ประเมิน อบต.น่าน ( 3 )


"...ทำให้ อบต.มีความตระหนักยิ่งขึ้นว่า ที่เก็บกับที่ใช้ยังห่างไกล จึงควรมีความพยายาม และใช้ภาษีให้คุ้มให้เิิกิดประโยชน์สุขกับประชาชน ไม่ใช้เพื่อใครหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง..."

                         การเมินประเมินเริ่มจาก ท้องถิ่นอำเภอ / กิ่งอำเภอ ประสานกำหนดวัน โดยจำเป็นต้องประสาน อบต.ในพื้นที่ ผู้ทรงตุณวุฒิ และประธานอนุุกรรมการ  เพื่อให้ได้วันเวลาที่จะลงประเมิน โดยใช้เวลาปกติ ช่วงเช้า และ ช่วงบ่ายประเมินได้เพียงช่วงละอบต.

                         ในการประเมินที่ผ่านมาเมื่ออนุกรรมการไปถึง อบต.จะพบกับบุคคลากร อบต.ใช้เวลาพอสมควร  เพื่อพบ เพื่อทำความเข้าใจ เพื่อแนะนำแนวทางการประเมิน  ด้วยเห็นว่า หากไม่ทำเช่นนี้แล้ว  อาจทำให้มองว่า คณะอนุกรรมการจะมาจับผิด

                          การประชุมโดยใช้เวลาเหมาะสม  คณะอนุกรรมการใช้เวลาประเมิน หลังจากนั้น หากมีเวลาจะประชุมแนะนำไปด้วย หากไม่มีเวลาพอ คณะอนุกรรมการจะใช้เวลาที่มีอยู่สนทนากับ นายก และทีมบริหารประธานสภา รอง เลขา หรือปลัด อบต.เพื่อแนะนำสิ่งที่พบ และประเมินไม่พบในการประเมิน

                          แบบการประเมินที่แจ้งไว้ใน การประเมิน อบต.(2) น่าน นั้น สำหรับส่วนที่ 2 สร้างความลำบากใจแก่ อบต. อย่างมาก เพราะคะแนนมากถึง 40 คะแนน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเสียภาษี การเก็บภาษี ที่ผ่านมา อบต.ไ่ม่คุ้นเคยกับการจัดเก็บ แต่จะคุ้นเคยกับการรอรับเงินจากรัฐบาลกลาง  หากพิจารณาให้ดีเกณฑ์ส่วนนี้น่าสนใจ  แม้ว่า อบต.จะลำบากใจ เพราะจะทำให้ อบต.มีความตระหนักยิ่งขึ้นว่า ที่เก็บกับที่ใช้ยังห่างไกล จึงควรมีความพยายาม และใช้ภาษีให้คุ้มให้เิิกิดประโยชน์สุขกับประชาชน  ไม่ใช้เพื่อใครหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 31145เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2006 06:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท