นำเข้าสู่บทเรียนด้วยเกมสำหรับเด็กปฐมวัย-ช่วงชั้นที่ 1


นำเข้าสู่บทเรียนด้วยเกมสำหรับเด็กปฐมวัย-ช่วงชั้นที่ 1

                                แข่งเรือ

เครื่องใช้ของสำหรับซ่อนฝ่ายละ  1  สิ่ง  ขนาดพอที่จะกำไว้ในมือได้  ปักธง  2  อัน  ห่างกัน  2  เมตร

                การจัดคนเล่น  แบ่งคนเล่นออกเป็นสองพวก  มีจำนวนเท่ากัน  แต่ละพวกเลือกคนหนึ่งเป็นนายท้ายสำหรับซ่อนของ นายท้ายยืน  นอกนั้นนั่งเป็นแถวเรียงหนึ่ง  เหยียดขาให้ขาของคนข้างหลังจดหลังคนที่นั่งอยู่ข้างหน้า  ระยะระหว่างแถว  2  เมตร  คนหน้าของแต่ละแถวอยู่ห่างจากธงขาวราว  6  เมตร

                การเล่น  ครูทำไม้สั้นไม้ยาวให้นายท้ายทั้งสองจับ  ใครได้ไม้สั้นเป็นผู้ซ่อนของ   เมื่อครูให้สัญญาณ  นายท้ายที่ซ่อนของเดินอย่างเร็ว  จากคนหลังที่สุดจนถึงคนหน้า  ระหว่างนี้ได้ลอบซ่อนของไว้ที่คนใดคนหนึ่ง  แล้วให้ฝ่ายคู่แข่งทายว่าของอยู่กับใคร  ถ้าทายไม่ถูกให้คนปลายแถวของตนลุกไปนั่งข้างหน้าคนหัวแถวเดิม  แล้วให้อีกฝ่ายหนึ่งทำการซ่อนบ้าง  ผลัดการซ่อนฝ่ายละครั้ง

                ถ้าฝ่ายทายๆ ถูกว่าของอยู่ที่คนใด  ก็ไม่มีการย้ายคนปลายไปเป็นคนหัวแถวทั้งสองข้าง

                ถ้าฝ่ายใดถึงธงก่อน  ก็นับว่าชนะ

                นายท้ายจะต้องมีอุบายล่อหลอกในการซ่อนของ  พยายามลวงฝ่ายทายให้เข้าใจผิดเสมอ  ส่วนคนเล่นอื่นๆ  ก็ต้องร่วมมือกับผู้ซ่อน  ผู่ไม่มีของทำเป็นซุกซ่อนของ  ส่วนผู้ได้ของก็พยายามกลบเกลื่อนไม่ให้ฝ่ายทายสงสัยว่าของอยู่ที่ตน

                                เตะลูกโป่ง

                เครื่องใช้  ลูกโป่งหลายๆลูก  ขีดเส้นตั้งต้นและเส้นปลายทางให้ห่างกันประมาณ  6  เมตร

                การจัดคนเล่น  แบ่งนักเรียนทั้งชั้นออกเป็นหลายๆพวกๆละเท่าๆกัน  ต่างพวกต่างมีลูกโป่งสำหรับเตะ  1  ลูก

                การเล่น  พอครูเป่านกหวีด  คนแรกของแต่ละพวก  ก็เตะลูกโป่งไปสู่เส้นปลายทาง  เมื่อถึงแล้วเตะกลับมายังที่เดิม  แล้วก็เป็นหน้าที่ของคนที่สอง  ที่สาม  ฯลฯ ต่อๆกันไป  ห้ามมิให้ใช้อวัยวะส่วนอื่น  นอกจากเท้าและขาแตะต้องลูกโป่ง

                พวกใดเสร็จก่อน  ก็เป็นผู้ชนะ

                                ปิงปองปาก

                เครื่องใช้  ปิงปอง  1  ลูก  โต๊ะยาว  1  โต๊ะ

                การจัดเล่นคนเล่นมีฝ่ายละ  4  คนเป็นอย่างมากยืนที่ขอบที่โต๊ะ

                การเล่น  คนหนึ่งปล่อยปิงปองให้ตกกลางโต๊ะ  ต่อจากนี้คนเล่นใช้ปากเป่าปิงปองให้ไปทางขอบโต๊ะของฝ่ายตรงข้าม  ห้ามใช้อวัยวะทุกอย่างแตะต้องปิงปอง  เว้นแต่เมื่อปิงปองตกจากโต๊ะ  จึงเก็บขึ้นมาแล้วปล่อยให้ตกกลางโต๊ะอีกครั้งหนึ่ง 

ฝ่ายใดเป่าปิงปองถึงขอบโต๊ะด้านตรงข้ามกันจะได้  1  แต้ม  ฝ่ายที่ทำแต้มได้ถึง  15  ก่อนเป็นฝ่ายชนะ

                ตี่

เครื่องใช้  กำหนดเขตของผู้เล่นให้ชัดเจน  แล้วขีดเส้นๆหนึ่ง  เป็นเส้นแบ่งแดน

การจัดการเล่น  แบ่งคนเล่นออกเป็นสองพวกเท่าๆกัน

การเล่น  ให้คนหนึ่งในพวกหนึ่งวิ่งข้ามเส้นแบ่งเขต พร้อมกับร้อง  “ตี”  ตลอดเวลาอย่าให้ขาดเสียงได้แล้วพยายามฟัน ( ใช้มือแตะ )  คนเล่นของอีกฝ่ายหนึ่ง  ซึ่งพยายามหนี  ถ้าฟันถูกคนไหนแล้วกลับเข้าแดนของตนโดยไม่ขาดฝ่ายเสียงตี่  คนถูกฟันตาย  ต้องออกนอกวง เล่นไม่ได้อีก

ถ้าหากคนตี่รู้สึกตัวว่าจะไม่สามารถร้องตี่ต่อไปได้   ให้รีบกลับแดนของตนถ้าขาดเสียงตี่

ในแดนของตน  ผู้เล่นซึ่งเป็นคู่แข่งก็พยายามไล่ฟันคนตี่  คนตี่ที่ถูกฟัน  ก่อนเข้าแดนของตนต้องออกนอกวง

                แล้วก็ถึงคราวอีกฝ่ายตนส่งคนตี่ออกมาฟันบ้างสลับกันไปเช่นกัน  จนกว่าพวกหนึ่งจะตายหมด

                คนที่หนีออกนอกแดน  ถือว่าตาย  เช่นเดียวกับถูกฟัน 

ต้องเต

                เครื่องใช้กระเบื้องเลาะกลมโตขนาดลูกสะบ้า  คือวัดผ่าศูนย์กลางราว  8 เซนติเมตร จำนวนพอดีกับผู้เล่น

                การจัดคนเล่น  แบ่งคนเล่นเป็น  2   พวกๆละเท่าๆกัน  ยืนอยู่ทางเดียวกัน  และจับเป็นคู่ๆคู่เล่นควรเป็นหญิงกับชาย  ทุกคนมีกระเบื้องสำหรับโยนซึ่งเรียกว่า  อีตัว

                การเล่น  ให้แต่ละคู่ตกลงกันเองว่าผู้ใดจะเป็นฝ่ายโยนก่อนเมื่อคนหนึ่งโยนไป  อีกคนหนึ่งพยายามโยนให้ถูก  การโยนเพื่อให้อีตัวเรียกว่าทอย  ถ้าทอยถูกฝ่ายทอยได้ขี่หลังคนโยน  จากที่โยนไปจนถึงอีตัว  คนโยนมีหน้าที่หยิบอีตัวทั้งสองอัน  โยนอีตัวของตนไปข้างหน้าแล้วส่งอีตัวของคนขี่  ให้คนขี่ทอย  ถ้าทอยถูกก็ได้ขี่ต่อไปอีก  แต่ถ้าผิด  ต้องลงจากหลังไห้อีกคนหนึ่งขี่ไปเก็บอีตัว

                ตอนโยนทีแรก  ถ้าคนทอยๆผอด  ต่างคนก็เดินไปเก็บอีตัวของตน  แล้วกลับมาที่เดิม  คนทอยกลับเป็นผู้โยนผู้โยนกลับเป็นคนทอย

โยนรับ

                เครื่องใช้ ลูกหนัง  1  ลูก

                การจัดคนเล่น  ให้มีคนโยนลูกหนังคนหนึ่ง  นอกนั้นยืนล้อมวง            

                การเล่น  คนโยนลูกหนังยืนกลางวง  แล้วโยนลูกหนังขึ้นไปโดยมุ่งหมายให้ตกกลางวงพอดี  พอลูกหนังตกถึงพื้นห้อง  เขาก็เรียกชื่อผู้เล่นคนได้คนหนึ่งผู้ที่ถูกเรียกชื่อต้องรีบออกมารับลูกหนังตอนเด้งขึ้นให้ได้  ถ้ารับไม่ได้ต้องถูกปรับให้รำ  ถ้าคนโยนลูกหนังไม่ดี  เช่น  ลูกไม่เด้งหรือลูกหนังตกบนตัวคนเล่นหรือตกนอกวง จะถูกลงโทษ  ไม่ให้เป็นคนโยนต่อไป  ต้องไปเล่นเป็นคนรับลูกคนสุดท้ายที่รับลูกได้  ได้เป็นคนโยนแทน

 

โหม่งผลัด

                เครื่องใช้  ลูกโป่งหลายลูก

                การจัดคนเล่น  การเล่นชนิดนี้เล่นในห้องเรียนได้และใช้ทางเดินระหว่างโต๊ะเรียนนั้นเองเป็นทางแข่ง  เล่นได้คราวละ  3  ถึง  5  พวก  เท่าจำนวนทางเดินในห้องเรียน  คนเล่นแต่ละพวกมีจำนวนเท่ากัน

                การเล่น  คนที่หนึ่งของแต่ละพวกนั่งชิดฝาห้องอยู่ในท่าคลาน  มีลูกโป่งวางอยู่ข้างหน้า  พอครูให้สัญญาณก็ใช้หัวชนลูกโป่งไปทางฝาห้องตรงข้าม  เมื่อถึงแล้วก็ใช้หัวชนลูกโป่งกลับมายังที่เดิม  คนอื่นๆก็รับช่วงกันต่อๆไปจนครบทุกคน  พวกใดเสร็จก่อนชนะ

ปิงปองข้ามเชือก

                เครื่องใช้ปิงปอง  1  ลูก ไม้ตีปิงปองเท่าจำนวนผู้คราวหนึ่งๆขึงเชือกระหว่างหลักสองอันสูงเสมอหน้าผากของเด็ก  เชือกนี้อยู่กึ่งกลางสนามเล่นซึ่งมีขอบเขตสี่ด้าน

                การจัดคนเล่น  แบ่งนักเรียนออกเป็นพวกๆละ  5  คน  แข่งขันกันคราวละ  2  พวก

                การเล่น  ให้ผู้เล่นตีปิงปองให้โดนข้ามเชือก  เข้าไปในแดนของคู่แข่งขันลูกตกในแดนของฝ่ายใด  ฝ่ายนั้นเสียแต้มครั้งละ  1  แต้ม  ห้ามมิให้ตีตบ  ได้แต่ตีขึ้น  ถ้าผู้ใดตีหนหนึ่ง  ปิงปองยังอยู่ในแดนของตน  ยอมให้คนเล่นพวกเดียวกันตีซ้ำอีกหนหนึ่ง  เป็นสองหนด้วยกัน  พวกใดตีลูกลอดใต้เชือก  หรือลูกไม่ตกในแดนคู่แข่งหรือตีกว่าสองหน  ในการรับลูกคราวเดียวกัน  จะต้องให้คู่แข่งครั้งละ  1  แต้ม

                ฝ่ายใดทำแต้มได้ถึง  15  ก่อนเป็นผู้ชนะ

พายเรือแข่ง

                เครื่องใช้  ตะกร้อขนาดเล็ก  4  ใบ  (หรือลูกหนังก็ได้)

                การจัดคนเล่น  แบ่งเด็กออกเป็นกี่พวกก็ได้  พวกละเท่าๆกัน  ไม่จำกัดว่าพวกหนึ่งจะมีกี่คน  แต่เข้าแข่งขันคราวละสองพวก  ยืนขนานกัน  หันหน้าไปทางเดียวกัน  ทุกคนหันหน้าไปทางเดียวกันกับคนหัวแถว

                การเล่น  คนหัวแถวถือตะกร้อในมือข้างละลูก  เมื่อครูให้อาณัติสัญญาณก็เหยียดมือทั้งสองไปข้างหลัง  โดยไม่เหลียวหน้า  เพื่อส่งตะกร้อให้คนที่สอง  คนที่สองส่งให้คนที่สาม  แบบเดียวกันคนหัวแถว  ส่งต่อๆกันไปจนถึงคนปลายแถว  คนปลายแถวรับตะกร้อแล้ววิ่งมายืนข้างหน้าคนหัวแถวแล้วส่งตะกร้อไปข้างหลังทำเช่นนี้เรื่อยไป  จนคนหัวแถวเมกลับมาอยู่หัวแถวอีกครั้งหนึ่ง

                พวกใดเสร็จก่อนเป็นฝ่ายชนะ

                ถ้าตะกร้อตก  ต้องเริ่มต้นแต่หัวแถวมาใหม่

กวาดลูกโป่ง    

                เครื่องใช้  ลูกโป่ง 2 ใบ  (สำรองเผื่อแตกไว้หลายๆใบ)และไม้กวาดดอกหญ้าหรือกาบมะพร้าว 2 อัน  ขีดเส้นต้นทางและปลายทางห่างกันราว 15 เมตร

                การจัดการเล่น  แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 พวกเท่าๆกันพวกหนึ่งจะมีกี่คนก็ได้ไม่จำกัด

                การเล่นพอครูให้สัญญาณ  คนแรกของแต่ละพวกรีบกวาดลูกโป่งไปทางเส้นปลายทาง  เมื่อถึงแล้วก็กวาดลูกโป่งกลับมาที่เก่า  แล้วส่งไม้หวาดให้คนที่สองเล่นต่อไป  ผลัดกันดังนี้จนครบทุกคน  พวกที่เสร็จก่อนเป็นผู้ชนะ  และได้ขี่หลังพวกแพ้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง

หยอดหลุม

                เครื่องใช้ เก้าอี้  1 ตัว ขวดปากแคบ เช่นขวดน้ำปลา  1 ขวด  วางที่พื้นข้างหลังเก้าอี้  เมล็ดน้อยหน่า(หรือมะกล่ำ ,มะขาม,ถั่ว)  10 เมล็ด

                การจัดการเล่น  จำนวนคนเล่นคราวหนึ่งไม่ควรให้เกิน  6 คน

                การเล่น  ให้ผู้เล่นเดินไปหยุดที่หน้าเก้าอี้  เหยียดมือข้างที่ถือเมล็ดมะขามข้ามพนักเก้าอี้ไปให้ตรงกับขวด  แล้วปล่อยเมล็ดมะขามให้ตกลงไปในขวดครั้งละ  1  เมล็ดจนครบ  10  เมล็ด  ผู้เล่นได้แต้มครบจำนวนเมล็ดมะขามที่ลงไปในขวด  ผู้ใดได้แต้มมากที่สุด  เมื่อจบการแข่ง  (จะแข่งกี่หนก็สุดแต่จะกำหนด)เป็นผู้ชนะแล้วให้ผู้ชนะต่อผู้ชนะแข่งกัน  จนได้ผู้ชนะเลิศ

ฉันคือใคร

                เครื่องใช้ ผ้าห่มผืนใหญ่  พอที่จะคลุมตัวคนเล่นได้มิดชิด

                การจัดการเล่น  แบ่งคนเล่นออกเป็นสองพวก  มีจำนวนเท่ากัน  ให้พวกหนึ่งอยู่ในห้อง  อีกพวกหนึ่งอยู่นอกห้อง

                การเล่น ฝ่ายอยู่นอกห้องเลือกคนใดคนหนึ่งเป็นหัวหน้า  หัวหน้าเป็นผู้ชนะคนเล่นให้ร้องเสียงสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่ง แล้วผ้าคลุมตัวจูงเข้าไปในห้องเมื่อถึงแล้วก็สั่งให้ร้อง  ผู้ร้องต้องพยายามดัดเสียงไม่ให้ฝ่ายทาย ๆชื่อของตนถูก  แล้วคนเล่นคนหนึ่งของฝ่ายที่อยู่ในห้องก็ทายชื่อ  เมื่อทายแล้วหัวหน้าก็เลิกผ้าคลุมขึ้น  ถ้าฝ่ายทายๆชื่อถูก  ก็ได้คนที่ร้องเสียงสัตว์นั้นไว้เป็นพวกตน  ถ้าทายผิด  คนทายต้องไปเข้าพวกที่อยู่นอกห้อง  แล้วฝ่ายนอกห้องก็ส่งคนเล่นเข้ามาให้ทายชื่ออีก  ฝ่ายใดหมดตัวก็เป็นฝ่ายแพ้  แล้วเปลี่ยนข้างกัน  คือพวกที่อยู่นอกห้องเป็นฝ่ายทายบ้าง

                หรือถ้าไม่มีฝ่ายใดหมดตัว  ฝ่ายใดมีคนเหลือน้อยเมื่อหมดเวลาเล่น  ก็เป็นฝ่ายแพ้

ต่อยลูกโป่ง

                เครื่องใช้  ลูกโป่ง เขตของผู้เล่น

                การจัดการเล่น  แบ่งคนเล่นออกเป็นสองพวกเท่าๆกัน  มีหัวหน้าชุดฝ่ายละ  1  คน

                การเล่น  หัวหน้าชุดยืนหันหน้ากันที่ศูนย์กลางของสนาม  ครูโยนลูกโป่งขึ้นไประหว่างคนทั้งสอง  ต่างกำหมัดแย่งกันต่อย  ลูกโป่งไปทางแดนของฝ่ายตรงข้าม  ฝ่ายต่อยถูกลูกโป่งก้อนมีสิทธิต่อยเรื่อยไปจนกว่าลูกโป่งจะตกดิน  แล้วจึงให้หัวหน้าชุดของอีกฝ่ายหนึ่งต่อยบ้าง

                ถ้าต่างคนต่างต่อยถูกลูกโป่งพร้อมกัน ลูกโป่งลอยไปทางแดนของฝ่ายใด  ฝ่ายนั้นต้องปล่อยให้อีกฝ่ายหนึ่งต่อยเรื่อยไป  จนกว่าลูกโป่งจะตกดิน

                ต่อจากนี้ผู้เล่นก็ผลัดกันต่อยลูกโป่งฝ่ายละครั้ง  ในขณะลูกโป่งลอยคนเล่นพวกเดียวกันช่วยกันต่อยได้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าแย่งไม่ได้

                ฝ่ายใดต่อยลูกโป่งข้ามเขตหลังของอีกฝ่ายหนึ่ง  จะได้  1  แต้ม

                เมื่อหมดเวลาแข่งขัน  ฝ่ายที่ได้แต้มมากกว่าเป็นผู้ชนะ

เขย่งผลัด

                เครื่องใช้ เขียนเส้นต้นทางและเส้นปลายทาง  ตั้งเก้าอี้หรือถังน้ำที่เส้นทลายทางจำนวนเท่ากับพวกที่เข้าแข่งขันในคราวหนึ่ง

การจัดคนเล่น  แบ่งเด็กออกเป็นหลายพวกเท่าๆกัน  พวกละไม่เกิน  5  คน  การเล่น  ให้คนที่หนึ่งของแต่ละพวกยืนเตรียมพร้อม  เมื่อครูให้สัญญาณ  ก็ออกวิ่งจากเส้นต้นทาง เข่งเท้าเดียวไปยังปลายทาง  แล้ววนรอบเก้าอี้หรือถังน้ำหนึ่งรอบแล้วเขย่งกลับมายังเส้นต้นทาง  คนที่สองของแต่ละพวกจึงออกวิ่งบ้าง  เมื่อกลับมาถึงที่แล้ว  คนอื่นก็รับช่วงต่อๆกันไป

                พวกใดวิ่งครบชุดและมาถึงหลักชัยก่อนเป็นผู้ชนะ

                คนเล่นคนใดเอาเท้าจดดินทั้งสองเท้าในขณะแข่งขัน  ถือว่าทำผิดกติกาพวกของจนถูกประปรับเป็นแพ้ต้องออกจากการแข่งขัน  ห้ามเปลี่ยนขาเขย่ง

กระโดดข้ามกะลา

                เครื่องใช้  ใช้เชือกเส้นใหญ่ยาวราว  2  เมตร  ผูกกะลามะพร้าว

                การจัดคนเล่น  ให้คนเล่นยืนล้อมวงคนแกว่งกะลายืนห่างกันพอสมควร

                การเล่น  คนแกว่งกะลา  แกว่งให้กะลาสูง  เสมอข้าเท้าของผู้เล่นคนเล่นต้องคอยกระโดดข้ามกะลา  เมื่อมาถึงตัว  ถ้าคนใดกระโดดไม่ทันทำให้เชือกพันข้าเท้าก็ดี  หรือทำให้กะลาติดก็ดี  ต้องออกจากการเล่น

                คนแกว่ง แกว่งกะลาให้สูงขึ้น  เพื่อให้กระโดดข้ามยากขึ้นทุกที  จนเหลือคนอยู่เพียงไม่กี่คน

                หมายเหตุ  จะปรับให้คนเล่นที่ทำกะลาติดเป็นคนแกว่งกะลาก็ได้

 

 

 

แข่งกิน           

                เครื่องใช้ กระท้อนขนาดใหญ่หลายผล  ใช้เชือกผูกขั้วแขวนไว้ห่างๆกันให้กระท้อนห้อยลงมาเสมอปากผู้เล่น

                การจักการเล่น  ให้แข่งขันคราวละ 2-4 คน  ให้ผู้แข่งยืนชิดกับผลกระท้อน         

                การเล่น เมื่อครูให้ลงมือ ผู้แข่งพยายามกัดผลกระท้อนให้หลุดออกมาชิ้นหนึ่ง  โดยไม่ใช้มือช่วยผู้ใดกัดได้ก่อนเป็นผู้ชนะ  ถ้ากัดได้พร้อมกัน  ผู้กัดได้ชิ้นใหญ่กว่าก็ชนะ

                แล้วให้ผู้ชนะกับผู้ชนะแข่งขันกัน

คีบไม้ขีด

                เครื่องใช้ ไม้ขีดไฟจำนวนมากกองไว้บนโต๊ะไม้จิ้มฟัน  สำหรับคนเล่นคนละ  2 อัน

                การจัดการเล่น เล่นคราวละ 4 ถึง 6 คน ให้คนเล่นยืนอยู่ข้างโต๊ะมือถือไม้จิ้มฟันข้างละอัน

                การเล่น เมื่อครูให้ลงมือเล่น  ทุกคนใช้ไม้จิ้มฟันคีบไม้ขีดไฟขึ้นจากกองคราวละ  1  อัน ต้องระวังไม่ทำให้ไม้ขีดไฟอันอื่นๆเคลื่อนที่กระจุยกระจาย  เมื่อหมดเวลาแข่ง  ผู้ใดคีบไม้ขีดไฟมากที่สุดเป็นผู้ชนะ้

ตีกรรเชียง

เครื่องใช้  ลูกฟุตบอล   หรือลูกหนังขนาดใหญ่ที่สุดที่จะหาได้  2  ลูก

การจัดคนเล่น  การจัดคนเล่นเหมือนการเล่นพายเรือแข่ง

การเล่น  ครูส่งฟุตบอลให้คนหัวแถว  แล้วอาณัติสัญญาณ  คนหัวแถวใช้สองมือจับลูกยกข้ามหัวส่งต่อให้คนหลัง  ส่งต่อๆกันไปจนถึงคนปลายแถว  แล้วคนปลายแถววิ่งมายืนข้างหน้าคนหัวแถว  เริ่มส่งต่อๆกันไปเหมือนเที่ยวที่หนึ่ง  เล่นเรื่อยไปจนหัวแถวเดิมได้กลับมาอยู่หัวแถวอีกครั้งหนึ่ง

พวกใดเสร็จก่อนเป็นฝ่ายชนะ

ถ้าฟุตบอลตก  ต้องเริ่มแต่หัวแถวมาใหม่

                หมากดึง

เครื่องใช้  ขีดเส้นสองเส้นระยะห่างกัน  5  ถึง  6  เมตร  เป็นเส้นเขตแดน

การจัดคนเล่น  ให้คนเล่นจับคู่ซึ่งมีขนาดไล่เลี่ยกัน  แล้วยืนเป็นแถวห่างจากเส้นเขตแดนของตน  2  เมตร

การเล่น  พอครูให้สัญญาณ  ทั้งสองฝ่ายก็รี่เข้าหากันเป็นคู่ๆแล้วพยายามฉุดหรือดึง  หรืออุ้มอีกฝ่ายหนึ่งเข้าแดนของตน  ถ้าผู้ใดเห็นพวกของตนถูกฉุด  เข้าช่วยแย่งตัวคืนได้  คนที่ถูกฉุดเข้าไปอยู่ในแดนของฝ่ายตรงข้าม  ถือว่าตาย  ผู้ที่ฉุดคนได้แล้ว  ออกไปช่วยพวกของตนได้

เมื่อหมดเวลาเล่น  พวกใดมีคนเหลือมาก  พวกนั้นชนะและได้ขี่หลัง  พวกแพ้จากแดนของผู้แพ้จากแดนของผู้แพ้มายังแดนของตน  ตามคู่เดิมที่จับกันไว้

                ช่วงชัยขี่

เครื่องใช้  ลูกช่วง ( คือผ้าม้วนกลม)  หรือลูกหนังนิ่มๆ  1  ลูก  เขียนวงกลมใหญ่ๆ   1  วง

การจัดคนเล่น  แบ่งผู้เล่นออกเป็น  2  พวกๆ ละเท่าๆ  กัน   แล้วให้จับเป็นคู่ๆ  ยืนบนเส้นรอบวง  ให้ผู้แทนฝ่ายละ  1  คน  จับไม้สั้นไม้ยาว   ใครได้ไม้ยาวกว่าก็เป็นฝ่ายขี่หลังก่อน

การเล่น  เมื่อฝ่ายขี่หลังขึ้นขี่และเตรียมตัวพร้อมกันแล้ว  ก็โยนลูกช่วงส่งต่อๆกันไปรอบๆวง  ตอนนี้ผู้ถูกขี่ต้องอยู่กับที่   แต่มีสิทธิ์โยกตัวให้ผู้ขี่รับลูกพลาดได้  ถ้าลูกตกดินเมื่อใด  ผู้ขี่ต้องรีบหนีออกจากวงทันที  อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องรีบหยิบลูกช่วงขว้างให้ถูกฝ่ายวิ่งหนี  แต่จะออกนอกวงไม่ได้อย่างน้อยต้องมีเท้าข้างหนึ่งอยู่ในวง  ถ้าขว้างถูกคนใดคนหนึ่ง   ฝ่ายตนก็เป็นผู้ขี่บ้าง

ถ้าหากขว้างไม่ถูกใครเลย  ฝ่ายหนีจะต้องพยายามหาทางวิ่งเข้าวง  โดยไม่ให้พวกในวงฟันตนก่อนถึงวง  ถ้าพวกหนีเข้าวงได้ทุกคน  ก็มีสิทธิ์ขี่หลังตามเดิม  แต่ถ้าผู้หนีถูกคนในวง  จับหรือถูกตัวก่อนเข้าวง  ฝ่ายนี้ก็จะต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่หลัง

ฝ่ายที่ได้ขี่หลังมากครั้งเป็นผู้ชนะ

                      ส่งไปรษณีย์

                เครื่องใช้  ผ้าสำหรับผูกตา  1  ผืน

                การจัดคนเล่น  ให้คนหนึ่งเป็นคนโม่ง  มีผ้าผูกตา  อีกคนหนึ่งเป็นหัวหน้า   คนอื่นๆนั่งล้อมวง

            การเล่น  หัวหน้าผูกตาโม่ง  แล้วพาไปอยู่กลางวงหมุนตัวโม่ง  3  รอบ  แล้วเรียกชื่อผู้เล่น  2  คน  ซึ่งนั่งอยู่ตรงข้ามกัน  ผู้ถูกทายชื่อจะต้องเดินไปสับเปลี่ยนที่กันโดยไม่ให้โม่งแตะต้องตัว  ถ้าโม่งแตะต้องตัวผู้ใด  ทำผู้นั้นทำเสียงสัตว์  ให้โม่งทายชื่อ  ถ้าโม่งทายถูก  ผู้นั้นก็ต้องเป็นโม่งแทน

                ถ้าหัวหน้าบอกว่า  “จดหมายจาก....................................ถึง..............................................”     

คนที่ถูกเอ่ยชื่อต้องเขย่งขาเดียว

                ถ้าหัวหน้าบอกว่า  “ไปรษณียบัตร..................................ถึง..............................................”

คนที่ถูกเอ่ยต้องคลาน

                ถ้าหัวหน้าบอกว่า  “โทรเลขจาก......................................ถึง..............................................”

คนที่ถูกเอ่ยต้องวิ่ง

                ถ้าหัวหน้าบอกว่า  “ส.ค.ส.”  ทุกคนต้องเปลี่ยนที่กัน

เป่าลูกโป่ง

                เครื่องใช้  ลูกโป่งหลายใบ  นกหวีด  1  อัน

                การจัดการเล่น  ให้มีหัวหน้าหนึ่งคนสำหรับเป่านกหวีด  ผู้เข้าแข่งขันจำนวนครั้งละไม่เกิน  5  คน

                การเล่น  ให้ผู้แข่งเป่าลูกโป่งเมื่อได้ยินเสียงนกหวีด  พยายามเป่าลูกโป่งมากๆ  ในเวลาอันเร็วที่สุด  เมื่อหัวหน้าเป่านกหวีดครั้งที่สอง  ทุกคนต้องหยุดเป่าทันที่  ลูกโป่งของผู้ใดใหญ่ที่สุดเป็นผู้ชนะ

                                ม้าหมุน

                เครื่องใช้  ม้านั่งเท่าจำนวนผู้เล่น  ตั้งม้านั่งเป็นวงกลม

                การจัดคนเล่น  ให้เด็กทุกคนนั่งม้า  แล้วเลือกคนใด  คนหนึ่งให้ออกไปกลางวง

                การเล่น  เมื่อครู่ให้สัญญาณ  ผู้ที่นั่งอยู่ติดกับม้านั่งตัวที่ว่าง  จะเป็นคนทางซ้ายหรือทางขวาก็ได้  รีบลุกมานั่งตัวที่ว่าง  คนอื่นๆ ก็ย้ายที่ตามๆกัน  ส่วนส่วนยืนก็ต้องพยายามหาที่นั่งให้ได้เมื่อเห็นมีที่ว่าง  ผู้เล่นยิงเปลี่ยนที่นั่งเร็วเท่าใดยิ่งเล่นก็ยิ่งสนุก  และตื่นเต้นเท่านั้น

                                โคเกวียน

            เครื่องใช้  เส้นต้นทางและปลายทาง  ห่างกัน  20  ถึง  30  เมตร

                การจัดการเล่น  แบ่งผู้เล่นเป็นพวกๆ  ละ 3  คน  จะเล่นคราวละกี่พวกก็ได้  ให้สองคนเป็นวัว  ยืนหันหน้าไปทางเส้นปลายทาง  เอามือจับแขนกันให้แน่น  คนที่สามเป็นเกวียน  ขึ้นนั่งบนแขนของวัว  มือโอบไหล่คนเป็นวัวให้แน่น

                การเล่น  ให้เกวียนเข้าแถวที่เส้นต้นทาง  พอครูให้สัญญาณ  ก็ออกไป พวกใดถึงปลายทางก่อน  พวกนั้นชนะ

                พวกใดปล่อยมือหรือหลุดจากที่ยึดไว้  ถือว่าแพ้  ต้องออกจากการแข่งขัน

                                แข่งเกวียน

            เครื่องใช้  เส้นต้นทาง  และปลายทาง  ห่างราว  20  ถึง  30  เมตร 

                การจัดการเล่น  แบ่งผู้เล่นเป็นพวกๆ  ละ4  คน  จะเล่นคราวละกี่พวกก็ได้  คนที่  1  และคนที่  2  ยืนกอดคอกัน  สุมมติว่าเป็นวัว  คนที่  3  มุดหัวลอดไปใต้รักแร้  ของทั้งสองคนและใช้แขนกอดบั้นเอว  สมมุติว่าเป็นเกวียน  คนที่  4  ขึ้นขี่หลัง  คนที่  3  เป็นคนขับเกวียน

                การเล่น  ให้ผู้แข่งขันเตรียมพร้อมที่เส้นต้นทาง  พอครูให้สัญญาณก็ออกไปวิ่ง  ต้องระวังไม่ให้แขนหลุดจากกัน  และผู้ที่ต้องอยู่บนเกวียนตลอดทาง  พวกใดถึงเส้นปลายทางก่อนเป็นผู้ชนะ

                                ตบลูกโป่ง

                        เครื่องใช้ลูกโป่ง  1  ใบ  (สำรองไว้หลายใบเผื่อแตก)

                                การจักคนเล่น  คนเล่นยืนล้อมเป็นวง

                                การเล่นใช้ฝ่ามือตบลูกโป่งให้ลอยไปทางคนอื่น  พยายามอย่าให้ลูกโป้งตกดินได้  ห้ามตบซ้ำ  และห้ามตบลงพื้นดินผู้ใดตบลูกโป่งออกนอกวง หรือตบลงดิน  ตบไปไม่พ้นตัวต้องถูกทำโทษให้รำ  หรือทำท่าตามที่คนเล่นจะสั่ง 

               

ลุลูกโป่ง

เครื่องใช้  ลูกโป่งอย่างยาว  ขีดเส้นปล่อยลูกโป่ง

การจัดการเล่น  ให้ผู้เข้าแข่งขันยืนเรียงกันเป็นหน้ากระดานยืนห้างกันราว1 เมตร 

การเล่นผู้เล่นเป้าลูกโป่งให้พอง  แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ปิดปากไม่ให้ลมออกได้  พอครูให้สัญญาณก็ปล่อยลูกโป่งให้แล่นไป  ลูกโป่งของฝ่ายโดไปไกลสุดผู้นั้นเป็นผู้ชนะ

ตีคลีกาบมะพร้าว

                เครื่องใช้  กาบมะพร้าวแห้งขนาดหนึ่งในสี่ของผลมะพร้าว  1กาบ  คลี(ไม้ปลายงอโค้ง)เท่าจำนวนผู้เล่น  ปักหลักเป็นเครื่องหมายเขตสนามเล่น

                การจักการเล่น  แบ่งคนเล่นออกเป็นสองพวกๆกี่คนก็ได้  แต่ละพวกเลือกหัวหน้าชุดคนหนึ่ง  หัวหน้ายืนที่จุดกลางของสนามเล่น  คนนอกนั้นยืนกระจายแยกย้ายห่างๆกัน

                การเล่น  เอากาบมะพร้าววางที่จุดศูนย์กลางของสนาม  พอครูอาณัติสัญญาณ  หัวหน้ายกไม้คลีประสานกัน  แล้วแย่งกันตีลูกส่งให้พวกของตน  ทำนองเดียวกับการเล่นฟุตบอล  ฝ่ายใดตีกาบมะพร้าวเลยเขตของอีกฝ่ายหนึ่ง  ก็ได้แต้ม  1  แต้ม

                เมื่อหมดเวลาแข่งขันแล้ว  ฝ่ายที่ได้แต้มมากเป็นฝ่ายชนะ

                หมายเหตุ ลูกคลีจริงๆนั้น  เป็นลูกกลมขนาดไข่เป็ด  ทำด้วยไม่เบา  เช่น ไม้ทองหลาง  ไม้ลั่นทม  หรือตอไม้ไผ่  ถ้าหาได้ก็ดีกว่ากาบมะพร้าว

                            ที่ของเพื่อนฉัน

                เครื่องใช้  ม้านั่งจำนวนครึ่งของผู้เล่น  วางเรียงกันเป็นหน้ากระดานในห้าง

                การจัดคนเล่น  แบ่งคนเล่นออกเป็นสองพวก ๆละเท่าๆกัน  ให้พวกหนึ่งออกไปอยู่ข้างนอกห้อง  อีกพวกหนึ่งยืนข้างหลังม้านั่ง

                การเล่น  พวกเจ้าของม้านั่งตกลงกันว่าจะให้คนใดในพวกนอกห้องได้นั่งม้า  เมื่อตกลงต่อหน้าครูแล้ว  ก็ให้สัญญาณให้คนข้างนอกเข้ามาได้  ฝ่ายที่อยู่ข้างนอกก็ส่งคนเข้ามาในห้องคนหนึ่ง  บรรดาผู้อยู่ในห้องก็พูดพร้อมกันว่า  เชิญนั่งบนม้านั่งที่จัดไว้ให้เพื่อนของฉัน  คนเข้ามาจึงเรียกนั่งม้าตัวใดตัวหนึ่ง  ถ้าเป็นคนที่ฝ่ายเจ้าของม้ากะตัวทุกคนจะตบมือ  แต่ถ้าผิดตัว ทุกคนจะแสดงความรังเกียจด้วยการโห่เยาะเย้ย  คนนั่งจะต้องทำท่าทางกระดากอาย  แล้วลุกออกไปจากห้อง  แล้วให้คนอื่นเข้ามาแทน  เล่นทำนองนี้เรื่อยไปจนคนข้างนอกทุกคนได้ที่นั่ง  แล้วก็เปลี่ยนให้อีกฝ่ายหนึ่งไปอยู่ข้างนอกบ้าง

                                โยนห่วง

                เครื่องใช้ ปักหลัก  1  หลัก สำหรับโยนห่วง  และมีห่วง  5  อัน  ขีดเส้นห่างจากหลักตามสมควรแก่อายุของเด็ก

                การจัดการเล่น  จำนวนคนเล่นไม่จำกัด

                การเล่น  คนยืนแรกที่เส้น  โยนห่วงทีละห่วงให้สวมหลักทั้ง  5  ห่วงในคราวเดียวกัน  ได้แต้ม  1  แต้ม  ทุกๆห่วงที่สวมหลักโยนเสร็จแล้ว  คนถัดไปซึ่งเคยเก็บห่วง ก็ได้โยนบ้าง

                เมื่อได้โยนคนละ  3  เที่ยวแล้ว  ก็เป็นอันจบการแข่งขันผู้ใดได้แต้มสูงสุดเป็นผู้ชนะ

                                ตีมะนาว

                เครื่องใช้  มะนาว  การเล่นชนิดนี้ต้องการสนามยาว

                การจัดคนเล่น  แบ่งคนเล่นออกเป็นหลายๆพวก  พวกละ  5  คน

                การเล่น  คน

หมายเลขบันทึก: 316427เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2009 04:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท