เมื่อครั้งช่วยงานการเงินให้กับเวทีเครือข่ายงานวิจัยชุมชนครั้งที่ 1 เรื่อง “แนวทางการดำเนินการพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรน้ำของ อบต.ท่าซัก ท่าดี และบางจาก


พุธที่ 11 พฤศจิกายน 2552 หลังจากประสานนัดวันได้ลงตัวทั้งสถานที่และกำหนดการวันว่างของทีมงานพื้นที่วิจัยนำร่อง 3 พื้นที่ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อกำหนดจัดเวทีประชุมเครือข่ายวิจัยชุมชน ครั้งที่ 1

เรื่อง "แนวทางการดำเนินการการพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรน้ำของ อบต.นำร่อง"โครงการ การพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อความมั่นคงของจังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00น. ณ ห้องประชุมพลังเมืองนคร องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช  

หลังจากโครงการผ่านช่วงของการพัฒนาโครงการจนกระทั่งเกิดพื้นที่นำร่องทำงานบูรณาการร่วมกัน 3 พื้นที่ คือ อบต.ท่าซัก โดย มีปลัดมนต์ชัย ศิริโรจน์ ,อบต.ท่าดี รองนากยกสมยศ นาครัตน์ และ อบต.บางจาก รองนายกคณพัฒน์ ทองคำ ทั้งหมดเป็นหัวหน้าโครงการในพื้นที่ โดยทำงานร่วมกับ คณาจารย์คณะวิจัย สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มี ดร.ปกรณ์ ดิษฐกิจ เป็นหัวหน้าโครงการ

ภายใต้ชื่อ โครงการการพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อความมั่นคงของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรับงบประมาณสนับสนุนจากฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ(ฝ่าย3)สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
สนับสนุนงบประมาณ กว่า 3 ล้านบาท

วัตถุประสงค์หลักในการทำโครงการวิจัยของ อบต.นำร่อง เพื่อให้ได้แผนจัดการน้ำในชุมชน นอกจากนี้ อบต.นำร่อง 3 พื้นที่ ควรจะมีพื้นที่ขยายผล ต่อยอดงานวิจัยเพิ่มเติมด้วยค่ะ
กิจกรรมโครงการ

1)   การเก็บรวบรวมข้อมูล แหล่งน้ำต้นทุน ปริมาณความต้องการน้ำ สภาพปัญหาในพื้นที่ องค์ความรู้ด้านการจัดการน้ำ โดยจะมีกิจกรรมอบรมการเก็บข้อมูลบัญชีน้ำ

2)      บันทึกข้อมูลการใช้น้ำและแหล่งน้ำในระบบ DSS ส่วนนี้ก็จะมีการจัดกิจกรรมอบรมระบบดังกล่าว

3)      ทำการวิเคราะห์และเรียนรู้ข้อมูลบัญชีน้ำ

4)   การจัดทำแผนการจัดการน้ำชุมน มีกิจรรมอบรมการจัดทำแผนน้ำชุมชน ปัจจัยที่เราควรนำมาพิจารณาในการทำแผนการจัดการน้ำชุมชน เช่น ด้านวิศวกรรม ก่อสร้างได้หรือเปล่า สร้างแล้วคุ้มทุนหรือเปล่า ด้านสิ่งแวดล้อม มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ด้านเศรษฐกิจสังคม เศรษฐศาสตร์ ด้านการมีส่วนร่วม การสร้างการบริหารงานชุมชนยอมรับมากน้อยแค่ไหน เป็นต้น แผนการจัดการน้ำ ก่อน ระหว่างและหลังภัยมา ต้องทำอย่างไร

เวทีเครือข่ายวิจัยชุมชนครั้งที่ 1 นี้ มีตัวแทนหัวหน้าโครงการ คณะทำงานแกนนำจากชุมชนทั้ง 3 พื้นที่ ร่วมกับทีมวิจัยส่วนกลางกว่า 80 คน อีกทั้งมีคณะสื่อมวลชนจากหนังสือพิมพ์เสียงราษฎร์ (รายงานข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับปลายเดือน พ.ย.นี้ ) ถ่ายทำรายการโทรทัศน์ CSTV (ออกอากาศตอนเย็น) ก่อนหน้าจะมีเวที ก็มีการถ่ายทำรายการโทรทัศน์ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2552  ณ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ออกอากาศช่อง 11 ค่ะ นับว่าเป็นที่สนใจของสังคมเลยทีเดียวค่ะ

กระบวนการช่วงเช้า เป็นกระบวนการทำความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเชื่อมโยงการทำงานกับเครือข่ายวิจัยชุมชน เรียนรู้แนวทางการพัฒนา การใช้ประโยชน์ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนจัดการทรัพยากรน้ำในชุมชน รวมถึงกระบวนการมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการน้ำในชุมชน ช่วงเช้าวิชาการล้วน ๆ ผู้เข้าร่วมหลายท่านก็ติติงว่าวิชาการมากเกินไป แต่ก็เป็นประโยชน์ดี (อิอิ เค้าเรียกกระบวนการตบหัวก่อนลูบหลัง หรือเปล่าค่าๆๆๆๆๆๆ)

กระบวนการช่วงบ่าย เปิดเวที กระบวนการกลุ่มค่ะ ระดมความคิด วางแผนการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่ นำเสนอในเวที

เสร็จสิ้นกระบวนการฟังเรื่องเล่าจากประสบการณ์จริง ของ พล.ต.ดร.นพรัตน์ เศรษฐกุล ด้านสิ่งแวดล้อม น้ำ ในต่างประเทศ ค่ะ  

(แหม่มมีโอกาสได้มาช่วยงานการเงินในเวที จับประเด็นได้บ้างลองบันทึกเล่าสู่กันฟัง สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่นะค่ะ)

บันทึกประเด็นประชุมเวทีเครือข่ายวิจัยชุมชน ครั้งที่ 1

สรุปแบบประเมินความพึงพอใจการจัดประชุม

หมายเลขบันทึก: 314161เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2009 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนคุณหทัยคะ

น่าสนใจที่แผนการจัดการน้ำมองด้านเศรษฐกิจสังคม และการมีส่วนร่วมของชาวบ้านด้วย

  • เห็นด้วยเป็นภาระกิจที่ดีมาก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท