ประมวลการสอนรายวิชา : วิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข


แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข ความสำคัญของการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ได้ประโยชน์สูงสุด อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความเป็นธรรมมากที่สุด โดยเฉพาะในประเด็นการจัดบริการสาธารณสุข การบริหารทรัพยากรในการรักษาพยาบาล การจัดสรรงบประมาณ และการประเมินโครงการ รวมทั้งมาตรการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนความสัมพันธ์ของงานสาธารณสุขกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

ประมวลการสอนรายวิชา
วิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข (The Economics of Public Health) รหัส 4074201 2(2-0)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) Bachelor of Science (Community Health)
มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา

สังเขปรายวิชา
     แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข ความสำคัญของการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ได้ประโยชน์สูงสุด อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความเป็นธรรมมากที่สุด โดยเฉพาะในประเด็นการจัดบริการสาธารณสุข การบริหารทรัพยากรในการรักษาพยาบาล การจัดสรรงบประมาณ และการประเมินโครงการ รวมทั้งมาตรการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนความสัมพันธ์ของงานสาธารณสุขกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

แนวคิด
     วิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขเป็นการผสมผสานมุมมองของหลักวิชา เศรษฐศาสตร์ ที่ว่าด้วยวิธีการจัดสรรทรัพยากรอันมีอย่างจำกัดและขาดแคลนให้เกิดประโยชน์สูงสุด เข้ากับการจัดบริการสาธารณสุขที่นับวันจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสังคมและเทคโนโลยี ที่ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ (ประมาณร้อยละ 5 ของผลิภัณฑ์มวลรวมของประเทศ) อุตสาหกรรมบริการสุขภาพจึงเป็นบริการอย่างหนึ่งที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ

     แต่ในการนำหลักเศรษฐศาสตร์มาใช้ในงานสาธารณสุข มักจะมีข้อโต้แย้งอยู่เนือง ๆ ถึงข้อจำกัดของกลไกการตลาดว่าไม่สามารถนำมาใช้จัดสรรทรัพยากรสาธารณสุขได้ดีนัก โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าประชาชนควรจะรับผิดชอบสุขภาพของตนเองเพียงใด และรัฐควรจะจัดสวัสดิการด้านสาธารณสุขให้แก่ประชาชนระดับใดจึงจะเหมาะสม

     วิชาเศรษฐศาสตร์จึงเป็นวิชาที่เน้นแนวคิดมากกว่าวิธีการ ภายใต้เป้าหมายเพื่อสร้างความธรรมให้เกิดขึ้นในระบบบริการสาธารณสุขซึ่งเป็นกระแสของเป้าหมายหลักในระบบบริการสาธารณสุขทั่วโลก ทั้งนี้ได้มีเครื่องมือเพื่อประเมินความเป็นธรรมดังกล่าว เช่นการประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่า การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของโครงการ หรือการประเมินระดับมหภาคเกี่ยวกับบัญชีรายจ่ายด้านสุขภาพของประเทศ ตลอดจนการประเมินความเป็นธรรมทางสุขภาพโดยตรงที่ได้มีการพัฒนาเครื่องมือขึ้นล่าสุดโดยศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ

จุดประสงค์
     1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายแนวคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขได้
     2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์สถานการณ์การจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยงานได้โดยใช้แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข และการประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์ 
     3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถจัดทำรายงานสรุปผลการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยงาน พร้อมข้อเสนอเพื่อการตัดสินใจต่อผู้บริหารได้ 

ความต้องการรายวิชา 
     1. ฟังบรรยายในคาบเรียน 16 ครั้ง
     2. ศึกษาด้วยตนเองเพิ่มเติม
     3. ทำแบบทดสอบหลังเรียน
     4. ทำรายงานและนำเสนอรายงาน 6 เรื่อง คือ มุมมองทางด้านเศรษฐศาสตร์ต่อ
          1) การจัดบริการสาธารณสุข: ภาครัฐ
          2) การจัดบริการสาธารณสุข: ภาคเอกชนไม่แสวงหากำไร
          3) การจัดบริการสาธารณสุข: ภาคเอกชนแสวงหากำไร
          4) สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล: ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
          5) สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล: ประกันสังคม
          6) สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล: โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

การวัดผลและประเมินผล
     1. ทดสอบหลังเรียน ร้อยละ 20
     2. รายงานที่ได้รับมอบหมาย ร้อยละ 30 
     3. การนำเสนอรายงาน ร้อยละ 30
     4. สอบปลายภาค ร้อยละ 20

ประเมินผลโดยอิงเกณฑ์ ดังนี้
        คะแนน       ระดับคะแนน       ความหมาย        ค่าระดับคะแนน  
      80 - 100             A                 ดีเยี่ยม                   4.0  
      75 - 79               B+               ดีมาก                    3.5   
      70 - 74               B                 ดี                          3.0   
      65 - 69               C+               ดีพอใช้                  2.5   
      60 - 64               C                 พอใช้                    2.0  
      55 - 59               D+               อ่อน                      1.5  
      50 - 54               D                 อ่อนมาก                1.0  
        0 - 49               E                 ตก                        0   

หนังสือประกอบการศึกษาค้นคว้า
     ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย, 2544. เศรษฐศาสตร์สาธารณสุขในยุคปฏิรูประบบสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิษณุโลก : หจก.สุรสีห์กราฟฟิค.
     สมคิด แก้วสนธิ และ ภิรมย์ กมลรัตนกุล, 2534. การวิเคราะห์และประเมินผลบริการสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
     สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ และ ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย, 2543. ชุดเครื่องมือวัดความเป็นธรรมเพื่อประเมินผลการปฏิรูประบบสุขภาพไทย, รายงานวิจัยกรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
     Donaldson C. and Gerard K., 1993. Economics of Health Care Financing : The Visible Hand. London : Macmillan Press LTD.
     Drummond H.E, Brien B., Sddart G.L, and Torrance G.W., 2000. Methods for the Economics Evaluation of Health Care Programmes. 2 nd. England : Oxford University.
     Witter S., Ensor T., Jowett M., and Thompson R., 2000. Health Economic for Developing Countries : A practical guide. York City : The University of York (Center for Health Economic).

     ผู้สอน : อนุชา หนูนุ่น : สศ.บ.(การบริหารสาธารณสุข); วท.ม.(การวิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุข)
     กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ถนนราเมศวร์ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง 93000 
     โทรศัพท์ 0-74 61-3127,0-7461-2400 ต่อ 116, 115 โทรสาร 0-74 61-2344 
[email protected]


 

หมายเลขบันทึก: 3152เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2005 02:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากให้มีข้อมูลเพิ่มเติมอีก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท