การศึกษาตลอดชีวิต


Education for all ความหมายคือ เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน อุดมการณ์ใหม่ ของการจัดการศึกษามุ่งให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิตให้เป็นไปได้อย่างจริงจังโดยต้องจัดให้มีการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 12 ปีให้แก่ประชาชนเป็นเบื้องต้นก่อน

การศึกษาตลอดชีวิต

Education  for  all  และ  All  for Education  แปลว่าการศึกษาเพื่อปวงชนและปวงชนเพื่อการศึกษาหลักการนี้มีความเป็นมาสืบเนื่องมาจากการจัดประชุมระดับโลกขององค์การ ยู-เนสโก  ธนาคารโลกและองค์การ ยูนิเซฟ  ร่วมกับรัฐบาลไทยเมื่อ พ.ศ. 2532  ซึ่งต่อมาก็เป็นแนวคิดสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
                คำว่า Education  for  all  ความหมายคือ เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน  อุดมการณ์ใหม่ของการจัดการศึกษามุ่งให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิตให้เป็นไปได้อย่างจริงจังโดยต้องจัดให้มีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 12 ปีให้แก่ประชาชนเป็นเบื้องต้นก่อน ในฐานะของครูผู้สอนนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้อง เพื่อให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะที่ใฝ่รู้ใฝ่เรียนรู้จักและยินดีที่จะแสวงหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอและคุณลักษณะดังกล่าวจะติดตัวนักเรียนตลอดไป   แนวความคิดดังกล่าวยังอาจจะต้องเผยแพร่ไปสู่ผู้ปกครอง ความจำเป็นที่ผู้ปกครองจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนั้น ก็เพื่อให้ได้รู้ทันโลกรู้จักที่จะแก้ไขปัญหา ให้ความร่วมมือกับส่วนรวม ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ ก็จะส่งผลให้บุคคลนั้นดำรงชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันได้อย่างมีความสุข
                ส่วนคำว่า “All  for Education” หมายถึงสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาที่เคยมีผู้เกี่ยวข้องอยู่ในวงแคบๆระหว่าง ครู-นักเรียน-ผู้ปกครอง  แนวทางการปฏิรูปตามพระราชบัญญัติ  การศึกษาแห่งชาติได้วางเงื่อนไขให้องค์กรชุมชน องค์กรต่างๆได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ตลอดจนกำหนดแนวทาง การจัดการศึกษาเพื่อคนพิการและแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีของการสื่อสารเพื่อการศึกษา เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น  ความหมายของ All  for Education ยังรวมไปถึงการให้การศึกษาอย่างทั่วถึง ดังจะเห็นได้จากการปรับปรุงพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ.2545 โดยมีการเพิ่มเติมในเรื่องของการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ การศึกษานอกระบบและหลักเกณฑ์วิธีการนับอายุเด็กเพื่อเข้ารับการศึกษาภาคบังคับ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับ
                ในบทบาทหน้าที่แห่งความเป็นครู  เรายังคงต้องศึกษาแนวทางเป้าหมายและวัตถุประสงค์  ของพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542  นอกเหนือจากหลักการที่กล่าวมาแล้ว  การปฏิรูปการศึกษายังคงต้องใช้เวลาและร่วมมือจากทุกฝ่าย  โดยเฉพาะ  ครู  บุคลากรการศึกษานี้  ควรสนใจในทุกเนื้อหารายละเอียด พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับนี้  เพื่อให้การจัดการศึกษาของประเทศไทยบรรลุตามวัตถุประสงค์
ที่มา :คำอธิบายพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  ของ ดร. วิชัย   ตันศิริ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 31306เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2006 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท