ครูชบ กับการจัดการความรู้


ครูชบ  กับการจัดการความรู้


          ในการเสวนาที่ ม.มหิดล   เมื่อวันที่ 28 ส.ค.48   ครูชบ  ยอดแก้ว  แห่งมูลนิธิครูชบ – ปราณี  ยอดแก้ว  จ.สงขลา   ได้เล่าให้ฟังว่าตนเองดำเนินการเรื่องกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วันละบาท   ตนเองมีความรู้ในการชักชวนให้ชาวบ้านปฏิบัติ   ให้เกิดความรู้ความสามารถ 3 ระดับคือ
1.      ทำเป็น
2.      พูดได้ตามที่ตนทำ  แลกเปลี่ยนกัน
3.      บันทึกเป็น   มีการจดบันทึกสิ่งที่ตนทำ


         เวลานี้ครูชบนัดตัวแทนชาวบ้านทุกตำบล   ตำบลละ 1 คน   มาพบกันทุกวันที่ 16 ของเดือน   ให้มาเล่าแลกเปลี่ยนกัน   ครูชบคอยตั้งคำถาม  เช่น ถามตำบลทุ่งหวัง  อ.เมือง  ว่าครูชบไปพูดให้ 2 ครั้งแก่แกนนำ 20 คน   แล้วเวลาทำจริงทำไมกลุ่มออมทรัพย์จึงขยายเร็วมาก  จำนวนสมาชิกถึง 1,485 คน   ให้แกนนำเล่าให้เพื่อนจากตำบลอื่นฟัง   เขาจะเล่าว่าใช้วิธีออกเสียงตามสาย   เดินชักชวนตามบ้าน ฯลฯ   อีกตำบลหนึ่งเริ่มมาพร้อม ๆ กัน   แต่มีสมาชิกเพียง 200 คน   ก็ให้ตัวแทนเล่าว่าทำอย่างไร   และจดบันทึกไว้   ทำมาตั้งแต่เดือน ม.ค.48   ความรู้ถูกเผยแพร่ออกไปมาก   ถามว่าเป็นวิธีที่เข้าสูตร KM หรือไม่


          ผมตอบครูชบว่าเป็น KM รูปแบบหนึ่งแน่นอน   และควรเอารายละเอียดมาพิมพ์เป็นหนังสือเผยแพร่   ดังนั้นในวันที่ 16 ก.ย.48 ที่คุณอ้อมกับผมจะไปร่วมประชุมประจำเดือนของครูชบ   เราจะขอดูบันทึกดังกล่าว   โดยคุณอ้อมจะเป็นผู้ประสานงานการจัดทำหนังสือดังกล่าว   ผมได้ตกลงกับหมอสมศักดิ์  ชุณหรัศมิ์ว่า   มสช. กับ สคส. จะร่วมกันสนับสนุนการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้

                                        

                                                    ครูชบ  ยอดแก้ว 


                                                                                      วิจารณ์  พานิช
                                                                                         28 ส.ค.48

คำสำคัญ (Tags): #km#ท้องถิ่น
หมายเลขบันทึก: 3159เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2005 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท