วิจัยในชั้นเรียน


วิจัยในชั้นเรียน

การวิจัยในชั้นเรียน 

เรื่อง  การพัฒนาทักษะการปฎิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินลูกรัง วิชาปฐพีกลศาสตร์ นักศึกษา

   ระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง ระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย

 ชื่อผู้วิจัย  : ดร.สุรศักดิ์ ราษี ตำแหน่ง ครู คศ.2  แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย

 ความเป็นมาและความสำคัญของวิจัย 

การพัฒนาหลักสูตรและนักศึกษาด้านช่างอุตสาหกรรมเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ประกอบกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 ต้องการให้มีการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการศึกษาและพัฒนานักศึกษาสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ให้มีความรู้ ทักษะ และทัศนคติ จึงจะทำให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructures) อย่างมีคุณภาพ และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในประเทศและต่างประเทศ (สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา,2551:1)

ตลาดแรงงานในประเทศมีความต้องการช่างที่มีฝีมือที่สามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะปฎิบัติ และทักษะด้านความคิดในการปฎิบัติงานให้มีประสิทธิผลตามมาตรฐานที่ต้องการของอาชีพ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของผลสัมฤทธิ์ และที่สำคัญเป็นการจูงใจให้สถานประกอบการมีส่วนร่วมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ ทักษะและทัศนคติที่สูงขึ้น (สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา,2551:2)

ในปัจจุบันนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย มีความใผ่รู้ในเนื้อหาวิชาที่เรียนน้อยมาก เพราะว่ายังขาดความรู้ความเข้าใจในรายวิชาที่เรียน ขาดแรงกระตุ้นจากภายในและภายนอกที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เช่น มีครุภัณฑ์ปฏิบัติการทดสอบที่เพียงพอ มีชิ้นงานด้านวิศวกรรมโยธาให้ศึกษา นอกจากนั้นมีบุคลากรที่มีคุณภาพมาถ่ายทอดให้กับนักศึกษา เป็นต้น และที่สำคัญนักศึกษาขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ ดังนั้นจึงส่งผลต่อการเรียนรู้ที่เข้าใจในสาขาวิชาต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการทดสอบเพื่อหาความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาปฐพีกลศาสตร์วิศวกรรม

จากสภาพปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาสภาพและปัญหาการการเรียน การสอนปฏิบัติการทดสอบเพื่อหาความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม โดยวิธี (Modified Procter Test of Retrish  at the Presented 95) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาปฐพีกลศาสตร์ ด้านวิศวกรรม ให้นักศึกษามีความรู้ ทักษะ และทัศนคติ จะได้นำไปใช้ในการทดสอบความหนาแน่นของถนนลาดยาง   มะตอย ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ถนนหินคลุก และถนนลูกรัง เป็นต้น จึงได้นำแนวคิดนี้มาพัฒนานักศึกษาให้สามารถปฎิบัติการทดสอบได้ และสามารถนำไปใช้ในการทำงานต่อไปในอนาคต และไปประยุกต์ใช้เพื่อการปฎิบัติการทดสอบกับโครงการก่อสร้างอื่น ๆ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การพัฒนานักศึกษา ให้มีคุณภาพเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาช่างเทคนิคชั้นสูง เศรษฐกิจ และสังคมซึ่งรวมไปถึงด้านการศึกษาด้านช่างอุตสาหกรรมในประเทศ ต่อไป

 1.2 วัตถุประสงค์

ในการทำวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา  รายละเอียด ดังนี้

1.2.1 เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาด้านการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย

1.2.2 เพื่อนำสภาพและปัญหาของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2 ที่ได้สู่การปฏิบัติในห้องปฏิบัติการและสนามในแผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย

1.2.3 ประเมินผลจากการนำสภาพและปัญหาของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย ที่ได้สู่การแก้ไขโดยการปฏิบัติในห้องปฏิบัติการและสนามในแผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย

 1.3 สมมุติฐานในการวิจัย

ในการทำวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยตั้งสมมุติฐาน ในการศึกษา รายละเอียด ดังนี้

 นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย  มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ได้และแตกต่างกัน

 1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนานักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย ให้มีความรู้ ทักษะและทัศนคติในการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ โดยมีขอบเขตในการวิจัย รายละเอียด ดังนี้

1.4.1 ประโยชน์ด้านวิชาการ

 1.4.1.1 นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย สามารถนำความรู้ และทักษะที่ได้รับจาการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ในอนาคต

1.4.1.2 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับเพื่อนนักศึกษา และผู้ที่สนใจเกี่ยวการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.4.1.3  ผลการศึกษาทำให้สามารถใช้ข้อมูลพื้นฐานทางวิชาการด้านการพัฒนาการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับการสดสอบความหนาแน่นของดินเหนียว และหินคลุกของหน่วยงานอื่น ๆ

1.4.2  ประโยชน์ด้านการปฏิบัติ

ผลการศึกษาทำให้ทราบถึงสภาพและปัญหาในการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย เพื่อใช้ในการปฎิบัติงานในสาขาที่ตนปฏิบัติงาน และนำผลที่ได้จากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ ในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

 1.5  ขอบเขตของการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2  แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลยเพื่อใช้เป็นแนวทางในพัฒนานักศึกษาต่อไป มีรายละเอียด ดังนี้

1.5.1  ขอบเขต้านเนื้อหา

เนื้อหาด้านการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย  มีขอบเขตประเด็นต่าง  ๆ มีขอบเขต ดังนี้

1.5.1.1 การทดสอบหาความหนาแน่นของดินลูกรังในห้องปฏิบัติการทดสอบและสนาม

1.5.1.2  การสรุปผลการทดสอบความหนาแน่นของดินลูกรังในห้องปฏิบัติการทดสอบและสนาม

 1.5.2  ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้ประชากรและกลุ่มตัวอย่างการการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์เพื่อใช้ในการปฏิบัติการทดสอบ ซึ่งประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย  จำนวน 12 คน เป็นต้น

1.5.3  ขอบเขตด้านพื้นที่

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจะใช้พื้นที่ภายในแผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย อำเภอเมือง จังหวัดเลย

1.5.4  ขอบเขตด้านวิธีการ

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจะใช้วิธีการศึกษาสภาพและปัญหาด้านการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย เพื่อใช้ในการปฏิบัติการทดสอบ      ในครั้งนี้

 1.6  นิยามศัพท์เฉพาะ

1.6.1 วิทยาลัยเทคนิคเลย หมายถึง สถานศึกษาที่จัดการเรียน การสอนระดับอาชีวศึกษา       เปิดสอนระดับสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.)

1.6.2 การปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม หมายถึง การปฏิบัติการทดสอบดินลูกรังเพื่อหาความหนาแน่นที่จะนำไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ถนนดินลูกรัง ถนนหินคลุก และถนนลาดยางมะตอย ในแผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย เป็นต้น

1.6.3 นักศึกษา หมายถึง นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2 สาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย ที่กำลังเรียนวิชาปฐพีกลศาสตร์ทางด้านวิศวกรรม รหัสวิชา 31062010   ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2552

1.6.4 สภาพและปัญหาด้านการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม หมายถึง นักศึกษาไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและทัศนคติที่ดี ในการปฎิบัติการทดสอบ

 1.7 วิธีเนินการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ขั้นตอนการวิจัยวิธีเชิงปฏิบัติการด้วยวงจร PDCA  ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1.7.1 ขั้นตอน P(Plan) ศึกษาสภาพและปัญหาของการด้านการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย จำนวน 12 คน

1.7.2  ขั้นตอน D (Do) ปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย จำนวน 12 คน และเตรียมการสร้างเครื่องมือประกอบการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน วิธีการและข้อมูลการทดสอบปฎิบัติการสอนในเนื้อหารายวิชาปฐพีกลศาสตร์และประเมินผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการทดสอบ

1.7.3 ขั้นตอน C (Check) ในการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย จำนวน 12 คน มีรายละเอียด ดังนี้

1.7.3.1 บันทึกผลการสอนการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม

1.7.3.2 รวบรวมข้อมูลสภาพทั่วไปเกี่ยวกับ เพศ อายุ เป็นต้น

1.7.3.3  บันทึกผลการทดสอบการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม ก่อนและหลังการทดสอบ (คะแนนแบบทดสอบ)

1.7.3.4  สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา (โดยผู้วิจัยเอง)

1.7.4 ขั้นตอน A (Action) มีรายละเอียด ดังนี้

1.7.4.1 นำผลที่ได้จากการบันทึกหลังการสอนมาวิเคราะห์ถึงจุดดี และจุดที่ควรปรับปรุงพัฒนาของการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม มีอะไรบ้าง สภาพและปัญหามีอะไรบ้าง และมีการวางแผนจะแก้ปัญหาหรือจุดที่ควรปรับปรุงพัฒนาอย่างไร

1.7.4.2  วิเคราะห์ผลที่ได้จากการสังเกตพฤติกรรม ครูมาวิเคราะห์ถึงข้อควรปรับปรุงพัฒนาปัญหาและอุปสรรค มีสาเหตุอะไรบ้าง และวางแผนหาแนวทางแก้ไข

1.7.4.3  วิเคราะห์ผลจากข้อมูลสภาพทั่วไปของนักศึกษา

1.7.4.4  วิเคราะห์ผลที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแล้วหาความแตกต่าง

1.7.4.5 วิเคราะห์คะแนนผลการเรียนรู้ จากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดไปปรับปรุงวิธีการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม และการดำเนินการสอนครั้งต่อไปให้ดีขึ้น

 1.8  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและสภาพปัญหาการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลยโดยผู้วิจัยใช้การผสมผสานทั้งวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยวิธีเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม และแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ส่วนเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) เพื่อระดมความคิดเห็นในการศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม รายละเอียด ดังนี้

1.8.1   เชิงปริมาณ

1.8.1.1  แบบสอบถาม มีรายละเอียด ดังนี้

  1) ลักษณะของเครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่คณะผู้ศึกษาสร้างขึ้น เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ ซึ่งจำแนกเป็น 2  ตอน ดังนี้

(1)  ตอนที่ 1 เป็นข้อคำถามที่เกี่ยวกับข้อมูลสภาพทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ โดยเป็นข้อคำถามปลายปิดให้เลือกจำนวน 2 ข้อ

(2)  ตอนที่ 2 เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นต่อการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ จำนวน 13 ข้อ

(3)  ตอนที่ 3  เป็นการสัมภาษณ์เจาะลึก เกี่ยวกับความหนาแน่นของดินทางวิศวกรรมในสนาม สาขาปฐพีกลศาสตร์ จำนวน 1 ข้อ

(4)  ตอนที่ 4 เป็นแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนการการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ จำนวน 10 ข้อ

  2)  วิธีการตอบแบบสอบถาม

(1) ตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลสถานภาพทั่วไป ในส่วนนี้เป็นคำถามชนิดเลือกตอบ ซึ่งผู้ตอบจะต้องตอบทุกข้อ ๆ ละ 1 คำถาม

(2) ตอนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นต่อการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ในส่วนนี้เป็นคำถามให้เลือกตอบโดยใช้เกณฑ์ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคอร์ท (สุวิชา ดีรัตน์, 2550:63)

 (2.1)  เกณฑ์การให้คะแนน

มีความเข้าใจการทดสอบสูงมาก

ให้

5

คะแนน

มีความเข้าใจการทดสอบสูง

ให้

4

คะแนน

มีความเข้าใจการทดสอบปานกลาง

ให้

3

คะแนน

มีความเข้าใจการทดสอบต่ำ

ให้

2

คะแนน

มีความเข้าใจการทดสอบต่ำมาก

ให้

1

คะแนน

(2.2)  การแปลผลความหมายของคะแนน

สำหรับการวิเคราะห์ ประเมินผลการแสดงความคิดเห็นต่อการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ ด้านการแปลผลความหมายของคะแนนในภาพรวม โดยการรวมคะแนนทั้งหมดและเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)      

ในส่วนของการวิเคราะห์การแสดงความคิดเห็นต่อการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ เป็นรายข้อ รวมคะแนนในข้อนั้นแล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์การแปลของ จอห์น ดับเบิลยู เบส (John W. Best, 1970: 180-190 อ้างถึงใน สุมาลี ศรีพุทธรินทร์, 2540:69)

คะแนนเฉลี่ยระหว่าง  4.50 – 5.00

หมายถึง

ความเข้าใจการทดสอบ

สูงมาก

คะแนนเฉลี่ยระหว่าง  3.50 – 4.49

หมายถึง

ความเข้าใจการทดสอบ

สูง

คะแนนเฉลี่ยระหว่าง  2.50 – 3.49

หมายถึง

ความเข้าใจการทดสอบ

ปานกลาง

คะแนนเฉลี่ยระหว่าง  1.50 – 2.49

หมายถึง

ความเข้าใจการทดสอบ

ต่ำ

คะแนนเฉลี่ยระหว่าง  1.00 – 1.49

หมายถึง

ความเข้าใจการทดสอบ

ต่ำมาก

 (3)  ตอนที่ 3  เป็นการสัมภาษณ์เจาะลึก เกี่ยวกับความหนาแน่นของดินทางวิศวกรรมในสนาม สาขาปฐพีกลศาสตร์

(4)  ตอนที่ 4 เป็นแบบสอบถามก่อนเรียนและหลังเรียนในการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์  

 1.9  การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลจำแนกเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในรายละเอียดตามประเด็นที่ต้องการศึกษา โดยข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจะสัมพันธ์และสอดคล้องกันตาม รายละเอียด ดังนี้

1.9.1 เชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินลูกรังทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์โดยลงรหัสและบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

1.9.2 เชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยการรวบรวมความคิดเห็นและวิเคราะห์เกี่ยวกับการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ เพื่อใช้ในทดสอบทั้งที่มีแบบแผนและไม่มีเป็นบรรทัดฐาน จากการ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก เพื่อใช้ในการปฎิบัติการทดสอบดินลูกรัง

 1.10  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล   เชิงปริมาณ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน โดยใช้สถิติพื้นฐานที่ใช้โปรแกรมด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่า t-test  (Dependent)

 1.11  สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

1.11.1  สรุปผลการดำเนินการ

 การประเมินผลการดำเนินการ สรุปผล การศึกษามีรายละเอียด ดังนี้

 1.11.1.1  ผลการวิจัย

  ผลการศึกษาการแสดงความคิดเห็นต่อการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย มีรายละเอียด ดังนี้

   ตอนที่ 1 แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นให้สอดคล้องกับระเบียบวิธีวิจัย เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพี        กลศาสตร์ ในการศึกษาครั้งนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาที่กำลังเรียนวิชาปฎพีกลศาสตร์ จำนวน 12 คน ดังแสดงรายละเอียดใน ตารางที่ 1

 ตารางที่ 1 แสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มประชากรและตัวอย่างของนักศึกษา จำแนกตาม ข้อมูลทั่วไป

 

ข้อมูลทั่วไป

ความถี่

ร้อยละ

เพศ

 

 

 

 

ชาย

12

100

 

หญิง

0

0

 

รวม

12

100

อายุ

 

 

 

 

20

11

91.67

 

19

1

8.33

 

รวม

12

100

 จากตารางที่ 1 แสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย ส่วนใหญ่ เพศชาย จำนวน 12  คน ร้อยละ 100 มีอายุ 20 ปี  ร้อยละ  91.67

ตอนที่ 2 แบบสอบถามที่ศึกษาได้สร้างขึ้นให้สอดคล้องกับระเบียบวิธีวิจัย เพื่อศึกษาการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินลูกรังทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย ในการศึกษาครั้งนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากนักศึกษา จำนวน 12 คน ดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 2

 ตารางที่ 2 แสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างของนักศึกษาการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินลูกรังทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์

 

ข้อที่

 

ข้อความ

ระดับความคิดเห็น

 

ความหมาย

ค่าเฉลี่ย

( )

ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

 

การทดสอบความหนาแน่นของดินลูกรัง

 

 

 

1

เข้าเนื้อหาการทดสอบความหนาแน่นของดินลูกรัง

4.54

0.54

สูงมาก

2

อุปกรณ์การทดสอบความหนาแน่นของดินลูกรัง

4.34

0.77

สูง

3

วิธีการทดสอบความหนาแน่นของดินลูกรังในห้องปฏิบัติการทดสอบวัสดุ

4.88

0.33

สูงมาก

4

ปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินลูกรังได้ด้วยตนเอง

4.10

0.38

สูง

5

ทดสอบหาค่า Calibration ของดินทรายได้ด้วยตนเอง

4.11

0.42

สูง

6

หาความหนาแน่นของดินเพื่อหาความหนาแน่นของดินลูกรัง

4.32

0.59

สูง

7

เข้าใจวิธีการเจาะสำรวจดินได้ด้วยตนเอง

4.34

0.56

สูง

8

บดอัดดินลูกรังเพื่อหาความหนาแน่นของดินด้วยตนเอง

4.36

0.63

สูง

9

คำนวณหาความหนาแน่นของดินลูกรังได้

3.86

0.64

สูง

10

สามารถสรุปผลจากการทดสอบความหนาแน่นของดินลูกรังในสนามได้

4.38

0.60

สูง

11

สามารถนำผลการทดสอบไปใช้กับงานจริงได้

4.12

0.63

สูง

12

สามารถสรุปผลจากการทดสอบความหนาแน่นของดินในสนามได้

4.38

0.60

สูง

13

สามารถแนะนำวิธีการทดสอบความหนาแน่นของดินกับเพื่อนและบุคคลทั่วไปได้

4.34

0.56

สูง

ค่าเฉลี่ย

4.31

0.54

สูง

จากตารางที่ 2  พบว่า นักศึกษาการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย อยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 ส่วนรายละเอียดของวิธีการทดสอบความหนาแน่นของดินลูกรังในห้องปฎิบัติการทดสอบวัสดุอยู่ในระดับสูงมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.88 และปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินลูกรังได้ด้วยตนเองในระดับต่ำ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10

ตอนที่ 3 ผลจากการสัมภาษณ์เจาะลึกสภาพและปัญหาด้านการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์

รายละเอียด ดังนี้

การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย จำนวน 12 คน ที่กำลังเรียนสาขาปฐพีกลศาสตร์ ในวันที่  25 พฤษภาคม 2552 ในแผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย โดยสัมภาษณ์เพื่อขอทราบว่าผลการทดสอบด้านปฎพีกลศาสตร์อะไรที่คิดว่าต้องการอยากแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น จากการสัมภาษณ์ พบว่า นักศึกษามีปัญหาในการเรียนทฤษฎีและการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินลูกรังทางด้านวิศวกรรมมากที่สุด

ตอนที่ 4  ผลการทดสอบก่อนการปฏิบัติและหลังการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์

  รายละเอียด ดังนี้

 (1)  แบบทดสอบและคะแนนก่อนและหลังการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินลูกรังทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย

 ตารางที่ 3 แบบทดสอบการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินลูกรังทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย

 

เนื้อหา

คะแนนก่อน

การปฏิบัติการทดสอบ

คะแนนหลัง

การปฏิบัติการทดสอบ

1. มีความเข้าใจเนื้อหาการทดสอบความหนาแน่น

    ของดินลูกรัง

 

 

2. คัดเลือกอุปกรณ์การทดสอบความหนาแน่นของ

     ดินลูกรัง

 

 

3. เข้าใจวิธีการทดสอบความหนาแน่นของดิน 

    ลูกรังในห้องปฏิบัติการทดสอบวัสดุ

 

 

4. ทดสอบหาค่า Calibration ของดินทรายได้

 

 

5. หาความหนาแน่นของดินทรายได้

 

 

6. เข้าใจวิธีการเจาะสำรวจดินในสนาม

 

 

7. บดอัดดินลูกรังเพื่อหาความหนาแน่นของดิน

 

 

8. คำนวณการหาความหนาแน่นของดิน

 

 

9. สรุปผลจากการทดสอบความหนาแน่นของดิน

    ในสนาม

 

 

10. เก็บเครื่องมือและอุปกรณ์การทดสอบอย่าง

       เป็นระเบียบ

 

 

 (2)  แสดงคะแนนการทดสอบการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินลูกรังทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับ 2 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเลย

 ตารางที่ 4 แสดงคะแนนการทดสอบการปฏิบัติการทดสอบความหนาแน่นของดินลูกรังทางด้านวิศวกรรม สาขาปฐพีกลศาสตร์

 

นักศึกษา

(คน)

คะแนนก่อน

การปฎิบัติการทดสอบ

คะแนนหลัง

การปฎิบัติการทดสอบ

1

25

85

2

30

95

3

32

82

4

28

84

5

20

82

6

23

80

7

27

86

8

28

89

9

30

79

10

31

90

11

30

91

12

32

92

 

หมายเลขบันทึก: 320243เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2009 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)
นาย วีรพงษื หมื่นผาล

การวิจัยในชั้นเรียนเป็นงานวิจัยที่ดีเราจะได้นำข้อมูอที่ได้มาต่อยอดต่อไป

ปิยะพงษ์ พิชัยคำ

ดีคับ

นาย ชาคริต ไชยาศรี 1ชส2 เลขที่ 2

งานวิจัยในชั้นเรียนเป็นงานที่ดีมากคับ

นาย ศตวรรษ บัวทิน ชส1 เลขที่ 10/1

ดีมากทำให้เรารู้เรื่องที่ไม่รู้

นายอภิสิทธิ์ ต่อศักดิ์

ดีมากคับ

ดีครับอาจารย์

ดีมากเลยค่ะเป็นงานวิจัยที่ดีสำหรับครูช่าง

จะนำไปต่อยอดเพื่อสิ่งดีๆๆต่อไปค่ะ

เป็นข้อความที่ดีมากครับ

ข้อความนี้สุดยอด

จำได้ดี

ดีครับ ๆ

ถนัดแท้เรื่องนี้

นายพัลลภ บับภาศรี

ขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆ

ในการทำโครงการ

ที่ท่านอาจารย์มอบให้กับกลุ่มของพวกกะผมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท