เลี้ยงกบ…แม่แบบจากศูนย์การเรียนรู้แบบเศรษฐกิจพอเพียง



พื้นที่ภายในสวน…หากคิดทำอะไร ย่อมทำได้มากมายนัก การเป็นข้าราชการในคราบของคนสวน หรือจะเป็นอะไรก็แล้วแต่…มิใช่เรื่องสำคัญ

สำคัญอยู่ที่ว่า…จะทำให้เกิดคุณค่าแห่งตนได้มากน้อยแค่ไหนต่างหาก

งานที่ใช้พลังแห่งชีวิต…จึงต้องเรียนรู้และสัมผัสด้วยตัวเอง

บ่อปูนเก่า ๆ ถูกก่อขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์มากมาย ในหลาย ๆ เรื่อง ตั้งแต่กักน้ำจากบ่อไว้ใช้ยามขาดแคลนน้ำช่วงหน้าแล้ง หรือเป็นบ่อเลี้ยงปลาไว้กินเป็นอาหารยามขัดสน แม้กระทั่งทำเป็นบ่อเก็บใบไม้แห้งไว้…สำหรับใช้ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลไม้ผลแทนปุ๋ยเคมี…. ได้อย่างวิเศษ

บ่อปูนเก่า ๆ ที่ปล่อยทิ้งไว้

มาวันนี้…คิดลองแปรเปลี่ยนสภาพบ่อปูน ที่ปล่อยว่างมาพอสมควร ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง….

ด้วยความที่ไม่เคยเลี้ยงกบมาก่อน การหาเอกสาร ความรู้มาอ่าน จึงเป็นเรื่องปกติสำหรับทุก ๆ คนที่สนใจ วิธีเลี้ยงและความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงกบ จึงถูกเปิดอ่าน ….อ่านอยู่หลายรอบ

ยอมรับว่า…ทฤษฎีการเลี้ยงกบเนี่ย!! สวยหรูพอกำลังเลยทีเดียว

การเที่ยวหาประสบการณ์จากปากต่อปาก ด้วยการได้แหล่งเรียนรู้ จาก… ูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจชุมชน ที่ตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่แนะนำโดยคนในแวดวงทางการเกษตร

หาประสบการณ์จากชุมชนแห่งนี้ ด้วยการใช้เวลาวันหยุด ระยะทางจากสุราษฎร์ธานี ไป ศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจชุมชน แห่งนี้ ไกลพอสมควร และเป็นความโชคดี เมื่อไปถึงได้เจอบุคคลที่ยินดีให้ความรู้เป็นทาน โดยมิได้คิดมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญา ถ้าจำไม่ผิดบุคคลท่านนี้ท่านชื่อ ุงจร

ูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจชุมชน ที่ตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ลุงจรให้คำแนะนำความรู้ในการเลี้ยงกบ ด้วยคำพูดที่ฟังง่าย และเข้าใจง่ายด้วยเช่นกัน ลุงจร บอกว่า…กบเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่เลี้ยงไม่ยาก สำคัญอยู่ที่การใส่ใจดูแลเรื่องน้ำที่กบอาศัยอยู่เป็นสำคัญ น้ำที่กบอยู่ต้องหมุนเวียนและเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอ พูดง่าย ๆ ก็คือ การเลี้ยงกบในบ่อปูน ควรทำการเปลี่ยนน้ำวันเว้นวันเป็นการดี

กบที่ลุงจร แนะนำให้เลี้ยง คือ กบดูฟร๊อก กบชนิดนี้เป็นกบลูกผสม ที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ไม่ค่อยมีโรคและเหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศในเมืองไทย ลุงจรบอกอีกว่า…เนื้อกบจะอร่อย ไม่เหนียวเหมือนกบนาบ้านเรา

และที่ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ มีตัวอย่างกบที่เลี้ยงไว้ให้ดู …ทั้งกบที่เลี้ยงในบ่อปูน และกบที่เลี้ยงแบบคอนโด(เรียกสั้น ๆ ว่า กบคอนโด )

รูปกบในบ่อปูน และกบคอนโดในศูนย์การเรียนรู้ฯ

ระหว่างที่ศึกษารูปแบบการเลี้ยงกบ ลุงจรยังบอกอีกว่า…กบเป็นสัตว์ที่ต้องพยายามเลี้ยงให้เค้ารู้สึกคุ้นเคยกับเรา เสียงเพลง จึงเป็นตัวช่วยเพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างกัน บทเพลงทำให้กบรู้สึกผ่อนคลาย และคุ้นเคยกับคน และที่สำคัญ เสียงเพลงทำให้กบไม่เครียดด้วย เหตุที่ลุงจรพูดเช่นนี้ เพราะ วิถีธรรมชาติของกบแล้ว เป็นสัตว์ที่ชอบอยู่ตามรู อยู่ตามธรรมชาติ เมื่อฝืนธรรมชาติ การมีสิ่งทดแทนที่ขับกล่อม จึงทำให้กบผ่อนคลาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เมื่อกบไม่เครียด การดูแลก็ง่าย อารมณ์ดี กินได้ และโตไว

การได้มาที่ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ …ด้วยความอยากทำเป็นทุนเดิม จึงเป็นแรงบันดาลใจ ให้เริ่มต้น จากบ่อปูนที่ปล่อยว่างไว้หลังบ้าน จำนวน 1 บ่อ และควักกระเป๋าลงทุน เพิ่มเติมขึ้นอีก คิดในใจว่า….อย่างไรเสีย สิ่งที่ทำคือความตั้งใจ

บ่อปูนขนาดกว้าง ประมาณ 1 เมตร และยาวประมาณ 1 เมตร แบ่งเป็นล๊อค ๆ เพื่อเลี้ยงกบคอนโด จำนวน 12 ล๊อค

ความรู้..อีกอย่างหนึ่งของบ่อปูนใหม่ ๆ ที่ทำเสร็จ ….การเลี้ยงสัตว์น้ำหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำใด ๆ ก็แล้วแต่ลงมือเลี้ยงทันทีที่ทำเสร็จไม่ได้ เนื่องจากกลิ่นปูนและสารตกค้างของปูนซีเมนต์ ยังมีความรุนแรงอยู่ หากเลี้ยงสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ ก็จะทนไม่ได้ และตายในที่สุด เพราะสาเหตุคือ ปูนกัด

วิธีแก้ปัญหานี้ก็คือ การหาต้นผักบุ้ง ปริมาณมากพอสมควร ถอนทั้งต้นและรากได้ยิ่งดี นำมาถู ๆ ขยี้ ๆ ภายในพื้นที่บริเวณบ่อปูนนั้น และแช่ต้นผักบุ้งเหล่านั้นไว้ ทิ้งไว้ ประมาณ ครึ่งเดือน ก็สามารถที่จะย่นระยะเวลารอคอยเพื่อให้เป็นบ่อปูนที่เหมาะสม สำหรับเลี้ยงสัตว์น้ำหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำใด ๆ ได้เป็นอย่างดี

รูปบ่อปูนที่สร้างขึ้นมาใหม่และล้อรถยนต์สำหรับเป็นที่อาศัยของกบ

การเตรียมวัตถุดิบเพื่อเลี้ยงกบคอนโด สิ่งหนึ่งที่ขาดเสียไม่ได้คือ ล้อรถยนต์ล้อรถยนต์นี่แหละ ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของกบ แทนการนอนในรูตามธรรมชาติ

ตอนที่ไปซื้อ ล้อรถยนต์เก่า ๆ มาจากร้านปะยางรถยนต์ ในตัวเมืองจังหวัด อดยิ้มกับตัวเองไม่ได้ว่า…ูมิปัญญาชาวบ้านเนี่ย!!ช่างวิเศษซะจริง ๆ คนที่คิดเลี้ยงเป็นคนแรก ๆ เนี่ย!! เค้าช่างสรรหาวิธีการเลี้ยง เพื่อทดแทนธรรมชาติของกบได้อย่างน่ายกย่อง…. เพราะอะไรหรือ

คงเป็นเพราะกบชอบอยู่ในรู ในรูเป็นที่มืด ล้อยางสีดำแทนความมืดของสถานที่ที่กบอาศัยอยู่ได้ และที่สำคัญน้ำที่หล่อเลี้ยงตัวกบ ตามล้อยางทุกล้อ แทนน้ำหล่อเลี้ยงตามธรรมชาติของกบได้เป็นอย่างดี

การเตรียมความพร้อมของสถานที่และวัสดุที่กล่าวมาข้างต้น ยังไม่พอ และสิ่งต่อไปนี้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงกบด้วยเช่นกัน สิ่งนี้ คือ

น้ำหมักชีวภาพ

น้ำหมักชีวภาพ เป็นสิ่งที่ลุงจรแนะนำไว้ เพราะลำพังเพียงน้ำบ่อที่สูบเข้าบ่อเลี้ยงกบอย่างเดียวไม่พอ…กบอยู่ได้เพราะน้ำและอาหาร น้ำที่อยู่ในบ่อกบ จึงต้องปรับสภาพความเป็นกรด – ด่าง ให้สมดุล และที่สำคัญ ลุงจรบอกอีกว่า น้ำหมักชีวภาพนี้ ป้องกันโรคต่าง ๆ ในสัตว์ได้ (ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ รักษาสัตว์ ลดต้นทุนในส่วนนี้ได้เป็นอย่างดี)

ูตรทำน้ำหมักชีวภาพ ที่จดมาจากปากคำของลุงจร มีดังนี้

- กล้วยน้ำหว้าสุก มะละกอสุก และผลฟักทองแก่ รวมกัน ประมาณ 3 กิโลกรัม

- น้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล ประมาณ 1 กิโลกรัม

- นำทั้งหมดไปหมักในภาชนะที่มีฝาปิด ทิ้งไว้ ประมาณ 7 วัน ก็จะได้น้ำหมักชีวภาพ

ลุงจร บอกเช่นนั้น นำน้ำหมักนี่ไปเป็นส่วนผสมทุกครั้งที่ทำการเปลี่ยนน้ำใหม่ให้กบอย่างสม่ำเสมอ น้ำหมักชีวภาพนี้ สามารถเก็บไว้ได้นาน 6 เดือนถึง 1 ปี เลยทีเดียว

รูปโอ่งที่ใช้ทำน้ำหมักชีวภาพ

จากคำบอกเล่าของลุงจร ผ่านการลงมือทำจริง …เป็นการลองทำครั้งแรก ผลออกมา หมักนานเกิน 7 วันแล้ว เปิดฝาตุ่มน้ำที่ใช้เป็นภาชนะหมัก ออกดู ยังไม่มีน้ำหมักชีวภาพออกมาให้เห็น มีเพียงฟองของอากาศ และกลิ่นบูดของวัตถุดิบ ก็คิดว่า.. ไม่เป็นไร ลองใหม่ดูอีก ครั้ง

ครั้งนี้…สับวัตถุดิบที่ใช้ ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เติมน้ำตาลแดงลงไป คลุกเคล้าให้ทั่ว และแอบใส่น้ำลงไปด้วยตามความเหมาะสม (จากคำบอกเล่าของลุงจร อาจไม่ได้จด หรือฟังไม่ทันก็เป็นได้) ปิดฝาตุ่ม ทิ้งไว้ ประมาณ 7-10 วัน เมื่อครบกำหนด เปิดฝาตุ่มออกมาดู พบว่า มีน้ำหมักชีวภาพจากการหมักครั้งนี้ จริง ๆ นำขวดเปล่ามาตวงน้ำหมักชีวภาพเก็บไว้ได้หลายขวดทีเดียว

เมื่อสถานที่พร้อม วัตถุดิบพร้อม …..กบที่สั่งซื้อมาจาก ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ ร่วม 2,000 ตัว ก็ทยอยลงสู่บ่อปูนที่จัดเตรียมไว้ แยกกบลงบ่อปูนที่แบ่งเป็นล็อค ขนาดพื้นที่ 1 ตารางเมตร ล็อคละ ประมาณ 100 ตัว ส่วนกบที่เหลือนำลงบ่อปูนเก่า

เป็นความแปลกใหม่ของการใช้ชีวิตเพื่อเรียนรู้แบบเศรษฐกิจพอเพียง…มีความพอใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่นะตอนนี้ ที่เหนื่อยและยุ่งยากบ้าง ทั้งการเปลี่ยนน้ำและการให้อาหาร เตือนตัวเองทุกครั้งว่า อย่าลืม!! ใส่น้ำหมักชีวภาพที่ทำไว้ ทุกบ่อ ทุกครั้ง ที่เปลี่ยนน้ำให้กบ(ใส่น้ำหมักชีวภาพ ประมาณ 1-2 ช้อนกินข้าว ต่อบ่อ พื้นที่ 1 ตารางเมตร)

รูปกบที่เลี้ยง

อาหารที่ใช้เลี้ยงกบ คือ อาหารเม็ดสำเร็จรูป สำหรับเลี้ยงปลาดุก ที่ซื้อหลังจากเลิกงาน ราคาอาหารปลาดุก ตกที่ประมาณกระสอบละ 450-480 บาท

กบที่เลี้ยงครั้งนี้ โตเร็วมาก …อาจเป็นเพราะนำลูกกบขนาดที่โตแล้ว ตัวละ ประมาณ 4-5 บาท มาเลี้ยง ซึ่งอัตราการรอดตายสูงกว่าลูกกบตัวเล็ก ๆมาก

ข้อควรระวังจากการเลี้ยงกบ

- การสูบบุหรี่ บริเวณสถานที่เลี้ยงกบ ต้องพึงระวังเป็นอย่างสูง หากขี้บุหรี่ หล่นลงบ่อกบ กบก็จะตาย

- กบมีฟันค่อนข้างคมพอสมควร การจับกบ จึงต้องระวัง เพราะโดนกบงับมืออยู่หลายครั้ง และเจ็บทุกครั้งที่ถูกกัด

- กบชอบภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติที่สุด การจัดสภาพแวดล้อมให้ร่มรื่น เป็นสิ่งที่ควรทำ การกางสแลนเพื่อกรองให้แดดเข้าน้อย(แสงรอดผ่าน 20-40 %) จึงเป็นเรื่องดี เพราะความมืด คือภาวะแวดล้อมเดิมของกบ

- การฉีดสารเคมีต่างๆ เช่น ยากำจัดวัชพืช บริเวณ รอบ ๆ บ่อเลี้ยงกบ ทำไม่ได้ เพราะสารเคมีเหล่านี้รุนแรง และสามารถฆ่ากบให้ตายได้ จากละอองยาที่ปลิวเข้าบ่อกบ หากหญ้าขึ้นรก ใช้จอบถากหญ้าที่รก บริเวณรอบบ่อ เพื่อป้องกัน ศัตรูตามธรรมชาติของกบมาอาศัยอยู่และกินกบเป็นอาหาร เช่น งู เป็นต้น

ถากหญ้าที่ขึ้นรอบ ๆ บริเวณบ่อกบป้องกันศัตรูตามธรรมชาติ

สังเกตวิถีการดำรงชีวิตของกบเหล่านี้แล้ว….เริ่มเข้าใจได้ว่า ชีวิตทุกชีวิตต้องรู้จักปรับตัว เพื่อความอยู่รอด กบที่เลี้ยงครั้งนี้ก็เช่นกัน เมื่อเลี้ยงได้ขนาดใหญ่พอ 3-4 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม ในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือน กบก็พร้อมขายออกสู่ตลาด

การหาตลาดขายส่ง….เป็นอีกช่วงหนึ่งที่รู้สึกท้าทาย เพราะมิใช่การทำเป็นอาชีพ พ่อค้าคนกลางจึงไม่มี ใช้วิธีการเดินสำรวจตลาดขายสัตว์น้ำของตลาดสดเทศบาลประจำจังหวัด

พ่อค้าแม่ค้าเหล่านี้ บางคน ทำหน้าที่ขายและรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำด้วยซึ่งมีทั้งปลาประเภทต่าง ๆ หอย กุ้ง ปูและอื่น ๆ รวมทั้งกบ ด้วยและถือว่าโชดดี ที่เจอคู่สามี-ภรรยาที่ทั้งขายและรับซื้อ กบและปลาดุก โดยสามี ทำหน้าที่เป็นผู้ชำแหละ ส่วนภรรยาทำหน้าที่ขาย และวันนั้นโชดดีที่แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าทำงาน ทำให้รู้สึกว่า โทนเสียงที่เค้าคุยกับเรา สุภาพ ซึ่งต่างกับการสำรวจตลาด ด้วยชุดทำงานในสวนครั้งก่อนที่ เสื้อผ้าที่สวมใส่หมองกางเกงก็แลดูไม่สะอาดตา การพูดคุย ก็จะเป็นอีกแบบ ด้วยน้ำเสียงที่ห้วน หรือบางทีก็ห้าวด้วยซ้ำไป เสื้อผ้าบ่งบอกเศรษฐานะของคนได้จริง ๆ เลยนะ… คิดแล้ว ก็อดเห็นใจคนจน ๆ ที่ด้อยโอกาสไม่ได้ พวกเค้าไม่มีโอกาสแต่งสวยแต่งหล่อได้ตามใจปรารถนา

คนเราเนี่ย! บางครั้งก็ตัดสินใจและตีราคาค่าตัวด้วยการคาดคะเนจากสายตา และลักษณะทางกายภาพ รู้สึกได้เพราะ เป็นความรู้สึกที่ไม่ได้เกิดจากความเคยชิน จึงมีข้อเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างได้อย่างชัดเจน ผลของการสำรวจตลาดครั้งนั้น ทำให้รู้ว่า ราคากบก็ไม่ใช่ถูกนัก………. พ่อค้าคนกลาง ชำแหละกบ แล้ว ขายกบในราคากิโลกรัมละ 95-100 บาท ขณะที่ราคาขายส่ง อยู่ที่ กิโลกรัมละ 65 บาท

กบที่เลี้ยงทั้งในบ่อปูนและกบคอนโด

กบที่ได้ขนาด จากบ่อเลี้ยงกบ ถูกรวบรวมใส่ถุงปุ๋ยที่ผ่านการล้างแล้ว มัดปากถุง หลวม ๆ ตั้งทิ้งไว้หลังกระบะรถยนต์ การเป็นชาวสวนแบบนี้ เนี่ย! ต้องออกแรงเยอะ….กว่าจะได้เงินเป็นหลักพันในการขายแต่ละ ครั้ง อีกทั้งต้องหิ้วด้วยพละกำลังที่มีอยู่สองมือ บางครั้งก็เป็นชุดทำงานบ้าง(ตอนเย็น ๆ) หรือหากเป็นวันหยุด ก็เป็นชุดที่ใช้ทำสวนบ้าง(ชุดนี้ยกแบกขึ้นบ่าได้อย่างสบาย)

หักลบกลบหนี้แล้ว….ลงทุนไว้ได้ทุนคืน สิ่งที่เป็นกำไรกลับมิใช่เป็นตัวเงิน แต่กลับเป็นสิ่งก่อสร้างที่ลงทุนไว้ และประสบการณ์ในชีวิต ครั้งหนึ่ง… ที่สาละวนอยู่กับการเลี้ยงกบ… ในวิถีธรรมชาติแบบเศรษฐกิจพอเพียง

นั่งทบทวน….ประสบการณ์ในครั้งนี้ พบว่า การที่จะให้ได้มาซึ่งเงินเพื่อยังชีพ ไม่ว่าวิถีใดก็ตาม ย่อมมีบทเรียนชีวิตย้อนกลับให้เรียนรู้เสมอ ในครั้งนี้ รู้สึกสนเท่ห์กับการได้มาและการจากไปของสรรพสิ่ง

จากการเรียนรู้ ที่ทำให้รู้ว่า…เงินมีค่าพอที่จะเปลี่ยนความทุกข์เป็นความสุขได้ แต่หากสุขบนความทุกข์ความลำบากของผู้อื่นมากเกินไป จึงเป็นความลาดเอียงของความสุขที่มิควรแสวงหา

พ่อค้าคนกลาง…จึงเป็นความลาดเอียงที่ถูกบ่มเพาะไว้เสมอ หากวันใดตราชั่ง…ตรงจากภายในแล้วละก็!! เป็นสิ่งที่น่ายินดียิ่งนัก และหากย้อนคิดแบบสม่ำเสมอและบ่อย ๆ จึงเป็นสิ่งที่สมควรเห็นใจเกษตรกรผู้ผลิตให้มาก เพราะรู้สึกถึงขั้นตอน ที่ผ่านจากการเรียนรู้ของตัวเองแล้ว มากมายนัก ที่กว่าจะได้เม็ดเงินตอบแทนความอุตสาหะของตนเอง

ดอกไม้ที่ปลูกไว้ข้างบ้าน

ข้อคิดทางธรรม

การเลี้ยงสิ่งมีชีวิตก็มิใช่สะดวกราบรื่นไปซะหมด ชีวิตมีอยู่ก็มีตาย…เป็นวัฎสงสาร อยู่เช่นนี้

การเลี้ยงกบครั้งนี้ มีตายบ้าง….คิดทุกครั้งที่หยิบชีวิตของกบที่ไม่มีลมหายใจ ออกจากบ่อ ใส่ถุงนำไปฝังดินใต้ต้นมังคุด ขุดหลุมฝังกบเหล่านี้ ภายในใจของตัวเอง แผ่เมตตาให้เสมอ….

สัพเพ สัพตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา จงเป็นสุขเป็นสุข เถิด

….

….

และวันสุดท้ายขายกบหมดบ่อ วันนั้น เป็นวันที่ตั้งใจแวะซื้อ ุดสังฆทาน วมทั้งเงินใส่ซองจำนวนหนึ่ง ขับรถไปวัด เพื่ออุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลให้กับชีวิตที่สูญสิ้นไป และคิดเสมอว่า…เค้าคือผู้ที่มีบุญคุณต่อเรา และ ชีวิตยังคงต้องดำรงอยู่ และการดำรงอยู่ของชีวิตจึงมิอาจหลีกเลี่ยงได้ การได้ทำบุญจึงเป็นหนทางที่ได้กระทำแล้วมีความสุขเสมอ และนี่คือ….การใช้ชีวิตที่ตัวเองเป็นผู้ลิขิต

หมายเลขบันทึก: 310579เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2009 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2015 00:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)

ยำกบเป็นอาหารที่ครูอ้อยเล็กยังทานได้อยู่..ในอาหารเมนูกบทั้งหมดค่ะ  มาดูกบแต่ชอบดอกโมกนี่มากค่ะ..

สวัสดีครับ ครับคุณ แสง เป็น ข้อมูล เป็นตำราที่ลงมือปฎิบัติ ด้วยตนเอง แล้วจะไปแนะนำให้สมากลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ปากพะยูนทดลองเลี้ยงครับ

สวัสดี ครับ คุณครูอ้อยเล็ก

บันทึกนี้...เขียนอยู่หลายวัน 

เป็นประสบการณ์ ครั้งหนึ่งในชีวิต นั่งอ่านอีกรอบ ก็รู้สึกครับว่า...การใช้ชีวิต แบบนี้

ก็เป็นความสุข อีกแบบหนึ่ง

(ตัวผมอีก...ที่ชอบเลี้ยง  แต่ไม่กินกบเลย ครับ ) เท่าที่ทราบ หากเป็นสังคม คนทำงานหรือเกษตรกร จะชอบมาก ดื่มกับ...เครื่องดื่มชนิดหนึ่ง แล้ว  อร่อยเหาะ เค้าบอกผมอย่างนั้น

ขอบพระคุณ ครับ (คุณครูอ้อยเล็กเนี่ย...คงเป็นนักอ่านตัวยง นะครับ อ่านเร็ว พอ พอ กับ อาจารย์ท่านหนึ่ง ที่ได้ฉายาว่า...กามนิตหนุ่ม เลย...)

ขอบพระคุณ ครับ

 

Pไม่ทราบหรอกค่ะว่าเขากินกับเครื่องดื่มแบบนั้นจะอร่อยเหาะหรือไม่..ทราบแต่ว่ากินกับข้าวร้อนๆอร่อยดีค่ะ..สมุนไพรมันเยอะค่ะ ทั้งตะไคร้ หอมแดง ใบมะกรูด มะพร้าวคั่ว มะม่วงสับ พริกเผา แถมยังแก้มกับผักสดได้หลายอย่างที่เข้ากันดีสุดๆก็ยอดใบมะกอกอ่อนๆค่ะ..และที่สำคัญตอนเป็นเด็กเราจับมาจากท้องนาค่ะ..เลยเป็นอาหารที่ครูอ้อยเล็กยังทานได้อยู่ค่ะ..

เอาตำรามาฝาก..จากในเน็ตนี่แหล่ะค่ะ..เผื่อลูกค้าสนใจค่ะ..

ยำกบย่างใบมะกอก

ความเป็นมา
ใบมะกอกอ่อนๆ มีรสเปรี้ยวอมฝาด นิยมกินกับน้ำพริกหรือปลาร้าสับ คนเมืองกาญจน์เอาใบมะกอกมายำกับเนื้อสัตว์ อร่อยมาก ยิ่งถ้าเป็นแย้ย่างจะเด็ดมาก แต่ผมไม่กินสัตว์ป่าเลยเปลี่ยนเป็นกบย่างแทน


ส่วนผสม
1. กบสาวๆ ย่างกาบมะพร้าวหอมๆ สักสองตัว ถ้าเขาย่างมาไม่แห้งให้เอามาย่างซ้ำให้แห้งๆ หน่อย
2. ใบมะกอกอ่อน เอามาย่างไฟแรงๆ ให้เกรียมๆ บ้าง และบางส่วนก็ให้พอสลบ
3. ตะไคร้ ใบมะกรูด
4. หอมย่าง พริกแห้งย่าง
5. น้ำพริกเผา ควรทำเอง อย่างขายเป็นขวดมักหวานไปหน่อย



วิธีทำ
สับกบแล้วฉีกๆๆๆ ไม่เอากระดูก ไม่เอาเล็บเท้ากบ กินแล้วระคายปาก
ใบมะกอกย่างหั่นฝอยๆๆๆๆ
ตะไคร้ใบมะกรูดซอยๆๆๆๆ
พริกแห้งย่างไฟ หัวหอมย่างไฟ หั่นๆ ฉีกๆ รอไว้
เอาทั้งหมดคลุกเคล้ากัน อย่าลืมใส่น้ำพริกเผา ปรุงรส ให้มีความเผ็ดจากน้ำพริกเผา เค็มน้ำปลา และเปรี้ยวใบมะกอก
ปล.ถ้าแสงแห่งความดีไม่กินกบ ใช้ไก่ย่างแทนได้ค่ะ เขาเรียกว่าแสร้งว่ายำกบค่ะ...

ที่มา http://www.siamfishing.com/content/view.php?id=141&cat=recipe

อ๊อบ ๆ ๆ ย่างเข้าเดือนหก ฝนก็ตกพรำๆ กบมันก็ร้องฮึมฮำ ระงมไปทั่วแดนไพร ... อิ อิ

ว้าว วาว กบไฮเทคพักคอนโดกี่ชั้น กันคะเนี่ย โอ กบฟังเพลงด้วย อยากรู้จริงว่ารสนิยมกบ จะเหมือนออกแนวเดียวกับรสนิยมปูหรือเปล่า หุ หุ  ...  

... ทุกๆงาน ล้วนมีคุณค่า อยู่ที่ใจ ใช่ใดอื่น เลือกทำในสิ่งที่ชอบ คือคำตอบของชีวิต ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณแสงแห่งความดี

 มาอ่านอย่างละเอียดเลยค่ะ มีความสุขไปด้วยกับการใช้ชีวิตที่ลิขิตเองของคุณแสงแห่งความดี ... แต่ก็สงสารกบเล็กน้อย...

ศูนย์ไม้เรียง เป็นศูนย์ที่คนไม่มีรากคุ้นเคยมากค่ะ เพราะ น้ายงค์ หรือ คุณครูประยงค์ รณรงค์เป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 1 ซึ่งคนไม่มีรากคลุกคลีกับท่านมาก่อนที่ท่านจะได้ รางวัลแมกไซไซ ปี 2547

มีความสุขมาก ๆ นะคะ

 

 

Pc0400155

สวัสดีค่ะ

แวะมาทักทายค่ะ

ที่สำนักงานได้ทดลองเลี้ยงแล้วค่ะ

เลี้ยงในล้อยางนะค่ะ

แต่ไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร

ก็เลยต้องยอมค่ะ

หลายคนบอกว่าได้กลิ่นคาวมากๆๆ

สวัสดีค่ะ คุณแสงแห่งความดี

  • คุณแสงเป็นแบบอย่างในการแสวงหาความรู้ที่เยี่ยมยอดมากค่ะ
  • อยากรู้เรื่องการเลี้ยงกบก็ไปหาตำรับตำรามาอ่าน ไปหาปราชญ์ชาวบ้าน
  • และยังได้ลงมือปฎิบัติจริงด้วยอีก แต่ตอนท้ายประหลาดใจนิดๆ คุณแสงไม่ทานกบ..
  • นับเป็นประสบการณ์ที่ใช้พลังแห่งชีวิต…จึงต้องเรียนรู้และสัมผัสด้วยตัวเองที่ดีมากๆค่ะ
  • ชื่นชมกับแนวคิด บวกวิถีชีวิตที่เรียบง่าย บูรณาการกับการเป็นคนยุคใหม่ที่หัวใจยังยึดขนบเดิม..ตัวแบบที่ดีจริงๆค่ะ

หน้าหนาวแล้วค่ะ

แวะมาเยี่ยมค่ะ..ไม่ถนัดเรื่องเลี้ยงหรือบริโภค "กบ..กบ.." นี้จริงๆๆ...

มาชวนไปเที่ยวพิพิธภัณท์เงินตราค่ะ..

สวัสดี ครับ

2.

.....บันทึกฉบับนี้ อาจเป็นบันทึกที่สะท้อนมุมมองการใช้ชีวิต ของตัวเอง

การดำรงอยู่ของชีวิต....หากเลือกลิขิตเองแล้ว

ใครก็...ห้ามไม่ได้

เลือกที่จะทำ  ..เลือกที่จะเดิน

จะได้มีความสุข

ด้วยความยินดี ครับ

 

 

น่าทานมาก...  ยำไก่ย่าง

ขอบคุณ คุณครูอ้อยเล็ก ครับ

 

 

แวะมาชวนดื่มกาแฟหลังอาหารเที่ยงค่ะ

รู้สึกว่าวันนี้...โชคดีจัง ได้ทักทายคุณแสงแห่งความดีด้วย

วันนี้งานยุ่งหรือเปล่าคะ

(^___^)

คนละแก้วนะคะ

บันทึกนี้ยอดเยี่ยมมากค่ะเป็นตัวอย่างการถอดประสบการณ์บทเรียนที่มีคุณค่า อยากเห็นบันทึกลักษณะแบบนี้บ่อย ๆ นะคะ ชอบมากค่ะ ช่วยกันส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านบลีอก G2K โดยทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้ชุมชนค่ะ คุณแสงแห่งความดีสมควรได้รับการยกย่องในฐานะนำเสนอสิ่งดีงามของชุมชนมาเผยแพร่...ระลึกถึงเสมอนะคะ

สวัสดี ครับ

5.

P
poo
เมื่อ อ. 03 พ.ย. 2552 @ 13:12

..........กว่าจะมาเป็นกบคอนโด ได้ฟังดูง่าย และน่าสนุก

แต่การนำมาปฏิบัติ ด้วยตัวเอง แล้ว  คุณ poo รู้มั้ยครับว่า....กินเวลานาน ทั้งเตรียมการณ์ และเลี้ยง ก็ปาไปตั้ง ครึ่งปีกว่า ทีเดียว

กว่าจะเป็น  กบสวย ๆ แล้วขายได้

....

....

เหนื่อยแต่ก็มีความสุข ครับ

ขอบคุณ นะ ครับ

สวัสดีค่ะ

มีเพื่อนถามถึงการเลี้ยงกบ ... ขออนุญาตลิงก์ไปให้เพื่อนอ่านนะคะ

น่าจะได้ประโยชน์มากค่ะ

แต่...ความจริง คนไม่มีรากห้ามเพื่อนค่ะว่า อย่าเลี้ยงกบเลย...สงสารน่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

เพิ่งเข้ามาอ่าน Blog เป็นครั้งแรก

อ่านแล้วได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ หลายแง่มุม

ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆ ที่มีคุณค่าครับ

ขอบคุณความรู้ค่ะ

ต่อไปหากใครสนใจเรื่องกบ

ก็มีแหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้นแล้วนะคะ

บ้านครูต้อยมีอึ่งอ่างชอบแอบเข้ามาทางท่อระบายน้ำค่ะ

ลูกสาวตั้งชื่อให้ว่า เอ็ดเวิรด์(ตัวผู้)

ถ้าเป็นตัวเมียจะเรียกว่า รีเบ็กก่า

ทั้งสองตัวชอบมาแอบข้างถังน้ำ

เวลาลูกเข้าห้องน้ำเค้าจะคุยทักทายกัน

บ่อยครั้งนึกว่าลูกคุยกับใคร

ที่แท้คุยกับอึ่งอ่าง

ธรรมชาติรอบตัวเรานี่ให้ข้อคิด ให้ความรัก

ความเอื้ออาทร ห่วงใย และให้ความสุข

มีและเกิดขึ้น แต่ทุกสิ่งทุกอย่างต่างมีเหตุผลในตัวเอง

ขอบคุณค่ะ กับประสบการณ์ตรงที่แบ่งปัน

ขอให้มีความสุขชั่วกาลนานนะคะ

 

 

สวัสดี ครับ

7.

P
ตุ๊กตา
เมื่อ อ. 03 พ.ย. 2552 @ 15:13

 

 

สวัสดีค่ะแวะมาทักทายค่ะ

ที่สำนักงานได้ทดลองเลี้ยงแล้วค่ะเลี้ยงในล้อยางนะค่ะ

แต่ไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควรก็เลยต้องยอมค่ะ

หลายคนบอกว่าได้กลิ่นคาวมากๆๆ

 

 

 

 

ที่คุณครูตุ๊กตา พูดถึงเป็นเรื่อง จริง นะครับ

กลิ่นจากการเลี้ยงกบ...ในบ่อเลี้ยง มีทั้งกลิ่นคาวจากเนื้อตัวของกบ กลิ่นปฎิกูลของเสียจากกบ....หากไม่มีการถ่ายเทน้ำที่เลี้ยงทุกวันหรือบ่อยครั้ง

จริง ๆ สัตว์พวกนี้...ผมมองว่าเค้าสะอาด นะครับ เพราะเค้าอยู่กับธรรมชาติ เราต่างหากที่ฝืนธรรมชาติของเค้า....

เพราะเหตุและปัจจัยหลาย ๆ อย่าง

การปรับตัว ความเครียด สภาพแวดล้อม

โชคดีที่ผม เลี้ยงเค้าท่ามกลางธรรมชาติในสวน ขยันเปลี่ยนน้ำบ่อย ๆ ตัวเค้าสะอาด เค้าก็ไม่เครียด ...

แต่นี่ก็คือประสบการณ์ครับ คุณครูตุ๊กตา...

เลี้ยงให้เค้าเติบโต  ไม่ยาก ครับ อยู่ที่เราดูแลเค้าอย่างไร

ขอบพระคุณ ครับ

สวัสดี ครับ คุณ คนไม่มีราก

ผมไปที่ สถานที่แห่งนี้ 2 ครั้ง ตอนไปดูวิธีเลี้ยงกบ และไปเอาลูกกบที่สั่งซื้อเอาไว้

ทุกครั้งที่ไป ก็อยากเจอครูประยงค์  เช่นกัน ครับ แต่ท่านภาระกิจเยอะมาก การไม่ได้เจอท่าน....จึงเป็นเรื่องธรรมดา แต่สิ่งที่ไม่ธรรมดา ก็คือ ที่ศุนย์แห่งนี้ บุคลากรที่นี่..มีน้ำใจนะครับ คุณคนไม่มีราก  ทั้งลุงจร ป้าผิว

มีโครงการ ประกอบอาชีพเลี้ยงตัวที่ศุนย์แห่งนี้ให้ความรู้ด้วย นะครับ ไม่ว่า การทำขนมจีน การทำถ่านจากวัสดุเหลือใช้ และทำปุ้ยหมักชีวภาพ โครงการแน่นมาก ....ที่สำคัญผู้คนจากทั่วสารทิศ มาเยี่ยมเยียนที่ศูนย์ฯแห่งนี้ มาก เพราะของดี ที่มีไว้ให้ มิใช่การซื้อขาย  ...ชื่นชมท่านครูประยงค์ เช่นกัน ครับ

สวัสดี ครับ ครูแป๋ม

  • คุณแสงเป็นแบบอย่างในการแสวงหาความรู้ที่เยี่ยมยอดมากค่ะ
  • อยากรู้เรื่องการเลี้ยงกบก็ไปหาตำรับตำรามาอ่าน ไปหาปราชญ์ชาวบ้าน นับเป็นประสบการณ์ที่ใช้พลังแห่งชีวิต…จึงต้องเรียนรู้และสัมผัสด้วยตัวเองที่ดีมากๆค่ะ
  • ชื่นชมกับแนวคิด บวกวิถีชีวิตที่เรียบง่าย บูรณาการกับการเป็นคนยุคใหม่ที่หัวใจยังยึดขนบเดิม..ตัวแบบที่ดีจริงๆค่ะ
  • ผมเรียนรู้...และลองใช้ชีวิตไปคามที่ใจปรารถนา

    เพราะผมคิดเสมอว่า....ชีวิตคนเราหากไม่ได้ลองลงกระทำด้วยตนเองก้จะไม่รู้ว่า ผลลัพธ์เป็นเช่นไร

    การเลี้ยงกบ ..ถือเป็นประสบการณ์ที่ทรงคุณค่าในชีวิต ครั้งหนึ่ง

    หากวันไหน ถ้ามีโอกาส ได้ถ่ายทอด ประสบการณ์ชีวิตที่ตัวเองได้สัมผัส

    และเล่าสู่ลูกหลาน....ให้รู้จักคิดและลงมือกระทำบ้าง

    ผมคงมีความสุขไม่น้อย เมื่อยามที่ตัวเองแก่เฒ่าไป

    ...

    ขอบคุณครูแป๋ม นะครับ

     

    สวัสดี ครับ พี่ใหญ่ นาง นงนาท สนธิสุวรรณ

    วันนี้ฝนตก..เดินผ่านบ่อกบ...ที่ปัจจุบันเปลื่ยนไปเลี้ยงปลาสวยงาม แล้ว...มีทั้งปลาสอด ปลาหางนกยูง ปลารักเร่ ปลาเงินปลาทอง ปลาบอลลูน..

    เด็ก ๆ เลี้ยงไว้...หลายร้อยตัวเลยครับ พี่ใหญ่

    เมื่อปลาเหล่านี้ ออกลูกออกหลาน..ก็นำไปขายได้ ตัวละ 1-2 บาท 

    ลูกปลาเหล่านี้ เกิดเร็วมาก ครับพี่ใหญ่

    คิดว่า...สัปดาห์หน้า จะเอาไปขาย คงได้ประมาณ 100 ตัวเห็นจะได้ ครับ...

    ปลาของดวงใจ ..เมื่อเค้าเห็นเม็ดเงิน...จากการเลี้ยงปลาสวยงาม เค้าคงดีใจ ...ไม่น้อย

    ..

    สิ่งนี้แหละครับ...เป็นแรงจูงใจ ให้เด็กเห็นความมานะของตนเอง ที่เลี้ยงปลาไว้ นอกจากความเพลิดเพลิน แล้ว ก็สามารถ ขายได้ด้วย

    ...

    ขอบคุณพี่ใหญ่มาก นะครับ

     

    สวัสดีครับ คุณ

     

    P

    Sila Phu-Chaya

    บันทึกนี้ยอดเยี่ยมมากค่ะเป็นตัวอย่างการถอดประสบการณ์บทเรียน ที่มีคุณค่า อยากเห็นบันทึกลักษณะแบบนี้บ่อย ๆ นะคะ ชอบมากค่ะ ช่วยกันส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านบลีอก G2K โดยทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้ชุมชนค่ะ คุณแสงแห่งความดีสมควรได้รับการยกย่องในฐานะนำเสนอสิ่งดีงามของชุมชนมาเผย แพร่...ระลึกถึงเสมอนะคะ
    ขอบคุณ คุณ sila มาก นะครับ
    ระยะหลังไม่ค่อยเห็นคุณ sila เลยนะครับฃ
    หากพอมีเวลาแวะมาเขียนบันทึกที่นี่บ้าง นะครับ
    Ico32
    ยินดี ครับ
    การเลี้ยงสิ่งมีชีวิต บางครั้งผมก็รู้สึกเช้นนั้น ครับ
    หากแต่สิ่งที่เราเลี้ยง เราเลี้ยงด้วย ความรู้สึกว่า เราเลี้ยงเพื่อการดำรงชีวิต
    ...
    ขอบคุณ ครับ

    สวัสดี ครับ คุณหมูอวย

    ขอบคุณมาก นะครับ

     

    สวัสดี ครับ คุณครูต้อย

    krutoiting

    ธรรมชาติรอบตัวเรานี่ให้ข้อคิด ให้ความรัก

    ความเอื้ออาทร ห่วงใย และให้ความสุข

    มีและเกิดขึ้น แต่ทุกสิ่งทุกอย่างต่างมีเหตุผลในตัวเอง

    ขอบคุณค่ะ กับประสบการณ์ตรงที่แบ่งปัน

    มิตรภาพสามารถแสดงได้ในหลาย ๆ อย่าง การแบ่งปันองค์ความรู้ ประสบการณ์ชีวิต จึงเป็นช่องทางที่มิตรภาพ สามารถเบ่งบานได้

    ขอบคุณครูมากนะครับ

    สวัสดี ครับ คุณครูตุ๊กตา

    Ico48

    ถึงแม้ว่า..กบจะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงค่อนข้างยาก

    หากว่า..เราใส่ใจและตั้งใจทำแล้ว

    ไม่มีสิ่งใดที่ยากเกินกว่าที่เราจะทำหรอกนะครับครู

    บันทึกนี้ ผมบันทึกไว้อย่างละเอียด และน่าจะนำไปใช้ได้จริงเลย ละครับครู

    ประสบการณ์ตรงเนี่ย! ดีกว่าตำราเล่มไหน ๆ ซะอีก

    ขอบคุณครูมากนะครับ

    ขอบคุณดอกไม้กำลังใจจากคุณหยั่งราก ฝากใบ นะครับ

    บันทึกนี้เป็นบันทึกการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงครับ

    ขอบคุณมากๆครับ

    ครั้งหนึ่งในชีวิตที่เคยทำ..

    และเป็นบทเรียนให้กับชีวิตเช่นกันครับ อาจารย์ขจิต ครับ

    ..

    ขอบคุณมากนะครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท