โครงสร้างรายวิชาพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ


โครงสร้างรายวิชาพื้นฐานศิลปะ

การดำเนินการจัดทำโครงสร้างรายวิชา

-ครูผู้สอนแต่ละระดับชั้นแต่ละคนมีหน้าที่ต้องจัดทำโครงสร้างรายวิชา โดยการร่วมมือกันเป็นทีม วางแผนและออกแบบการเรียนการสอน การจัดทำโครงสร้างรายวิชาก็เพื่อให้ทราบว่ารายวิชานั้น ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้เท่าใด เรื่องอะไรบ้าง โดยแต่ละหน่วยแต่ละเรื่องต้องจัดทำเพื่อให้บรรลุตัวชี้วัด ใช้เวลาในการเรียนเท่าใด สัดส่วนการเก็บคะแนนของรายวิชานั้นเป็นอย่างไร...

โครงสร้างรายวิชาพื้นฐาน 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

ระดับชั้นประถมศึกษา

              ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1              

 ศ11101   ศิลปะ           เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค       จำนวน   1  หน่วยกิต

              ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2               

ศ12101   ศิลปะ           เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค       จำนวน   1  หน่วยกิต

              ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3             

ศ13101   ศิลปะ           เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค       จำนวน   1  หน่วยกิต

              ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4              

ศ14101   ศิลปะ           เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค       จำนวน   1  หน่วยกิต

              ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5               

ศ15101   ศิลปะ           เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค       จำนวน   1  หน่วยกิต

              ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6             

ศ16101   ศิลปะ           เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค       จำนวน   1  หน่วยกิต

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1              

ศ21101   ศิลปะ           เวลา  2 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค       จำนวน   1  หน่วยกิต

ศ21102   ศิลปะ         เวลา  2 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค         จำนวน   1  หน่วยกิต

              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ศ22101   ศิลปะ          เวลา  2 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค       จำนวน   1 หน่วยกิต

ศ22102   ศิลปะ         เวลา  2 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค        จำนวน   1  หน่วยกิต

              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  

ศ23101   ศิลปะ         เวลา  2 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค        จำนวน   1  หน่วยกิต

ศ23102   ศิลปะ         เวลา  2 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค         จำนวน   1  หน่วยกิต

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ศ31101   ศิลปะ          เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค      จำนวน  0.5  หน่วยกิต

ศ31402   ศิลปะ         เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค      จำนวน  0.5  หน่วยกิต

              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  

ศ32101   ศิลปะ         เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค      จำนวน  0.5  หน่วยกิต

ศ32102   ศิลปะ        เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค      จำนวน  0.5  หน่วยกิต

              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ศ33101   ศิลปะ         เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค      จำนวน  0.5  หน่วยกิต

ศ33102   ศิลปะ         เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค      จำนวน  0.5  หน่วยกิต

 

หมายเหตุ..ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ยังใช้เรียนเป็นรายปีโดยไม่กำหนดปีที่เรียนปีละ 40 ชั่วโมงต่อสาระแต่ผลการเรียนตัดสินเป็นรายภาค ภาคเรียนละ 20 ชั่วโมง  ผู้เรียนจบ 3 ปี จะได้เวลาเรียน 120 ชั่วโมง ครบตามหลักสูตรกำหนด   โดยเรียงรหัสตามสาระคือ

ศ ๓๐๑๐๑ หมายถึงสาระที่ 1 คือทัศนศิลป์ 40 ชั่วโมง

ศ ๓๐๑๐๒ หมายถึงสาระที่ 2 คือดนตรี      40 ชั่วโมง

ศ ๓๐๑๐๓ หมายถึงสาระที่ 3 คือนาฎศิลป์  40 ชั่วโมง

 ตัวอย่างการจัดทำหน่วยการเรียนรู้รายวิชาทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

 

 

หมายเลขบันทึก: 317015เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2009 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)

ขอบคุณครับ คงเป็นหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ใช่ไหมครับ จะได้เก็บไปใช้ปีการศึกษา2553

P..ใช่ค่ะท่านผอ.อันนี้เป็นของศิลปะ...ส่วนวิชาอื่นๆก็มีหลักการจัดทำคล้ายๆกันแตกต่างกันที่ตัวชี้วัด รหัสวิชา ค่าน้ำหนัก คำอธิบายรายวิชา และโครงสร้างรายวิชาพื้นฐานของวิชานั้นๆค่ะ...

พรุ่งนี้ พี่จะเข้าอบรมหลักสูตร 2551 แล้ว

สวัสดีค่ะ คุณครู อ้อยเล็ก

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงาม มีสุนทรียภาพ ความมีคุณค่า ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์...    

ชื่นชมคุณครู อ้อยเล็ก  ที่สนใจเห็นคุณค่าของการเรียนรู้ศิลปะต่างๆ ทุกแขนง..  พร้อมส่งเสริมให้มีการประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน..   ดีใจค่ะ..        

Pพี่ครูป.1..สามารถทำได้ค่ะ..เราคือครูไทยหัวใจสร้างสรรค์อยู่แล้ว...

http://gotoknow.org/blog/visualart/317004

P..ขอบคุณค่ะนีนานันท์..โบราณว่า..ถ้าชาติใดจะรุ่งเรืองหรือเสื่อมโทรมให้ดูที่ศิลปะวัฒนธรรมประเพณีค่ะ...

 

 

44.

P
อ้อยเล็ก
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 20:46
#1703061 [ ลบ ]

P..พี่ตุ๊กตาไปวันนี้..พรุ่งนี้ ครูNu11 กับ ณัชพัชร์ จะไปร้านเบิกม่าน..ฝากความคิดถึงถึงพี่อาจารย์วิรัตน์ด้วยนะคะ..ฝากทุกคนเลยที่ไปเจอพี่ดร.วิรัตน์น่ะค่ะ

 

  • สวัสดีค่ะ คุณครูอ้อยเล็ก ...
  • เช้าวันนี้หลังจากคุมสอบนักศึกษาเสร็จ รีบบึ่งจากลพบุรี มาศาลายา ....
  • มาถึงศาลายาเอาเที่ยงนิดๆ
  • ผลคือ พบครูจุฑารัตน์ เอาตอนที่ครูจุฑารัตน์กำลังจะกลับพอดีเลยค่ะ แล้วดูว่าจะไปธุระที่ไหนต่อด้วยหล่ะค่ะ
  • แต่ท่านอาจารย์ ดร.วิรัตน์ ได้แนะนำให้รู้จักกัน แต่ได้แค่เพียงกล่าวคำสวัสดีกันเองค่ะ ...
  • ได้ฝากความระลึกถึง จาก ครูอ้อยเล็ก ถึง ท่านอาจารย์วิรัตน์ให้แล้วนะค่ะ ^^

ชื่นชมการถอดความรู้เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนขอรับเป็นการจัดการความรู้อย่างหนึ่ง โดยนำความรู้ฝังลึกในประสบการณ์เพื่อนอ้อยเล็กออกมาให้คนอื่นได้เรียนรู้ด้วย...

การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

          1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

          2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

 

P..ขอบคุณค่ะณัชพัชร์..วันหลังคงมีโอกาสไปเยี่ยมพี่เขาบ้าง...

P..ขอบคุณค่ะเพื่อนอาจารย์ที่มาเสริมเพิ่มในสิ่งที่เพื่อนไม่รู้ให้รู้..ท่านได้ทั้ง 2 อย่างเลย..

1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge)

 2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)

ขอให้ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงานนะคะ..

คิดถึงคุณอ้อยเล็กค่ะ ช่วงนี้งานเข้าเยอะมากๆเลย เช่นการเตรียมกิจกรรมวันคริสต์มาส เลี่ยงไม่ได้เพราะเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ต้องเตรียมกิจกรรมร่วมวางแผนงาน ตอนนี้เรียบร้อยแล้ว เหลือแค่ขอความร่วมมือเพื่อนร่วมงานในฝ่ายวิชาการค่ะ คิดถึงเสมอค่ะ อากาศหนาวเย็นรักษาสุขภาพด้วยค่ะ ห่มผ้าหนาๆนะค่ะ ราตรีสวัสดิ์จ้า...คิดถึงคุณvijเหมือนกัน หายไปไหนช่วยบอกหน่อยจ้า......ฮ่าๆๆๆ

                                     

สวัสดีครับ พี่อ้อยเล็ก

  • ขอบคุณมากๆ ที่แวะไปเยี่ยม ไปทักทาย
  • มีความสุขกับการทำงานพรุ่งนี้นะพี่

สวัสดีค่ะ

  • แวะเข้ามาทักทายก่อนนอน
  • มีความสุขมากๆนะค่ะคุณครูอ้อยหวาน
  • พรุ่งนี้อย่านอนจนลืมไปทำงาน

 

                                   ฝันดีจ้า - Hi5 กราฟฟิคสำหรับคอมเมนต์ 

  • แวะมาทักทายยามเช้าค่ะ
  • ขอบพระคุณที่ไปเยี่ยมค่ะ
  • ขอให้สุขสดใสในเช้าวันจันทร์ค่ะ

สวัสดีครับครู อ้อยเล็ก มาเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางสร้างเยาวชนเข้มแข็ง

แต่หลักสูตรทางวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของชาติ อยู่ในกลุ่มสาระไดครับ

  • พี่อ้อยครับ
  • อันนี้เป็นหลักสูตรใหม่ปี 51 นะครับ
  • ไม่ต่างไปจากหลักสูตรเก่ามากนักนะครับ
  • มาเที่ยวงานเกษตรฯไหม 3-13 ธค มาไหมๆๆ

P..เป็นกำลังใจให้นีน่า..ผ่านทุกงานที่ได้รับมอบหมายทุกงานนะคะ..

P..วันนี้ทำงานราบรืนดีจ้า...สมคำอวยพร..

P...จ้าน้องกานต์...บอกแม่สรให้นอนเยอะๆนะ..อย่านอนดึกตามน้าอ้อยเล็กล่ะ..มาบอกน้าอ้อยทุกคืนที่ออนเอ็มว่านอนดึกจังๆแต่ตัวเองยังไม่นอนเลยอิๆๆๆ..แม่สรของน้องกานต์น่ารักเสมอนิ...

P..สดชื่นตามคำอวยพรค่ะ..วันนี้สดชื่นๆค่ะ...

P...หลักสูตรทางวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของชาติ อยู่ในกลุ่มสาระใดครับ...

เรียนท่านวอญ่า

         ในหลักสูตรกำหนดให้สอดแทรกความเป็นท้องถิ่นในทุกเนื้อหารายวิชา และได้แยกวิชาประวัติศาตร์ (ซึ่งเป็นพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงห่วงใยในเรื่องนี้มาก..ท่านทรงให้เน้นให้เด็กได้เรียนเนื้อหาวิชานี้อย่างเข้มข้น) ออกมาเป็นรายวิชาแต่ให้อยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม โดยให้ใช้ชั่วโมงของสาระเพิ่มเติมเป็นจำนวน 40 ชั่วโมงต่อปี ถ้าเป็นรายภาคก็ 20 ชั่วโมงต่อ 1 ภาคเรียน..และข่าวล่าสุดได้รับฟังมาว่ามีหนังสือสั่งการให้ยกระดับเป็นรายวิชาพื้นฐาน..คือต้องจัดให้มีให้เรียนนั่นเองค่ะ..

P..ค่ะน้องอาจารย์ดร.ขจิต โรงเรียนพี่ครูอ้อยเล็กเป็นโรงเรียนนำร่อง..และโรงเรียนเทศบาลที่เหลือคือ.ท.1 2 3 5 และโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครปฐมเป็นโรงเรียนพร้อมใช้ค่ะ...

P...ลืมๆงานเกษตรฯกำแพงแสนไปทุกปี..2 ปีก่อนไปซื้อมะม่วงพันธุ์มหาชนกมาปลูก..โหออกลูกมาส๊วยสวย...สีสวยมาก..แต่ยังไงก็ชอบอกร่องอยู่ดี..อกร่องก็ซื้อมาจากงานเกษตรก่อนหน้าพันธุ์มหาชนก 2-3ปี..ออกลูกมาอร่อยมากเลย..

ขอบคุณครับครูอ้อยเล็ก เป็นความรู้ทีดีมาก จะได้คุยกันไปในทิศทางเดียวกับคุณครูเวลาประกรรมการ สภาวัฒนธรรมจังหวัดครับ

ด้วยความขอบคุณอีกครั้งครับ

พี่อ้อย...

รับเฌวาไปเรียนศิลปะด้วยคนนะ

P..เอาไปฝากลุงดร.วิรัตน์ก่อน..ท่านเป็นดร.แล้ว..เฌวาได้เก่งๆ..ป้าอ้อยมัวแต่ทำงาน..เดี๋ยวหลานจะงงป้าทำอะไรของป้าหนักหนาเนี่ย...

เป็นกำลังใจให้เเล้วกัน...เพราะเพื่อนไม่ถนัดนักนะ.......

P...วันนี้ไปซื้อฟักทองเชื่อมมากินล่ะ..กินไป1 ชิ้น พุงป่องเลยฮาๆสงสัยกินไม่เผื่อเพื่อนฝูง..พุงเลยป่องอิๆๆโสน๊าน่า...

การจัดทำโครงสร้างรายวิชา

เมื่อได้รายวิชาลงโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษาเรียบร้อยแล้ว ครูผู้สอนจัดทำโครงสร้างรายวิชาโดยดำเนินการ ดังนี้

1.   กำหนดชื่อหน่วยการเรียนรู้ โดยพิจารณาคำ/ข้อความสำคัญ (Key words) หรือเนื้อหา

ในตัวชี้วัดของรายวิชามาจัดกลุ่ม โดยนำตัวชี้วัดที่มีเนื้อหาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หรือเป็นเรื่องเดียวกัน มารวมกันจัดเป็น 1 หน่วยการเรียนรู้ ซึ่งใน 1 รายวิชาจะมีหลายหน่วยฯ และแต่ละหน่วยฯ จะมีตัวชี้วัดซ้ำหรือไม่ซ้ำกันก็ได้ อยู่ในดุลพินิจของผู้สอน แต่เวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้รวมทั้งหมด ต้อง ไม่เกินจำนวนชั่วโมงที่กำหนดในโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา แล้วตั้งชื่อหน่วยให้น่าสนใจสำหรับผู้เรียน

2.   ระบุมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่นำมาจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วย

การเรียนรู้ โดยเขียนรหัสมาตรฐาน ระดับชั้น และตัวชี้วัดที่นำมาจัดทำหน่วยฯ ทั้งหมด

3.  กำหนดสาระสำคัญ สำหรับแต่ละหน่วยการเรียนรู้ เป็นข้อความที่ระบุว่าผู้เรียนรู้อะไร

มีทักษะอะไร (อาจจะมีคุณลักษณะอย่างไรด้วย) และหน่วยนี้มีคุณค่าต่อผู้เรียนอย่างไรในระยะสั้นและระยะยาวโดยร้อยเรียงข้อมูลของทุกตัวชี้วัด และเขียนเป็น Concept  ภาพรวมของหน่วยฯ ที่ต้องการให้เป็นองค์ความรู้ เป็นความเข้าใจที่ฝังติดตัวผู้เรียนไปเป็นเวลานาน และสามารถนำมาใช้ได้เมื่อต้องการ ซึ่งมีวิธีเขียน 4 แนวทาง ได้แก่

3.1 เขียนลักษณะหลักเกณฑ์หรือหลักการ เช่น “พืชตอบสนองต่อแสง เสียง และการสัมผัส ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมภายนอก” “การบวก คือ การนำจำนวนตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปมารวมกัน จำนวนที่ได้จากการรวมจำนวนต่างๆ เข้าด้วยกัน เรียกว่า ผลรวม หรือ ผลบวก และใช้เครื่องหมาย + เป็นสัญลักษณ์แสดงการบวก”

3.2  เขียนลักษณะความคิดรวบยอด เช่น “พืชและสัตว์ต้องการอาหาร น้ำและอากาศ เพื่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโต” หรือเขียนแบบความเข้าใจที่คงทน เช่น “ความเข้าใจจำนวนนับ สัญลักษณ์ที่ใช้ในสมการ การบวกลบคูณหารจำนวนนับ และความเท่ากัน ทำให้สามารถแก้ปัญหาภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้” “การดำรงชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงโดยประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ชีวิตมีความสุข”

3.3  เขียนลักษณะกระบวนการ  (กรณีที่ภาพรวมของหน่วยฯ เน้นกระบวนการ) เช่น หน่วยฯ นี้เน้นกระบวนการแก้ปัญหา เขียนสาระสำคัญได้ คือ “การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาอย่างกว้างขวางหลายมิติ กำหนดทางเลือกในการแก้สาเหตุของปัญหาอย่างหลากหลาย เลือกทางเลือก ในการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม ดำเนินการแก้ปัญหาตามทางเลือกที่กำหนด ประเมินและปรับปรุง การแก้ปัญหาอย่างรอบคอบเป็นระยะ ๆ ช่วยให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

3.4  เขียนลักษณะความสัมพันธ์ เช่น “วิธีการดำรงชีวิตของมนุษย์ มีผลกระทบต่อระบบนิเวศในสายน้ำ”

4. กำหนดระยะเวลา (จำนวนชั่วโมง) สำหรับแต่ละหน่วยการเรียนรู้ รวมทุกหน่วยฯ แล้วมีจำนวนชั่วโมงเท่ากับจำนวนชั่วโมงของรายวิชา

5.  กำหนดน้ำหนักคะแนนของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ตามความสำคัญของแต่ละหน่วยฯ

เพื่อการกำหนดคะแนนสำหรับการประเมินผลการเรียนรู้ของแต่ละหน่วยฯ ให้เหมาะสมตามความ สำคัญของแต่ละหน่วยฯ

 www.kroobannok.com

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท