มิถุนา ขรก. เฮ รัฐอั่งเปา 5 พันล.


โบนัสข้าราชการ
       ข้าราชการเฮ คลังเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติแจกโบนัสเบ็ดเสร็จ 5.5 พันล้านบาท อังคารนี้ เริ่มเบิกจ่าย   ได้ทันควันในสัปดาห์หน้า
       นางอรอนงค์ มณีกาญจน์ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบการเงินการคลัง กรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี วันอังคารที่ 30 พฤษภาคมนี้ กรมบัญชีกลางจะขออนุมัติเบิกจ่ายเงินโบนัส หรือเงินรางวัลพิเศษ จากการประเมินผลงานของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) วงเงิน 5.55 พันล้านบาท  ทั้งนี้ วงเงินดังกล่าวจะกันให้ผู้บริหารระดับสูง 295 ล้านบาท โดยในส่วนกลางตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการกองถึงปลัดกระทรวง ส่วนภูมิภาคจะเป็นหัวหน้าส่วนราชการถึงผู้ว่าราชการจังหวัด วงเงินที่เหลืออีก 5.25 พันล้านบาท จะเป็นเงินโบนัสให้กับข้าราชการอื่น ๆ ทั้งหมด
       นางอรอนงค์ กล่าวว่า การเบิกจ่ายจะเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนนี้ โดยจะแบ่งเป็น 2 งวด งวดแรก 70% ก่อน และเมื่อได้รับการยืนยันประเมินผลงานจาก ก.พ.ร. จะสามารถเบิกจ่ายอีก 30%    “สมมติว่าข้าราชการได้รับโบนัส 1 หมื่นบาท ก็จะได้รับเงินก่อน 7 พันบาท ส่วนที่เหลืออีก 3 พันบาท จะได้รับทีหลัง เป็นระเบียบที่ ก.พ.ร. กำหนด” นางอรอนงค์ กล่าว
ก่อนหน้านี้ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ระบุว่า ก.พ.ร. ได้รายงานผลประเมินการปฏิบัติข้าราชการของกระทรวงการคลังประจำปี 2548 โดยได้คะแนนเฉลี่ย 4.9292 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน   ทั้งนี้ กรมสรรพากรเป็นหน่วยงานที่ได้คะแนนสูงสุด 4.9966 คะแนน เนื่องจากมีผลงานจัดเก็บภาษีได้เกินเป้า
       แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สำหรับสูตรการคิดโบนัสของ ก.พ.ร. ครั้งนี้ค่อนข้างมีความสับสน เพราะนำฐานเงินเดือนที่ได้รับในปัจจุบันไปหักค่าลดหย่อนหลายตัว ซึ่งจะทำให้ฐานเงินเดือนเหลือน้อยกว่า     ที่ได้รับจริง หลังจากนั้นจะนำไปคูณ 6 เดือน ทำให้ข้าราชการจำนวนมากเข้าใจผิดว่าจะได้รับเงินโบนัส 6 เดือน หลายคนจึงค่อนข้างผิดหวัง
ด้านผู้บริหารบริษัท ไทยเรทติ้ง แอนด์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส (ทริส) ซึ่งเป็นบริษัทที่รับหน้าที่ประเมินผลงาน กล่าวว่า สาเหตุที่กระทรวงการคลังได้คะแนนการปฏิบัติงานข้าราชการเป็นอันดับ 1 เนื่องจากสามารถทำผลงานได้ตามเป้าและตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้    ทั้งนี้ ในส่วนของกรมสรรพากรนั้น ทริสไม่ได้พิจารณาเพียงตัวเลขการจัดเก็บภาษีที่ได้ตามเป้าเท่านั้น แต่ยังมีประเด็นอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น การขยายฐานภาษีได้มากขึ้น โดยพยายามทำให้คนที่เลี่ยงภาษีมาเสียภาษีให้ถูกต้อง ซึ่งที่ผ่านมาผลงานส่วนนี้ก็ดีขึ้น ขณะที่กรมศุลกากรที่มีการจัดตั้งหน่วยงานบริการเบ็ดเสร็จ (วันสต็อปเซอร์วิส) ทำให้มีขั้นตอนลดลง และจัดเก็บภาษีมากขึ้น   “เป้าหมายในการจัดเก็บภาษีนั้นต้องไม่น้อยเกินความเป็นจริง เช่น หากกรมสรรพากรนั้น ตั้งเป้าเก็บภาษี 6 แสนล้านบาท ตัวเลข     ก็ต้องเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ ไม่ใช่ตั้งน้อยเกินไปจนทำผลงานให้ได้ตามเป้า” แหล่งข่าวกล่าว
       สำหรับกรมธนารักษ์ ซึ่งได้คะแนนเป็นอันดับ 2 นั้น มีการพัฒนาที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ได้เพิ่มขึ้น และมีแผนแม่บทในการใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์กับประชาชน
แหล่งข่าวกล่าวว่า การประเมินผลงานของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจจะมีความแตกต่างกัน โดยหน่วยงานราชการจะไม่เน้นเรื่องของรายได้หรือผลกำไรมากนัก   ขณะที่รัฐวิสาหกิจหากบริหารขาดทุนส่วนใหญ่ก็จะ
ไม่ได้รับโบนัส  นอกจากนั้น การประเมินผลงานในแต่ละกระทรวงก็ไม่สามารถเปรียบเทียบได้ชัดเจน จึงต้องพิจารณาจากแผนกลยุทธ์ของแต่ละกระทรวงเป็นหลักว่าเป้าที่วางไว้เป็นอย่างไร และทำได้ตามนั้นหรือไม่ รวมถึงรายละเอียดที่สนับสนุนให้การทำงานได้ตามเป้า

โพสต์ทูเดย์  27  พ.ค.  49
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 31690เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2006 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2012 08:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท