ชาเพื่อสุขภาพดี วิธีชงชา การเก็บรักษาและข้อควรระวังในการดื่มชา


ทั้งใบชาจากต้นชาหลายพันธุ์ สมุนไพรอีกมายมาย เลือกชงดื่มได้ตามใจชอบ

อากาศเย็นๆหนาวๆหาเครื่องดื่มๆอุ่นๆดีต่อสุขภาพมากๆ



เมืองไทยเราสุดยอด ของการมีสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสมุนไพรใบไม้หลายชนิด ดอกไม้ที่ตากแห้งนำมาชงชาดื่มก็มากอีก เลือกหามาชงดื่มก้นบ้างนะคะ ทำเองก็ได้ เช่น ดอกอัญช้น  ชงได้ทั้งสดและแบบตากแห้ง   ดอกสายน้ำผึ้ง  ดอกประยงค์ ดอกมะลิดอกคำฝอย  ดอกไม้ที่นำมาเป็นอาหารได้ ก็ตากแห้งมาชงชาดื่มชื่นใจและกลิ่นหอม และสมุนไพรใบ เช่นใบรางจืด  ใบหญ้าหวาน ใบทองพ้นชั่ง ใบหม่อน

หญ้าหนวดแมว(คนเป็นโรคหัวใจไม่ควรดื่ม) เป็นต้น

 

 ที่นิยมมากคือใบชา  ชา เป็นพืชที่ทั่วโลกยอมรับเพราะ


1. สามารถลดไขมัน และระดับคอเลสเตอรอลในเลือด 

2. ลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

3. ป้องกันโรคหัวใจและมะเร็ง

4. ป้องกันไม่ให้เซลล์ที่มีสภาพเป็นปกติแปรสภาพเป็นเซลล์มะเร็ง

  และช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

5. ช่วยขจัดสารพิษในร่างกายเช่น สารนิโคตินในบุหรี่

6. ช่วยควบคุมความดันในเลือดสูง

7 .ต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียในช่องปากซึ่งเป็นสาเหตุของโรคฟันผุและกลิ่นปาก

8. บำรุงสุขภาพและชลอความแก่

 

วิธีชงชา


1. ใส่ใบชาประมาณ 1/4 ของปริมาณกาชงชา

2.  เทน้ำร้อนใส่ในกาชงชาแล้วเทน้ำทิ้งทันที เพื่อเป็นการล้างใบและทำให้ชาเริ่มแตกตัว

3.  เทน้ำร้อนลงในกาชาอีกครั้ง แล้วแช่ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาที(ขึ้นอยู่กับปริมาณใบชา)

4.  รินน้ำที่ได้ทั้งหมดใส่ในที่พักชาแล้วจึงรินใส่ถ้วยดื่มได้(ไม่ควรแช่ใบชาทิ้งไว้ในกาชงชา)

5.  ชาในกายังสามารถชงได้อีก(โดยรวมประมาณ 5 ครั้งหรือจนกว่าจะเจือจาง)

 

 การเก็บรักษาชา


1. เมื่อเปิดห่อชาแล้วสามารถจัดเก็บชาไว้ในภาชนะที่เป็นตะกั่วหรือดีบุกได้ทันที

   หรือเก็บไว้ในช่องที่ใส่ชาก็ได้ไม่ควรเก็บไว้ในแก้วใสหรือกล่องพลาสติก

   เพราะแสงแดดหรือความอับชื้นอาจทำให้ชาเปลี่ยนคุณภาพได้

2. ควรเก็บชาไว้ณ.อุณหภูมิห้องปกติ ในที่แห้ง ไม่มีความชื้น ไม่ควรเก็บไว้ในตู้เย็น

 

ข้อควรระว้ง

 เติมน้ำครั้งใด ให้ดื่มจนหมดถ้าหากไม่หมดให้เทน้ำออก ห้ามนำใบชาแช่ทิ้งไว้

ตั้งแต่เช้าจนค่ำหรือค้างคืนไว้แล้วนำมาดื่มเพราะจะทำให้ท้องผูก

 

(ข้อมูลใบชา จาก ไทยสงวนใบชา  ดอยแม่สลอง จ.เชียงราย)


 ด้วยความปรารถนาดี  กานดา แสนมณี



หมายเลขบันทึก: 316612เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2009 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2013 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

สงสัยดิฉันจะได้ติดตามอ่านแล้วหล่ะค่ะ เพราะมีแต่สาระ การดูแลสุขภาพ

ตอนนี้ได้ชาอู่หลงมาจากเชียงราย

จิบชา กับกาน้ำชาสวยๆ มุมโปรด

ขอให้มีความสุขกับการจิบชาหอมกรุ่นนะคะ

ขอบคุณนะคะที่ไปแนะนำสิ่งที่เป็น ประโยชน์ ให้น้องบอล

จะไปบอกต่อนะคะ

 

 

 

*** ขอบคุรบันทึกดีๆ...สนใจเรื่องชามากค่ะ

สว้สดีค่ะคุณแดง

       ค่ะข้อมูลต่างๆจะเน้นเรื่องสุขภาพให้มากค่ะเพราะบางทีละเลยกัน เลยมากๆโรคก็มาอยู่ด้วย ทานอาหารกันอร่อยเพลิน อย่างละมากๆเกินความจำเป็นที่ร่างกายต้องการ โรคก็มาอยู่เป็นเพื่อนให้ทุกข์ใจเสียเลย เรื่องน้องบอล ขอบคุณนะคะ ช่วยกันค่ะ บอกน้องบอลฝึกหายใจยาวๆลึกๆบ่อยๆด้วย มะเร็งไม่ชอบออกซิเจน  เราทุกคนก็เช่นกันค่ะ ต้องหัดฝึกหายใจให้ถึงสะดือ จนเคยชิน สังเกตไหมค่ะเราหายใจกันสั้นๆแค่ลื้นปี่ เท่านั้น   พึ่งทราบมาคงต้องลงบันทึกให้ปฏิบัติกันนะคะ โรคจะเกิดจะได้หายออกไป

ขอบคุณกล้วยไม้สวยมากค่ะ

สว้สดีค่ะ คุณกิติยา

  ถ้าดื่มประจำจะดีมากค่ะ เพราะทำให้เราไม่ต้องดื่มน้ำเย็นมาก การดื่มน้ำเย็นร่างกายไม่ค่อยได้เอาไปใช้มากขับออกมา เป็นปัสสาวะหมด แต่ถ้าดื่มน้ำอุ่น ร่างกายนำไปใช้หมด อุณหภูมิพอดีกับร่างกายค่ะ หมอจีนบอกมา ก็คงต้องหัดดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำไม่เย็นแล้ว ถ้าชงชาดื่มก็จะดื่มได้มากทั้งวัน และได้ประโยชน์สารอาหารในชาต่างๆด้วย

 

   หนวดข้าวโพด ก็ตากแห้ง ต้มหรือชงชาได้ สรรพคุณดีมากๆ

    ลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ ฯลฯ

ห้ามนำใบชาแช่ทิ้งไว้ ตั้งแต่เช้าจนค่ำหรือค้างคืนไว้แล้วนำมาดื่มเพราะจะทำให้ท้องผูก

ทีนี้รู้เคล็ดลับแล้ว  ขอบคุณพี่ดาค่ะ..        

 พี่ ดา เคยรู้เคล็ดลับ ว่า ใส่น้ำร้อนครั้งแรกให้เททิ้งก่อน แล้วใส่ใหม่เริ่มดื่มน้ำครั้งที่ 2 ถ้าใส่น้ำแล้วดื่มน้ำแรกจะทำให้ท้องผูก พอมาลงบันทึกนี้ ก็ได้ความรู้เพิ่มอีก  ดีนะคะ เราจะได้ดื่มแบบสุขภาพดี

 

   เดี๋ยวนี้ บริษัท ผู้ผลิตชารขาย ได้นำ ดอกไม้ แห้งเข่น ดอกแก้ว หอมหมื่นลี้ ฯ ผสมในใบชา แล้วเรียก ชา ดอกแก้ว ชาหอมหมื่นลี้ แล้วขายแพงมาก ดังนั้นเราทำดื่มเองได้ มีดอกไม้ ที่กินได้เราก็ตากแห้งแล้วมาผสมรวมกับใบชา ก็จะได้กลิ่นดอกไม้ที่เราผสมลงไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท