การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับชาวนา (๒๘)_๒


การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับชาวนา (๒๘)_๒

                             

มวนเขียวดูดใบ  เป็นตัวห้ำดูดกินไข่เพลี้ยกระโดด  และเพลี้ยจักจั่น  ทำให้ไข่แฟบ  เป็นศัตรูที่สำคัญของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

แมงมุมเขี้ยวยาว  สร้างใยตามใบข้าว  ดักล่าเหยื่อในเวลากลางวันและกลางคืน  กินเพลี้ยกระโดด  เพลี้ยจักจั่น  และหนอนแมลงวันข้าว

ด้วงเต่า  ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยกินแมลงศัตรูข้าว

                                

ด้วงดิน  อยู่ตามโคนต้นข้าวหรือบนดิน  กินเพลี้ยกระโดด  เพลี้ยจักจั่น  และหนอนศัตรูข้าว

มวนเพชฌฆาต  อาศัยอยู่ตามกอข้าว  เป็นตัวห้ำกินหนอนแมลงศัตรูข้าว
แตนเบียนโกนิโอซัส  เป็นแตนเบียนภายนอกที่สำคัญของหนอนห่อใบข้าว
แตนเบียนสานลเสียส  ทำลายหนอนกระทู้โดยเพศเมียวางไข่และเจริญเติบโตในตัวหนอนและกินผนังตัวหนอนมาเข้าดักแด้ข้างนอก  และสร้างเส้นใยหุ้มดักแด้

                              
 แตนเบียนมาโตรเซนทรัส  พบทั่วไปในนา  บินอยู่เหนือกอข้าว  เพศเมียจะวางไข่และเจริญเติบโตอยู่ภายในตัวหนอนห่อใบข้าว

แตนเบียนอีลัสมัส  ทำลายหนอนห่อใบข้าว  โดยหนอนของแตนเบียนจะกินข้างนอกตัวหนอนห่อใบข้าว
แมลงวันก้นขน  บินตามใบข้าวเพื่อหาเหยื่อ  ตัวเมียวางไข่บนตัวหนอนกัดกินใบ  เมื่อไข่ฟักเป็นหนอนจะกัดกินอยู่ภายในเหยื่อ
จิ้งหรีดหนาวยาว  พบในนาข้าว  สภาพนาสวนและข้าวไร่  ตัวเต็มวัยและตัวอ่อนเป็นตัวห้ำกินไข่แมลงศัตรูข้าว

                             

หนอนกระทู้กล้า
รูปร่างลักษณะ  ด้านบนของตัวหนอนมีสีน้ำตาลแก่  และมีลายตามความยาวของลำตัว  3  เส้น  ด้านล่างมีสีน้ำตาลอ่อน  ตัวแก่เป็นผีเสื้อกลางคืน  มีสีเทาปนน้ำตาล
ลักษณะการทำลาย  ทำความเสียหายแก่กล้าข้าวมาก  ระยะแรกจะกัดกินผิวใย  เมื่อโตขึ้นจึงเริ่มกัดกินใบทั้งใบและจะกัดกินลำต้นระดับพื้นดิน
แมลงสิง
รูปร่างลักษณะ  ตัวเต็มวัยรูปร่างเรียว  ขนาดลำตัวยาวประมาณ  2 x 14  ซ.ม.  สีน้ำตาลอ่อน  ปีกใส  ตัวอ่อนมีสีเขียวปนเหลือง  ตัวเมียวางไข่บนข้าวมีลักษณะคล้ายกลอง  มีลักษณะพิเศษคือมีกลิ่นเหม็นเขียว
ลักษณะการทำลาย  ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ดูดน้ำเลี้ยงจากเมล็ดข้าว  ขณะที่เป็นน้ำนม  ทำให้เมล็ดข้าวลีบ  หรือเมล็ดไม่สมบูรณ์

                                            

ด้วงก้นกระดก  พบทั่วไปในนาข้าว  มีความว่องไวตามต้นข้าว  กินตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดด
แมลงดำหนาม
รูปร่างลักษณะ  ตัวแก่เป็นพวกด้วงปีกแข็ง  มีสีดำ  หนวดยาวประมาณ  5 - 6 ม.ม.  รูปร่างป้อม  ลำตัวมีหนามแหลมแข็ง  ปีกคลุมตัวหนอนมีลักษณะแบน  จะกัดกินภายใต้ผิวใบและเข้าดักแด้ภายในเนื้อเยื่อของใบข้าว
ลักษณะการทำลาย  ที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ  เส้นสีขาวแกนๆบนใบข้าวตัวหนอนของแมลงดำหนามที่กัดกินใบข้าว  มีลักษณะการทำลายคล้ายหนอนชอนใบ  โดยกัดกินส่วนที่เป็นสีเขียวอยู่ใต้ผิวใย  ทำให้ใบข้าวมีลักษณะโปร่งแสง
                                

แมลงล่า
รูปร่างลักษณะ  เป็นพวกมวนชนิดหนึ่ง  ลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมคล้ายโล่  ด้านหัวและอกเป็นรูปสามเหลี่ยม  ลำตัวมีสีน้ำตาลดำ  หัวมีสีดำ  ยาว  7 8.5  ม.ม.  ก้าว  4 4.5  ม.ม.  ตัวผู้เล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย
ลักษณะการทำลาย  ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่  ดูดกินน้ำเลี้ยงตามโคนต้นข้าว  บริเวณที่ดูดทำลายจะเป็นสีน้ำตาล  ถ้าถูกทำลายมากๆต้นข้าวจะเหี่ยวแห้งตายได้
แมลงบั่ว
รูปร่างลักษณะ  ตัวแก่มีลักษณะคล้ายยุง  ยาวประมาณ  3 4  ม.ม.  ส่วนท้องจะมีสีส้ม  หนวดและขามีสีดำ
ลักษณะการทำลาย  เมื่อต้นข้าวถูกหนอนแมลงบั่วทำลาย  จะทำให้เกิดเป็นหลอดเป็นสีเขียวขาวๆ  จนเกือบจะเป็นสีขาว  ต้นข้าวที่เกิดหลอดบัวไม่สามารถจะออกรวงได้ตามปกติ  เมื่อต้นข้าวถูกแมลงบั่วทำลายมากๆจะทำให้ข้าวแตกกอมากคล้ายตะไคร้

                                 

ตักแตนหนวดสั้น

เพลี้ยแป้ง
รูปร่างลักษณะ  เพลี้ยแป้งตัวเมียไม่มีปีก  ยาวประมาณ  3 4  ม.ม.  มีลำตัวเป็นปล่องๆ  ค่อนข้างสั้น  และมีผงแป้งคลุมอยู่ภายนอก  ตัวผู้มีปีก  มักพบเป็นกลุ่มระหว่างกานใบกับลำต้นข้าว
ลักษณะการทำลาย  เพลี้ยแป้งทำความเสียหายแก่ต้นข้าว  โดยดูดกินน้ำเลี้ยงบนใบข้าวและกานใบตั้งแต่ระยะปักดำจนถึงระยะออกดอก  เมื่อข้าวถูกทำลายจะแห้งเหี่ยวและแคระแกร็น  ในที่สุดจะตายทั้งกอ  บางต้นแม้ไม่ตายก็ไม่สามารถออกรวงได้ตามปกติหรือถ้าออกรวงก็จะมีเมล็ดลีบ

การสำรวจแมลงในแปลงนา  วันที่  28  มิถุนายน  2547                       

-  แปลงน้า  นายสำราญ  สระโจมทอง

-  พันธุ์ข้าว  35
-  อายุข้าว  67  วัน
-  สูง  65  เซนติเมตร
-  มี  5 – 6  ใบ
-  แตกกอ  2 – 3  ต้น
-  ระดับน้ำ  4  เซนติเมตร
-  อากาศสลัว

แมลงดี  5  ชนิด

   
-  แมงมุมเขี้ยวยาว
13
ตัว
-  แมงปอเข็ม
3
ตัว
-  แตนเบียนสีส้ม
1
ตัว
-  แมลงวันก้นขน
15
ตัว
-  ยุงนา
10
ตัว

แมลงตัวร้าย  3  ชนิด

   
-  จักจั่นสีเขียว
11
ตัว
-  หนอนม้วนใบ
1
ตัว
-  ผีเสื้อหนอนกระทู้
1
ตัว

                               

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3187เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2005 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท