาติวิทยา



ปัญญาทางด้านดนตรีถือเป็น ๑ ในปัญญาทั้ง ๘ ด้านตามที่การ์ดเนอร์เสนอไว้ แต่ผลการวิจัยของ ดร.เราส์เชอร์ก็ได้นำเรามาสู่ข้อสรุปที่ชวนให้มองมนุษย์อย่างเป็นองค์รวม และมองผลของการกระทำทุกอย่าง อย่างเป็นnet workที่ส่งผลถึงกันและกัน


ข้อสรุปที่ชัดเจนคือการเล่นดนตรีทำให้ความสามารถทางสติปัญญา ในส่วนของมิติสัมพันธ์เพิ่มขึ้น และยังส่งผลให้เกิดความเข้าใจความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ ได้ดีขึ้นด้วย หากจะอธิบายความอย่างสั้นที่สุด ปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ก็คือ ความฉลาดในการทำความเข้าใจกับความสัมพันธ์ของมิติ ที่มีทั้งกว้าง ยาว สูง


ถ้าจะอธิบายอย่างยาว อ.อารี สัณหฉวี และอ.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ ก็ได้เขียนเอาไว้ในบทความ เรื่องพหุปัญญา ว่า

ปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Intelligence)  คือความสามารถสูงในการมองเห็นพื้นที่ ได้แก่ นายพราน ลูกเสือ ผู้นำทาง และสามารถปรับปรุงและคิดวิธีการใช้เนื้อที่ได้มี เช่น สถาปนิก มัณฑนากร ศิลปิน นักประดิษฐ์ ปัญญาด้านนี้รวมไปถึงความไวต่อสี เส้น รูปร่าง เนื้อที่ และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเหล่านี้ นอกจากนี้ยังหมายถึง ความสามารถที่จะมองเห็น และแสดงออกเป็นรูปร่างถึงสิ่งที่เห็นและความคิดเกี่ยวกับพื้นที่


ปัญญาทางด้านดนตรีมีความเกี่ยวพันกันกับปัํญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ และปัญญาทางด้านคณิตศาสตร์ได้อย่างไร ดร.เราส์เชอร์ไม่ได้ให้คำตอบที่ชี้ชัดลงไป แต่ได้นำตัวเลขมาสนับสนุนความสัมพันธ์ที่พบ ว่า


  • เด็กที่เรียนดนตรีสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง ครั้งละ ๓๐ นาที ทำกิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะทางด้านมิติสัมพันธ์ และทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เรียนดนตรี

  • การเรียนดนตรีมีผลต่อปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ และคณิตศาสตร์ของเด็กในวัย ๓-๕ ปีที่สุด รองลงมาคือ ๖-๙ ปี จากนี้ไปจะส่งผลอ่อนแรงลงไปเรื่อยๆ


ทั้งปัญญาทางด้านตรรกและคณิตศาสตร์ ปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ และปัญญาทางด้านดนตรี ต่างก็เป็น ๑ ใน ๘ ด้านของพหุปัญญาที่พัฒนาได้ด้วยดนตรีทั้งสิ้น ...เรามายิงปืนนัดเดียวให้ได้นก ๓ ตัว กันดีไหม



 


 
















คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32162เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2006 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท