CIPPA MODEL


CIPPA MODEL

รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง:  โมเดลซิปปา (CIPPA Model)หรือ  รูปแบบการประสานห้าแนวคิด  โดยทิศนา แขมมณี

 ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ

ทิศนา  แขมมณี (2543: 17) รองศาสตราจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย ได้พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นจากประสบการณ์ที่ได้ใช้แนวคิดทางการศึกษาต่าง ๆ ในการสอนมาเป็นเวลาประมาณ 30 ปี และพบว่าแนวคิดจำนวนหนึ่งสามารถใช้ได้ผลดีตลอดมา ผู้เขียนจึงได้นำแนวคิดเหล่านั้นมาประสานกัน ทำให้เกิดเป็นแบบแผนขึ้น แนวคิดดังกล่าวได้แก่

  1. แนวคิดการสร้างความรู้   (construction of knowledge)
  2. แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ(processlearning)
  3. แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้  (process learning)
  4. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้กระบวนการ  (physical participation)
  5. แนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายโอนความรู้  (application)

ทิศนา แขมมณี (2543: 17-20) ได้ใช้แนวคิดเหล่านี้ในการจัดการเรียนการสอน

โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง (construction of knowledge) ซึ่งนอกจากผู้เรียนจะต้องเรียนด้วยตนเองและพึ่งตนเองแล้ว ยังต้องพึ่งการปฏิสัมพันธ์

(interaction) กับเพื่อน บุคคลอื่น ๆ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วย รวมทั้งต้องอาศัยทักษะกระบวนการ (process skills) ต่าง ๆ จำนวนมากเป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ นอกจากนั้นการเรียนรู้จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องได้ดี หากผู้เรียนมีความพร้อมในการรับรู้และเรียนรู้ มีประสาทการรับรู้ที่ตื่นตัว ไม่เฉื่อยชา ซึ่งสิ่งที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนอยู่ในสภาพดังกล่าวได้ก็คือ การให้มีการเคลื่อนไหวทางกายอย่างเหมาะสม กิจกรรมที่มีลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง และความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นจะมีความลึกซึ้งและอยู่คงทนมากขึ้น หากผู้เรียนมีโอกาสนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ในสภาพการณ์ที่หลากหลาย  ด้วยแนวคิดดังกล่าวจึงเกิดแบบแผน “CIPPA” ขึ้น ซึ่งผู้สอนสามารถนำแนวคิดทั้ง 5 ดังกล่าวไปใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้มีคุณภาพได้

 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ

รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างแท้จริง โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยความร่วมมือจากกลุ่ม นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ จำนวนมาก อาทิ กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่ม กระบวนการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และกระบวนการแสวงหาความรู้ เป็นต้น

 กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ

ซิปปา (CIPPA) เป็นหลักการซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก “CIPPA” นี้สามารถใช้วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย ซึ่งอาจจัดเป็นแบบแผนได้หลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งที่ผู้เขียนได้นำเสนอไว้และได้มีการนำไปทดลองใช้แล้วได้ผลดี

ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการ 7 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1  การทบทวนความรู้เดิม

ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน ซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย

ขั้นที่ 2   การแสวงหาความรู้ใหม่

ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูล หรือแหล่งความรู้ต่าง ๆ ซึ่งครูอาจจัดเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้

ขั้นที่ 3  การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม

ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูล/ความรู้ที่หามาได้ ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูล/ประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ   ด้วยตนเอง เช่น ใช้กระบวนการคิดและกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม

ขั้นที่ 4   การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม

ขั้นนี้เป็นขั้นที่อาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตน รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อม ๆ กัน   อให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลตางูใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูล หรือแหล่งความรู้ตานำไปทด 

ขั้นที่ 5   การสรุปและจัดระเบียบความรู้

ขั้นนี้เป็นขั้นสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบเพื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย

ขั้นที่ 6   การปฏิบัติและ/หรือการแสดงผลงาน

หากข้อความที่ได้เรียนรู้มาไม่มีการปฏิบัติ ขั้นนี้จะเป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้แสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตน และช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์ แต่หากต้องมีการปฏิบัติตามข้อความรู้ที่ได้ ขั้นนี้จะเป็นขั้นปฏิบัติ และมีการแสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติด้วย

ขั้นที่ 7   การประยุกต์ใช้ความรู้

ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้น ๆ

หลังจากการประยุกต์ใช้ความรู้ อาจมีการนำเสนอผลงานจากการประยุกต์อีกครั้งก็ได้ หรืออาจไม่มีการนำเสนอผลงานในขั้นที่ 6 แต่นำมารวมแสดงในตอนท้ายหลังขั้นการประยุกต์ใช้ก็ได้เช่นกัน

                           ขั้นตอนตั้งแต่ขั้นที่ 1-6 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ (construction of knowledge) ซึ่งครูสามารถจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน (interaction) และฝึกฝนทักษะกระบวนการต่าง ๆ (process learning) อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขั้นตอนแต่ละขั้นตอนช่วยให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหลากหลายที่มีลักษณะให้ผู้เรียนได้มีการเคลื่อนไหวทางกาย ทางสติปัญญา ทางอารมณ์และทางสังคม(physical participation)อย่างเหมาะสม อันช่วยให้ผู้เรียนตื่นตัว สามารถรับรู้และเรียนรู้ได้อย่างดี จึงกล่าวได้ว่าขั้นตอนทั้ง 6 มีคุณสมบัติตามหลักการ CIPP  ส่วนขั้นตอนที่ 7 เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ (application) จึงทำให้รูปแบบนี้มีคุณสมบัติครบตามหลัก  CIPPA

ข้อคิดวิเคราะห์ / ข้อสังเกตของนักศึกษา  รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: (CIPPA Model)

            การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้นต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นทั้งทางร่างกาย สติปัญญา สังคมและอารมณ์ กิจกรรมการเรียนการสอนมีลักษณะดังนี้

1.เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางด้านกาย อารมณ์ และจิตใจ (Physical Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย ตามความเหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ และความสนใจของผู้เรียนการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกาย ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมในการเรียนรู้ ตื่นตัวไวต่อการรับรู้  ข้อมูล ข่าวสาร การรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ หากผู้เรียนไม่มีความพร้อมในการรับรู้ แม้จะมีการให้ความรู้ที่ดีๆ ผู้เรียนก็ไม่สามารถรับได้ และพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็เช่นเดียวกัน ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งควรคำนึงถึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้เรียน  เพื่อจะนำไปสู่การเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์

2. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา  (Intellectual Participation) คือเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ ควรมีลักษณะกระตุ้น และท้าทายความคิดของผู้เรียนทำให้ผู้เรียนเกิดการจดจ่อผูกพันกับสิ่งที่คิดสนุกที่จะคิด ดังนั้น กิจกรรมจะมีลักษณะดังกล่าวได้ ก็จะต้องมีเรื่องให้ผู้เรียนคิด จะต้องไม่ง่ายและไม่ยากเกินไปสำหรับผู้เรียน เพราะถ้าง่ายเกินไป ผู้เรียนก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความคิด แต่ถ้ายากเกินไป ผู้เรียนก็จะเกิดความท้อถอยที่จะคิด ดังนั้นครูจึงต้องหาประเด็นที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความคิดหรือลงมือทำ

3. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม (Social Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่อาศัยร่วมกันสิ่งแวดล้อมรอบตัวเปรียบเสมือนแหล่งความรู้ที่มีคุณค่า ในอดีตครูทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ เพราะเชื่อว่าครูเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ    ผู้เรียนจึงต้องศึกษาจากครูเท่านั้น แต่ปัจจุบัน แหล่งความรู้นั้นมีหลายแหล่งมาก และในบางเรื่องครูอาจไม่ใช่แหล่งความรู้ที่สำคัญก็ได้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางโลก ทำให้การแพร่กระจายของข่าวสารข้อมูลเป็นไปได้มาก ขอบฟ้าแห่งความรู้ ไม่ได้สิ้นสุดที่ครูและห้องเรียน  การเรียนรู้ของบุคคลเกิดขึ้นจากการรับรู้ข้อมูล ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เข้าไปในสมอง และสมองจะทำหน้าที่ย่อยข้อมูล ตีความและสร้างความหมายของข้อมูลเหล่านั้นประสานกันกับข้อมูลเดิมที่มีอยู่ เกิดเป็นความรู้ ของบุคคลนั้น

4.เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางอารมณ์ (Emotional Participation) คือ กิจกรรมที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้นั้นเกิดความหมายต่อตนเอง กิจกรรมที่ส่งผลต่อความรู้สึกของผู้เรียนนั้น มักจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ประสบการณ์ และความเป็นจริงของผู้เรียน ในบางกรณีเราอาจต้องสร้างสถานการณ์ที่ให้ ผู้เรียนมีความสุข สนุกสนานที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เพื่อส่งเสริมให้เขาเห็นคุณค่าของการสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่ในบางกรณีเราอาจต้องสร้างความรู้สึกงงงวยสงสัย  เมื่อเกิดการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งใด  สิ่งหนึ่งเพื่อช่วยกระตุ้นความสนใจในการแสวงหาคำตอบ เป็นต้น

ผู้เรียนการจัดการเรียนการสอนยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยใช้ CIPPA Model สามารถช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ ดังนี้เรียนรู้

C มาจากคำว่า Construct ซึ่งหมายถึง การสร้างความรู้ตามแนวคิดของปรัชญา Constructivism กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี ควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง การที่ผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความรู้ด้วยตนเองนี้เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทาง สติปัญญา

I มาจากคำว่า Interaction ซึ่งหมายถึง การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวกิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวทางร่างกาย โดยการทำกิจกรรมในลักษณะต่างๆ 

P มาจากคำว่า Physical Participation ซึ่งหมายถึง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ทางกาย คือ ผู้เรียนมีโอกาสได้เคลื่อนไหวร่างกาย โดยทำกิจกรรมในลักษณะต่างๆ

P มาจากคำว่า Process Learning หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่างๆ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม กระบวนการพัฒนาตนเอง เป็นต้น การเรียนรู้กระบวนการเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกับการเรียนรู้เนื้อหาสาระต่างๆ การเรียนรู้ทางด้านกระบวนการ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญาอีกทางหนึ่ง

A มาจากคำว่า Application หมายถึง การนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียน และช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ กิจกรรม การเรียนรู้ที่มีแต่เพียงการสอนเนื้อหาสาระให้ผู้เรียนเข้าใจ โดยขาดกิจกรรมการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ จะทำให้ผู้เรียนขาดการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร การจัดกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้นี้ เท่ากับเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้าน แล้วแต่ลักษณะของสาระและกิจกรรมที่จัด

แหล่งอ้างอิง

ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2540

( หน้า 282-284 )

คำสำคัญ (Tags): #cippa model
หมายเลขบันทึก: 318341เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2009 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 10:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (167)
ละมุดกับอินทร์เขียน

คนคิดฉลาดมากคะ

เว็บนีให้ความรู้ดีจริง

เวบนี้น่าสนใจมาก

เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน

มีระบบการเรียนการสอนที่ดีมากค่ะ

เน้นที่นักเรียนดีแล้วละคะ

งานชิ้นนี้ผู้บริหารต้องชอบแน่นอน

เป็นการเรียนการสอนที่ดีมาก

กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบซิปปา (CIPPA) น่านำมาทดลองใช้กับการเรียนการสอน

เป็นการจัดระบบการเรียนการสอนที่ดีจริง

น่าจะนำมาใช้ในห้องเรียน

เป็นสิ่งที่ดีน่าจะนำมาใช้กับโรงเรียน

555...ชอบมากๆครับ

ดีต่อการเรียนการสอนดีๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

การสอนดีนะค่ะ

น่าจะนำหลักการนี้มาใช้ในโรงเรียน

เป็นสิ่งที่น่าสนใจและสามารถำมาประยุกต์ใช้กับนักเรียนได้ด้วยค่ะ

ครูโรงเรียนหนูเก่งจังเลยคะ ครูแดงสอนฟิสิกส์เก่งม้ากมาก

การจัดการเรียนการสอนดีมาก

การเรียนการสอนดีมากค่ะ

สอนเข้าท่าดีนะ

ก็ดีนะสร้างสรรค์ดี

เป็นการเรียนการสอนที่ทันสมัยจริงๆค่ะ

อยากให้ครูมีเว็บนี้ตลอดไป

เป็นระบบที่น่าจะไปใช้ในห้องเรียนจริงๆ

ถ้านำหลักการนี้มาใช้น่าจะเป็นระเบียบในการจัดการเรียนการสอน

วัตถุประสงค์ของรูปแบบดี

เน้นที่นักเรียนดีแล้วเพราะว่าเราสอนนักเรียนก็ต้องเน้นที่นักเรียนซิคะถูกแล้ว

น่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย

ถ้านำหลักการของเว็บนี้ไปใช้คงจะดีจริง

มี่ความน่าสนใจ และน่าจะนำมาใช้กับนักเรียนได้ดี

ความคิดเจ๋งไปเลยคะ

เป็นประโยชนืในการจัดการเรียนการสอน

อยากให้นำกระบวนการนี้มาใช้ในการแสวงหาความรู้ใหม่

ถ้านำมาใช้ในหห้องเรียนคงดีไน้อย

น่าจะเป็นประโยชน์ในการแสวงหาความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน

เน้นที่ผู้เรียนดีแล้วค่ะผู้เรียนจะได้มีความรับผิดชอบมากขึ้นไงคะ

การสอนน่าจะใช้ได้จริง

เป็นความคิดที่ดี

สิ่งนี้สามานภทำให้นักเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

น่าจะเป็นประโยชน์เกี่ยวกับนักเรียน

ประโยชน์เยอะจริงอ่ะเว็บนี้

งานชิ้นนี้เยี่ยมมากๆครับ

เป็นสิ่ที่ดีกับบุคลากรทั่วไป

การเรียนการสอนยอดเยี่ยมมาก

ถ้าใช้ระบบนี้ก็จะมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

เจ้าหญิงนภัสราวดีกะน้ำเชยว

โดนมากๆเลย ฉลาดจังนะ

ควรนำไปใช้ในโรงเรียนดูบ้างคงจะดี

หลักการ ทฤษฎี รูปแบบการ สุดยอดมากครับ

น่าจะนำมาใช้กับโรงเรียนดูน่ะ

ให้ความรู้ได้มาก

มีสาระความรู้มากมาย

เป็นการเรียนรู้ที่ดีพอสมควร

คงจบสูงสิท่า คิดได้ไง

เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นหลัก

เป็นเว็บที่น่าสนใจมากค่ะ

น่าจะนำไปใช้ในการศึกษา

คุณหญิงลิ้ม (จากนอร์เวย์)

ป็นการส่งเสริมความรู้แบบหนึ่งที่ดี

ฮานะจัง อาชิกะคุง

ก็เป็นความคิดที่ดีนะคะน่าจะนำมาใช้ในโรงเรียนของเรา

การเรียนการสอนดีค่ะ

สารถส่งเสริมให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างที่จัดขึ้นให้กับนักเรียน

ใช้ได้หลายรูปแบบดีจัง

เว็บไซนี้สามารถนำไปใช้ได้หลายอย่าง

น่าจะเป็การสอนที่ดีมากค่ะเพราะเน้นผู้เรียน

อยากให้โรงเรียนนำการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้นมาใช้

มีการเรียนการสอนที่ดีและมีประโยชน์แก่นักเรียนมากครับ

ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสภาพการณ์ที่หลากหลายในชีวิตประจำวัน

เกวนโดลินกะเซรัส

ซู้ดดด..ยอดเลยคะ

การสอนน่าจะดีท่าใช้ในโรงเรียนเรา

เป็นสิ่งที่ดีสำหรับเด็ก

มีการนำแนวคิดมาสอนที่ทำให้นักเรียนเข้าใจง่ายที่ดีฮะ

ขอนับถือผู้สร้างเว็บ

นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง

เป็นแนวคิดระบบการเรียนการสอนที่ดีครับ

น่าจะลองนำมาปรับใช้กับระบบการเรียนการสอน

การสอนเข้าท่าดี

หลักการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมีประโยชน์มาก

อยากให้มีความรู้ขึ้นอีกก็คงดี

มีแนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายโอนที่ดีค่ะ

เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้อีกอย่างหนึ่ง

การสอนแบบนี้โรงเรียนเราควรใช้ด้วยแล้ว

สามารถพัฒนากระบวนการทักษะของนักเรียนได้ดี

ก็เป็นสิ่งที่น่าจะลองดู

มีแนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้ที่ดีและมีประโยชน์แก่นักเรียนด้วยค่ะ

ผู้เรียนคงจะไม่มีปัญหา

เป็นการจัดแบบแผนที่เป็นระบบกับนักเรียน

เว็บนี้น่าสนใจมากครับ

น้องต้นน้ำกะน้องกอหญ้า

เว็บไซต์นี้ป็นเรื่องที่ดีมากครับ/ค่ะ

อยากทดลองใช้บ้างรูปแบบซิปปา (CIPPA) เป็นหลักการซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ

เป็นการให้ความรู้และมีประโยชน์แก่นักเรียนนักสึกษาในทางที่ดีมากค่ะ

เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง

เป็นสิ่งที่ดีค่

ในระบบการเรียนการสอนต้องมีการทบทวน

สอนดีมากๆ

การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก “CIPPA น่านำไปใช้

มีการนำแนวคิดในการสร้างความรู้ที่ดีมีประโยชน์แก่เด็กนักเรียนนักศึกษาได้ดี

สอนได้เข้าใจดีมาก

เป็นการจัดการเรียนการสอนกระบวนการหนึ่งให้กับนักเรียน

ดีเพราะจะทำให้ผู้เรียนมีสติปัญญาที่ดีขึ้น

ดีมากเลยการสอนดีมาก

มีระบบการเรียนการสอนที่ทำให้นักเรียนนักศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น

เป็นการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียน

เป็นอะไรที่มีความคิดสร้างสรรค์มากค่ะ

ดีมากได้ทบทวนไปในตัวด้วย

มีการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมได้ดีและทำให้นักเรียนเข้าใจง่าย

ทำให้นักเรียนได้ความรู้มากยิ่งขึ้นในการรู้จักแสวงหาความรู้ใหม่ๆ

ต่อไประบบการเรียนการสอนของเราก็คงจะดีขึ้นเยอะเลยครับ

ถ้าผู้บริหารอนุมัติก็คงสำเร็จ

ทำให้เด็กนักเรียนเข้าใจในการเรียนมากขึ้น

มีการถ่ายโอนความรู้ที่ดีแก่นักเรียนนักศึกาที่ดีมาก

สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง

เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อนักเรียนเป็นอย่างมาก

ดีจังค่ะที่มีเว้บไซต์แบบนี้

เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน

ขอชื่นชม..ครูบัณฑิต..มากที่ได้สร้างความรู้แก่เด็กแถมยังเป็นรากฐานของการศึกษาอีกด้วย

งานชิ้นนี้เหมาะสำหรับใช้งานด้านต่างๆมากๆค่ะ

ระบบการเรียนการสอนนี้ดีมาก

ทำให้นักเรียนเข้าใจถึงการจัดการเรียนการสอน

เป็นความคิดที่เข้าท่า

แนวคิดดีคะ

ทำให้นักเรียนมีความรู้ได้รับสาระมากมาย

เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นอย่างดี

เด็กคงจะเรียนเก่งกันทุกคน

มีระบบการเรียนการสอนของ ชิปปา ซึ่งเป็นหลักการที่สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมดี

เทคโนโลยีนี้น่านำไปใช้นะคะ

เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูล อื่นๆ

ถ้าได้ปรับใช้กับนักเรียนนักเรียนคงชอบ

เป็นมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ความเข้าใจ

สุภาภรณ์ ลิ้มระคุง

เป็นแนวคิกที่มีความล้ำยุคสุดยอดมากค่ะและน่านำไปใช้

น่าสนใจนะครับการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม

สุดยอดจริงๆครับเว็บนี้

มีการทบทวนความรู้เดิมให้แก่นักเรียนนักศึกษาที่ดีและเป้นประโยชน์ด้วย

เป็นแบบแผนที่เน้นการเรียนรู้ต่างๆให้กับผู้เรียนอย่างจริงจัง

น่าสนใจมากค่ะ

นำไปประยุกต์ให้เข้ากับตัว และสามารถพึ่งตนเอง

ได้

เป็นความคิดที่ดีมากเลยค่ะ

เป็นการเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนเป็นอย่างดี

อยากทดลองใช้ การทบทวนความรู้เดิม

เป็นการเรียนรู้ที่อาศัยกระบวนการต่างๆที่อยู่รอบตัวเราและสิ่งแวดล้อม

เป็นเว็บที่เริ่ดดดดด มากคะ สุดยอดจริงๆ

สามารถสร้างประสบการณ์ให้กับนักเรียน

มีการแลกเปลี่ยนความรู้เดิมและความรู้ใหม่กันระหว่างครูกับนักเรียนนักศึกษาที่ดีและยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแก่ครูกับนักเรียนนักศึกาอีกด้วย

เป็นความคิดที่ดีมากเลยค่ะ

อยากนำไปใช้ในการเรียนการสอนตั้งแต่ขั้นที่ 1-6 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ (construction of knowledge) ซึ่งครูสามารถจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

เป็นแบบแผนที่โรงเรียนน่าจะนำไปใช้กับนักเรียนดูบ้าง

เยี่ยมมากครับ

เป็นแนวคิดที่น่าจะพัฒนาเด็กได้

เป็นแบบแผนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

เป็นการดีมากค่ะที่เน้นที่ผู้เรียน

เป็นการเรียนรู้ที่ดีมาก

เป็นการเรียนที่น่าเรียนมาก

แฟนเราเอาแต่ เรียน ( แต่ก็ดีครับ )

เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนนักศึกษาได้ใช้สติปัญญาในการคิด

เป็นแบบแผนที่สร้างความรู้ได้ดี

กระบวนการหลากหลายดี

เป็นการสอนที่ดีค่ะ

อยากให้โรงเรียนสอนอย่างนี้บ้างจัง

พิเศษมากงานชิ้นนี้

ทำให้ผู้ที่จะศึกษาเข้าใจในข้อมูล

เรียน เรียน เล่น เล่น

เน้นที่ผู้เรียนก็ดีค่ะ

การใช้รูปแบบกระบวนการคิดดี

มีกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนนักศึกษามีการใช้สติปัญญาในการคิดที่ดี

เว็บสามารถให้ความรู้กับผู้ที่กำลังจะเป็นครูได้ และผ้ที่กำลังเป็นครูอยู่ก็เช่นกัน

เป็นสิ่งที่ดี

เป็นสิ่งที่ควรนำไปใช้อย่างยิง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท