ข้อเสนอแนวคิดพื้นฐานในการจัดทำกรอบนโยบายด้านไอซีที ในปี 2020 ต่อ กระทรวงไอซีทีและเนคเทค ประเด็นด้านสังคม


ในการพิจารณาเพื่อจัดทำกรอบเชิงนโยบายด้านไอซีที 2020 มีประเด็นที่ต้องพิจารณา ๕ เรือง กล่าวคือ (๑) เรื่องประเด็นหลักอันเป็นปัจจัยพื้นฐานในการจัดทำกรอบ (๒) กรอบแนวคิดพื้นฐาน (๓) ประเด็นหลักของกรอบ (๔) วิธีการเพื่อสร้างความสมบูรณ์ของกรอบ และ (๕) การทำให้กรอบมีประสิทธิภาพในทางปฏิบัติ

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ในการจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2554-2563 (ICT 2020) เพราะกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2544-2553 (IT 2010) ของ ประเทศไทย จะสิ้นสุดระยะเวลาของกรอบนโยบายในปี พ.ศ. 2553 

การทำงานครั้งนี้มีเป้าหมายหลัก เพื่อให้การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและโทรคมนาคมมีความต่อเนื่องของกรอบนโยบายฯ โดยมีกรอบแนวคิดเพื่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและโทรคมนาคมของประไทยในระยะ 10 ปี  รองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโลก และเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน นำกรอบนโยบายฯ ไปใช้เป็นแนวทางจัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและโทรคมนาคมขององค์กรต่าง ๆ ต่อไป

ในการทำงานครั้งนี้ มีกระบวนการในการทำงานโดยจัดทำเวทีเสวนาโต๊ะกลมในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญใน ๕ ประเด็น กล่าวคือ กลุ่มเศรษฐกิจ กลุ่มสังคม กลุ่มการเมือง/การปกครอง/การบริหารราชการแผ่นดิน กลุ่มสิ่งแวดล้อมและพลังงาน และกลุ่มสื่อสารมวลชน

ในด้านของประเด็นทางสังคม เริ่มต้นจากการจุดประกายความคิดจากวิทยากรหลัก ๔ ท่าน (๑) ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ประธานมูลนิธิ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (๒)  คุณมณเฑียร บุญตัน สมาชิกวุฒิสภา และนายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย(๓)  นพ.บุญชัย กิจสนาโยธิน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข

ในแง่ข้อเสนอ มีข้อเสนอในการจัดทำกรอบเชิงนโยบาย ใน ๕ ประเด็น ดังนี้

ข้อควรพิจารณาลำดับที่ ๑ เรื่องประเด็นหลักอันเป็นปัจจัยพื้นฐานในการจัดทำกรอบ

  • พบว่ามี ๓ ปัจจัยหลักที่นำไปสู่การคิดกรอบเชิงนโยบายในรอบ ๑๐ ปี กล่าวคือ (๑) การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น รวดเร็วมากขึ้น (๒)  รูปแบบของการใช้งานหลากหลายมากขึ้น และ (๓) การหลอมรวมทางเทคโนโลยี ทำให้เครื่องมือในการใช้งานมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้มนุษย์มีโอกาสในการเข้าถึงและใช้งานไอซีทีมากขึ้น

ข้อควรพิจารณาลำดับที่ ๒ เรื่องแนวคิดพื้นฐาน หรือ Keyword ของการวางโครงสร้างในการทำงาน ประกอบด้วย ๔ คำสำคัญ

  • การลดผลกระทบด้านลบ ทั้ง การป้องกัน เยียวยา
  • เพิ่มพลังทางบวก ใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างสรรค์ ร่วมกันของเครือข่ายสังคมออนไลน์แบบมีส่วนร่วม  ทำให้ทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของเรื่อง สร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้
  • การเพิ่มโอกาสในการเข้าถึง ใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม ชุมชน
  • การสร้างระบบการคุ้มครอง เยียวยาความเสียหาย

ข้อควรพิจารณาลำดับที่ ๓ ข้อเสนอในการจัดทำกรอบ

  • ตัวอย่างในเกาหลี (รายงานผลการศึกษาด้านกฎหมาย นโยบายของเกาหลี) มีการจัดทำแผนแม่บทใน ๔ ยุค ยุคโครงสร้าง ยุคสร้างวัฒนธรรม ยุคใช้ประโยชน์ ยุคซ่อม เข้าใจว่า จะมียุคที่ห้า ก็คือ ยุคหลอมรวมเทคโนโลยี ที่เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงจากยุค Electronic Society ไปสู่ยุค Ubiquitous Society สิ่งสำคัญของนโยบายของเกาหลีก็คือ การสร้างความต่อเนื่อง ยั่งยืนของนโยบาย รวมทั้ง การสร้างความเชื่อร่วมกันของคนในสังคมเกาหลี
  • การคิดกรอบเชิงนโยบายให้คิดจาก คนด้อยโอกาส จากพื้นที่ต่างๆ  และ ต้องทำให้เกิดการขยายฐาน เสริมการทำงานของแต่ละปัจจัย เน้น การบริหารจัดการ โดยการการสนับสนุนให้เกิดการลงมือปฏิบัติ และ นำกลับมาเป็นความรู้ โดยที่ชาวบ้าน ชุมชนเป็นเจ้าของความรู้หลัก
  • ข้อเสนอเชิงรายละเอียด ๕ ประเด็น

(๑) ประเด็นด้านโอกาสและความเท่าเทียมในการเข้าถึง เข้าใช้ ประกอบด้วย (๑) การลดช่องว่างในการเข้าถึง การสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึง การกระจายโครงสร้างพื้นฐานการลดความไม่เท่าเทียมของโอกาส (๒) การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้ไอซีทีให้กับคนทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ ทุกวัย คนด้อยโอกาส เพื่อสร้างโอกาสและประโยชน์ในการใช้ไอซีที ซึ่งต้องอาศัย (๑) การสร้างฐานความรู้ (๒) ปัจจัยเสริมด้านเครือข่าย สนับสนุน ๘ ปัจจัย ทั้ง เด็ก ครอบครัว โรงเรียน พื้นที่ โปรแกรม เครือข่าย พี่เลี้ยง ชุมชน  และ (๓) กลไกในการจัดการ ต้องการกระบวนการในการสนับสนุนเพื่อขยายต้นแบบระหว่างเครือข่ายชุมชน และ (๓) การเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงซอฟท์แวร์ที่มีประสิทธิภาพราคาถูก

(๒) ประเด็นด้านเนื้อหา การเพิ่มเนื้อหาเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ การใช้ช่องทางไอซีทีเป็นเครื่องมือในการพิทักษ์ คุ้มครอง เรียกร้อง สิทธิ การเพิ่มพูนความรู้ในการใช้งานไอซีทีเพื่อการพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม และ เศรษฐกิจ  รวมไปถึง การจัดทำคลังข้อมุลแห่งชาติในแต่ละประเด็น และ การพัฒนาเนื้อหาที่ถูกต้องแท้จริง เชื่อถือได้

(๓) ประเด็น ด้านสังคม  เพราะการเปลี่ยนแปลงของสังคม จริยธรรมและวัฒนธรรม ทำให้ต้องมีการ (๑) สร้างวัฒนธรรมของเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการพัฒนาสังคม (Information Knowledge)

  • (๑) วัฒนธรรมการสร้างสื่อสร้างสรรค์ สื่อเพื่อการเรียนรู้ สื่อเพื่อการศึกษา สื่อเพื่อการพัฒนาตนเอง สื่อเพื่อการพัฒนาชุมชน และ สังคม
  • (๒) วัฒนธรรมการจัดการตัวบุคคลในเครือข่าย
  • (๓) วัฒนธรรมการแบ่งปัน
  • (๔) วัฒนธรรมการเคารพสิทธิของผู้อื่น
  • (๕) การกำกับดูแลกันเองในเครือข่ายและระหว่างเครือข่าย

และ (๒) การสร้างความสัมพันธ์เชื่อมต่อระหว่างโลกออนไลน์กับโลกจริงโดยการสร้างระบบการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการทำงานเพื่อลดช่องว่างในระหว่างสังคม และ ลดความเร็วที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงในการวิ่งตามเทคโนโลยี

(๔) ประเด็นการจัดการฐานข้อมูล การสร้างประสิทธิภาพของโครงสร้างในระบบการจัดการฐานข้อมูล เพื่อสร้างศูนย์ข้อมูล และ ระบบการประมวลผล

(๕) ประเด็นการคุ้มครอง เยียวยา  การสร้างระบบการคุ้มครองผู้ใช้ที่อาจถูกละเมิด หรือ ได้รับผลกระทบเชิงลบ (ระบบการเพิ่มพูนความรู้ในการเรียนรู้เท่าทันสื่อ การเตือนภัย การป้องกันตนเอง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ (๒) การสร้างระบบการเยียวยา ลดผลกระทบในทางลบที่เกิดขึ้น และ ปฏิบัติการร่วมกันระหว่างเครือข่าย เช่น สื่อส่งผลลบต่อการเรียนรู้ การละเมิดต่อผู้อื่น การเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น 

ข้อควรพิจารณาลำดับที่ ๔ การคำนึงถึงปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้เกิดทำงานภายใต้กรอบหลักทั้ง ๕ ด้าน ต้องพิจารณา ปัจจัยหลัก ๓ ส่วน  (๑) ความรู้ (๒) ปัจจัยเสริมด้านเครือข่าย สนับสนุน ๘ ปัจจัย เด็ก ครอบครัว โรงเรียน พื้นที่ โปรแกรม เครือข่าย พี่เลี้ยง ชุมชน  และ (๓) กลไกในการจัดการ การบริหารจัดการทรัพยากร ต้นทุนที่มีอยู่ในชุมชน ต้องการกระบวนการในการสนับสนุนเพื่อขยายต้นแบบระหว่างเครือข่ายชุมชน กลไกในการสนับสนุนการทำงาน และ กลไกที่ทำให้เกิดการทำงานที่ยั่งยืน เช่น ระบบกฎหมาย การสร้างการมีส่วนร่วมในฐานะเข้าของปัญหา เจ้าของความรู้ เจ้าของสิทธิ

ข้อควรพิจารณาลำดับที่ ๕ การทำให้นโยยายเกิดประสิทธิภาพในการทำงานจริง ต้องเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำยุทธศาสตร์ และ การสร้างวัฒนธรรมความเชื่อ ความตระหนัก ให้เกิดขึ้นกับประชาชนในฐานะ "เจ้าของที่แท้จริง" มากกว่าเป็นเพียงผู้ปฏิบ้ติที่ต้องปฏิบัติเพราะนโยบายหรือ กฎหมาย

ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมบางส่วนที่จดบันทึกได้จากการร่วมแลกเปลี่ยนในเวทีโต๊ะกลม

(๑)    คุณมณเฑียร การเพิ่มโอกาสในการเข้าถึง โดยอาศัยการออกแบบ Universal design การสร้างแบบเฉพาะ ใช้กลไกทางกฎหมายเพื่อทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ

(๒)   อาจารย์วิจารณ์ พานิช ประเด็นแรก Social Sector เน้นที่ภาคผู้ด้อยโอกาส ประเด็นที่สอง ให้ชาวบ้านเป็น knowledge Producer โดยเน้น Facilitator ใกล้เคียงกับชีวิตจริงไม่ใช่เป็นเรื่องของการรับถ่ายทอดความรู้ แต่ต้องเป็นผู้สร้างความรู้ เปลี่ยนเป็นความรู้ของเขาเอง  ทำ Knowledge Sharing ประเด็นที่สาม ต้องพยายามมีสติ การใช้ชีวิตไม่ต้องเร็วเท่าไอซีที

(๓)    อาจารย์แหวว การมองปัญหาจากพื้นที่  ประการแรก เนื้อหาในอินเทอร์เน็ต อะไรที่มันขาดไป ยกตัวอย่าง เนื้อหาอะไรที่เชื่อถือได้ ฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้ ความถูกต้องแท้จริงของข้อมูล ข้อมูลในการจัดการปัญหาที่ส่งต่อไปยังเครือข่ายเพื่อการจัดการ ประการที่สอง ราคา โอกาสในการเข้าถึง ประการที่สาม ชาวบ้านเป็นเจ้าของปัญหา เจ้าของความรู้

(๔)    คุณสุธีรา จำลองศุภลักษณ์ ชมรมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อผู้สูงอายุ ยังขาดการบริหารจัดการ เช่น วิทยากร ความรู้ เครือข่ายในการทำงาน เพื่อทำให้เกิดการทำงานที่ยั่งยืนได้

(๕)    คุณศรีดา ตันทะอธิพานิช การเข้าถึง ทั่วถึง วัดที่ คุณภาพของการใช้งาน กลไกในการดูแลสังคม การเรียนรู้เท่าทัน จริยธรรม ข้อมูลเพื่อคนไทย การจัดกลุ่มข้อมูล และ ศึกษาดูว่า  อะไรที่ยังขาดอยู่

หมายเลขบันทึก: 312232เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2009 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและโทรคมนาคมมีความจำเป็นต่อการพัฒนาองค์กร มาติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท