KM ในภาคชุมชน


เครือข่ายของครูชบ ยอดแก้ว
KM ภาคประชาชน
วันนี้ผมได้รับ อี-เมล์ จากคุณดวงพร เฮงบุณยพันธ์ จาก มสช.     เป็นเรื่องของ KM ในภาคท้องถิ่น ชุมชน ที่น่าตื่นเต้นมาก     จึงเอามาเล่าต่อคังนี้

 

เรียน อาจารย์หมอวิจารณ์ ที่เคารพ
 
เมื่อวันที่ 15 มิย. ที่ผ่านมา ด้วงได้มีโอกาสไปร่วมประชุมกับครูชบ ยอดแก้ว
และเครือข่ายสัจจะออมทรัพย์วันละ 1 บาท (การจัดทำสวัสดิการภาคประชาชน)
จึงมีเรื่องมาเล่าแลกเปลี่ยน (ความเข้าใจและการตีความของด้วง
อาจจะไม่ตรงกับของอาจารย์บ้างเพราะรู้ไม่ครบหรือเหตุอันอื่นๆ ก็ขอคำแนะนำด้วยค่ะ)
 
ครูชบได้อธิบายเรื่อง การจัดการความรู้ โดยใช้ภาพปลา (อ.สุกัญญา จากคณะพยาบาลศาสตร์
ซึ่งเป็นผู้ที่ทำงานวิชาการให้แก่ครูชบและเครือข่าย ผ่านการเข้าประชุมกับ สคส. มาแล้ว 2
ครั้ง และในพื้นที่ก็ทำงานร่วมกับคุณภีม) โดยใช้เนื้อหาเรื่องที่ครูชบกำลังรณรงค์
ฟังแล้วเข้าใจง่ายและเห็น "ชุมชนปฏิบัติการ" ในพื้นที่ที่เป็นของจริง
 น่าตื่นเต้นทีเดียว
 
ครูชบชักชวนให้เครือข่ายมาร่วมกันทดลองเอาแนวคิดเรื่องจัดการความรู้มาใช้ในการจัดขบวนการทำงาน

 

ครูชบกล่าวว่าทุกส่วนของปลา เครือข่ายก็มีประสบการณ์แล้วทั้งสิ้น
แต่ไม่เคยเอามาสรุปให้เห็นภาพชัดๆ 
ครูชบได้ชักชวนให้เครือข่ายมาร่วมกันทำหน้าที่ คุณเอื้อ, คุณอำนวย, คุณวิจัย, คุณกิจ 
 
ด้วงจับความได้ว่า ส่วนที่เครือข่ายให้ความสนใจเป็นพิเศษก็คือ
1. ความรู้ใหม่ (หางปลาบางส่วน)
ซึ่งจะเป็นตัวช่วยให้การขับเคลื่อนเป็นไปอย่างมีพลังและขยายเครือข่ายด้วยอัตราเร่งที่ดี
(ชาวบ้านมีความเชื่อพื้นฐานว่า ความหลากหลายเป็นสิ่งที่ดี แล้วต้องเอามาแลกเปลี่ยนกัน
จึงจะเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองและเครือข่ายได้)
2. การมี "คุณอำนวย" ในแต่ละตำบล (ทาง สคส. จะให้การสนับสนุนลงลึกในพื้นที่จะนะ)
ที่ประชุมได้มีการคุยกันว่า น่าจะเป็นโอกาสที่จะเอาแนวคิดนี้ไปดำเนินการในพื้นที่อื่นๆ 
ที่ประชุมจึงได้มีการตกลงกันว่า การมี "คุณอำนวย" ในแต่ละตำบล (ตำบลละไม่น้อยกว่า 5 คน)
น่าจะเป็นยุทธศาสตร์การขยายเครือข่ายทั้งในเชิงพื้นที่และขยาย "คุณกิจ
(สมาชิก)" ให้มีจำนวนมากขึ้น ดังที่ครูชบตั้งเป้าไว้ประมาณ 5
แสนคน (เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรในสงขลา)
 
ด้วงเองก็เข้าใจสิ่งที่ฟังและอ่านเอกสารจากอาจารย์วิจารณ์ได้มากขึ้น
และก็เห็นโอกาสในการส่งเสริมให้เกิด CoP ที่ ผอ.กำลังใช้แรงผลักภายใต้โครงการ HPP
ชัดเจนยิ่งขึ้น
คนจากทางราชการที่มาร่วมในเครือข่ายครูชบค่อนข้างตื่นตัวและเป็นกำลังสำคัญในเครือข่ายพอสมควร 
กำลังคิดว่าจะไปทำกับคุณพิศิษฐ์ที่ตรัง (ทาง สคส.ได้ไปประสานไว้บ้างหรือยังค่ะ)
 
มีรายละเอียดจากการไปนั่งฟังที่เป็นประโยชน์มากทีเดียว 
ขอบคุณมากค่ะ
ด้วง
  
ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ Duangporn Hengboonyaphan
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) National Health Foundation (NHF)
โทร./Tel. 02-5115855 โทรสาร/Fax. 02-9392122
www.thainhf.org

 

คุณดวงพรหรือทาง มสช. อยากเข้าไปหนุนชุมชนเรื่องนี้ไหมครับ     สคส. ยินดีร่วมแจมด้วย
วิจารณ์ พานิช
๒๐ มิ.ย. ๔๘
หาดใหญ่
หมายเลขบันทึก: 320เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2005 04:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรายังไม่เคยทำกับคัณพิศิษฐ์ครับ

วิจารณ์

ดวงพร เฮงบุณยพันธ์

เครือข่ายครูชบ (พื้นที่ในจังหวัดสงขลา) ทาง มสช.ได้ปรึกษาหารือกับเครือข่ายแล้ว เครือข่ายโดย คุณวิจัย จะช่วยเป็นผู้ประสานกับ สคส. และเชือ่มกับ มสช. และ สวรส.ภาคใต้ เพื่อช่วยกันพัฒนาให้มี "คุณอำนวย" ในเบื้องต้น จะมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้ที่อาสาจะมาทำหน้าที่ "คุณอำนวย" และต่อไปก็จะใช้เวทีประจำที่มีอยู่ทุกเดือนเป็นเวลาที่จะเอาตัวอย่างดีๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันของเครือข่าย โดยในพื้นที่ก็เวทีกันเองแล้วถ่ายทดมายังเครือข่ายด้วย ขบวนของการจัดการความรู้ก็จะเคลื่อนไป สวรส.ภาคใต้ก็จะเข้าไปเกื้อกูลในเรื่องการแลกเปลี่ยนผ่าน internet (กำลังจะลอกเลียนแบบจาก สคส.) 

เครือข่ายการจัดการทรัพยกรธรรมชาติจากป่าสูทะเล ที่นำโดย คุณพิศิษฐ์  ชาญเสนาะ ก็จะไปปรึกษาหารือและลองประเมินดู โดยเรื่องนี้ หาก สคส. เข้ามาแจมและมาเร่มต้นให้ก็จะช่วยทำให้มีความชัดเจนและงานเดินต่อได้เร็วขึ้น (หากในพื้นที่พร้อม) 

 

  

ยินดีถ่ายทอดเทคนิคให้เอาไปปรับใช้ครับ

วิจารณ์

มีข่าวความเคลื่อนไหวของครูชบอย่างไร เล่าสู่กันฟังทางเว็บไซต์และอีเมลของหน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชนบ้างนะครับ

วันที่ 25-26 มิ.ย. แกนนำตำบลน้ำขาวที่จะพัฒนาเป็นคุณอำนวยและอ.สุกัญญาได้ไปร่วมสัมมนากันที่ลำปาง น่าจะถ่ายทอดประสบการณ์สู่กันฟังบ้าง  

ภีม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท