การจัดทำคำอธิบายรายวิชา


สถานศึกษาและครูผู้สอนต้องจัดทำคำอธิบายรายวิชาอย่างไร

             การจัดทำคำอธิบายรายวิชา ให้พิจารณาคำสำคัญจากมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ซึ่งจะพบในลักษณะของเนื้อหาสาระ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน คำสำคัญของเนื้อหาสาระบ่งบอกให้ทราบว่า ผู้เรียนหรือนักเรียนจะต้องเรียนรู้เนื้อหาสาระใดบ้าง ส่วนคำสำคัญในเรื่องทักษะกระบวนการนั้น มุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติ รวมทั้งคุณลักษณะที่ต้องการปลูกฝังให้เกิดแก่ผู้เรียนเพื่อให้บรรลุมาตรฐานที่กำหนด

            คำอธิบายรายวิชาควรประกอบไปด้วย ชื่อรายวิชา รหัสวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับชั้น จำนวนเวลา หรือจำนวนหน่วยกิต รายละเอียดคำอธิบายรายวิชาเป็นความเรียง เพื่อแสดงจุดเน้น/เนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆและมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง ดังตัวอย่างต่อไปนี้...

 

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา ศ21101 ศิลปะ (ทัศนศิลป์)                    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

จำนวน 1 หน่วยกิต                                            เวลา  40  ชั่วโมง

 

                ระบุ และบรรยาย เปรียบเทียบ ความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันของงานทัศนศิลป์และสิ่งแวดล้อม

โดยใช้ความรู้เรื่องทัศนธาตุ งานทัศนศิลป์ของภาคต่าง ๆ ในประเทศไทย จุดประสงค์ในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของวัฒนธรรมไทยและสากล         หลักการออกแบบงานทัศนศิลป์ โดยเน้นความเป็นเอกภาพความกลมกลืน และความสมดุล เกี่ยวกับลักษณะ รูปแบบงานทัศนศิลป์ของชาติและของท้องถิ่นตนเองจากอดีตจนถึงปัจจุบัน   วาดภาพทัศนียภาพแสดงให้เห็นระยะไกลใกล้ เป็น ๓ มิติ     รวบรวมงานปั้นหรือสื่อผสมมาสร้างเป็นเรื่องราว ๓ มิติโดยเน้นความเป็นเอกภาพ ความกลมกลืน และการสื่อถึงเรื่องราวของงาน       ออกแบบรูปภาพ สัญลักษณ์ หรือกราฟิกอื่น ๆ ในการนำเสนอความคิดและข้อมูล          ประเมินงานทัศนศิลป์ และบรรยายถึงวิธีการปรับปรุงงานของตนเองและผู้อื่นโดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดให้

                โดยใช้กระบวนการฝึกปฏิบัติทางทัศนศิลป์  การสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูลและการอภิปรายเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่ มีความสามารถในการตัดสินใจ     สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึกความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ  เห็นคุณค่า ความสำคัญ และชื่นชมศิลปะจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาสากล ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีวินัย  ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มุ่งมั่นในการทำงาน

รักความเป็นไทย  มีจิตสาธารณะ

ตัวชี้วัด  ศ1.1ม.1/1,ศ1.1ม.1/2,ศ1.1ม.1/3,ศ1.1ม.1/4,ศ1.1ม.1/5,ศ1.1ม.1/6 

                ศ1.2 ม.1/1,ศ1.2 ม..1/2,ศ 1.2 ม..1/3

             รวม   9  ตัวชี้วัด

คุณลักษณะอันพึงประสงค์    ข้อ 3 ,4 ,6 ,7,8

 ***************************************************************

                                           คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา ศ21102   ศิลปะ (ดนตรี-นาฏศิลป์ )          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

จำนวน 1 หน่วยกิต                                              เวลา  40 ชั่วโมง

 

อ่าน เขียน ร้องโน้ตไทย และโน้ตสากล      เปรียบเทียบเสียงร้องและเสียงของเครื่องดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมที่ต่างกัน อารมณ์ ความรู้สึกในการ ฟังดนตรีแต่ละประเภท      ร้องเพลงและใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการร้องเพลงด้วยบทเพลง ที่หลากหลายรูปแบบ     จัดประเภทของวงดนตรีไทยและ วงดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ       แสดงความคิดเห็นที่มีต่ออารมณ์ของบทเพลงที่มีความเร็วของจังหวะ     และความดัง - เบา แตกต่างกัน      นำเสนอตัวอย่างเพลงที่ตนเองชื่นชอบ และอภิปรายลักษณะเด่นที่ทำให้งานนั้นน่าชื่นชม   ใช้เกณฑ์สำหรับประเมินคุณภาพ งานดนตรีหรือเพลงที่ฟัง   ใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรี อย่างระมัดระวังและรับผิดชอบ      อธิบายบทบาทความสัมพันธ์และอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อสังคมไทย     ระบุความหลากหลายขององค์ประกอบดนตรีในวัฒนธรรมต่างกัน

อธิบายอิทธิพลของนักแสดงชื่อดังที่มีผลต่อการโน้มน้าวอารมณ์หรือความคิดของผู้ชม  ใช้นาฏยศัพท์หรือศัพท์ทางการละครในการแสดง ทักษะการทำงานเป็นกลุ่มในกระบวนการผลิตการแสดง  เกณฑ์ง่าย ๆ ที่กำหนดให้ในการพิจารณาคุณภาพการแสดงที่ชมโดยเน้นเรื่องการใช้เสียงการแสดงท่า  และการเคลื่อนไหว แสดงนาฏศิลป์และละครในรูปแบบง่าย ๆ      ระบุปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของนาฏศิลป์  นาฏศิลป์พื้นบ้าน ละครไทย และละครพื้นบ้าน   บรรยายประเภทของละครไทย ในแต่ละยุคสมัย

                โดยใช้กระบวนการฝึกปฏิบัติทางดนตรี นาฏศิลป์  การสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูลและการอภิปรายเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่ มีความสามารถในการตัดสินใจ   แสดงออกทางดนตรี

และนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี  ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีและ

นาฏศิลป์ อย่างอิสระ  เห็นคุณค่า ความสำคัญ และชื่นชมดนตรี นาฏศิลป์ จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย

และภูมิปัญญาสากล  ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  มีวินัย  ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย  

มีจิตสาธารณะ

 

ตัวชี้วัด  ศ2.1ม.1/1,ศ2.1ม.1/2,ศ2.1ม.1/3,ศ2.1ม.1/4,ศ2.1ม.1/5,ศ2.1ม.1/6,ศ2.1ม.1/7,ศ2.1ม.1/8,ศ2.1ม.1/9

                ศ2.2 ม.1/1,ศ2.2 ม..1/2

                ศ3.1ม.1/1,ศ3.1ม.1/2,ศ3.1ม.1/3,ศ3.1ม.1/4,ศ3.1ม.1/5

                ศ3.2 ม.1/1,ศ3.2 ม.1/2

             รวม   18  ตัวชี้วัด

คุณลักษณะอันพึงประสงค์    ข้อ 3 ,4 ,6 ,7,8

หมายเลขบันทึก: 317283เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2009 20:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (49)

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีป่ะ ภารกิจของพี่

P..อบรมให้จบก่อน..เรื่องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนค่อยมาแลกเปลี่ยนกันว่าหน่วยงานของพี่ครูป.1ทำอย่างไร...ของอ้อยเล็กทำอย่างไร..

เรื่องหลักสูตร ผมอบรมแล้ว ลืมแล้ว ครับ

P...ท่านรองฯลืมจริงเปล่าคะ...ด้วยเหตุนี้พวกครูอ้อยเล็กเลิกอบรมมาต้องขยายผลจัดทำเลยค่ะ..จึงจะได้มา..ไม่งั้นลืมเหมือนกัน..

  • วันนี้น้องกานต์ประชุมอบรมจนเหนื่อย
  • ไม่มีเวลามาหาพี่ๆเลย ต้องตามมาเยี่ยมยามดึก
  • พี่ก็คงยุ่งกับการทำหลักสูตร

        [ กดเบาๆนะจ๊ะ ] 

สวัสดีค่ะ

  • มาให้กำลังใจคนทำงานค่ะ
  • ขอขอบพระคุณที่เผยแพร่ แลกเปลียนเรียนรู้
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมเยียนค่ะ  สบายดีนะค่ะ
  • ขอให้มีความสุขในการทำความดีในทุก ๆ วันนะค่ะ
  • ขอบคุณบันทึก ดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันค่ะ

สวัสดีค่ะ

แวะมาสวัสดยามสาย

ก่อนจะแว๊บไปวาดรูปค่ะ

ช่วยบอกกระบวนการ/ขั้นตอน/ในการกำหนดหรือเขียนขอบเขต เนื้อหาคำอธิบายรายวิชาว่ามีวิธีการอย่างไร หรือช่วยเล่าวิธีการนำคำอธิบายรายวิชาไปสู่แผนการสอนทำอย่างไรที่เป็นวิธีปฎิบัติดีๆ เพื่อเป็นการถอดความรู้ให้เพื่อนๆได้เรียนรู้จะเป็นประโยชน์ยิ่งเป็นการจัดกาสรความรู้ที่เป็นประโยชน์ขอรับ

" การจัดการความรู้ " (Knowledge Management: KM) ในการตีความนั้นเป็นเครื่องมือ
หรือกระบวนการเรียนรู้หนึ่ง ซึ่งเมื่อนำ KM ไปใช้แล้วจะบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการพร้อมกัน ได้แก่ งาน การพัฒนา
คน พัฒนาองค์กรเป็นองค์กรเรียนรู้ และ เกิดเป็นชุมชน เกิดความเป็นหมู่คณะ ดังนั้นการจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายใน
ตัวของมันเอง

อะไรไม่ใช่ KM 

        KM ไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง ( ไม่ใช่ทำ KM เพื่อ KM) 
        KM ไม่ใช่สูตรสำเร็จเพื่อการบรรลุผลในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 
        KM ไม่มีวิธีการที่เป็นสูตรสำเร็จตายตัว 
       KM ไม่ใช่การนำความรู้มาจัดระบบ หรือที่เรียกว่านำมาทำ Package เพื่อให้เหมาะต่อผู้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 
       KM ไม่ใช่การดำเนินการ "ถอดความรู้" จากกิจกรรมการพัฒนาชุมชนหรือพัฒนาชนบท 
      KM ไม่ใช่กิจกรรมรวบรวมความรู้ นำไปใส่ในคอมพิวเตอร์หรือใส่ในเว็บไซต์ เพื่อให้บริการผู้อื่น 
kmcenter.rid.go.th/kmc07/pages/aboutkm.html

 

การวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา   หมายถึง  การวิเคราะห์เนื้อหา กิจกรรม และวัตถุประสงค์ของรายวิชา เพื่อวางแผนการจัดการเรียนรู้

การจัดทำคำอธิบายรายวิชาทุกวิชา ทุกระดับชั้น ต้องนำเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนของหลักสูตรระดับท้องถิ่น  ที่กำหนดโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามาจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนด้วย เนื่องจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีหน้าที่จะต้องประเมินคุณภาพของผู้เรียนตามเป้าหมายของหลักสูตรระดับท้องถิ่นด้วย

ในการจัดทำคำอธิบายรายวิชา มีแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้

1.  ระดับประถมศึกษา

1.1   ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน สอนระดับชั้นเดียวกัน ร่วมกันศึกษาและวิเคราะห์ตัวชี้วัดชั้นปี และสาระการเรียนรู้แกนกลางตามที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด แต่ละตัวชี้วัดว่า มีคำหรือข้อความสำคัญ (Key words) ใดที่เป็น “ความรู้(K)” “ทักษะ/กระบวนการ(P)” และ“คุณลักษณะ(A)” (เป็นคุณลักษณะของรายวิชาที่ปรากฏตามตัวชี้วัด อาจจะไม่ตรงกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนดก็ได้) จัดแยกไว้เป็นส่วน ๆ วิเคราะห์ให้ครบทุกตัวชี้วัดที่กำหนดในรายวิชา

1.2  นำข้อความที่วิเคราะห์ (ด้านความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะ) มาสังเคราะห์ หรือร้อยเรียง  เขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา โดยอาจจะให้ข้อความทั้ง 3 ส่วนที่วิเคราะห์ไว้ผสมกลมกลืน หรือเขียนแยกส่วนของความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะ ไว้คนละย่อหน้าก็ได้ และย่อหน้าสุดท้ายของคำอธิบายรายวิชา ต้องระบุด้วยว่า วิชานี้มีตัวชี้วัดอะไรบ้าง โดยเขียนเป็นรหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดไว้ด้วย ดังนี้ 

ว 1.1 ป. 1/2

ป.1/2   หมายถึง   ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ข้อที่ 2

1.1       หมายถึง   สาระที่ 1 มาตรฐานข้อที่ 1

ว          หมายถึง   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

2.  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

 2.1  ครูที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน ระดับชั้นเดียวกัน ศึกษาและวิเคราะห์ตัวชี้วัดชั้นปีตามที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด แล้วช่วยกันจัดวางตัวชี้วัดไว้ในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ตัวชี้วัดที่จัดวางในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 อาจจะซ้ำกัน หรือไม่ซ้ำกันก็ได้ แล้วแต่ดุลพินิจของผู้สอน ซึ่งต้องคำนึงถึงเวลาที่ใช้สอนในแต่ละภาคเรียนด้วยว่ามีเพียงพอหรือไม่  และถ้านำตัวชี้วัดใดไว้ในภาคเรียนใด ในภาคเรียนนั้นต้องประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามตัวชี้วัดนั้นด้วยทุกตัวชี้วัด

 2.2 ครูผู้สอนวิเคราะห์ตัวชี้วัดชั้นปี และสาระการเรียนรู้แกนกลางตามที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด สำหรับภาคเรียนที่ 1 แต่ละตัวชี้วัดว่า มีคำ หรือข้อความสำคัญ (Key words)ใดที่เป็น “ความรู้(K)” “ทักษะ/กระบวนการ(P)” และ “คุณลักษณะ(A)” (เป็นคุณลักษณะของรายวิชาที่ปรากฏตามตัวชี้วัด อาจจะไม่ตรงกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนดก็ได้) จัดแยกไว้เป็นส่วน ๆ ให้ครบทุกตัวชี้วัดของภาคเรียนนั้น  

2.3  นำข้อความที่วิเคราะห์ไว้(ด้านความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะ) มาสังเคราะห์หรือร้อยเรียงเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา โดยอาจจะให้ข้อความทั้ง 3 ส่วนที่วิเคราะห์ไว้ผสมกลมกลืน หรือเขียนแยกส่วนของความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะไว้คนละย่อหน้าก็ได้ และย่อหน้าสุดท้ายของคำอธิบายรายวิชา ต้องระบุด้วยว่า วิชานี้มีตัวชี้วัดอะไรบ้าง โดยเขียนเป็นรหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดไว้ด้วย ดังนี้

ว 1.1 ม. 1/2

ม.1/2   หมายถึง   ตัวชี้วัดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ข้อที่ 2

1.1      หมายถึง    สาระที่ 1 มาตรฐานข้อที่ 1

ว         หมายถึง    กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

3.  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เนื่องจากหลักสูตรแกนกลางฯ กำหนดตัวชี้วัดเป็นช่วงชั้น (ม.4-6)  ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนั้น ครูผู้สอนควรดำเนินการ ดังนี้

3.1  ครูที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน ระดับชั้นเดียวกัน ศึกษาและวิเคราะห์ ตัวชี้วัดช่วงชั้นตามที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด แล้วช่วยกันจัดวางตัวชี้วัดไว้ในแต่ละระดับชั้น(ม.4, ม.5, และ ม.6) ในแต่ละภาคเรียน (ภาคเรียนที่ 1-6) ตัวชี้วัดที่จัดวางในแต่ละภาคเรียน อาจจะซ้ำกัน หรือไม่ซ้ำกันก็ได้ แล้วแต่ดุลพินิจของผู้สอน ซึ่งต้องคำนึงถึงเวลาที่ใช้สอนในแต่ละภาคเรียนด้วยว่ามีเพียงพอหรือไม่ และถ้านำตัวชี้วัดใดไว้ในภาคเรียนใด ในภาคเรียนนั้นต้องประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามตัวชี้วัดนั้นด้วยทุกตัวชี้วัด

3.2 ครูผู้สอนวิเคราะห์ตัวชี้วัดช่วงชั้น และสาระการเรียนรู้แกนกลางตามที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนดสำหรับแต่ละภาคเรียน พิจารณาว่า แต่ละตัวชี้วัด มีคำหรือข้อความสำคัญ (Key words) ใดที่เป็น “ความรู้(K)” “ทักษะ/กระบวนการ(P)” และ “คุณลักษณะ(A)” (เป็นคุณลักษณะของรายวิชาที่ปรากฏตามตัวชี้วัดอาจจะไม่ตรงกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนดก็ได้) จัดแยกไว้เป็นส่วนๆ ให้ครบทุกตัวชี้วัดของภาคเรียนนั้น  

3.3  นำข้อความที่วิเคราะห์ไว้  (ด้านความรู้ ทักษะ/กระบวนการ คุณลักษณะ)  มาสังเคราะห์ หรือร้อยเรียงเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา โดยอาจจะให้ข้อความทั้ง 3 ส่วนที่วิเคราะห์ไว้ผสมกลมกลืน หรือเขียนแยกส่วนของความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะไว้คนละย่อหน้าก็ได้ และย่อหน้าสุดท้ายของคำอธิบายรายวิชา ต้องระบุด้วยว่า วิชานี้มีตัวชี้วัดอะไรบ้าง โดยเขียนเป็นรหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดไว้ด้วย ดังนี้

ว 1.1 ม. 4-6/1

ม.4-6/1 หมายถึง ตัวชี้วัดชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ข้อที่ 1

1.1 หมายถึง สาระที่ 1 มาตรฐานข้อที่ 1

ว หมายถึง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

คอมเม้นท์ที่ 10 ผมยกองค์ความรู้มาจาก

ดร.เฉลิม ฟักอ่อน ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1. กุมภาพันธ์ 2552.  www.kroobannok.com

ขอบคุณท่านขอรับ

การจัดทำโครงสร้างรายวิชา

เมื่อได้รายวิชาลงโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษาเรียบร้อยแล้ว ครูผู้สอนจัดทำโครงสร้างรายวิชาโดยดำเนินการ ดังนี้

1.   กำหนดชื่อหน่วยการเรียนรู้ โดยพิจารณาคำ/ข้อความสำคัญ (Key words) หรือเนื้อหา

ในตัวชี้วัดของรายวิชามาจัดกลุ่ม โดยนำตัวชี้วัดที่มีเนื้อหาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หรือเป็นเรื่องเดียวกัน มารวมกันจัดเป็น 1 หน่วยการเรียนรู้ ซึ่งใน 1 รายวิชาจะมีหลายหน่วยฯ และแต่ละหน่วยฯ จะมีตัวชี้วัดซ้ำหรือไม่ซ้ำกันก็ได้ อยู่ในดุลพินิจของผู้สอน แต่เวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้รวมทั้งหมด ต้อง ไม่เกินจำนวนชั่วโมงที่กำหนดในโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา แล้วตั้งชื่อหน่วยให้น่าสนใจสำหรับผู้เรียน

2.   ระบุมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่นำมาจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วย

การเรียนรู้ โดยเขียนรหัสมาตรฐาน ระดับชั้น และตัวชี้วัดที่นำมาจัดทำหน่วยฯ ทั้งหมด

3.  กำหนดสาระสำคัญ สำหรับแต่ละหน่วยการเรียนรู้ เป็นข้อความที่ระบุว่าผู้เรียนรู้อะไร

มีทักษะอะไร (อาจจะมีคุณลักษณะอย่างไรด้วย) และหน่วยนี้มีคุณค่าต่อผู้เรียนอย่างไรในระยะสั้นและระยะยาวโดยร้อยเรียงข้อมูลของทุกตัวชี้วัด และเขียนเป็น Concept  ภาพรวมของหน่วยฯ ที่ต้องการให้เป็นองค์ความรู้ เป็นความเข้าใจที่ฝังติดตัวผู้เรียนไปเป็นเวลานาน และสามารถนำมาใช้ได้เมื่อต้องการ ซึ่งมีวิธีเขียน 4 แนวทาง ได้แก่

3.1 เขียนลักษณะหลักเกณฑ์หรือหลักการ เช่น “พืชตอบสนองต่อแสง เสียง และการสัมผัส ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมภายนอก” “การบวก คือ การนำจำนวนตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปมารวมกัน จำนวนที่ได้จากการรวมจำนวนต่างๆ เข้าด้วยกัน เรียกว่า ผลรวม หรือ ผลบวก และใช้เครื่องหมาย + เป็นสัญลักษณ์แสดงการบวก”

3.2  เขียนลักษณะความคิดรวบยอด เช่น “พืชและสัตว์ต้องการอาหาร น้ำและอากาศ เพื่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโต” หรือเขียนแบบความเข้าใจที่คงทน เช่น “ความเข้าใจจำนวนนับ สัญลักษณ์ที่ใช้ในสมการ การบวกลบคูณหารจำนวนนับ และความเท่ากัน ทำให้สามารถแก้ปัญหาภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้” “การดำรงชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงโดยประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ชีวิตมีความสุข”

3.3  เขียนลักษณะกระบวนการ  (กรณีที่ภาพรวมของหน่วยฯ เน้นกระบวนการ) เช่น หน่วยฯ นี้เน้นกระบวนการแก้ปัญหา เขียนสาระสำคัญได้ คือ “การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาอย่างกว้างขวางหลายมิติ กำหนดทางเลือกในการแก้สาเหตุของปัญหาอย่างหลากหลาย เลือกทางเลือก ในการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม ดำเนินการแก้ปัญหาตามทางเลือกที่กำหนด ประเมินและปรับปรุง การแก้ปัญหาอย่างรอบคอบเป็นระยะ ๆ ช่วยให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

3.4  เขียนลักษณะความสัมพันธ์ เช่น “วิธีการดำรงชีวิตของมนุษย์ มีผลกระทบต่อระบบนิเวศในสายน้ำ”

4. กำหนดระยะเวลา (จำนวนชั่วโมง) สำหรับแต่ละหน่วยการเรียนรู้ รวมทุกหน่วยฯ แล้วมีจำนวนชั่วโมงเท่ากับจำนวนชั่วโมงของรายวิชา

5.  กำหนดน้ำหนักคะแนนของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ตามความสำคัญของแต่ละหน่วยฯ

เพื่อการกำหนดคะแนนสำหรับการประเมินผลการเรียนรู้ของแต่ละหน่วยฯ ให้เหมาะสมตามความ สำคัญของแต่ละหน่วยฯ

 การจัดทำหน่วยการเรียนรู้

การจัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน เป็นหน่วยการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายของหน่วยฯ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดของการใช้หลักสูตรสถานศึกษา เป็นการนำมาตรฐานการเรียนรู้สู่การปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน

 ดร.เฉลิม ฟักอ่อน ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1

P...หลักสูตรทำเสร็จแล้วจ้าน้องกานต์อยู่ระหว่างใช้ใน..ม.1จ้า..

P..ค่ะพี่ครูคิม..รายวิชาอื่นๆก็นำไปประยุกต์ใช้ได้ค่ะ..เขียนเหมือนกันแต่คนละวิชาเท่านั้น..

P..ขอบคุณค่ะบุษรา..แบ่งบันได้เสมอ..ใครเห็นประโยชน์ก็นำไปใช้ได้ค่ะไม่เสียตังค์...ค่ะ

P..วาดจนฝีมือเป็นเซียนแล้วพี่ตุ๊กตาน่ะ..นับถือๆค่ะ...

P..ขอบคุณเพื่อนอาจารย์ที่เป็นญาติเสมอ...หาความรู้มาเพื่อมเติม..ไม่มีไรจะตอบแทนนอกจากคำว่า ขอบคุณและขอบคุณค่ะ..

P..พยาลทำSHAไปเหอะอิๆๆๆๆๆๆเพราะครูไปดูSHAก็งงเหมือนกัน...ฮาๆเลยแต่เราก็เป็นเพื่อนกันได้เน๊าะ..พอลล่าน่ารัก...

P...ไปดูถอด....เอ๊ยถอดบทเรียนของหนานเกียรติไม่ยักจางงฮิ...อ่านเข้าใจดีง่ะ...

  • มาเยี่ยมชมการเขียนค่ะ
  • โรงเรียนใช้ปีการศึกษาหน้าค่ะ
  • ขอบคุณที่มีน้ำใจแบ่งปันค่ะ

 

สวัสดีค่ะ คุณครู อ้อยเล็ก

 เป็นครูประถมค่ะ ไม่งง !!! อิอิ.. แต่ต้องอ่านรายละเอียดหลายๆเที่ยว 555

 ขอบคุณที่นำมาให้อ่านค่ะ

ตามมาขอบคุณพี่ ยายลายครับ ไม่ได้ทำคำอธิบายรายวิชาภาษาไทยนานมาก เขียนแต่ภาษาต่างด้าว เด็กๆๆสอบกลางภาคเมื่อไรครับ...

สวัสดีครับ อ้อยเล็ก

  • ขอบพระคุณคุณครูมาก
  • สำหรับข้อมูลการสมัครเข้าเรียน
  • เสียดายชั้นอื่นๆส่วนมากจะเต็มเพราะแย่งกันเข้าตั้งแต่ ป.1
  • อยากเอาหลานม่อนไปเข้าเรียนจัง แต่ 6 ขวบมันเล็กไปหน่อย
  • ต้องอยู่ประจำ  ถ้าเข้าสักม.1 กำลังดี
  • เป็นประสบการณ์ที่ดีมากเลยครับ โชคดี
  • ได้ความรู้ครับ เป็นครูเลี่ยงเรื่องพวกนี้ไม่ได้เลยนะครับ
  • ขอบคุณความรู้ครับ

สวัสดีค่ะ

ไม่ได้เป็น ครู...อ่านแล้วงงงงงงงงงง....

สบายดีนะคะ

คิดถึงค่ะ

(^___^) 

P..ขอบคุณเช่นกันค่ะเพื่อนอาจารย์หน่อย..เป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนครู..ครูอ้อยเล็กยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะ..

Pยกมือสนับสนุนค่ะการจัดทำในระดับโรงเรียนต้องศึกษาหลักสูตรอ่านหลายๆเที่ยวค่อยๆทำความเข้าใจในตัวหลักสูตรให้ได้มากที่สุด อบรมและลงมือปฏิบัติ..เมื่อปฏิบัติปัญหาเกิดแล้วค่ะ..เมื่อปัญหาเกิดก็ต้องสอบถามย้ำคิดย้ำทำให้แน่ใจจากผู้เชี่ยวชาญหรือวิทยากรที่ให้ความรู้แก่เราค่ะ..

P....ไม่เป็นไรค่ะน้องดร.ขจิต..ยายลายแทนตาบ้างก็ดี..จะได้ลดภาระของตาลงบ้างฮาๆๆๆๆ

P..ขอบคุณค่ะท่านผอ.คิดว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนครูศิลปะและโดยทั่วไปแล้วยินดีค่ะ..เพราะในสิ่งที่ได้รับการอบรมและได้ลงมือปฏิบัติมาอาจจะดีในระดับหนึ่ง..แต่อาจจะมีเพื่อนครูที่มีดีอีกด้านหนึ่งมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันค่ะ..ทั้งนี้ทั้งนั้นการศึกษาของไทยเราน่าจะใจกว้างและเปิดกว้างนะคะ..โดยมีครูเป็นแบบอย่างของการให้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อกัน...ประโยชน์จะได้ลงแก่ผู้เรียนของเราค่ะ..

P...ขอบคุณค่ะอาจารย์ธนิตที่มาเยี่ยมเยือนกันนะคะ..ไม่ทราบว่าโรงเรียนของอาจารย์ได้ใช้หลักสูตรแกนกลางนี้แล้วหรือยังคะ..ถ้ายังคือใช้ในปี 53แล้วล่ะก้อ..ศึกษาหลักสูตรแล้วปรับแผนการสอนที่มีให้สอดคล้องกัน..เบาแรงเยอะเลยค่ะอาจารย์..เพราะมีความแตกต่างกันนิดเดียวเอง..และกิจกรรมการเรียนที่อาจารย์ทำอยู่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางนี้มากเลยค่ะ....

P..ขอบคุณคนไม่มีรากค่ะ..ที่อย่างน้อยได้มาอ่านมาศึกษา..ไม่แน่เวลาใครคุยอะไรเกี่ยวกับหลักสูตรใหม่คนไม่มีรากก็พอจะมีความรู้อยู่บ้างล่ะ..เพราะการศึกษาของเรา..ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับรู้รับทราบความเป็นไปของการศึกษาของลูกหลานเราค่ะ...

สวัสดีค่ะอาจารย์อ้อยเล็ก

* เข้ามาคารวะอาจารย์ภาคเช้า ไม่เคยผิดหวังเลยะ เพราะนอกจากจะได้รับความรู้เรื่องหลักสูตรทัศนศิลป์ และ ยังได้ความรู้จากอาจารย์กู้เกียรติที่แสนดี มาเติมเต็มในรายละเอียดได้อย่างลึกซึ้งอีกด้วย เพื่อนซี้คู่นี้ช่างน่ารักเสียจริงๆ  ชื่นชมและประทับใจมากๆ ค่ะ

* หลักสูตรแกนกลาง ครูใจดีได้อบรมและเริ่มทำบ้างแล้ว แต่ยังไม่ครบทุกรายวิชา (เฉพาะคอมพิวเตอร์ ที่ตัวเองรับผิดชอบนะคะ) ปีหน้าจะเริ่มใช้ค่ะ คงต้องเข้ามาขอคำชี้แนะจากอาจารย์อีกแน่ๆ ค่ะ

* ขอบคุณอาจารย์อ้อยและอาจารย์เพื่อนครูอ้อยมากๆ ที่มอบความรู้ให้เห็นแนวทางกระจ่างชัดขึ้นค่ะ

* ระลึกถึงค่ะ

ภาพนี้จได้ว่า เป็นภาพที่อาจารย์กู้เกียรติส่งให้อาจารย์อ้อย  รู้สึกชอบเลยขออนุญาต (แบบจิ๊กไปอ่ะ..) เอาไปประกอบบันทึกเรื่องใหม่ค่ะ

 

เพื่อนอ้อยมีสมาชิกเยอะเลยนะจ๊ะ

สวัสดีค่ะ...น้องครู P อ้อยเล็ก

สอนช่วงชั้นที่ 1 แต่แอบอ่านเตรียมพร้อมกับภาระงานในอนาคตใกล้นี้ก็ดีนะคะ

ขอบคุณค่ะ

P...ยินดีมากๆค่ะครูใจดี..การเขียนวิสัยทัศน์ของรายวิชา พันธกิจ เป้าหมาย (ส่วนนำ)ต้องจัดทำเอง..เหตุผลในการเรียน..มีไว้ให้แล้ว..มาตรฐานและตัวชี้วัดกำหนดให้อย่างชัดเจน โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา คำอธิบายรายวิชา และเกณฑ์การวัดประเมินผลและจบหลักสูตร ...สถานศึกษาจัดทำเอง...เป็นกำลังใจในการจัดทำให้สำเร็จนะคะ...เวลาใช้จริงจะได้เบาแรงและกิจกรรมการเรียนการสอนครบตามตัวชี้วัดค่ะ..ส่วนเพื่อนอาจารย์กู้เกียรติครูอ้อยเล็กก็คิดว่าแกจะเรียนศิลปะเป็นศิลปินต่อ..แต่ที่ไหนได้มาเจอกันในโกทูโนนี้..เพื่อนอาจารย์กลายเป็นนักวิชาการไปเสียแล้ว..ก็ดีใจไปกับเพื่อนด้วยที่ไม่ได้นิ่งเฉย มีน้ำใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้..ทั้งครูอ้อยเล็ก ครูใจดี และเพื่อนๆครูทุกๆคนก็เลยได้รับอานิสงค์นี้โดยทั่วกัน..ก็ได้แต่ขอบคุณและขอบคุณ..อวยพรให้แกมีความสุขความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานและครอบครัวยิ่งๆขึ้นไปค่ะ...

P..ขอบคุณอีกแล้ว....ขอบคุณค่ะ..เอาดอกไม้ให้เป็นกำลังใจแด่วิทยากรผู้ให้วิทยากรเพิ่มเติมค่ะ..

P..ค่ะพี่ครูอี๊ด..ศึกษาก่อน..ลองทำดูถึงเส้นชัยก่อนใครแน่นอนค่ะ..

สวัสดีค่ะครูอ้อยเล็ก รอดูภาพรับป.มหาบัณฑิตอยู่นะคะ

อยู่เวร 31 ธค. เหมอืนกันเลยนะคะ

มีความสุขมากๆนะคะ

 

P..ค่ะพี่แดง..สักวันพี่แดงจะได้ชมค่ะ...ขอบคุณทุกกำลังใจที่พี่แดงส่งให้น้องเสมอค่ะ

สวัสดีครับ พี่อ้อยเล็ก ที่คิดถึง

  • ขอบคุณพี่มากๆที่แวะไปเยี่ยมไปทักทาย
  • มารับรู้ในสิ่งดีๆ มีประโยชน์จากบันทึกของพี่
  • อากาศเปลียนแปลงบ่อยๆ รักษาสุขภาพนะพี่ พักผ่อนให้เพียงพอ
  • มีความสุขกับการทำงานนะครับ

P...ขอบคุณค่ะน้องท...ที่มาเยี่ยมเยือนพี่อ้อยเล็กเช่นกัน..อากาศเย็นกำลังดีนะ..

พี่อ้อยเล็กจ๋า...

     คิดถึงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง ถึงนครปฐมไหมคะ ..^___^..

P...ความคิดถึงเดินทางสวนกัน...ใจตรงกันเลยจ้าน้องรัก....

การจัดทำโครงสร้างรายวิชา

เมื่อได้รายวิชาลงโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษาเรียบร้อยแล้ว ครูผู้สอนจัดทำโครงสร้างรายวิชาโดยดำเนินการ ดังนี้

1.   กำหนดชื่อหน่วยการเรียนรู้ โดยพิจารณาคำ/ข้อความสำคัญ (Key words) หรือเนื้อหา

ในตัวชี้วัดของรายวิชามาจัดกลุ่ม โดยนำตัวชี้วัดที่มีเนื้อหาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หรือเป็นเรื่องเดียวกัน มารวมกันจัดเป็น 1 หน่วยการเรียนรู้ ซึ่งใน 1 รายวิชาจะมีหลายหน่วยฯ และแต่ละหน่วยฯ จะมีตัวชี้วัดซ้ำหรือไม่ซ้ำกันก็ได้ อยู่ในดุลพินิจของผู้สอน แต่เวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้รวมทั้งหมด ต้อง ไม่เกินจำนวนชั่วโมงที่กำหนดในโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา แล้วตั้งชื่อหน่วยให้น่าสนใจสำหรับผู้เรียน

2.   ระบุมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่นำมาจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วย

การเรียนรู้ โดยเขียนรหัสมาตรฐาน ระดับชั้น และตัวชี้วัดที่นำมาจัดทำหน่วยฯ ทั้งหมด

3.  กำหนดสาระสำคัญ สำหรับแต่ละหน่วยการเรียนรู้ เป็นข้อความที่ระบุว่าผู้เรียนรู้อะไร

มีทักษะอะไร (อาจจะมีคุณลักษณะอย่างไรด้วย) และหน่วยนี้มีคุณค่าต่อผู้เรียนอย่างไรในระยะสั้นและระยะยาวโดยร้อยเรียงข้อมูลของทุกตัวชี้วัด และเขียนเป็น Concept  ภาพรวมของหน่วยฯ ที่ต้องการให้เป็นองค์ความรู้ เป็นความเข้าใจที่ฝังติดตัวผู้เรียนไปเป็นเวลานาน และสามารถนำมาใช้ได้เมื่อต้องการ ซึ่งมีวิธีเขียน 4 แนวทาง ได้แก่

3.1 เขียนลักษณะหลักเกณฑ์หรือหลักการ เช่น “พืชตอบสนองต่อแสง เสียง และการสัมผัส ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมภายนอก” “การบวก คือ การนำจำนวนตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปมารวมกัน จำนวนที่ได้จากการรวมจำนวนต่างๆ เข้าด้วยกัน เรียกว่า ผลรวม หรือ ผลบวก และใช้เครื่องหมาย + เป็นสัญลักษณ์แสดงการบวก”

3.2  เขียนลักษณะความคิดรวบยอด เช่น “พืชและสัตว์ต้องการอาหาร น้ำและอากาศ เพื่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโต” หรือเขียนแบบความเข้าใจที่คงทน เช่น “ความเข้าใจจำนวนนับ สัญลักษณ์ที่ใช้ในสมการ การบวกลบคูณหารจำนวนนับ และความเท่ากัน ทำให้สามารถแก้ปัญหาภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้” “การดำรงชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงโดยประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ชีวิตมีความสุข”

3.3  เขียนลักษณะกระบวนการ  (กรณีที่ภาพรวมของหน่วยฯ เน้นกระบวนการ) เช่น หน่วยฯ นี้เน้นกระบวนการแก้ปัญหา เขียนสาระสำคัญได้ คือ “การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาอย่างกว้างขวางหลายมิติ กำหนดทางเลือกในการแก้สาเหตุของปัญหาอย่างหลากหลาย เลือกทางเลือก ในการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม ดำเนินการแก้ปัญหาตามทางเลือกที่กำหนด ประเมินและปรับปรุง การแก้ปัญหาอย่างรอบคอบเป็นระยะ ๆ ช่วยให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

3.4  เขียนลักษณะความสัมพันธ์ เช่น “วิธีการดำรงชีวิตของมนุษย์ มีผลกระทบต่อระบบนิเวศในสายน้ำ”

4. กำหนดระยะเวลา (จำนวนชั่วโมง) สำหรับแต่ละหน่วยการเรียนรู้ รวมทุกหน่วยฯ แล้วมีจำนวนชั่วโมงเท่ากับจำนวนชั่วโมงของรายวิชา

5.  กำหนดน้ำหนักคะแนนของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ตามความสำคัญของแต่ละหน่วยฯ

เพื่อการกำหนดคะแนนสำหรับการประเมินผลการเรียนรู้ของแต่ละหน่วยฯ ให้เหมาะสมตามความ สำคัญของแต่ละหน่วยฯ

 www.kroobannok.com 

ตอนนี้กำลังเรียนเกี่ยวกับการทำคำอธิบายรายวิชา ยังงงๆๆอยู่เลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท