สถิติกับการประยุกต์ใช้ทางระบาดวิทยา


สถิติ ระบาดวิทยา

หนังสือสถิติกับการประยุกต์ใช้ทางระบาดวิทยา...เป็นการนำประสบการณ์จริงในด้านการใช้สถิติสำหรับการดำเนินงานทางระบาดวิทยา(เฝ้าระวัง/สอบสวน/ศึกษาทางระบาดวิทยา)...เป็นความรู้แฝง(Tacit)ที่สะสมมาตลอดการทำงานและควบคู่กับผู้เขียนสำเร็จการศึกษาป.โทด้านชีวสถิติและกำลังเรียนป.เอกอยู่ รวมทั้งประสบการณ์การทำงานทางระบาดวิทยา การอบรม  การสอน  การเป็นวิทยากรสอน SRRT 31 รุ่น และอื่นๆอีกมากมาย...จึงได้ถ่ายทอดองค์ความรู้(Tacit+Explicit)ออกมาสู่สาธารณชนเพื่อใช้ประโยชน์ในวงการสาธารณสุขหรือเกี่ยวข้อง...ท่านผู้ใดสนใจโปรดติดต่อ [email protected]

หมายเลขบันทึก: 31147เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2006 06:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

     ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ ผมได้ส่งเมล์ไปแจ้งความจำนงค์ด้วยแล้วครับ

                    ชายขอบ http://gotoknow.org/profile/chinekhob

เทอมหน้าต้องเรียนต่อ ป.เอกในสาขาระบาดวิทยาค่ะ ทั้งๆ ที่ไม่มีความชอบเลย เพราะกลัวสถิติที่สุดเลย ทำอย่างไรดีคะ แต่ชอบเนื้อหาทางด้านสาธารณสุขและมนุษยวิทยาค่ะ แนะนำน้องด้วยนะคะ

เรียนที่ไหนครับ   เป็นหลักสูตรที่ผมชอบมาก แต่ด้วยเหตุผลที่ไกลบ้าน  เลยเปลี่ยนทิศทางตัวเอง  ...สำหรับสถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ  เป็นเรื่องที่จำเป็นจริงๆ   ก่อนอื่นต้องทำใจให้ชอบก่อน  ไม่ต้องกลัว แล้วจะเห็นว่าเป็นศาสตร์ที่น่าติดตาม  อีกอย่างเราเรียนหลักการประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม  ไม่ต้องกังวลการพิสูจน์ทฤษฎี  เริ่มหาหนังสือที่เป็น SPSS เช่น ของอาจารย์กัลยา วานิชย์บัญชา  มาฝึกการตรวจสอบข้อมูล  การวิเคราะห์ และแปลผล   เป็นต้น  หรือไปอ่านวารสารแล้วหัดวิจารย์สถิติว่าเหมาะสมกับงานวิจัยหรือไม่   แล้วค่อยย้อนไปศึกษาที่มาของสูตร   หรือไม่ก็แสวงหาการอบรมสถิติวิจัยที่ไหนไปที่นั่น  จะทุ่นเวลาในการอ่านอย่างมหาศาล  เพราะวิทยากรแต่ละท่านเขามีการเตรียมตัวจากหลายเล่มแน่นอน แถมด้วยประสบการณ์ที่เป็น Tips แต่ละท่านอีกต่างหาก    ถ้าข้องใจบางประการก็ปรึกษานักสถิติ  หรือ เมลล์มาที่ผมก็ได้ยินดีเป็นวิทยาทาน

             ยินดีที่รู้จัก  คุณสุรีรัตน์  นะครับ

แนวทางการเขียนโครงร่างการวิจัย                                                Dr. CHANCHAINARONG SONGKASRI……………………………………………………………………………………………………….บทนำ                   การวิจัย คือ กระบวนการค้นหาความรู้ ข้อเท็จจริง อย่างมีระเบียบ มีกฎเกณฑ์ในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และแปลความข้อมูล เพื่อแสวงหาคำตอบ สำหรับคำถามหรือประเด็นการศึกษาที่ตั้งไว้ ด้วยกระบวนการ อันเป็นที่ยอมรับ ในแต่ละสาขาวิชา ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ นิยมใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพราะเชื่อว่าวิธีนี้มีความถูกต้อง เชื่อถือได้มากที่สุด               โดยทั่วไปก่อนที่นักวิจัยจะทำการวิจัย จะต้องมีการวางแผนงานเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำการวิจัยไว้ล่วงหน้า การเขียนโครงร่างการวิจัย (Research proposal) นอกจากจะทำให้ผู้วิจัยทราบขั้นตอนและรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนของการทำวิจัยแล้ว ยังใช้เป็นเครื่องมือในการพิจารณาขออนุมัติทำวิจัย หรือขอทุนสำหรับทำวิจัยอีกด้วย เพื่อให้ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่า การวิจัยที่จะทำนั้นมีระเบียบวิธีการวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ในการทำวิจัยให้สำเร็จ และประโยชน์ สมควรได้รับการอนุมัติให้ทำการวิจัยได้                สิ่งสำคัญที่สุดในการเขียนโครงร่างการวิจัยที่ดี ก็คือความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของผู้ที่จะการวิจัยว่าจะทำวิจัยเรื่องอะไร มีวัตถุประสงค์อะไร จะใช้ระเบียบวิธีการศึกษาอะไรและอย่างไร และงานวิจัยนั้นมีประโยชน์อะไรบ้าง ซึ่งหากผู้ที่ทำวิจัยไม่มีความชัดเจนในเรื่องต่างๆเหล่านี้แล้ว ก็ยากที่จะเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่ดีได้ องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย      โครงร่างการวิจัย ควรมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้               1.  ชื่อเรื่อง               2.  ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย               3.  วัตถุประสงค์ของการวิจัย               4.  คำถามของการวิจัย               5.  ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง               6.  สมมติฐาน* และกรอบแนวความคิดในการวิจัย*               7.  ขอบเขตของการวิจัย               8.  การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย*               9.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย                10.          ระเบียบวิธีวิจัย               11.          ระยะเวลาในการดำเนินงาน               12.          งบประมาณค่าใช้จ่ายในการวิจัย               13.          บรรณานุกรม               14.          ภาคผนวก*               15.          ประวัติของผู้ดำเนินการวิจัย* ไม่จำเป็นต้องมีทุกโครงการ

ดิฉันจบป.ตรีสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิตค่ะ กำลังจะเรียนต่อโทแต่ยังไม่รูว่าจะเรียนอะไร คิดว่าตอนนี้สนใจสาขาระบาดค่ะ อยากได้คำแนะนำค่ะและพี่คิดว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรคะถ้าจบสาขานี้ ดีหรือไม่ ตอนนี้หนูทำงานอยู่สำนักงานสาธารณสุขจ.ปทุมธานีค่ะ เพิ่งย้ายมาพอดีได้บรรจุที่ปทุมธานี ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท