กี้
นาย นายสันติ กี้ เบ็ญจศิล

การบริหารแบบมีส่วนร่วม


การบริหารแบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมสู่ การประเมินหลักสูตรเพื่อคุณภาพของสถานศึกษา
               
                ในปัจจุบันการศึกษามีบทบาทและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความสำเร็จของประเทศ สภาพสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว วิทยาการต่างๆเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาการศึกษาของชาติให้เหมาะสมทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ การศึกษานั้นไม่เป็นเพียงสถาบันทางสังคมที่มีความสำคัญ หากแต่เป็นสิ่งที่ทำหน้าที่แกนกลางของสังคม ซึ่งองค์กรทุกๆส่วนของสังคมจะพัฒนาและได้รับประโยชน์จากการศึกษาเพียงใดนั้นนั้นขึ้นอยู่กับการจัดการศึกษา(นาววินี ภูสุนทเรศ.2548:1) ในการจัดการศึกษาจำเป็นจะต้องมีผู้นำในการที่จะมาบริหารจึงจะสามารถนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จดังนั้นผู้บริหารจะต้องมีการบริหารงานในลักษณะที่เป็นสากลของการบริหาร คือ
  1. การบริหารต้องมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย
  2. ต้องอาศัยปัจจัยบุคคลเป็นองค์ประกอบสำคัญ
  3. ต้องใช้ทรัพยากรบริหารเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน
  4. ต้องมีลักษณะการดำเนินการเป็นกระบวนการทางสังคม
  5. ต้องเป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างกลุ่มบุคคล 2 คนขึ้นไป
  6. ต้องอาศัยร่วมมือร่วมใจเพื่อให้ภารกิจบรรลุวัตถุประสงค์
  7. เป็นการร่วมมือดำเนินการอย่างมีเหตุผล
  8. มีลักษณะเป็นการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
  9. การบริหารไม่มีตัวตน แต่มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ (จากเอกสาร การบริหารงาน ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ที่ใช้อบรมหัวหน้าฝ่ายทั่วประเทศ)  ดังนั้นการบริหารที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้นั้นจะต้องให้ผู้ร่วมงานในองค์การมีส่วนในการบริหารและร่วมกันทำงาน  อย่างไรก็ตามแม้โรงเรียนมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ แต่การบริหารจัดการศึกษาก็ยังคงอยู่ภายในขอบเขตและหลักการตามที่กฎหมายกำหนด (กระทรวงศึกษาธิการ.2546:3)  งานในหน้าที่ของผู้บริหาร มีองค์ประกอบสำคัญ(ถวิล เกื้อกูลวงศ์.2530:27) คือ
    1. การวางแผน (Planning)
    2. การจัดองค์การ (0rganizing)
    3. การจูงใจ ( motivation) รวมถึงการอำนวยการ ( directing) การติดต่อสื่อสาร(communicating) และการเป็นผู้นำในการดำเนินการ (leading)
    4. การคุมงาน (controlling) เป็นการกำกับติดตามและประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับแผนที่ได้กำหนดไว้ซึ่งจะให้ทราบถึงสัมฤทธิ์ผลตามแผนที่วางไว้และหากผลงานเบี่ยงแบนไปจากความคาดหวังที่ตั้งไว้ก็ต้องนำผลการประเมินไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่บริหารโดยเฉพาะการควบคุมงานในลักษณะติดตาม (monitoring) และการประเมินผล (evaluation) จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่าการบริหารนั้นเป็นสิ่งสำคัญและจะให้สำคัญที่จะนำพาองค์การสู่ความสำเร็จ ผู้บริหารจะต้องมีการกระจายงานสู่ผู้รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายจึงต้องมีการบริหารแบบมีส่วนร่วมเกิดขึ้น ดังนั้นความหมายของการบริหารแบบมีส่วนร่วมมีความหมายดังนี้ 
ความหมาย การบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นการจูงใจให้ผู้ร่วมปฏิบัติงานในองค์การได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ความรับผิดชอบ และร่วมมือใน องค์การและพัฒนาปฏิบัติด้วยความเต็มใจ    
เทคนิคการใช้บริหารแบบมีส่วนร่วม
1.การใช้กลุ่มงานเฉพาะกิจและคณะกรรมการ (Special Task Forces and Committee)
2.กรรมการให้คำแนะนำ
3.การใช้แนวความของหมุดเชื่อมโยง (Linkeng Pin)
4.การติดต่อสื่อสารแบบประตู
5.การระดมความคิด
6.การฝึกอบรมแบต่าง ๆ
7.การบริหารโดยมีวัตถุประสงค์ (MBO)
จะเห็นได้ว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วมภายในองค์การ จะช่วยสร้างความสามัคคี ช่วยให้ทราบถึงความต้องการของบุคคลากรทั้งหมด และช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น ลดความเฉื่อยชาในการทำงาน การย้ายงานและการหยุดงาน การบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นการช่วยลดความขัดแย้ง และการต่อต้าน จากพนักงานระดับล่าง และช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงาน และทำให้สุขภาพจิตในองค์กรดีขึ้น ทั้งนี้ยังเป็นการช่วยเพิ่มผลผลิตในองค์กร เป็นการสร้างหลักประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในองค์กร และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน มีการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและทะนุถนอม รวมทั้งทำให้พนักงานรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ดังนั้นจึงเกิดความกระตือรือร้นขึ้นในสถานศึกษาที่ผู้บริหารได้ให้มีส่วนร่วมในการทำงานในครั้งนี้ การบริหารแบบมีส่วนร่วม จะช่วยสร้างความสามัคคี ช่วยให้ทราบถึงความต้องการขององค์กรทั้งหมด และช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น ลดความเฉื่อยชาในการทำงาน การย้ายงานและการหยุดงาน การบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นการช่วยลดความขัดแย้ง และการต่อต้าน จากพนักงานระดับล่าง และช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงาน และทำให้สุขภาพจิตในองค์การดีขึ้น ทั้งนี้ยังเป็นการช่วยเพิ่มผลผลิตในองค์กร เป็นการสร้างหลักประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในองค์การ และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน มีการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและทะนุถนอม รวมทั้งทำให้พนักงานรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร  ดังนั้นการที่องค์การจะประสบความสำเร็จได้นั้นผู้บริหารจะต้องจัดองค์การให้มีความรับผิดชอบในหน้าที่ และในสถานศึกษาการจัดการศึกษาจะต้องมีการจัดโดยการกระจายอำนาจให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบได้ทำงานในหน้าที่ของตนเอง
องค์ประกอบหลักของการมีส่วนร่วมบริหารการศึกษา
                พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 กำหนดให้ผู้ปกครอง ชุมชน เอกชน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยจะสำเร็จตามเจตนารมณ์ของกฏหมายฉบับนี้ได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ (เมตต์ เมตต์การุณ์จิต, 2547 : 52)
                1.  สถานศึกษา โดยเฉพาะผู้บริหารจะต้องมีวิสัยทัศน์ (Vision) ยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา จะต้องเปิดใจกว้างและคิดว่าสถานศึกษามิใช่แหล่งความรู้เพียงแห่งเดียว แต่ความรู้ที่อยู่ล้อมรอบสถานศึกษานั้นยังมีอีกมากมาย การยอมรับว่าภูมิปัญญาชาวบ้านมีคุณค่านั้น จะเป็นหนทางที่ทำให้สถานศึกษาเปิดรับการบูรณาการระหว่างภูมิความรู้ของสถานศึกษาและภูมิความรู้จากชาวบ้านเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอย่างแท้จริง
                2.  คณะกรรมการสถานศึกษา เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากจะเป็นผู้ผลักดันให้การมีส่วนร่วมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับชุมชน มีข้อมูลและทราบความต้องการของชุมชน ซึ่งย่อมจะมองเห็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ การจัดการศึกษาในอนาคตจะเป็นเรื่องของทุกคน ไม่ใช่เรื่องของทางราชการแต่เพียงฝ่ายเดียวเหมือนแต่ก่อน คณะกรรมการสถานศึกษาจึงเป็นบุคคลสำคัญในการระดมกำลังในการศึกษาโดยเฉพาะในเรื่องของกองทุนการศึกษา
                3.  การเรียนการสอน ในการจัดเตรียมการสอนเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาที่จะต้องมีความพร้อมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านบุคลากร อุปกรณ์ อาคารสถานที่ เพื่อให้เด็กได้เรียนอย่างเสมอภาค สำหรับกระบวนการเรียนรู้จะต้องให้เด็กทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ โดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด นั่นก็คือการยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง สถานศึกษาจะต้องร่วมกับภาคเอกชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน จัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาใช้ภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการสถานศึกษาจะต้องมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์พัฒนากับชุมชน อย่างไรก็ตาม บุคคลภายนอกมีสิทธิ์ที่จะติดตามผลการดำเนินงานของสถานศึกษา เช่น ผลการเรียน การใช้จ่ายเงิน การจัดกิจกรรม การบริหารสถานศึกษา และจะต้องรายงานให้สาธารณชนทราบโดยเฉพาะคณะกรรมการสถานศึกษามีหน้าที่ติดตามควบคุมกิจการของสถานศึกษาและจะต้องทำหน้าที่นี้ให้ดีที่สุด
                4.  หลักสูตร เป็นหัวใจสำคัญของการศึกษา เปรียบเสมือนเป้าหมายของการเดินทางหรือเข็มทิศของการศึกษา เพราะถ้าหลักสูตรไม่มีเข็มทิศในการเดินทางก็จะไม่ทราบว่าจุดหมายคืออะไร อยู่ที่ไหน กลายเป็นการไปอย่างไร้จุดหมาย ดังนั้น หลักสูตรจะต้องได้มาตรฐานสากล ผู้ทำให้หลักสูตรได้มาตรฐาน นอกจากกระทรวงศึกษาธิการแล้ว สถานศึกษา ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้ร่วมพิจารณากำหนดโดยยึดความต้องการของสังคมเป็นเกณฑ์ นอกจากนี้การวัดผลจะต้องเที่ยงตรง ตลอดจนใช้สื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยจึงจะสอดคล้องกับการเรียนการสอน หลักสูตรที่ดีจะต้องมีการยืดหยุ่น เช่น มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนที่มาจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือประสบการณ์การทำงาน นอกจากนี้ การจัดทำหลักสูตรจะต้องคำนึงถึงสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
                อาจสรุปได้ว่า องค์ประกอบที่สำคัญของการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา ได้แก่ สถานศึกษาซึ่งรวมถึงบุคลากรของสถานศึกษาด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาซึ่งรวมถึงสังคมทุกฝ่าย การจัดการเรียนการสอน และหลักสูตร ซึ่งทุกปัจจัยจะต้องสอดคล้องสัมพันธ์กันจึงจะผลักดันให้การศึกษามีประสิทธิภาพ ครูที่ทำหน้าที่สอนจะต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง โดยเฉพาะผู้บริหารเป็นบุคคลที่สำคัญที่จะต้องปรับเปลี่ยนการทำงานแบบดั้งเดิมมาเป็นการทำงานโดยวิธีใหม่ ให้ทันกับยุคของการเปลี่ยนแปลง
 ประโยชน์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา
 
                การบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่ได้รับความสนใจในวงการบริหารโรงเรียนมากในปัจจุบัน เพราะเป็นรูปแบบที่น่าจะสอดคล้องกับแนวทางการบริหารตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เมื่อนำไปใช้ในสถานศึกษาจึงมีประโยชน์ (อุทัย บุญประเสริฐ,2545 :49 ) ดังนี้
                1.  เป็นการระดมผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีประสบการณ์เพื่อร่วมกันจัดการศึกษาเพื่อเปิด                          โอกาสให้ครู เจ้าหน้าที่และชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของโรงเรียน
  1. ขวัญและกำลังใจของครูดีขึ้น
  2. เป็นการระดมทรัพยากรด้านการเงินและด้านวิชาการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน
  3. สร้างและสนับสนุนให้เกิดผู้นำใหม่ ๆ ในทุกระดับ
  4. เพิ่มปริมาณและคุณภาพการติดต่อสื่อสาร
  5. สร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน ทำให้เกิดการริเริ่มจัดทำโครงการใหม่ ๆ เพื่อใหตรงกับความต้องการของผู้เรียนมากขึ้น
  6. การที่ครู และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการบริหารงบประมาณจึงเกิดแนวการที่จะต้องใช้งบประมาณโดยประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด
  7. เปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนในโรงเรียนได้เสนอแนวความคิดเห็นในการปรับปรุงการศึกษา
  8. ชุมชนมีส่วนร่วมและมีสิทธิ์ในการบริหารจัดการศึกษา
  9. การบริหารและการตัดสินใจทำด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
  10. ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนและโครงการใหม่ๆ
 
การบริหารแบบมีส่วนร่วมจึงเป็นรูปแบบของการบริหารที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันและสอดคล้องกับแนวคิดระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นการบริหารที่คำนึงถึงบุคลากรทุกฝ่าย  การบริหารที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกขั้นตอนการทำงาน ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงานไปจนถึงการประเมินผล การบริหารในรูปแบบดังกล่าวจึงให้ความสำคัญกับบุคลากรทุกระดับ เป็นการเสริมสร้างความสามัคคี อันจะนำไปสู่การบรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางไว้
 
การจัดการศึกษาของประเทศไทยในระยะที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ซึ่งในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มีความมุ่งหมายให้จัดการศึกษาเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางรางกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข
 
ในการปฏิรูปการเรียนรู้สิ่งที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งก็คือ ครูผู้สอนที่เป็นผู้ที่เชื่อมโยงความรู้ไปยังผู้เรียน ดังนั้นครูผู้สอนจะต้องได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อให้จัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม(กระทรวงศึกษาธิการ. 2541 : 75) ปีการศึกษา 2546 เป็นปีที่มีการกำหนดให้ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หรือที่เรียนง่ายๆว่า “หลักสูตรใหม่” หลักสูตรใหม่ดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดปัจจัย บริบท และกระบวนการในการจัดการเรียนรู้ที่มีรูปร่างหน้าตาผิดแผกแตกต่างไปจากกระบวนการจัดการหลักสูตรเดิม อาทิ หลักสูตรอิงมาตรฐาน หรือสถานศึกษาต้องพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของตน เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ การประเมินผลต้องเป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้(สงัด อุทรานันท์. 2532:279)  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเมื่อมีการจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่ในสถานศึกษาก็ควรที่จะมีการประเมินหลักสูตรเกิดขึ้นภายในกรอบเวลาที่ทางสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาได้กำหนดไว้ว่า ภายในระยะเวลา 5 ปีจะต้องมีการจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่ จะเห็นได้ว่าถ้ามีการจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่ก็จะต้องมีการประเมินหลักสูตรเสียก่อนว่ามีจุดอ่อนตรงไหนจะต้องแก้ไข โดยทั่วไปแล้ว การประเมินหลักสูตรมักมีจุดมุ่งหมายเพียงอย่างเดียว คือ การพิจารณาคุณค่าหรือค่านิยม (worth  of value) ของหลักสูตร แต่ผลของการประเมินหลักสูตรนั้นมีบทบาทที่สำคัญ ผู้นำจัดทำหลักสูตรจะต้องคำนึงถึงข้อมูลพื้นฐานแล้วนำมากำหนดจุดมุ่งหมาย มีการเลือกเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายนั้นตลอดจนวิธีสอนให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหา (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. 2545:54) กล่าวว่า การประเมินเป็นกระบวนการที่ตอบคำถาม How Good  ดังนั้น การประเมินจึงมีความหมายไว้ 2 ประการคือ
  1.  การประเมิน หมายถึง การตัดสินคุณค่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
  2.  การประเมิน หมายถึง กระบวนการที่ก่อให้เกิดสารสนเทศ (Information) เพื่อช่วยในการตัดสินใจ และการประเมินสิ่งใดก็ตามต้องประกอบด้วยส่วนประกอบ (Performance) ที่ได้จากการวัดกับการตัดสินคุณค่าของส่วนประกอบนั้นและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนส่งเสริมสร้างประสิทธิภาพการประเมินได้อย่างไร จากผลการประเมินที่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการประเมินระดับใด ล้วนเป็นข้อมูลที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งสิ้น และนอกจากนี้ สตัฟเฟิลบีม(Stuffebeam. 1973: 19) ได้ให้ความหมายของการประเมินหลักสูตร หมายถึง กระบวนการพิจารณาและเก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการตัดสินใจในหลักสูตร หรือเป็นทางเลือกเพื่อการดำเนินการที่มีคุณค่า การประเมินไม่ใช่เพียงผลการตัดสินคุณค่าเท่านั้น แต่การประเมินเป็นการดึงเอาคุณค่าของสิ่งที่ต้องการประเมินออกมา เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนา ซึ่งสอดคล้องกับ ครอนบาค (Cronbach) (ทิศนา แขมมณี. 2540:134-135; citing Cronbach) ได้ให้คำนิยาม การประเมินหลักสูตร หมายถึง การรวบรวมข้อมูลและการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในเรื่องของหลักสูตร  ดังนั้นเพื่อให้ผลการประเมินที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาอย่างแท้จริง ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายพึงยอมรับแนวคิด วัฒนธรรมการทำงาน ที่ถือว่า การประเมินเป็นกระบวนการพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่า จึงเห็นได้ว่าการที่เราจะทำงานให้บรรลุผลหรือประสบความสำเร็จนั้นต้องให้ทุกส่วนมีส่วนร่วมจะเห็นว่าปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ประชาชนจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร และจัดการศึกษา คือ การปฏิรูปการศึกษา คือ ระบบการศึกษาไทยของไทยยังไม่บรรลุเป้าหมายและนโยบาย ตลอดจนกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า ต้องจัดการศึกษาให้แก่คนไทยทั้งมวลเป็น Education for All ดังนั้น การศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาต้องเป็นเพื่อมวลชน ไม่ใช่เพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเหมือนในสมัยก่อน การจัดการศึกษาในยุคของการปฏิรูปการศึกษาจึงส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมจัดการศึกษาด้วย ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพและมีมาตรฐานทัดเทียมนานาประเทศ
 
                อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารการศึกษา เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารการศึกษา ไม่ว่าจะมีส่วนร่วมในการวางแผน การแสดงความคิดเห็น การตัดสินใจ การประสานงาน ตลอดจนการประเมินผลในลักษณะของการร่วมคิดร่วมทำ และร่วมแก้ไขปัญหาด้วยความเสียสละเต็มใจ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจะช่วยให้การตัดสินใจละเอียดถี่ถ้วนมีโอกาสผิดพลาดน้อย ก่อให้เกิดผลดีแก่หน่วยงาน ซึ่งถ้าหากประชาชนมีแนวคิดเช่นนี้เป็นส่วนมากก็จะทำให้สังคมเข้มแข็ง และจะเป็นฐานสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยต่อไป  เช่นเดียวกับการประเมินผลภายในโรงเรียน จะต้องมีการประเมินเพื่อหาแนวทางปรับปรุงและแก้ไขเมื่อประเมินแล้วสามารถนำมาพัฒนาในโรงเรียนได้ต่อไป ดังนั้นการบริหารแบบมีส่วนร่วมสู่การประเมินหลักสูตรเพื่อคุณภาพของสถานศึกษาจะต้องมีความสอดคล้องในทุกๆส่วนไม่ว่าจะเป็นการจัดการศึกษา การมีส่วนร่วมในการบริหาร ถ้าทำได้ในทุกๆส่วนก็สามารถที่จะนำมาซึ่งคุณภาพของสถานศึกษาและโรงเรียนจะมีการพัฒนาได้อย่างมีคุณภาพต่อไป
 
 
 
 
บรรณานุกรม
 
นาววินี ภูสุนทเรศ. (2548)  การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขาการบริหาร
การศึกษา พ.ศ.2541  ชลบุรี: สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย   มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. 2547. การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม : ประชาชน องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.
อุทัย บุญประเสริฐ. 2545.  การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ :
           จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ.
กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
ไพรัช  สู่แสงสุข. (2545) .หลักสูตรสถานศึกษาแท้เพื่อผู้เรียนเป็นสำคัญ.สืบค้นเมื่อ 10   กรกฏาคม 2550, จาก http://www.emisc.moe.go.th
 
 
 
 
 
หมายเลขบันทึก: 320772เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2009 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นความรู้ที่น่าสนใจมาก

ขอบคุณนะครับที่ให้ข้อมูลในการศึกษา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท