กองทุนหมู่บ้านภาคประชาชน


มาอ่านรายละเอียดของกองทุนหมู่บ้านภาคประชาชนจะดีกว่า

แกะรอยกองทุนหมู่บ้านภาคประชาชน

 

นโยบายกองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1ล้านบาท หนึ่งในหลายโครงการเร่งด่วนของรัฐบาลทักษิณซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหลายหน่วยงาน คือ กระทรวงการคลังกระทรวงมหาดไทย สำนักนายกรัฐมนตรี ความคืบหน้าขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการประมวลความเห็นจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอเป็นร่างกองทุนหมู่บ้านเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณารับหลักการ

ในขณะที่การเตรียมการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งประสานมือให้เกิดเป็นรูปธรรมทางภาคเอกชนกลับมีความเคลื่อนไหวและตื่นตัวกันอย่างเห็นได้ชัดดูเหมือนว่ามีการดำเนินการรวดเร็วยิ่งกว่าหน่วยงานของรัฐด้วยซ้ำเพราะเริ่มเห็นเค้าโครงการนำไปปฏิบัติชัดเจนขึ้นจากการระดมความคิดเห็นถ่ายทอดความเห็นออกมาเป็นร่างพระราชบัญญัติกองทุน หมู่บ้านเพื่อเสนอให้รัฐบาลพิจารณาเป็นทางเลือกร่วมกับอีกหลายแนวทางที่ดำเนินการโดยทีมงานด้านกฎหมายของพรรคไทยรักไทย และร่างตามแนวทางของกระทรวงมหาดไทยที่ดำเนินการโดยกรมการพัฒนาชุมชน และได้ยึดรูปแบบจากโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กขคจ.)

มท.ยึดแนวทาง กขคจ.เลือกครัวเรือนยากจน

แนวทางที่มหาดไทยได้นำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ในการประชุมกองทุนหมู่บ้าน โดยยึดรูปแบบของโครงการ กขคจ.ซึ่งมี 2 แนวทาง คือ

แนวทางที่ 1 คัดเลือกจากครัวเรือนที่ยากจนหรือครัวเรือนที่ขาดเงินลงทุน

แนวทางที่ 2จะนำกองทุนแต่ละกระทรวงที่ดำเนินการไปแล้ว เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม มาออกระเบียบสำนักนายกฯแล้วให้แต่ละหมู่บ้านทำโครงการอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางหรือส่งเสริมโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 ผลิตภัณฑ์

ดร.เอนก นาคะบุตร ผู้อำนวยการโครงการกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม (Social Investment Fund-SIF)กล่าวถึงความคืบหน้ากรอบแนวคิดการบริหารกองทุนหมู่บ้านว่า ขณะนี้ทางSIF ร่วมกับธนาคารออมสินและ กระทรวงการคลังได้ยกร่างพ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านขึ้นเป็นตัวแบบที่จะนำเสนอสู่คณะทำงานของรัฐบาลที่กำลังรวบรวมแนวคิดจากหลายฝ่าย มาประมวลให้เห็นภาพชัดเจนซึ่งผลสรุปอยู่ที่ นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ตัดสิน

"ขณะนี้หลายฝ่ายแสดงความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการกองทุนหมู่บ้านหน่วยราชการระดับกรมแห่งหนึ่งถึงกับเสนอจะดูแลบริหารโครงการนี้เองหากเป็นอย่างนี้จะขอให้สิทธิ์คัดค้านในฐานะที่เคยทำงานมีประสบการณ์ในการบริหารกองทุนของ ชุมชนมาอย่างต่อเนื่องเพราะกองทุนหมู่บ้านต้องทำทุกหมู่บ้านเป็นสเกลที่ใหญ่มากหากใช้กรอบความคิดและกลไกผูกติดกับระบบราชการที่พิสูจน์แล้วว่าอ่อนแอมาก"

ดร.เอนกกล่าวว่าจากการร่วมฟังความเห็นของผู้เกี่ยวข้องและชุมชนที่ผ่านประสบการณ์บริหารกองทุนหมู่บ้านได้ข้อสรุปคือ ควรมีองค์กรใน 3 ระดับคือ

1. ระดับชาวบ้านคือคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน

2. ระดับ อำเภอ-จังหวัดเป็นกรรมการพี่เลี้ยงที่คอย ให้ข้อเสนอแนะติดตามประเมินผลและ

3.กรรมการระดับชาติเป็นหน่วยงานกำหนดนโยบายและทิศทางการบริหารกองทุน

แนวทางภาคประชาชน เน้นคิดเป็น-ตรวจสอบกันเองสกัดผู้มีอิทธิพลจัดสรรผลประโยชน์

สำหรับการระดมความเห็นจากคณะทำงานจัดทำแผนชุมชนจังหวัด รวม 21 จังหวัดได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับการกำหนดกรอบร่างพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านให้ภาคประชาชน มีส่วนร่วมในการสนับสนุนองค์กรชุมชนในการระดมความเห็นจากคณะทำงานจัดทำแผน ชุมชนร่วมกับหน่วยงานภาคประชาชนและนักวิชาการ เมื่อวันที่ 12มีนาคมที่ผ่านมา ได้สรุปความเห็นเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านดังนี้เน้นให้ มีกองทุนที่หมู่บ้านเป็นกองทุนรวมเดียวกัน,การส่งผ่านเงินไม่ควรส่งผ่านกลไกรัฐ ได้แก่คณะกรรมการหมู่บ้านอบต.โดยควรลงสู่หมู่บ้านโดยตรง,ให้มีการเตรียมความพร้อมของหมู่บ้านก่อนด้วยการจัดเวทีให้เกิดความเข้าใจและความร่วมมือ,หน่วยงานที่มีบทบาทหลัก ในการสนับสนุนชุมชน อาทิ กรมการพัฒนา ชุมชนSIF และสถาบันพัฒนาองค์กรเอกชน (พอช.)ควรร่วมมือส่งเสริมความพร้อมให้กับหมู่บ้านและไม่ควรมีระเบียบกติกามากเกินไปเพราะชาวบ้านจะไม่ต้องการและจะทำให้ผู้มีอิทธิพลเข้ามาตักตวงหาผลประโยชน์

สำหรับร่างพ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านจากกรอบแนวคิดของภาคประชาชนที่จะถูกนำเสนอไปให้ นายสมคิดจาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาร่วมกับร่าง พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้าน ที่นายชูศักดิ์ ศิรินิลมือกฎหมายพรรคไทยรัก ไทยเป็นหัวหน้าทีมร่างกฎหมายทั้งสองร่างแม้จะมีเป้าหมายเดียวกันแต่มีความแตกต่างกันในด้านการกำหนดกลยุทธ์การบริหารเงินกองทุน

โดยร่างพ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านฉบับที่เสนอโดยภาคประชาชนมีจุดเด่นอยู่ที่การมีตัวแทนจากภาคประชาชนเข้ามีส่วนในการตรวจสอบการใช้เงินกองทุนหมู่บ้านร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เนื้อหาประกอบด้วย 8 หมวด 36 มาตราสรุปเนื้อหาพอสังเขปได้ดังนี้

หมวดที่ 1:คณะกรรมการนโยบายหมู่บ้านแห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นรองประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาด ไทยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงพาณิชย์เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อำนวยการธนาคารออมสินผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เป็นกรรมการผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นกรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนการจัดหาเงินทุนเพื่อจัดสรรให้ กับกองทุนหมู่บ้าน,กำหนดแผนการจัดสรรเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านตามลำดับความสำคัญ,กำหนดระเบียบในการบริหารกองทุนหมู่บ้านการให้กู้ยืมเงินของคณะกรรมการกองทุน,กำหนดกรอบระเบียบหลักในการกำหนดหลักเกณฑ์ผู้มีสิทธิ์กู้ยืมเงินจากกองทุน และราย งานผลการดำเนินงานปัญหาอุปสรรครวมทั้งฐานะการเงินของกองทุนให้คณะรัฐมนตรีทราบอย่างน้อยปีละสองครั้งเป็นต้น

หมวด 2:กองทุนหมู่บ้านเมื่อจดทะเบียน แล้ว มีฐานะเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อพึ่งตนเองบริหารจัดการเงินลงทุนของตนเองการสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของตนเอง,สร้างงาน พัฒนาอาชีพ ยกระดับอุตสาหกรรมครัวเรือนวิสาหกิจชุมชน,สนับสนุนความแข็งแกร่งของชุมชน

หมวด 3:คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในหมู่บ้านนั้นๆมีอำนาจหน้าที่ในการขอจดทะเบียน กองทุนต่อนายทะเบียน ตามหลักเกณฑ์วิธี การและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทยประกาศ,จัดทำทะเบียนกลุ่มชุมชนในหมู่บ้าน, จัดเวทีสำรวจข้อมูลกลุ่มชุมชน ที่มีความต้องการแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาอาชีพและรายได้ของประชาชนในหมู่บ้าน,กำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการให้กู้ยืมเงินแก่กลุ่มชุมชน,พิจารณาวิเคราะห์โครงการที่กลุ่มชุมชนในท้องถิ่นยื่นขอกู้เงินเพื่ออนุมัติเงินกู้, เป็นผู้แทนของกลุ่มชุมชนในหมู่บ้านในการลงนามทำสัญญาหรือข้อตกลงขอรับเงินกองทุนหมู่บ้านกับธนาคารออมสิน,ติดตามการใช้เงินกู้ของกลุ่มชุมชนให้เป็นไปตามที่กำหนด

ขายหุ้นหรือระดมเงินฝากจากประชาชนกลุ่มชุมชนเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกองทุนและตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุน,บริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านที่ได้รับจากธนาคาร ออมสินและเงินต้นและดอกเบี้ยที่ชำระคืน จากผู้กู้ในหมู่บ้านรวมทั้งเงินฝากเพิ่มเติมจากสมาชิกตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการนโยบายหมู่บ้านแห่งชาติ, จัดสรรดอกผลที่ได้จากเงินกองทุนหมู่บ้าน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านตามความเหมาะสม และใช้หลักความประหยัดความมีประสิทธิภาพและความมีประสิทธิผล, รายงานผลการดำเนินงานปัญหาอุปสรรคฐานะการเงินของกองทุนให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบประจำจังหวัดและสมาชิกในหมู่บ้านทราบทุกไตรมาสการรายงานคณะอนุกรรมการตรวจสอบประจำจังหวัดนั้นให้รายงานผ่านธนาคารออมสิน

ส่วนการพิจารณาโครงการต้องพิจารณาโครงการที่สมาชิกของกลุ่มชุมชนสามารถดำเนินการได้จริงโดยพิจารณาจากประสบการณ์ ในอาชีพ ทำเลการประกอบอาชีพและเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็น, มีแผนการดำเนินงาน ชัดเจน ตรวจสอบได้,เป็นโครงการใหม่และมิใช่ โครงการเดิมที่ได้รับการสนับสนุนอยู่ก่อนแล้วเว้นแต่จะกู้เงินไปเพื่อเสริมกิจการของโครงการที่ทำอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเป็นโครงการที่สนับสนุนระบบเศรษฐกิจพอเพียงและมีความเป็นไปได้

หมวด 4:"คณะอนุกรรมการตรวจสอบประจำจังหวัด" มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานและประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานราชการในจังหวัด ได้แก่พัฒนาการจังหวัด เกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด สถาบันสถานศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิและองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคธุรกิจเอกชน โดยมีผู้จัดการสาขาออมสินเป็นกรรมการและเลขานุการ

การแต่งตั้งอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้พิจารณาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญมีผลงาน และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการบริหารการเงินหรือการธนาคารการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐ- กิจท้องถิ่น อุตสาหกรรม เทคโนโลยีการเกษตรการพัฒนาแหล่งน้ำ และการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคณะอนุกรรมการมีหน้าที่ติดตามการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านในจังหวัดให้เป็นไปตามระเบียบเกิดความโปร่งใสและรายงานให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านแห่งชาติทราบทุกไตรมาส

คุณสมบัติต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง, ไม่เป็นข้าราชการพนักงานองค์กรของรัฐซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ไม่เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐไล่ออก ปลดออก หรือเลิกจ้างเพราะมีเหตุทุจริตต่อ หน้าที่

หมวด 5:คณะอนุกรรมการสนับสนุนด้าน วิชาการและการจัดการกองทุนมีนายอำเภอเป็นประธาน ประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์กระทรวงอุตสาหกรรม ในระดับอำเภอหรือตำบลผู้แทนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สถาบันราชภัฏสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น ตัวแทนจากภาคธุรกิจเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชนนักวิชาการ มีหน้าที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลกองทุนหมู่บ้านให้หมู่บ้านต่างๆ ให้เข้า ใจรวมทั้งประสานความร่วมมือพหุภาคีในการติดตามสนับสนุนเงินกู้ยืมจากกองทุนหมู่บ้านให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และให้เกิดผลสำเร็จและจัดทำรายงานความคืบหน้าผลการดำเนินการกองทุนให้อนุกรรมการตรวจสอบประจำ จังหวัดทราบทุกเดือนเพื่อเผยแพร่สาธารณะให้ทราบต่อไป

นอกเหนือจากระดมความคิดจากภาคประชาชนเพื่อก่อให้เกิดร่างพ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านแล้ว ก่อนหน้า นี้นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้อยู่เบื้องหลังนโยบายด้านการเกษตรของ พรรคไทยรักไทยได้แสดงท่าทีเกี่ยวกับนโยบายกองทุนหมู่บ้านว่าทุกครั้งที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ นัก เศรษฐศาสตร์กระแสหลักทุกสำนักจะกระตุ้นเศรษฐกิจโดยอัดฉีดเงินเข้าระบบ ซึ่งเป็นสูตรตายตัว ไม่ว่าจะเป็นเงินมิยาซาวา เงินกู้เอดีบี วิธีคิดแบบนี้ไม่สอดคล้องกับกลไกของประเทศไทยต่างชาติทำได้เพราะระบบข้างล่างเขาพร้อมมีโครงสร้างทางสังคมที่พร้อมจะรองรับกลไกรัฐก็พร้อมจะรองรับ

สำหรับประเทศไทย ที่ผ่านมากระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีการดังกล่าวมีผล 0.8% ของ GDPซึ่งแทบไม่มีผลอะไรเลย

"หากต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจเราต้องให้ข้างล่างพร้อม เพราะไม่ใช่กระตุ้นจากข้างบนลงล่างแต่อย่างเดียว ข้างล่างต้องพร้อมด้วยเราจึงออกแบบให้กระตุ้นทั้งหมด ไม่ผ่านกลไกของรัฐหรือผ่านแต่น้อยที่สุด ไม่ต้องถูกหัก 25%"

นายประพัฒน์ได้กล่าวอีกว่ามีรายงาน ว่า งบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หายไป 40% ทั้งๆสิ่งที่ต้องการคือ "บาย พาส" ให้ลงมาถึงประชาชนและต้องการให้ประชาชนใช้เงินเหล่านี้กระตุ้นภูมิปัญญากระตุ้นการสร้างรายได้ กระตุ้นให้เกิดสำนึกที่จะ แก้ไขปัญหาของเขาเองพึ่งตนเองให้ได้ ไม่ใช่ไปจ้างทำรั้ว ทำถนน

ทั้งหมดเป็นการขับเคลื่อนทางสังคมพรรคไทยรักไทยเพียงจุดประกายและทำให้ เกิดขึ้นซึ่งทั้งหมดไม่ใช่ภารกิจของรัฐบาล แต่เป็นภารกิจของคนไทยทั้งประเทศประชาชน ทั้งประเทศต้องเริ่มคิดแล้วว่าจะรวมกลุ่ม อย่างไรจะออกแบบทำโครงการโดยที่จะมี องค์กรให้การเรียนรู้แก่ชุมชนให้ผู้นำชุมชน ทั้งหลายมาเข้าร่วมแล้วเดินสายไปบรรยายให้ความรู้ต่อ

องค์กร SIF ทั้งหลายก็มีส่วนหนึ่งใน นั้นเพราะอย่างน้อยได้ผ่านกระบวนการร่างแผนชุมชนมาแล้วต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ แล้วเสริมสร้างประสิทธิภาพในการผลิต การแปรรูปเพิ่มอำนาจให้กับคณะกรรมการให้มาก ขึ้นจะเห็นได้ว่าไม่เหมือนรูปแบบเก่าของการ ใช้จ่ายเงินภาครัฐ

แต่เป็นความพร้อมของหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน เขียนโครงการ ถ้าไม่พร้อมจะมีคนไป ช่วย SIF จึงเป็นกลไกหนึ่งและยังมีอีกหลาย ชุมชน หลายเครือข่ายที่มีความพร้อม ไม่ได้หมายความว่าใช้เฉพาะกลไกของ SIF อย่างเดียว

"โชคดีที่ SIFได้ทำงานรอเราล่วงหน้ามา แล้วเป็นหมื่นหมู่บ้านโชคดีที่มีชุมชนที่ผ่าน กระบวนการพัฒนาของหลายองค์กรที่พร้อมอยู่แล้วที่จะผ่านเงินลงไปได้เรารู้ว่ายากที่จะทำความเข้าใจกับพี่น้องว่า เงิน 1 ล้านบาทไม่ใช่เป็นเป้าหมาย แต่เป้าหมายที่รัฐบาลต้องการ คือ ต้องใช้เงิน 1ล้านบาทเป็นตัวกลางนำไปสู่การสร้างรายได้โดยผ่านศักยภาพและภูมิปัญญาของคุณเองเรารู้ว่าไม่ง่ายจึงเตรียมจัดเวที สาธารณะ เวทีประชาพิจารณ์เพราะต้องทำ เป็น พ.ร.บ. และคาดว่าเวทีต่างๆจะทำความเข้าใจกับประชาชนได้ระดับหนึ่งแล้วเกิดแรงเคลื่อนไหวทางสังคมต่ออีกระดับหนึ่ง"นายประพัฒน์กล่าว

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32077เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2006 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2018 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท