ประสบการณ์ KM จังหวัดนครศรีธรรมราช


สิ่งที่ทำ อบต. สามารถจับประเด็นและประกาศเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาตำบล ได้เห็นความสำคัญของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี และคณะกรรมการศูนย์ฯ ตรงนี้เป็นเรื่องที่ดี

          ในเวทีสรุปบทเรียน KM ครึ่งปีของกรมส่งเสริมการเกษตร เมื่อวันที่ 22 พค.2549 ที่จังหวัดกำแพงเพชร คุณประสาร เฉลิมศรี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่  ต.คลองน้อย อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ได้ขึ้นเวที เล่าประสบการณ์การนำ KM  ไปเป็นเครื่องมือการปฏิบัติในโครงการ Food Safty ว่า....                               

                                 

  • การดำเนินโครงการสุดท้ายคือ การปฎิบัติ สู่เกษตรกร 
  • เรื่องที่เล่า เป็นเรื่องที่สะท้อนจากตัวเกษตรกร เป็นจุดแห่งการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงงานด้านส่งเสริมการเกษตรให้ก้าวหน้า
  • ต้องขอขอบคุณตัวแทน โรงเรียนเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร ที่ได้ดำเนินการที่เกี่ยวพันกัน หากเราไม่มีพื้นฐานโรงเรียนเกษตรกร การทำ KM ไม่สนุก และไม่สามารถที่จะเชื่อมโยงกับเกษตรกรได้อย่างชัดแจ้ง และเกษตรกรไม่สามารถเห็นเจตนาของเราจริงๆ  แต่การทำโรงเรียนเกษตรกร กระบวนการแบบมีส่วนร่วมนี้ ช่วยลดกระแส ลดผลกระทบได้มาก  
  • การดำเนินงาน KM ของจังหวัดนครศรีธรรมราชในโครงการ Food Safty  ต.คลองน้อย อ.ปากพนัง ตั้งเป้าผลสำเร็จของงานไว้ว่า 1.กลุ่มจะต้องดำเนินงานกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ  และเป็นกระบวนการกลุ่มแบบมีส่วนร่วมจริงๆ  2. พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง มีปัญหาหอยเชอรี่ค่อนข้างมาก การดำเนินงานนี้ให้สำเร็จ ต้องดำเนินการป้องกันกำจัดหอยเชอรี่  และ 3. ให้สามารถแปลงหอยเชอรี่ มาเป็นปุ๋ยให้ได้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิต  
  • กระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรที่ได้จากการดำเนินโครงการ  สิ่งที่เกิดขึ้นที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเกษตรกรคือ ในกิจกรรมการประชุมคณะกรรมการศูนย์ฯ  คณะกรรมการศูนย์ฯจะเป็นสื่อช่วยประชาสัมพันธ์การทำงานของกรมส่งเสริมการเกษตร
  • การทำงานอย่างน้อยต้องมีข้อมูลในพื้นที่ ต้องมีข้อมูลมือสอง และสถานการณ์จริงที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมาวิเคราะห์ร่วมกัน ว่าเป็นอย่างไร  และทางออกสิ่งที่จะทำร่วมกันคืออะไร
  • ผลการวิเคราะห์พบว่า พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังมีความเสี่ยงต่อการใช้สารเคมี  พื้นที่ปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นา  เป็นการปลูกผัก ไร่นาสวนผสม ทำไม้ผลหลายๆอย่าง  ธรรมชาติตั้งแต่ ปี 2537 เปลี่ยนแปลงไป ใช้สารเคมีมากขึ้น ปัจจุบันเกษตรกรปลูกผัก หนีไปรับจ้างทำงานในเมือง ทิ้งไร่นา  เป็นข้อเท็จจริง ดังนั้น การที่เราดำเนินโครงการนี้ เราเดินมาถูกทางแล้ว
  • การเก็บข้อมูล  ต้องเกี่ยวข้องกับ แบบ กสก. และเกษตรกรโดยตรง ปัญหาคือ พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง เป็นพื้นที่เฉพาะ มีโครงการลงไปเยอะมาก โดยเฉพาะ ต.คลองน้อย มี 9 หมู่บ้าน ถ้าดำเนินการเก็บข้อมูล โดยเจ้าหน้าที่ คงไม่ไหว ต้องใช้คณะกรรมการศูนย์ฯ มีส่วนร่วม  มีการอธิบายแบบ  ลงไปเก็บข้อมูล
  • มีการบันทึกข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูล และจำแนกพื้นที่
  • นำผลการวิเคราะห์เข้าสู่เวทีชุมชน  ปรากฎว่าข้อมูลที่ออกมาจากการเก็บและวิเคราะห์เป็น 3 ดาวหมด แต่เมื่อนำเข้าเสนอในเวทีชุมชน ผลที่ออกมาเกษตรกรไม่ยอมรับค้านกับข้อเท็จจริง  จึงมีมติออกมาเปลี่ยนเป็น 2 ดาว หรือ 1 ดาว  และกำหนดพืชที่เน้นหนักอันดับ 1 คือ ผัก 2. ข้าว และ 3. ไม้ผล นี่คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในการทำเวที
  • การประชาสัมพันธ์ สิ่งที่ได้ทำร่วมกับเกษตรกร คือ การใช้ข้อมูลข้อเท็จจริง บอกปากต่อปาก  เกษตรกรจะบอกกันเองว่าโครงการทำอย่างไร

                 สุดท้ายคุณประสาร ได้สรุปว่า ระยะเวลาตั้งแต่เดือน มีค.-เมย. 49 การทำงานโครงการ Food Safty ของจ.นครศรีธรรมราช ได้ทำงานร่วมกับเกษตรกร สิ่งที่ทำ อบต. สามารถจับประเด็นและประกาศเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาตำบล  ได้เห็นความสำคัญของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี และคณะกรรมการศูนย์ฯ  ตรงนี้เป็นเรื่องที่ดี ต้องขอขอบคุณกรมส่งเสริมการเกษตร ที่ได้ดำเนินโครงการที่มีผลโดยตรงต่อเกษตรกร.....

หมายเลขบันทึก: 31428เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2006 17:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
      ขอขอบพระคุณมากครับ ที่บันทึกให้ได้ทบทวน และเรียนรู้ทีมงานของนครศรีธรรมราชอีกครั้งหนึ่ง
ขอบคุณคุณวีรยุทธ.. หากมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง... ช่วยเติมเต็มให้ด้วยนะค่ะ.....
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท