กรณีตัวอย่าง การให้คำปรึกษาผู้ป่วยซึมเศร้า


เทคนิคที่ผู้เขียนได้ใช้คือ การรับฟังปัญหาของเขา ชี้ให้เห็นคุณค่าในตัวเอง ฝึกคิดบวก ให้กำลังใจ ให้ข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าด้านการรักษา การปฏิบัติตัว การจัดการกับปัญหาความไม่สบายใจทุกข์ใจ ประเมินความคิดทำร้ายตัวเอง แนะนำแหล่งประโยชน์ และเสนอความช่วยเหลือ

บ่ายวันพุธ (9 ธค.52) นี้ถึงแม้จะค่อนข้างเงียบ ผู้คนบางตา เพราะผู้ป่วยที่มาตรวจช่วงเช้าเริ่มทยอยกับบ้าน เหลือผู้ป่วยคอยตรวจแต่ละห้องตรวจไม่กี่คน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าวันพรุ่งนี้ 10 ธันวาคม เป็นวันหยุดและวันต่อไปเป็นวันศุกร์ดังนั้นจึงมีไม่น้อยที่ลาหยุดต่อในวันที่ 11 ธันวาคม ซึ่งก็เท่ากับว่าได้หยุดติดต่อกันรวมเสาร์อาทิตย์  4 วัน บางรายจึงอาจกลับบ้านช่วงบ่ายหรือบางรายก็ไปเที่ยวกันในวันหยุดยาว ระหว่างที่ผู้เขียนกำลังนั่งทำงานอยู่นั้น มีโทรศัพท์เข้ามา “พี่ครับผมขอปรึกษาหน่อยได้มั๊ย ครับ ผู้เขียนก็บอกไปว่าเชิญค่ะ ผมมีอาการเบื่อหน่าย หดหู่ บางครั้งร้องให้ บางครั้งจนไม่อยากมีชีวิตอยู่ อาการเหล่านี้พี่คิดว่า ผมมีอาการผิดปกติ หรือเป็นโรคทางจิตหรือเปล่าครับ ผู้เขียนเลยบอกว่าอาการที่เขาเล่าให้ฟังน่าจะเป็นอาการซึมเศร้า ซึ่งสาเหตุเกิดได้จากการสูญเสีย การเจ็บป่วยรุนแรง เรื้อรัง ………………และในบางรายอาจเกิดจากยาก็ได้ ….ฯลฯ จากนั้นลองให้เขาทบทวนดูว่ามีสาเหตุอะไรได้บ้าง เขาบอกว่า สาเหตุจากครอบครัว ญาติพี่น้อง เศรษฐกิจ สังคม ไม่มี หรือแม้แต่ความทุกข์ใจจากโรคที่เป็นอยู่ก็คิดว่าไม่มีเพราะป่วยมานานแต่ก็ยังแข็งแรง ดูแลตัวเองได้ดี  ผมสามารถดูแล ตายาย และหลานได้ดี  แต่ผมรู้สึกว่าเวลาผมทุกข์ใจ ไม่สบายใจ เบื่อหน่ายผมไม่สามารถปรึกษาใครได้ หรือแม้แต่บางครั้งผมท้อแท้เบื่อหน่ายอยากร้องให้แล้วผมก็ไม่กล้าร้องให้ให้คนในครอบครัวเห็น จากนั้นเขาก็ร้องให้ออกมา ผู้เขียนปล่อยให้เขาร้องให้ออกมาจนพอใจ  บอกกับเขาไปว่าถ้าคุณสบายใจก็ร้องออกมาเถอะ จากนั้นหลังจากเขาหยุดร้องให้ แล้วจึงถามความรู้สึกหลังได้ระบายออกมา เขาบอกว่าดีขึ้น จากนั้นพยาบาลจึงถามว่ายังมีอะไรที่ค้างใจหรือเป็นกังวลใจหรือไม่เขาถามว่าผมมาหาจิตแพทย์ได้หรือไม่ มาวันไหน ผู้เขียนแนะนำให้เขามาพบจิตแพทย์ แต่ยังไม่ทราบว่าคุณหมอผู้เชี่ยวชาญโรคซึมเศร้าออกตรวจวันไหน จึงบอกว่าจะไปถามให้แล้วโทรไปบอก นอกจากนั้นก็แนะนำวิธีลดความทุกข์ใจ ไม่สบายใจ  เช่น อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมสาธารณะต่างๆ ท่องเที่ยว คิดบวก ทำสมาธิ  เล่าหรือระบายความไม่สบายใจเป็นต้น ประมาณ 15.30 น. หลังจากถามข้อมูลว่าคุณหมอเฉพาะทางโรคซึมเศร้าออกวันไหน จึงโทรไปบอกให้ผู้ป่วยทราบ และบอกเขาว่าระหว่างนี้ถ้ามีความทุกข์ใจ ไม่สบายใจก็สามารถโทรปรึกษาได้”

จะเห็นว่าการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาซึมเศร้ารายนี้ เทคนิคที่ผู้เขียนได้ใช้คือ  การรับฟังปัญหาของเขา  ชี้ให้เห็นคุณค่าในตัวเอง ฝึกคิดบวก ให้กำลังใจ  ให้ข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าด้านการรักษา การปฏิบัติตัว การจัดการกับปัญหาความไม่สบายใจทุกข์ใจ ประเมินความคิดทำร้ายตัวเอง (ซึ่งในรายนี้ไม่มี) แนะนำแหล่งประโยชน์ และเสนอความช่วยเหลือ

ตลอดเวลาเกือบ 40 นาที ที่ผู้เขียนได้รับฟังปัญหาและให้คำปรึกษากับผู้ป่วยรายนี้ ทำให้เขาผ่อนคลายความไม่สบายใจในระดับหนึ่ง แม้บ่ายนี้บรรยากาศจะเงียบเหงาแต่ก็ไม่ได้ทำให้จิตใจของผู้เขียนเงียบเหงาตามตรงกันข้ามมันกลับทำให้มีพลังใจที่ฮึกเหิม  พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีความทุกข์ยากลำบาก กายใจ ตลอดเวลา ดังนั้น วันนี้ จึงเป็นวันที่ดีๆ ของผู้เขียนอีกวัน ที่นำมาแบ่งปัน แก่เพื่อนๆชาว G2K

หมายเลขบันทึก: 319253เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2009 01:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

ให้กำลังใจครับ ขอให้เขียนเผยแพร่มากๆนะครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ภิญโญ

ขอบคุณค่ะที่แวะมาทักทายและให้กำลังใจ

  • สวัสดีค่ะ
  • ทำงานช่วยคนเป็นกุศลอย่างมากค่ะ
  • สนุกกับงานนะคะ

สวัสดีครับ

เป็นเทคนิคเดียวกันที่ใช้ครับ

คือ

1 ตั้งใจฟัง

2 ชื่นขม

3 สานสัมพันธภาพ

ขอเป็นกำลังใจให้คนทำงานครับ

สวัสดีค่ะ ป้าแดง

ขอบคุณค่ะที่แวะมาทักทายและให้กำลังใจ

ขอให้ป้าแดงสนุกกับการทำงานเช่นเดียวกันนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณศุภรักษ์

ขอบคุณค่ะที่ให้กำลังใจ และขอส่งกำลังใจมอบกลับคืนสู่คนทำงานเหมือนกัน อย่างคุณศุภรักษ์ด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะ

หมีน้อยเป็นนักศึกษาพยาบาล ปี 2 ค่ะ

กำลังฝึกใช้การให้คำปรึกษาค่ะ

แต่ไม่ค่อยเข้าใจค่ะ

สวัสดีค่ะคุณหมีน้อย

ถ้ามีอะไรที่พี่พอช่วยได้เกี่ยวกับการให้คำปรึกษา ก็ยินดีค่ะ

พรนิภา

สวัสดี หนูก็เป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ค่ะ

ไม่เข้าใจการให้้คำปรึกษาค่ะ

คือ งง ว่า เราจะถามอะไรเค้าดี คือคิดไม่ออกเลยค่ะ

เค้าตอบมาแล้ว เราก็ไม่รู้ว่าจะถามอะไรต่อ หรือ ทำยังไงต่อไปค่ะ

สวัสดีค่ะ น้องกรรณิการ์

จะว่าไปแล้วการให้คำปรึกษาก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถที่จะฝึกฝน แรกๆ ที่พี่มาทำงานให้คำปรึกษาในผู้ติดเชื้อก็ตื่นเต้น ทำผิดหรือทำไม่ครบขั้นตอนก็มี เหมือนกันค่ะ อาศัยการฝึกฝนบ่อยๆ ก็ทำให้เรามีความชำนาญขึ้น อย่างน้อยเราต้องรู้หลักการของการให้คำปรึกษา รู้เทคนิคต่างๆ เช่นการฟัง การถาม การสะท้อนความรู้สึก การให้ข้อมูล การทวนความ การให้กำลังใจ การสรุป ฯ ซึ่งขั้นตอนของการให้คำปรึกษาทั่วๆไปก็คงไม่ต่างกันนักคือ 1. การสร้างสัมพันธภาพ 2. การสำรวจปัญหา

3. ทำความเข้าใจปัญหา 4. วางแผนแก้ไขปัญหา และ5. ยุติการปรึกษา (สุรีพร ธนศิลป์. การพยาบาลผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์, 2538)

พี่ว่าหลักการให้คำปรึกษา น้องสามารถหาอ่านได้จากตำราต่างๆ เอาอย่างนี้แล้วกันถ้าน้องอยากให้พี่ช่วยอะไร ถามมาเลย หรือยกคำพูด ที่เคยเจอเวลาคุยกับผู้รับบริการแล้วไม่ทราบจะตอบ หรือถามอย่างไร มาแล้วพี่จะตอบให้จะได้ตอบคำถามได้ตรงประเด็น

ขอบคุณนะคะที่สนใจ ถ้ามีอะไรที่พี่สามารถช่วยได้เกี่ยวกับการให้คำปรึกษา พี่ยินดีค่ะ

สวัสดีค่ะคุณพรนิภา คือหนูต้องลองให้คำปรึกษาแก่ผู้รับการปรึกษา แต่นี่เป็นครั้งแรกค่ะ คุณพรนิภาช่วยหนูแบ่งให้หนูหน่อยได้ไหมคะ ว่าครั้งแรกที่ไปพบผู้รับคำปรึกษา เราต้องดำเนินการอะไรก่อน และครั้งที่สองต้องดำเนินการอะไรอีกดีคะ เช่นครั้งแรกที่เจอกันเราต้องสร้างสัมพันธ์ก่อน และควรถามเกี่ยวกับปัญหาเลยรึป่าวหรือต้องรอครั้งถัดไปค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณหนูนิด เนื่องจากเราพึ่งเจอกันครั้งแรก การสร้างสัมพันธภาพ ทำความรู้จักคุ้นเคยอาจจะใช้เวลาหน่อย เพื่อให้เขาเกิดความรู้สึกคุ้นเคย รวมทั้งการสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย

ครั้งแรกเราสามารถถามถึงปัญหาได้ค่ะ แต่เขาจะเปิดเผยมากน้อยก็แล้วแต่เขาถ้าเขายังไม่คุ้นเคยหรือไว้วางใจเราอาจยังไม่กล้าเปิดเผยมาก ก็ไม่เป็นไร สามารถพูดคุยต่อในครั้งต่อไปได้

ในการให้คำปรึกษาแต่ละครั้งก็ควรวางแผนว่าแต่ละครั้งจะคุยเรื่องอะไร แต่ถ้าในรายที่ยังไม่กล้าพูดคุยปัญหา หรือไม่เปิดเผยในครั้งแรกก็ไม่เป็นไรค่ะ สร้างสัมพันธภาพ ความคุ้นเคยไปก่อน ไปพูดคุยปัญหาคราวต่อไปได้

หวังว่าคงได้ความกระจ่างในระดับหนึ่ง ถ้ามีอะไรที่พี่ช่วยได้ถาม มาอีกนะคะ ยินดีเสมอ

พี่พรนิภา

ขอบคุณคุณพี่พรนิภามากๆนะคะ หนูจะพยายามทำให้สุดความสามารถค่ะ และหนูต้องทำให้ได้ค่ะ ถ้าหากโอกาสหน้ามารบกวนใหม่คงไม่ว่ากับนะคะ

ของคุณสำหรับบทความครัับคุณพรนิภา ผมเอาบทความไปทำงานด้วยครับ ^___^  ผลงานออกมาดี โอเคที่สุดครับ 

สวัสดีค่ะคุณหมอพรนิภา ดิฉันขออนุญาตนำบทสนทนาดังกล่าวไปเป็นตัวอย่างในแบบเรียน วิชาภาษาไทยนะคะ
เรื่องการรับฟังคำปรึกษาค่ะ จะอ้างอิงชื่อ คุณหมอ และเพจนี้นะคะ ขอบพระคุณมากๆ เลยค่ะ

นางสาวพรนิภา หาญละคร

สวัสดีค่ะคุณยาดม ดีใจนะคะที่คุณยาดม ได้ใช้ปนะโยชน์จากบันทึกของดิฉัน

นางสาวพรนิภา หาญละคร

สวัสดีค่ะคุณยาดม ดีใจนะคะที่คุณยาดม ได้ใช้ประโยชน์จากบันทึกของดิฉัน

นางสาวพรนิภา หาญละคร

ด้วยความยินดีค่ะคุณจิณณพัต

ดีใจที่คุณจิณณพัตได้ประโยชน์จากบทความของดิฉัน

ขออนุญาตสอบถามค่ะคุณพรนิภา ไม่ทราบว่าคุณพรนิภาใช้ทฤษฎีอะไรแล้วเทคนิคเฉพาะทฤษฎีในการให้คำปรึกษาของผู้รับบริการท่านนี้คะ?

ดิฉันใช้CBT กับผู้ป่วยรายนี้ค่ะเทคนิคเฉพาะที่ใช้คือ Cognitive restructuring และแนะนำเรื่อง relaxation breathing ค่ะ ส่วนเทคนิคอื่นๆก็รับฟัง ให้ระบาย ให้กำลังใจค่ะ

พสุภักดิ์ มิ่งแก้ว

คุณเขียนบรรยายเห็นภาพ ขอนำไปใช้กับผู้ร่วมงาน ครอบครัว บางครั้งคนที่มีความทุกข์ต้องการคนฟังอย่างเข้าใจ ขอบตุณนะค่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท