เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร


เศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาที่ยั่งยื่น

 

                         เศรษฐกิจพอเพียงจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียง  สรฤทธ  จันสุข  (2552 : 48-49)  ได้สรุปความหมายว่า  เศรษฐกิจพอเพียง  หมายถึง  ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน  ภายใต้เงื่อนไขพื้นฐานความรู้คู่คุณธรรม  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำรัสให้ความหมายเศรษฐกิจพอพียงไว้ว่ามีความหมายกว้างขวาง  คือคำว่าพอก็เพียงพอ  เพียงนี้ก็พอ  ทำอะไรต้องพอเพียง  หมายความว่า  พอประมาณ  ไม่สุดโต่ง  ไม่โลภอย่างมาก  อาจมีมากมีของหรูหราก็ได้  แต่ต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น  ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง  ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียงความคิดก็เหมือนกัน  ความพอเพียงในความคิดเป็นการแสดงความคิดของตัวเอง ความเห็นของตัวเอง  แล้วปล่อยให้คนพูดอื่นบ้าง  และมาพิจารณาว่าที่เขาพูดกับที่เราพูดอันไหนพอเพียง  อันไหนเข้าเรื่อง  ถ้าไม่เข้าเรื่องก็แก้ไข  ถ้าพูดกันโดยที่ไม่รู้เรื่องกันก็กลายเป็นการทะเลาะกัน  เป็นการดำรงชีวิตอยู่อย่างพอดีแล้วขยับขยายให้มีมากขึ้นไปอีกก็ได้โดยถูกต้องชอบธรรมเป็นลำดับ  ตามความจำเป็นและความสำคัญของมนุษย์ ความเสื่อมโทรมพร้อมทั้งการหมดไปของสภาพแวดล้อมมากกว่าการผลิตสิ่งของมีความเป็นตัวของตัวเองในลักษณะกลุ่มที่สามารถจัดการกับหน่วยการผลิตที่หลากหลายด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมสามารถคิดสร้างและริเริ่มได้เองจากชุมชนเป็นฐาน  มีการควบคุมการขยายตัวของกิเลสให้พอเหมาะพอดีเป็นสำคัญ  เมื่อการผลิตมีปริมาณที่มากกว่าความต้องการ  จึงนำความมีอยู่ที่เหลือใช้ไปแจกจ่ายให้ผู้ที่ขาดแคลนหรือด้อยกว่าเป็นการเอื้ออารีต่อชุมชนหรือสะสมสำหรับอนาคตที่มีภูมิคุ้มกันที่ดี  สามารถพึ่งตนเองได้โดยไม่เดือดร้อน  โดยสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตัวเองให้มีความพอกินพอใช้ไม่มุ่งหวังสร้างความเจริญยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วประการเดียว  ผู้มีความเพียงพอในการพึ่งตนเองสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าและฐานะทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นไปได้ตามลำดับ ลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นความ พอเพียงสำหรับทุกคน  ทุกครอบครัว แบบไม่ทอดทิ้งกัน  ด้วยจิตใจพอเพียง  ทำให้รักและเอื้ออาทรคนอื่นได้  เพราะคนที่มีจิตใจไม่รู้จักพอย่อมรักคนอื่นไม่เป็นและทำลายมาก  มีสิ่งแวดล้อมพอเพียง  พร้อมกับอนุรักษ์และเพิ่มพูน  ให้นำมาใช้ยังชีพและทำมาหากินได้ทั้งอาหาร  สิ่งแวดล้อม  และทุน  มีลักษณะเป็นชุมชนเข้มแข็งด้วยการรวมตัวกันให้สามารถแก้ปัญหาสังคม  ปัญหาความยากจน  ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้  ตามสภาพของปัญหา  เรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ  และปรับตัวให้เข้ากันได้อย่างต่อเนื่องจากวัฒนธรรมพอเพียง  วิถีชีวิต  กลุ่มชนที่สัมพันธ์อยู่กับสิ่งแวดล้อมที่หลากหลากด้วยพื้นฐานของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม  มีอาชีพและดำรงชีวิตให้มีความมั่นคงค่อยๆ เปลี่ยนแปลงสภาวะปัญหาที่ทำให้เกิดสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดี  เมื่อความพอเพียงในลักษณะดังกล่าวสมบูรณ์เชื่อมโยงในด้านกาย  ใจ  สังคม วัฒนธรรม  และสิ่งแวดล้อม  ให้เกิดความสมดุลและพอเพียง

ดร.สรฤทธ จันสุข

อ้างอิง:  สรฤทธ จันสุข.  การศึกษาตัวชี้วัดการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.  วิทยานิพนธ์ ปร.ด. สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา  มหาสารคาม  :  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,  2552.

 

หมายเลขบันทึก: 312901เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2009 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

นำสู่

ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน

ชีวิติ เศรษฐกิจ และสังคม

ถ้าคนทั้งโลกเป็นเช่นนี้ โลกคงไม่เป็นเช่นปัจจุบัน

ถ้าคนที่อยู่ในโลกนี้ ไม่ไปหลง อยู่นำ วัตถุ ที่ทันสมัย ไม่หลง ใน ชื่อเสียง ที่อยากจะมีหน้ามีตา อยากจะให้คนทั้งหลายยกย่องสรรเฉิณ เป็นต้น. ก็จัดว่าเป็น การใช้ชีวิต ที่มีเศรษฐกิจพอเพียงไค้เเล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท