เคล็ดลับ...( ที่ไม่ลับ )


อาการท้องผูกเริ่มดีขึ้นแล้ว เย้ๆ

      จากการปรับพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารเพื่อแก้ไขอาการท้องผูก  วิธีที่ข้าพเจ้าเลือกคือ การรับประทานอาหารที่มีกากใยไฟเบอร์มาก ๆ เพราะหน้าที่ของไฟเบอร์ คือ การเพิ่มปริมาณอุจจระให้กับลำไส้  ช่วยกระตุ้น ให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ  กากใยอาหาร  โดยมากจะอยู่ในผักและผลไม้ เช่น พรุน  ส้ม มะละกอ   ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง  ผักโขม ข้าวกล้อง ฯลฯ โดยเฉพาะ พรุน( ไม่ได้กินนะ )เป็นผลไม้ที่มีไฟเบอร์มากเป็นพเศษ  และยังเป็นไฟเบอร์ที่ละลายในน้ำได้  ในทางการแพทย็จึงนิยมใช้พรุน ซึ่งเป็นผลไม้ที่ฤทธิ์เป็นยาระบายตามธรรมชาติ แก้ไขอาการท้องผูก นอกจากการเลือกรับประทาน ผัก ผลไม้แล้ว  จะต้องดื่มน้ำเยอะ ๆ และออกกำลังกายเพื่อช่วยในการบริหาร และกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ จะช่วยในการขับถ่ายได้ดีขึ้น

     การรับประทานอาหาร  จากการปรับพฤติกรรมที่ผ่านมา  พวก"ผัก"ที่รับประทานเป็นประจำ คือ  ผักคะน้า  ผักกวางตุ้ง ผักกาด ผักบุ้ง และมีผักอื่น ๆ บ้าง  ส่วนใหญ่จะเป็นเมนูประเภทผัด ในข้าว 1 จาน จะเป็นผัดผัก 2 อย่าง และ แกงเผ็ด 1 อย่าง  และส่วนใหญ่จะรับประทานในมื้อเช้า เที่ยง  แต่ถ้าไม่ได้รับประทานข้าวก็จะเป็น ก๋วยเตี๋ยว  ขนมจีน ( ชอบเพราะผักเยอะดี เลือกเอาได้ตามใจ ) นม ( โฟโมสแคลซีเม็ก  รสช็อกโกแล็ต ส่วนใหญ่จะเป็นมื้อเช้า )  ผลไม้ ที่เลือกรับประทานก็จะเป็น"ส้ม" รับประทานวันละ 1-2 ผล และมีผลไม้อื่น เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล สับปะรด แตงโม  จะรับประทานในช่วง สายๆ เที่ยง หรือไม่ก็ ตอนเย็น 

     การดื่มน้ำ  ก่อนการปรับพฤติกรรม จะดื่มน้ำประมาณ 3-4 แก้ว  แต่หลังจากปรับพฤติกรรมก็พยายามดื่มน้ำให้มากขึ้น เป็นน้ำอุ่นบ้าง น้ำธรรมดาบ้าง  และมีการดื่มน้ำก่อนนอน

     การออกกำลังกาย  รายวิชาภูมิปัญญาตะวันออก จะมีการเรียน ไท้เก็ก นวด และโยคะ  ทั้ง 3 อย่าง ทุกคนจะได้เรียน  แต่ก็มีการเลือกเรียนเฉพาด้วย ข้าพเจ้าเลือกเรียนโยคะ  ท่าโยคส่วนใหญ่ มักจะทำท่าก้มตัว  บิดตัว เป็นการบีบนวดอวัยวะภายในช่องท้อง ไปในตัว ส่งผลให้กระเพาะอาหาร ตับ ไต ม้าม ได้รับโลหิตมาหล่อเลี้ยงมากขึ้น ลำไส้มีการเคลื่อนไหวที่ดี  ลดอาการท้องอืด   มีลมมาก แก้อาการท้องผูก  และทำให้การหลั่งฮอร์โมนจากไตและตับอ่อนมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย ใน1 สัปดาห์จะมีการเรียน 3 ชั่วโมง วันจันทร์ 1 ชั่วโมง และวันศุกร์ 2 ชั่วโมง วันไหนไม่มีการเรียนก็จะฝึกท่าที่อาจารย์สอน

     วันี้มีท่าโยคะมาแนะนำคือ ท่าชานุศรีษะ

ท่าที่1 ท่าเริ่มต้น เหยียดขาขวา พับขาซ้าย  ประสานมือที่เข่าซ้าย หายใจเข้า    หายใจออก ยืดแขน ยืดหลังขึ้น นำมือข้ามมาจับที่ปลายเท้าขวา แล้วหายใจตามปกติค้างไว้ 15-20 วินาที    หายใจเข้า ยืดแขนขึ้นช้า ๆ หายใจออก แหงนหน้า ยืดแขน ยืดหลังให้ตั้ง

ท่าที่ 2   นั่งเหยียดขาขวา พับขาซ้าย มือซ้ายจับปลายเท้า หงายมือขวาวางไว้ข้างลำตัว หายใจเข้าช้า ๆ เงยหน้าขึ้น พยายามยืดหลังด้วย      หายใจออก ยืดตัวก้มลง ค้างไว้ 15-20 วินาที อย่าให้เข่างอ ( สำหรับผู้ที่เริ่มฝึกให้ก้มตัวเท่าที่ทำได้ และไม่ควรกลั้นหายใจ)     หายใจเข้า ยืดตัวขึ้น วางมือทั้ง 2 ข้างไว้ข้างหลัง ปลายนิ้วเข้าหาตัว หายใจออก พร้อมกับแหงนหน้า

ท่าที่ 3  นั่งเหยียดขาขวาพับขาซ้าย มือขวาจับปลายเท้าขวา เหยียดแขนซ้ายขึ้นด้านข้างลำตัว หายใจเข้า  หายใจออก   พร้อมกับเอนตัวลงด้านข้าง แขนซ้ายยืดลงมาทางหลังศีรษะ มือจับปลายเท้าขวา ค้างไว้ 15-20 วินาที ให้รู้สึกว่าด้านข้างลำตัวถูกยืดออก ช่วงที่ค้างไว้สามารถหายใจตามปกติ       หายใจเข้า ยกตัวขึ้นวางมือซ้ายข้างหลัง เยื้องไปด้านหลังเล็กน้อย หายใจออก ใช้มือซ้ายดันตัวขึ้น แอ่นหน้าท้องไปด้านหน้า ลำตัวโค้งไปด้านหลังเล็กน้อย เหยียดแขนขวาข้ามศีรษะ มองตามมือขวา

ท่าชานุศรีษะ  มีประโยชน์ คือ แก้อาการท้องผูก   ช่วยแก้ไขโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร    ทำให้เลือดมาเลี้ยงอวัยวะในช่องท้องได้มากขึ้น    ช่วยให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงมากขึ้น     ลดอาการปวดหลัง ลดไขมันหน้าท้อง

     จากากปรับพฤติกรรมที่ผ่านมา  มีอุปสรรคเกิดขึ้นคือ  อุปสรรคภายในตัวเอง ขาดความอดทนในการปฏิบัติกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  อดใจไม่ไหว  เห็นเพื่อนกินอะไรก็อยากกินด้วย  แต่ก็ต้องเอาชนะอุปสรรค โดยการระลึกอยู่เสมอว่า หากเราไม่ปฏิบัติเราจะท้องผูกและก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาด้วย   และมีการสร้างกำลังใจให้ตนเอง และการได้รับกำลังใจจากเพื่อน ๆ ก็ทำให้เรามีความกระตือรือร้นมากขึ้นด้วย 

จากการปรับพฤติกรรม ก็ทำให้อาการท้องผูกดีขึ้นมาก ก็จะถ่าย 2 วันครั้ง วันเว้นวัน หรือวันละครั้ง สลับกันไป  จะพยายามรักษาพฤติกรรมนี้ไว้ต่อไป

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3145เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2005 23:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
เจี๊ยบกินดีๆนะจะได้ ถ่ายบ่อยๆ( ไม่ใช่ท้องเสียนะ)
เราก็ท้องผูกบ่อยเหมือนกัน เดี๋ยวจะลองเอาไปใช้ดูละกันนะ ยังไงก็ขอให้หายจากท้องผูกละกันนะ

เพิ่งรู้เหมือนกันว่าโยคะจะมีท่าที่ใช้แก้อาการท้องผูกได้ด้วย จะลองเอาไปทำตามนะ อยากรู้เหมือนกันว่าจะได้ผลอ่ะป่าว แล้วจะมาบอกนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท