(3) สาขาวิชาใน ISCED


สาขาวิชา

 

        ISCED (International  Standard  Classification of Education)
จำแนกสาขาวิชาต่างๆ ในสถาบันอุดมศึกษาเป็น 10 สาขาคือ 


            1ศึกษาศาสตร์และการฝึกหัดครู  ได้แก่วิชาประถมศึกษา การมัธยม
ศึกษา สุขศึกษา การศึกษาผู้ใหญ่ บริหารการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา จิตวิทยา
การศึกษา ศิลปศึกษา พยาบาลศึกษา ฯลฯ
            2)     มนุษยศาสตร์ ศาสนา และเทววิทยา  ได้แก่วิชาโบราณคดี อักษร
ศาสตร์ วรรณคดีเปรียบเทียบ  ศาสนาและเทววิทยา ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ภาษา
และวรรณคดี ปรัชญา ฯลฯ
            3)       วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์  ได้แก่วิชามัณฑนศิลป์  จิตรกรรม
ประติมากรรม  ภาพพิพ์  ศิลปการละคร ประวัติศาสตร์ ฯลฯ
            4)         นิติศาสตร์ ได้แก่วิชาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายต่างๆ
            5)        สังคมศาสตร์
             5.1  สังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ได้แก่ชาเศรษฐศาสตร์  รัฐศาสตร์ 
จิตวิทยา  ภูมิศาสตร์  สังคมวิทยา  และมานุษยวิทยา  สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ประชา
กรศาสตร์ และวิชาอื่นที่คล้ายกัน
             5.2    การบริหารพาณิชการและธุรกิจ ได้แก่วิชาพาณิชยศาสตร์ การบัญชี 
การธนาคารและการเงิน การบริหารธุรกิจ การจัดการการตลาด การประกันภัย ฯลฯ
             5.3      การสื่อสารมวลชนและการเอกสาร ได้แก่วิชาวารสารศาสตร์  การ
สื่อสารมวลชน นิเทศศาสตร์ การประชาสัมพันธ์ บรรณารักษ์ศาสตร์ ฯลฯ
             5.4    คหกรรมศาสตร์  ได้แก่วิชาโภชนศาสตร์  คหกรรมศาสตร์ ฯลฯ
            6)      วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
              6.1   วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ  ได้แก่วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป เคมี ชีววิทยา 
จุลชีววิทยา  ธรณีวิทยา ฟิสิกส์ สมุทรศาสตร์ ฯลฯ
              6.2    คณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้แก่วิชาคณิตศาสตร์ 
สถิติ  สถิติประยุกต์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
            7)       แพทยศาสตร์และวิชาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ  ได้แก่วิชาทันตแพทย
ศาสตร์  เภสัชศาสตร์  เทคนิคการแพทย์  แพทยศาสตร์  กายภาพบำบัด  พยาบาลศาสตร์  สาธารณสุขศาสตร์  อาชีวอนามัย ฯลฯ
            8)       วิศวกรรมศาสตร์ 
               8.1  วิศวกรรมศาสตร์  ได้แก่วิชาวิศวกรรมโยธา  วิศวกรรมไฟฟ้า  วิศวกรรม
เคมี  วิศวกรรมเกษตร  วิศวกรรมอุตสาหการ  วิศวกรรมเหมืองแร่  วิศวกรรมเครื่องกลนิว
เคลียเทคโนโลยี ฯลฯ
                8.2    สถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง  ได้แก่วิชาสถาปัตยกรรมการ
ผังเมือง  การออกแบบชุมชน  เทคโนโลยีทางอาคาร  เคหการ  สถาปัตยกรรมภายใน ฯลฯ
            9)   เกษตรศาสตร์  วนศาสตร์  และการประมง  ได้แก่วิชากีฏวิทยา  เกษตรกล
วิธาน  พืชศาสตร์  พืชสวน  พืชไร่  วนศาสตร์  การจัดการทรัพยากรป่าไม้ ปฐพีศาสตร์
อารักขาพืช  สัตวบาล  สัตวแพทยศาสตร์  การประมง ฯลฯ
          10)  วิชาอื่นๆ  ได้แก่วิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมศึกษา วิทยาศาสตร์
สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม  การจัดการสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32107เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2006 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท