จัดการความรู้องค์กรการเงินตำบลในคลองบางปลากด


ก่อนวางแผนจัดการความรู้
อาจารย์นิสา พักตร์วิไล ทีมวิจัยจาก ม.ราชภัฏวไลอลงกรณ์ ฯ เล่าให้ฟัง ว่า ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นเก็บข้อมูลเพิ่มเติมของแต่ละกองทุนเพื่อให้มีข้อมูลเบื้องต้นก่อนวางแผนในการจัดการความรู้ถ้าเรายังไม่มีข้อมูลที่จะทำแผนเราคงจะทำงานลำบาก 
ทางคณะผู้วิจัยและคุณอำนวยจึงคิดกันว่าควรมีการเก็บข้อมูลที่เป็นมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน

ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

พอดีทางเครือข่ายได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการเครือข่ายใหม่และได้จัดสรรตำแหน่งโดยการโหวตรับรองผลไปเรียบร้อย

โดยมีคุณเทพพิทักษ์ เป็นประธานเครือข่ายเหมือนเดิม

ในตำแหน่งอื่นๆได้มีผู้รับผิดชอบทั้งสิ้นโดยให้ตัวแทนจากหมู่ต่างๆเข้ารับผิดชอบในหน้าที่

และก็มีปัญหาขึ้นมาในที่ประชุมเลือกคณะกรรมการว่า

แล้วหมู่บ้านที่ไม่เข้าร่วมเลยจะทำอย่างไร เพราะในวันนั้นมีเพียง 8

หมู่บ้านที่เข้าร่วมประชุม

ทางพัฒนาอำเภอจึงแก้ปัญหาโดยการตั้งไว้เป็นคณะกรรมการ

(ที่ไม่มีตำแหน่งรับผิดชอบ)แล้วจะทำหนังสือเชิญและหนังสือยินยอมต่อไป

(เนื่องจากในที่ประชุมเห็นว่าหากหมู่บ้านใดไม่เข้าร่วมกิจกรรมใดๆเลย

ของเครือข่ายตำบลเงินที่ทางรัฐสนับสนุนให้จะไม่ไปถึงหมู่เหล่านั้นจึงต้องทำหนังสือยินยอม)

ลงพื้นที่ หลายๆ อาทิตย์ก็จะเจอปัญหาแบบนี้เสมอ

อยากจะบอกเล่าปัญหาที่คาใจอยู่ให้ฟังนะคะ คือว่า ตอนนี้ทางคณะกรรมการ ฯลฯ

ที่ทำงานภาคสังคมของเครือข่ายมีประชุมเยอะแยะมากมายเหลือเกิน บางครั้ง 2-3

หน่วยงานจัดในเรื่องเดียวกันทั้งลงไป

ทั้งที่ประชุมในพื้นที่และต้องออกไปประชุมข้างนอก ถามเล่นๆว่า

หากคณะกรรมการในหมู่บ้านไม่ได้ทำมาหากินในอาชีพของตัวเองเลย

เพราะวันหนึ่งๆต้องประชุมๆๆๆ แล้วอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น เค้าจะอยู่ได้หรือไม่

แล้วจะมีวิธีการดำเนินการอย่างไรได้คะ

เป็นโชคดีของทางกองทุนตำบลที่ประธานและสมาชิกหลายๆท่านมีธุรกิจส่วนตัวที่ไม่ต้องหาเช้ากินค่ำ

แต่ก็อีกมีปัญหาแน่นอนอย่างน้อยก็กับครอบครัวถ้าไม่ได้ทำความเข้าใจกันก่อน

 

หมายเลขบันทึก: 3183เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2005 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท