การสร้างคำในภาษาไทย (5)


คำประสาน วิธีการสร้างคำและตัวอย่าง

คำประสาน


                ความหมายของคำประสาน 

                ปรีชา (2522 )  กล่าวว่า  คำประสาน ( Complex  word )  คือ คำที่ประกอบด้วยหน่วยคำ 2 หน่วยคำขึ้นไป  และหน่วยใดหน่วยหนึ่ง หรือทุกหน่วยจะต้องเป็นหน่วยคำไม่อิสระ  ( Bound  morpheme )

                อุดม ( 2542 )   อธิบายว่า  คำประสาน ได้แก่การนำหน่วยคำพันธะ( หน่วยคำไม่อิสระ ) รวมกับหน่วยคำพันธะ  หรือหน่วยคำพันธะกับคำมูลมารวมกันเกิดคำใหม่ซึ่งสามารถเกิดโดดๆ  เป็นอิสระไม่ต้องเกาะหน่วยคำอื่นได้ 

                ประสิทธิ์ ( 2516 )  เรียกคำที่มีความหมายดังที่ ปรีชา และอุดม อธิบายไว้ ว่า  “คำปรุง”  โดยให้ความหมายว่า  เป็นคำที่เกิดจากหน่วยคำไม่อิสระ( Bound  morpheme )       ประสมกับหน่วยคำอิสระ  หรือประสมกับหน่วยคำไม่อิสระด้วยกัน

               

                ชนิดของคำประสาน     

    

                ปรีชา (2522 )    แบ่งคำประสานออกเป็น  2  ชนิด  คือ 

                1.  คำประสานแท้    คือ  การนำหน่วยคำไม่อิสระ  2  หน่วยคำมาประกอบกัน    เช่น    ชดช้อย  ร่าเริง

                2.  คำประสานเทียม   คือ   การนำเอาหน่วยคำอิสระกับหน่วยคำไม่อิสระมาประกอบกัน    เช่น

                                 / นัก- /      นักรบ      นักร้อง                     

                                 /  ขี้ -/         ขี้ขลาด      ขี้เมา      ขี้ยา

 

                อุดม ( 2542 )    แบ่งคำประสานออกเป็น 3 ชนิด   คือ   คำประสานแท้    คำประสานเทียม  และ คำประสานเสริม  

                คำประสานเสริม  

                ได้แก่ คำประสานแท้ที่มีหน่วยคำพันธะเพิ่มเป็นอุปสรรคปัจจัยเข้าไป  เช่น  

กระชดกระช้อย   มาจาก  

กระ   (ซึ่งเป็นหน่วยคำพันธะ)   +  

ชดช้อย ( ซึ่งเป็นคำประสานแท้) 

พร้อมด้วยการซ้ำ   กระ-   หน้า   ชด   และ ช้อย 

 

กระเง้ากระงอด  มาจาก  มาจาก  

กระ   (ซึ่งเป็นหน่วยคำพันธะ)   +  

เง้างอด  ( ซึ่งเป็นคำประสานแท้ ) 

พร้อมด้วยการซ้ำ   กระ-    หน้า   เง้า   และ งอด

 

^^

จบแล้วค่ะ เรื่องการสร้างคำในภาษาไทย

อ้างอิงค่ะ

 

เอกสารอ้างอิง 

 

กำชัย      ทองหล่อ. 2545 . หลักภาษาไทย . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์  อมรการพิมพ์ .

 

ธวัช       ปุณโณทก . 2545 . วิวัฒนาการภาษาไทย . พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

 

 

บรรจบ   พันธุเมธา . 2544 . ลักษณะภาษาไทย .พิมพ์ครั้งที่ 13 . กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง .

 

ประสิทธิ์   กาพย์กลอน . 2516 . การศึกษาภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์  .กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช . อ้างถึง Hass , Mary  R. 1951 .OUTLINE  OF  THAI  GRAMMAR,Department 

of  Oriental  Languages. Berkeley                                                                                                   

 

ปรีชา     ทิชินพงศ์ .2522 . ลักษณะภาษาไทย (ไทย 104 ) . กรุงเทพมหานคร  : โรงพิมพ์ประเสริฐการพิมพ์ .

 

ลินดา   วิชาดากุล . 2538 . การสร้างคำในภาษาไทยสมัยรัตนโกสินทร์ . วิทยานิพนธ์ปริญญาโทมหาวิทยาลัยศิลปากร.

 

สุธิวงศ์     พงศ์ไพบูลย์.  2531 . หลักภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 8 . กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช .

 

อนงค์   เอียงอุบล. 2525 .  การศึกษาเชิงวิเคราะห์คำประสมในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท      จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

อนันต์   อ่วมศาสตร์ . ม.ป.ป. ลักษณะภาษาไทย. ม.ป.ท.

 

อุดม      วโรตม์สิกขดิตถ์ .2542 . ไวยากรณ์ไทยในภาษาศาสตร์ . พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร  :         มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

 

 อุปกิตศิลปสาร , พระยา . 2539 . หลักภาษาไทย . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช .

หมายเลขบันทึก: 315545เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2009 18:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมสงสัยเกี่ยวกับคำต่างๆว่าจะแยกได้อย่างไรเมื่ออยู่ในประโยค เพราะดูเหมือนว่าทุกคำอาจแยกได้หรือแยกไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น "ซึ่งต่อมาก็รวมกันเสียได้" มันจะมีคำสั้นๆเพื่อเชื่อมระหว่างคำที่ไม่รูว่าควรจะแยกเดี่ยวๆหรือรวมกับคำข้างหน้าหรือข้างหลังหรือทั้งหมดดี เช่น เพื่อที่จะ จะได้ ก็หาไม่ ไม่กิน มิได้หรอก เป็นที่ ตรงที่ว่า ดอกหรือ เป็นต้นมา. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นี่เป็น๑คำใช่ไหมครับ รบกวนอาจารย์ช่วยตอบทีนะครับ (คำว่า"ที"ก็เป็นปัญหาว่า ตอบ-ที หรือ ตอบที) คำถามอาจดูไม่ได้"เรียบเรียงกัน" "สักเท่าไร"นะครับ ขออภัยและ"ขอขอบคุณ"ล่วงหน้าครับ (คำในเครื่องหมายอัญประกาศก็มีปัญเช่นกัน)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท