การเข้าสายแลน และต่อหัว Rj 45


การเข้าหัวต่อ RJ-45 กับสายคู่ตีเกลียว

         เครือข่ายอีเธอร์เน็ตตามมาตรฐาน 10Base-T นับเป็นเครือข่ายที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย ที่สุด มาตรฐาน 10Base-T มีอัตราส่งข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาทีใช้สายคู่ตีเกลียว UTP ( Unshield Twisted Pair ) และมีโทโปโลยีเครือข่ายแบบดาว ( Star ) โดยใช้ฮับเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อช่วยให้ติดตั้งได้สะดวก อีกทั้งสามารถเพิ่มและลดจุดเชื่อมได้ง่าย

         หัวต่อที่ใช้กับสายคู่ตีเกลียวเป็นชนิด RJ-45 วิธีการเข้าหัวสายคู่ตีเกลียวกับหัวต่อ RJ-45 ถึงแม้จะไม่มีความสลับซับซ้อนและทำได้โดยไม่ยาก แต่จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจและเทคนิคความชำนาญตลอดจนปฏิบัติตามข้อกำหนด EIA/TIA 568 ซึ่งถือเป็นมาตรฐานที่นิยมใช้ในการเข้าหัวต่อ

มาตรฐาน EIA/TIA 568

         EIA/TIA 568 เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยความร่วมมือของ 3 องค์กร ได้แก่ สำนักงานมาตรฐานแห่งสหรัฐอเมริกา ( American National Standards Institute : ANSI ) , สมาคม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Industries Association : EIA ) และสมาคม อุตสาหกรรมโทรคมนาคม ( Telecommunications Industry Association : TIA ) โดยใช้ชื่อ มาตรฐานว่า “ EIA/TIA 568 Commercial Building Telecommunication Wiring Standard “ และนำออกใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม 1991 มาตรฐานนี้กำหนดรูปแบบการเดินสายโดยใช้โทโปโลยีแบบดาว (Star) เน้นการใช้สายสื่อสารทั้งแบบ UTP ชนิด 3, 4 และ 5 , สาย STP ( Shield Twisted Pair )แบบ 150 โอห์ม และใยแก้วนำแสงแบบ 65.5/125 ไมโครเมตร ในบทความนี้จะกล่าวถึงมาตรฐาน EIA/TIA 568 สำหรับสายคู่ตีเกลียวแบบ UTP

         รูปแบบการเดินสายสัญญาณการเดินสายสัญญาณโดยทั่วไป สามารถทำได้ 2 แบบ คือการลากสายโดยตรงระหว่างอุปกรณ์ที่ต้องการต่อ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์กับฮับ การต่อแบบนี้จะใช้สายหนึ่งเส้นต่อการเชื่อมต่อหนึ่งจุด ซึ่งมีข้อดีคือ ง่ายต่อการเชื่อมต่อ การติดตั้งไม่ตายตัว สามารถเปลี่ยนแปลง เคลื่อนย้ายจุดที่ตั้งของอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย การต่อแบบนี้เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มากนัก หรือทั้งระบบอยู่รวมกันในห้องเดียว ดังตัวอย่างในรูปที่ 1.

รูปที่ 1. การเชื่อมต่อแบบดาวอย่างง่ายโดยการต่อตรงระหว่างฮับและเครื่องคอมพิวเตอร์

 

         ส่วนการเดินสายอีกแบบ จะมีการใช้หัวต่อตัวเมียซึ่งมีลักษณะคล้ายช่องเสียบโทรศัพท์ แต่ มีขนาดใหญ่กว่า เข้ามาช่วยเป็นจุดพักซึ่งติดไว้ที่ผนังหรือพื้นห้อง ส่วนการต่อกับเครื่อง คอมพิวเตอร์จะใช้สายที่มีหัวต่อ RJ-45 ทั้ง 2 ด้าน ซึ่งมักมีความยาวไม่มากนักเรียกว่าสายแพ็ทธ์ ต่อ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และหัวต่อตัวเมียอีกที นอกจากนี้ อาจใช้แผงพักสาย ( Patch Panels ) สำหรับการต่อเข้าหาฮับ เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลตรวจสอบ ดังรูปที่ 2. และ 3.สายที่ใช้มักฝังผนัง , ลอดบนฝ้า หรือไว้ใต้พื้น การเดินแบบนี้ มักทำเตรียมไว้ขณะกำลังสร้างตึกเลย จึงต้องมีการ ออกแบบและวางแผนให้ดีก่อนการติดตั้ง เพราะจุดเชื่อมต่อแต่ละจุดจะค่อนข้างตายตัว การ เปลี่ยนแปลงเคลื่อนย้ายจุดทำได้ลำบาก การเดินแบบนี้เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นเล็กน้อยเพราะต้องใช้ อุปกรณ์เพิ่มขึ้น แต่จะมีความเป็นระเบียบดีกว่าการเดินโดยตรง เพราะไม่ต้องมีสายระโยงระยาง มาก จึงเหมาะสำหรับการเดินสายทั่วทั้งตึก ซึ่งอาจมีหลาย ๆ ชั้น แต่ละชั้นมีห้องหลายห้อง

 รูปที่ 2.แผงพักสาย ( Patch Panels )

 รูปที่ 3. การเดินสายเครือข่ายผ่านแผงพักสาย

 

         ลักษณะของสายคู่ตีเกลียว สายคู่ตีเกลียวเป็นสื่อนำสัญญาณที่พบเห็นได้ทั่วไป โดยเฉพาะในระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ สามารถส่งผ่านสัญญาณแบบอะนาลอกหรือดิจิตอลได้ การส่งสัญญาณดิจิตอล สามารถรองรับการส่งผ่านข้อมูลที่อัตราเร็วสูงได้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในช่วง 10 - 100 เมกะบิตต่อวินาที ภายในสายประกอบด้วยสายนำสัญญาณ 4 คู่ แต่ละคู่จะมีสายสี และสายสีสลับกับสีขาวเป็นริ้ว เพื่อให้การเลือกต่อสายที่ปลายทั้งสองถูกต้อง แต่ละคู่สีจะพันกันเป็นเกลียวตลอดความยาวของสาย เพื่อลดสัญญาณรบกวนในสาย โดยกำหนดสายและเรียกคู่สายดังรูปที่ 4. ในการเชื่อมต่อต้องมีการ คลายเกลียวบริเวณจุดที่ต้องเข้าหัว ซึ่งไม่ควรคลายเกลียวเกิน 0.5 นิ้ว สายแต่ละสีมีรหัสเรียกดังนี้

1. grn ( เขียว )
2. wh/grn ( ขาวสลับเขียว )
3. or ( ส้ม )
4. wh/or ( ขาวสลับส้ม )
5. blu ( ฟ้า )
6. wh/blu ( ขาวสลับฟ้า )
7. brn ( น้ำตาล )
8. wh/brn ( ขาวสลับน้ำตาล )

 

 รูปที่ 4. สัญลักษณ์การกำหนดสีและเรียกคู่สาย

 

         มาตรฐานการต่อมี 2 แบบ คือ แบบ T568A และ T568B ซึ่งมีวิธีการเรียงสีแตกต่างกัน ผู้ใช้ควรเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่ง สำหรับ การเชื่อมต่อแบบ 10Base-T จะใช้สายคู่ส้มและเขียว ส่วนอีก 2 คู่คือน้ำตาลและฟ้า อาจใช้กับเครือข่ายอีกหนึ่งวง หรือสำหรับการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ โดยทั่วไปส่วนใหญ่อุปกรณ์ต่าง ๆ มักนิยมใช้แบบ T568B มากกว่า ที่สำคัญคือการเลือกใช้ควรใช้ แบบเดียว ไม่ควรผสมทั้งสองแบบ เพราะจะทำให้สับสนได้ บทความนี้จะยึดมาตรฐาน T568B เป็น หลัก

 อุปกรณ์ที่ใช้ ในการเข้าหัว RJ-45

1. หัวต่อ RJ-45 หัวต่อตัวผู้เป็นอุปกรณ์สำหรับใส่ที่ปลายสาย UTP มีลักษณะเป็นพลาสติกสี่เหลี่ยมคล้าย หัวต่อโทรศัพท์ มีช่องสำหรับเสียบสายที่ด้านหลัง ด้านล่างเรียบ ส่วนด้านบนมีตัวล๊อค ถ้าหันหน้า เข้าด้านหน้าของหัวต่อพิน 1 จะอยู่ทางด้านซ้ายมือของเรา ในขณะที่พิน 8 จะอยู่ทางขวามือ ดังรูปที่ 5. หัวต่อตัวผู้อาจมีการเรียกได้หลายแบบเช่น RJ-45 Connecter หรือ RJ-45 Jack Plug

 รูปที่ 5. หัวต่อ RJ-45 ตัวผู้ ( ซ้าย ) และตัวเมีย ( ขวา )

 

         สำหรับหัวต่อตัวเมียเป็นเบ้าเสียบสำหรับหัวต่อ RJ-45 ตัวผู้ เมื่อมองจากด้านที่จะนำหัวต่อ ตัวผู้เสียบ พิน 8 จะอยู่ทางซ้าย ส่วนพิน 1 จะอยู่ทางขวา หัวต่อตัวเมียจะมีลักษณะเป็นกล่องมีช่อง สำหรับเสียบหัวต่อ ด้านในกล่องจะมีขั้ว ซึ่งจะเป็นส่วนที่เชื่อมกับสายนำสัญญาณจริง ๆ ดังรูปที่ 6. และ 7. หัวต่อตัวเมียอาจเรียกว่า Female Outlet ก็ได้ ส่วนตัวขั้วอาจเรียกว่า Jack Face

 รูปที่ 6. หัวต่อตัวเมีย ส่วนที่ต่อกับผนัง

 รูปที่ 7. ตัวขั้วที่ต่อกับสาย UTP

 

 2. คีมเข้าหัวสาย ( Plug Crimper ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบีบหัว RJ-45 ตัวผู้ใส่ยังสาย มีลักษณะเป็นคีมหนีบ ประกอบด้วย ช่องสำหรับใส่หัว RJ-45 และ RJ-11 ( หัวต่อแจ็คโทรศัพท์ ) มีใบมีดสำหรับปอกและลอกเปลือก สาย ดังรูปที่ 8.

 รูปที่ 8. คีมเข้าหัวสาย

 

 3. ตัวกระแทกสาย ( Punch Down Tool ) เป็นอุปกรณ์สำหรับการเข้าสายกับแผงพักสาย เป็นเครื่องสำหรับตอกสายใส่ในรอยบาก ประกอบด้วยใบมีดแบบ T-110 สำหรับสาย UTP และ T-66 สำหรับหัวต่อ RJ-11 หรือ สายโทรศัพท์โดยแต่ละใบมีดจะมีปลายสองด้านถอดสลับใช้งานได้ ด้านหนึ่งสำหรับใช้ตอก ส่วน อีกด้านสำหรับตัดสาย ดังรูปที่ 9.

 รูปที่ 9. ตัวกระแทกสาย

 

การเข้าหัว RJ45 ตัวผู้ มีขั้นตอนดังนี้

1. ปอกเปลือกสาย UTP ด้านที่ต้องการต่อ ยาวประมาณ 0.5 - 1 นิ้ว ดังรูปที่ 10.

 รูปที่ 10. สาย UTP ที่ปอกเปลือกออก

 

 2. คลายเกลียวที่สายทั้ง 4 คู่

 3. จัดสายเรียงสีให้ได้ตามมาตรฐาน เช่นตามมาตรฐาน T568B จัดให้สายเรียงขนานกัน ไปและต้องระวังมิให้จัดสายผิดหรือกลับด้านกัน โดยถ้าหันปลายสายออกจากตัวเรา สายเส้นที่หนึ่ง จะอยู่ทางซ้ายมือสุด ซึ่งด้านนี้เมื่อต่อกับหัว RJ-45 ด้านที่มีก้านตัวล๊อกจะอยู่ด้านล่าง ส่วนด้านบน จะเป็นด้านที่เรียบ ลำดับการจัดพินตามมาตรฐาน EIA/TIA 568B แสดงได้ดังรูปที่ 11. หรือดังนี้

ความหมายของคำต่าง ๆ มีดังนี้

pin แทนช่องแต่ละช่องในหัวต่อ RJ-45 ที่จะนำสาย UTP เข้าไปต่อด้วย
pair แทนคู่ของสายแต่ละคู่ทั้งสี่คู่ในสาย UTP
name แทนหน้าที่ของสายแต่ละเส้นที่ใช้ส่งข้อมูลจริง ตามมาตรฐาน T568 ซึ่งจะมีทั้งรับและส่ง ข้อมูล โดยแต่ละทางของการส่งข้อมูลจะใช้แรงดันไฟเป็น 2 ขั้ว เพื่อให้มีการหักล้างกันของ สัญญาณในสายเพื่อการลดสนามแม่เหล็กที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งข้อมูล

 รูปที่ 11. การเรียงสีตามมาตรฐาน T568B

 

4. ใช้มือรีดสายทั้งแปดเส้นที่เรียงกันถูกต้องแล้ว ให้ขนานและเรียบ ไม่ให้มีการซ้อนเกย กัน

5. ตัดปลายสายทั้งแปดเส้น ให้ปลายเรียบเสมอกัน โดยตัดให้ห่างจากเปลือกนอกของสาย ไม่เกิน 0.5 นิ้ว

6. ใช้มือหนีบสายทั้งแปดเส้นให้แน่น และค่อย ๆ สอดเข้าไปในตัวหัวต่อ RJ-45 ตัวผู้ โดย ให้ปลายทั้งแปดเข้าไปเสมอกันตลอด ดังรูปที่ 12. ถ้ามีการเหลื่อมกันหรือปลายไม่เสมอกันควรนำ สายออกมาจัดใหม่ สอดปลายสายเข้าไปจนสุดหัวต่อ ซึ่งเมื่อมองดูที่หัวต่อใกล้ ๆ ที่ด้านปลาย จะต้องมองเห็นปลายสายทั้งแปดเส้น ชนกับสุดปลายด้านในของหัวต่อ RJ-45 ถ้าปลายสายทั้งแปด ไม่เสมอกัน หรือบางเส้นไม่ชนสุดปลายของหัวต่อ ควรทำใหม่

 รูปที่ 12. การตัดปลายสายก่อนจะใส่

 

 7. เมื่อเห็นว่าปลายสายถูกต้องดีแล้ว ใช้คีมหนีบที่หัวต่อ บีบให้แน่น เพื่อให้สายและหัวต่อ แนบสนิทกัน ดังรูปที่ 13. ถ้าบีบไม่แน่น อาจทำให้สายมีปัญหาได้เมื่อใช้งานจริง

 รูปที่ 13. การใช้คีมหนีบหัวต่อ RJ-45 ให้แน่น

 

 8. เมื่อเข้าหัวทั้งสองด้านแล้วควรตรวจสอบว่าใช้งานได้จริง หากต้องการเข้าหัวต่อตามมาตรฐาน T568A ให้จัดสายตามรหัสสีดังนี้

         นอกจากนี้ ในกรณีที่ต้องการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงสองเครื่องเข้าด้วยกัน โดยไม่ ต้องการใช้ฮับ แต่เป็นการต่อระหว่างทั้งสองเครื่องโดยตรง เช่นการต่อเครื่องที่ใช้ ระบบปฏิบัติการ วินโดว์95 สองเครื่องเข้าด้วยกัน ก็สามารถทำได้ โดยใช้การไขว้สายหรือการสลับสายที่ปลาย หัวต่อของสายอีกด้านหนึ่ง เช่นตามมาตรฐาน T568B ด้านหนึ่งต่อตามแบบปกติ ส่วนอีกด้านให้ต่อ ดังนี้

         การต่อสาย UTP เข้ากับหัวต่อตัวเมีย หัวต่อตัวเมีย จะใช้ฝังไว้ตามกำแพงหรือพื้นห้องเป็นจุด ๆ สำหรับให้ต่อกับเครื่อง คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย หัวต่อตัวเมียมีลักษณะเป็นเบ้าเสียบ ภายในจะมีตัวขั้วซึ่งเป็น ส่วนที่ต่อกับสาย UTP ส่วนที่เชื่อมโยงกับแผงพักสาย ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ในห้องศูนย์กลางหรือ ห้องควบคุมระบบเครือข่ายนั้น ๆ หรืออาจจะต่อกับฮับโดยตรงเลยก็ได้ โดยอีกด้านจะต่อเป็นหัว RJ-45 ตัวผู้ใช้เสียบกับฮับ ตัวขั้ว ( Jack Face ) จะต้องมีการระบุได้ด้วยว่า ใช้กับมาตรฐานใด T568A หรือ T568B ใช้กับสาย คู่ตีเกลียวประเภท ( CATEGORY )ใด โดยทั่วไปตามท้องตลาดมักจะเป็น CAT3 หรือ CAT5 การใช้งานควรจะใช้ตามที่ระบุไว้ ตัวขั้วจะมีปลายสองด้าน ด้านหนึ่งจะมีช่องสำหรับเสียบหัวต่อ RJ-45 ตัวผู้ ด้านนี้จะเป็นด้านที่หันออกจากผนังหรือพื้น อีกด้านจะเป็นด้านที่สำหรับนำสาย UTP เข้ามาใส่ ตัวขั้วจะมีช่องเป็นรอยบากแคบ ๆ สำหรับใส่สายแปดช่อง แบ่งเป็นสองด้านมี ช่องว่างตรงกลางระหว่างทั้งสองด้าน ด้านละสี่ช่อง ถ้าให้ด้านที่ใช้ต่อกับ RJ-45 ตัวผู้เป็นด้านบน ตามมาตรฐาน T568B ช่องด้านซ้ายจะสำหรับสายคู่เขียวและน้ำตาล ด้านขวาคู่ฟ้าและส้ม ซึ่งจะมีสี กำกับไว้ที่ระหว่างช่องของแต่ละคู่ โดยในแต่ละคู่ ด้านบนให้ใส่สายสีริ้วด้านล่างจึงเป็นสายสีนั้น ๆ เช่นฝั่งด้ายซ้ายสำหรับคู่สีเขียวและน้ำตาล จะใส่สายดังนี้คือ ขาวเขียว-เขียว-ขาวน้ำตาล-น้ำตาล ส่วนด้านขวาจะเป็น ขาวฟ้า-ฟ้า-ขาวส้ม-ส้ม แต่ทั้งนี้ผู้ผลิตตัวขั้วอาจจัดรูปแบบสีแตกต่างจากนี้ได้ ซึ่งผู้ผลิตจะมีใบคู่มือกำกับมาให้ ก่อนการใช้งานจริงจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อน ส่วนแผงพัก สายจะมีลักษณะคล้ายกับตัวขั้วที่เรียงติดกันหลาย ๆ ตัวเป็นแนวเดียวกัน ดังรูปที่ 14. รูปแบบการ ใส่สายในแผงพักสายควรดูตามคู่มือกำกับของแผงพักสายนั้น ๆ

 รูปที่ 14. แผงพักสายที่ยังไม่ได้ต่อสาย

 

 การใส่สายให้กับตัวขั้ว มีขั้นตอนดังนี้


1. ปอกเปลือกหุ้มสาย UTP ออกให้ยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว
2. นำสาย UTP สอดไปช่องตรงกลางของตัวขั้ว โดยแยกสายทั้งสี่คู่ออกเป็นสองด้านตาม คู่สีให้มีลักษณะคล้ายตัว T ดังรูปที่ 15.

 รูปที่ 15. การแยกสาย UTP ใส่ลงในตัวขั้ว

 

 3. จัดสายแต่ละสีสอดเข้าไปตามช่องรอยบากสำหรับแต่ละสี สอดโดยการอ้อมจากด้าน นอกของตัวขั้ว เข้าสู่ช่องหนีบ ปลายสายจะชี้เข้าหาด้านตรงกลางของตัวขั้ว ดังรูปที่ 16.

 รูปที่ 16. การสอดสายไฟเข่าสู่รอยบากของตัวขั้ว

 

 4. ใช้ตัวกระแทกสาย ตอกหรือกดสายลงไประหว่างช่องรอยบากให้แน่น ถ้าไม่มีไม่มีตัว กระแทกสาย อาจใช้ด้านสันของคัตเตอร์กดแทนก็ได้ ทำจนครบทั้งแปดเส้น ดังรูปที่ 17.

 รูปที่ 17. การใช้ตัวกระแทกสาย กดสายลงไประหว่างช่องรอยบาก

 

         การตรวจสอบข้อบกพร่องของสาย และหัวต่อ ในปัจจุบัน มีการผลิตอุปกรณ์สำหรับตรวจการทำงานและหาข้อบกพร่องของสาย ( Tester ) ออกมาจำหน่ายหลายผลิตภัณฑ์ หลายชนิด หลายยี่ห้อ ดังรูปที่ 18. ซึ่งโดยทั่วไปจะมี ลักษณะเป็นอุปกรณ์สำหรับใส่ที่ปลายสายทั้งสองด้าน จะมีการส่งสัญญาณ และแสดงผลการทำงาน ออกมา ซึ่งการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว จะทำให้สะดวกและประหยัดเวลา บางผลิตภัณฑ์สามารถบอกถึง ความยาวของสายได้ด้วย ดังตัวอย่างที่ผู้เขียนใช้ของ Hewlett Packard รุ่น HP340 SCANNER ซึ่ง มี ฟังก์ชันในการตรวจสอบทำงานได้หลายอย่าง ไม่เฉพาะแต่การตรวจสอบสาย UTP และหัวต่อ RJ-45 เท่านั้น

 รูปที่ 18.อุปกรณ์ตรวจสอบแบบต่าง ๆ

 

หมายเลขบันทึก: 320424เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2009 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เนื้ออ่านเข้าใจง่าย

สามารถนำไปปฏิบัติได้

ความรู้ดีมากเลยค่ะ

ชอบการนำเสนอมีรูปภาพประกอบ

ได้ความรู้ใหม่ๆ นำไปสอบ ของอาจารย์ได้เลย

ขอบคุณมากเลยจ๊ะ

ให้เครดิต ม.เกษตรศาสตร์ ด้วยครับ

ให้เครดิต ม.เกษตรศาสตร์ ด้วยครับ

http://server.telecomth.com/network/rj-45.php

ขอบคุณครับ

อยากทราบว่าหัวต่อสายสัญญาณมี 4 ชนิด อะไรบ้างค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ดีครับ ใช่คูรตี๋ไม่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท