ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน


ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน

ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน

ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้ว ในหน้า 73 เล่ม 126 ตอนพิเศษ 162 ง ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2552 ประกาศ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันครบเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552)

โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 279 กำหนดให้มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภทให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น โดยจะต้องมีกลไกและระบบในการดำเนินงานเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย

ก.พ. ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนได้พิจารณาโดยถี่ถ้วนแล้วเห็นว่า ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนทุกตำแหน่งมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้ราชการแผ่นดินในส่วนที่ตนรับผิดชอบเกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม ดังนั้น การใช้อำนาจเพื่อให้หน้าที่ที่ตนรับผิดชอบลุล่วง ข้าราชการพลเรือนทั้งปวงจึงต้องมีคุณธรรม ซึ่งเป็นการอันพึงทำ เพราะนำประโยชน์ให้เกิดแก่ส่วนรวมและตนเองและศีลธรรมซึ่งเป็นการอันพึงเว้น เพราะเป็นโทษแก่ส่วนรวมและตนเองประกอบกันขึ้นเป็นจริยธรรมข้าราชการพลเรือนอันเป็นความประพฤติที่ดีงาม สมกับความเป็นข้าราชการ

อนึ่ง มาตรา 280 ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่เสนอแนะหรือให้คำแนะนำในการจัดทำหรือปรับปรุงประมวลจริยธรรมตามมาตรา 279 และส่งเสริมให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีจิตสำนึกในด้านจริยธรรม รวมทั้งมีหน้าที่รายงานการกระทำที่มีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมเพื่อให้ผู้ที่รับผิดชอบในการบังคับการให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมตามมาตรา 279

ดังนั้น บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนทุกตำแหน่งจึงมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวมและประเทศชาติ มีความเป็นกลางทางการเมือง อำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล โดยจะต้องยึดมั่นในค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ 9 ประการ ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ดังนี้

1. การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม

2. การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริตและรับผิดชอบ

3. การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตนและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน

4. การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรมและถูกกฎหมาย

5. การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัยและไม่เลือกปฏิบัติ

6. การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้องและไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง

7. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้

8. การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

9. การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร

เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ประกอบค่านิยมหลักสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันผู้ตรวจการแผ่นดินได้ให้คำแนะนำให้หน่วยงานทั้งหลายถือปฏิบัติ ก.พ. โดยความเป็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมขึ้นเป็นประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน เพื่อให้ข้าราชการทั้งหลายเกิดสำนึกลึกซึ้งและเที่ยงธรรมในหน้าที่ ผดุงเกียรติและศักดิ์ศรีข้าราชการควรแก่ความไว้วางใจและเชื่อมั่นของปวงชนและดำรงตนตั้งมั่นเป็นแบบอย่างที่ดีงาม สมกับความเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นตัวอย่างแห่งธรรมจรรยาอันสูงสุดเพื่อใช้บังคับเป็นมาตรฐานกลางไว้ ดังนี้

http://gotoknow.org/file/bussayamas/moral-1109.pdf

หมายเลขบันทึก: 318982เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2009 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เนื้อหามีประโยชน์มากค่ะ ขอเนื้อหาเพิ่มนะคะ

สวัสดีค่ะ...คุณบวร...

ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมค่ะ...

สวัสดีค่ะ...คุณมาลา...

เนื้อหาเพิ่มเติม อยู่ใน blog ด้านล่างแล้วค่ะ เพียงแต่ click เข้าไปก็จะสามารถ

อ่านเพิ่มเติมได้แล้วค่ะ...

  • สวัสดีคะอาจารย์
  • มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ
  • สบายดีนะคะ

สวัสดีค่ะ...อาจารย์ mena...

ขอบคุณค่ะ...ยินดีมากเลยค่ะ...

ค่ะ...สบายดีค่ะ...

เนื้อหาดี..มีประโยชน์ครับ

จรรยาบรรณข้าราชการพลเรือนเรียกอีกชื่อหนึ่งจรรยาข้าราชการใช่หรือเป่าคะ

ตอบ...คุณศศิ...

  • สำหรับจรรยาบรรณข้าราชการพลเรือน ฉบับนี้ ผู้เขียนคิดว่ายังไม่น่าเรียกว่า "จรรยาข้าราชการค่ะ" เพราะในความหมายของคำว่า "ข้าราชการ" ในคำนิยามของราชกิจจานุเบกษา ฯ ในหน้า 74 ดังกล่าวข้างต้น คำว่า ข้าราชการ นั้น หมายถึง ข้าราชการพลเรือน พนักงานราชการและลูกจ้างประจำที่สังกัดในราชการพลเรือน ซึ่งข้าราชการพลเรือนจะไม่รวมถึงข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนในกระทรวงกลาโหมฯ...
  • ดังนั้น ผู้เขียนจึงคิดว่า จรรยาบรรณข้าราชการพลเรือน ไม่น่าจะใช่จรรยาข้าราชการ เพราะในคำนิยามนั้น จะหมายถึง ข้าราชการพลเรือน พนักงานราชการและลูกจ้างประจำที่สังกัดในราชการพลเรือนเท่านั้น (ความหมายแคบกว่าข้าราชการฝ่ายพลเรือน ค่ะ...
  • ดังนั้น จรรยาบรรณข้าราชการพลเรือน จึงหมายถึงข้าราชการตามคำนิยาม หน้า 74 ของราชกิจจานุเบกษา นั้นเท่านั้นเองค่ะ...ซึ่งไม่รวมถึงข้าราชการฝ่ายอื่น ๆ...

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท