ประวัติ จังหวัดพิษณุโลก


ประวัติความเป็นมาของจังหวัดพิษณุโลกที่น่าสนใจมีดังนี้
พิษณุโลก เป็นเมืองใหญ่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง มากมีไปด้วยแหล่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และธรรมชาติของสายน้ำและป่าเขาที่สวยงามน่าท่องเที่ยว อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 377 กิโลเมตร
จังหวัดพิษณุโลกมีพื้นที่ประมาณ 10,815 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาและที่ราบสลับป่าไม้ทางด้านตะวันออก นอกนั้นเป็นที่ราบลุ่มอยู่โดยทั่วไป มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำน่านซึ่งไหลผ่านบริเวณตัวเมือง แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอคือ อำเภอเมือง อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิราม อำเภอบางระกำ อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอนครไทย อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอชาติตระการ และอำเภอเนินมะปราง

ประวัติศาสตร์
หลักฐานการสร้างเมืองพิษณุโลกมีมาแต่พุทธศตวรรษที่ 15 สมัยขอมมีอำนาจปกครองแถบนี้ แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า “เมืองสองแคว” เนื่องจากเมืองนี้ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำน่าน และแม่น้ำแควน้อย หรือบริเวณที่ตั้งของวัดจุฬามณีในปัจจุบัน เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1900 สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ ณ ตัวเมืองปัจจุบัน โดยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง
สมัยอยุธยา เมืองพิษณุโลกทวีความสำคัญมากขึ้น เพราะเป็นเมืองกึ่งกลางระหว่างกรุงศรีอยุธยาและอาณาจักรฝ่ายเหนือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถทรงปฏิรูปการปกครองและได้เสด็จมาประทับที่เมืองนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2006 จนสิ้นรัชกาลในปี พ.ศ. 2031 ช่วงนั้นพิษณุโลกเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยานานถึง 25 ปี หลังรัชสมัยของพระองค์พิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง เป็นหน้าด่านสำคัญที่จะสกัดกั้นกองทัพพม่า เมื่อครั้งพระนเรศวรมหาราชดำรงฐานะพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก ระยะนั้นไทยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงรวบรวมชายฉกรรจ์ชาวพิษณุโลกกอบกู้อิสรภาพชาติไทยได้ในปี พ.ศ. 2127
ในสมัยกรุงธนบุรี พิษณุโลกเป็นสถานที่ตั้งมั่นรับศึกพม่า เมื่อครั้งกองทัพของอะแซหวุ่นกี้มาตีเมืองพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2318 อะแซหวุ่นกี้ต้องเผชิญการต่อสู้อย่างทรหดกับเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ถึงขนาดต้องขอดูตัว และได้ทำนายเจ้าพระยาจักรีว่าต่อไปจะได้เป็นกษัตริย์
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงดำริให้รื้อกำแพงเมืองพิษณูโลกเพื่อไม่ให้ข้าศึกใช้เป็นที่มั่น ครั้นถึงปี พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเมืองพิษณุโลกขึ้นเป็นมณฑลเรียกว่า มณฑลพิษณุโลก ต่อมาเมื่อยกเลิกการปกครองแบบมณฑลแล้ว พิษณุโลกจึงมีฐานะเป็นจังหวัดเรื่อยมาจนปัจจุบัน

 

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5525 1394
โรงพยาบาลพุทธชินราช โทร. 0 5521 9842-4
โรงพยาบาลพิษณุเวช โทร. 0 5521 9941
โรงพยาบาลรวมแพทย์ โทร. 0 5521 9309-10
โรงพยาบาลรัตนเวช โทร. 0 5521 0820-1
โรงพยาบาลอินเตอร์เวชการ โทร. 0 5521 8777, 0 5521 7800
สภอ.เมือง โทร. 0 5525 8777, 0 5522 5491
ตำรวจองเที่ยวพิษณุโลก โทร. 0 5524 5357-8

Link ที่น่าสนใจ
สำนักงาน ททท.ภาคเหนือ เขต 3
สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก
 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32149เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2006 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 05:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

อยากทราบว่าสีประจำจังหวัดพิษณุโลกเป็นสีอะไรคะ

และทำไมต้องเป็นสีนั้นมีความเป็นมาอย่างไรเกี่ยวกับสีคะ

และสัญาลักษณ์ปรtจำจังหวัดคืออะไรคะ

ลบกวนช่วยตอบกลับด้วยนะคะ

ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้

เน

ขอหั้ยมีความสุข

อ่านแล้วมีความรู้นะคร๊าฟฟฟฟฟฟฟฟ

ขอให้มีความสุกกับการอ่านนะคราฟฟฟฟฟฟฟฟๆฟ

อายุเท่าไรครับชุติมา

เรวววววววววววววว

สีม่วงครับ

ปัณณวัฒน์ แก้วชมเชย

ผมแก๊ง3เปรี๊ยวครับ

ขอบคุงมาก

จังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการคมนาคมภูมิภาคอินโดจีน สีประจำจังหวัดพิษณุโลก สีม่วง หมายถึงสมเด็จพระนเรศวร (สีแห่งความเป็นกษัตริย์) สัญญลักษณ์ประจำจังหวัดคือ ภาพพระพุทธชินราช

อยากรู้ประหวัดความเป็นมาขอโรงพยาบาลรัตนเวชจัง

คาบบบบบบบบ

ขอบคุณมากค่ะ แถมย่ออีก ขอบคุณคะ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท