ลักษณะทางพฤษศาสตร์


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            กล้วยไม้เป็นพืชวงศ์ใหญ่  มีความแตกต่างกันภายในวงศ์อย่างเห็นได้ชัด  โดยทั่วไปลำต้นของกล้วยไม้ไม่มีแก่นและเปลือก  เนื้อในเสมอกัน  ลำต้นมี 2 ลักษณะ คือ  ลำต้นแท้  มีข้อและปล้องเหมือนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั่วไป  มีการเจริญเติบโตทางยอด  ลำต้นเทียมหรือลำลูกกล้วยไว้สะสมอาหาร  มีลำต้นเป็นเหง้า  มีข้อและปล้องถี่  เจริญในแนวนอนไปตามผิวของเครื่องปลูก  รากกลมอวบเป็นเส้นเล็กแข็งหรือแบนราบ  มีทั้งรากดิน  รากกึ่งดิน  รากกึ่งอากาศ  และรากอากาศ  ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยวมีลักษณะต่างกันออกไป  เช่น  รูปแถบ  รูปกลมยาว  หรือลดรูปเป็นเพียงเกล็ด  แผ่นใบบางคล้ายใบหมาก  หนาอวบน้ำ  หรือเป็นแท่งกลม  ส่วนมากแล้วไม่มีส่วนที่เป็นก้านใบชัดเจน  สีของใบเป็นสีเขียวสด  บางชนิดเป็นสีม่วงคล้ำ  บางชนิดก็มีลวดลาย  ดอกออกที่ปลายลำต้น  ซอกใบหรือข้างลำต้น  ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ  แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบเรียงสลับกันกับกลีบดอก 3 กลีบ  กลีบดอกอันล่างมีลักษณะต่างออกไปเรียกว่ากลีบปากหรือกลีบกระเป๋าไว้สำหรับล่อแมลง  ก้านเกสรตัวเมียและยอดเกสรตัวเมียเชื่อมติดกันกับเกสรตัวผู้เป็นเส้าเกสรอยู่กลางดอก  เกสรตัวผู้อยู่รวมกันเป็นก้อนเป็นกลุ่มเรณู  แต่ละอับเรณูมีฝาปิด  มี 2, 4 หรือ 8 ก้อนแล้วแต่ชนิดกล้วยไม้  ยอดเกสรตัวเมียอยู่ใต้อับเรณู  มีลักษณะเป็นเมือกเหนียว  รังไข่อยู่ตรงส่วนของก้านดอก  เมื่อได้รับการผสมจะเจริญไปเป็นเมล็ดต่อไป
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 31820เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2006 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กำลังศึกษาเกี่ยวกับพันธุ์กล้วยในโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและอยากได้ข้อมูลของกล้วยหักมุขเพราะต้องการทำป้ายชื่อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท