KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 76. ชุมชนแนวปฏิบัติ


• ผมเขียนเรื่องนี้ขณะกำลังฟังคุณหมออัจฉรา เชาวะวณิช ผอ.  สถาบันบำราศนราดูร เล่าเรื่อง คนไข้เอดส์ ของสถาบัน นัดหมายมาพบกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติตัว ทำกันมาเป็นสิบปี   เป็นการเล่าเรื่องในการประชุมภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 25 พค. 49 ที่กรมส่งเสริมการเกษตร    ผมจึงนึกขึ้นได้ว่า นี่คือ ชุมชนแนวปฏิบัติ ที่น่าจะเรียกได้ว่า ชุมชนคนไข้โรคเอดส์ของสถาบันบำราศฯ  
• ในสังคมไทยเรามีชุมชนแนวปฏิบัติมากมาย  เช่นชุมชนแนวปฏิบัติกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานของโรงพยาบาลพยุหะคีรี นครสวรรค์ (ที่จริงคงจะมีชุมชนผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็น 100 ชุมชน   เพราะพบว่าการ ลปรร. วิธีปฏิบัติตัวระหว่างผู้ป่วยโรคเบาหวานกันเอง ช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีปฏิบัติตัวได้ดีกว่าคำแนะนำจากหมอหรือพยาบาลหลายเท่าตัว)  ชุมชนแนวปฏิบัติเพื่อการเกษตรปลอดภัยของชาวบ้านที่พิจิตร ซึ่งแยกเป็น 7 ชุมชน เช่น ชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษ   ชุมชนข้าวปลอดสารพิษ   ชุมชนเกษตรผสมผสาน เป็นต้น
• ชุมชนใน gotoknow.org มีมากมาย เช่น gotoknow.org/dmcommune ของ “คุณอำนวย” KM โรคเบาหวาน,    gotoknow.org/facicop ของ “คุณอำนวย”,   gotoknow.org/nuqakm ของมหาวิทยาลัยนเรศวร  เป็นต้น
• ชุมชนแนวปฏิบัติควรใช้ทั้งการ ลปรร. ผ่านการพบปะ F2F (face to face) และการพบปะผ่านเครื่องมือ ICT (B2B – bit to bit)
• อ่านทฤษฎีเกี่ยวกับชุมชนแนวปฏิบัติ (Community of Practice) ได้จากหนังสือ “การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ” หน้า 123, 167 - 169   และในหนังสือ “ชุมชนแนวปฏิบัติ : การจัดการความรู้สายพันธุ์ใหม่” แปลโดยพูนลาภ อุทัยเลิศอรุณ

วิจารณ์ พานิช
๒๕ พค. ๔๙


 

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือ#km#cop
หมายเลขบันทึก: 31903เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2006 07:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 11:51 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท