"การจัดกระบวนการเพื่อสร้าง Portfolio" ให้กับตนเอง


ก่อนที่เราจะพูดเรื่องอะไรนั้น เราควรทดลองทำด้วยมือของเราเองก่อน เพราะทำให้เรามีข้อมูลจริงจากการปฏิบัติของตนเองไปแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นได้อย่างสง่างาม....

   ประสบการณ์ เพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานที่ถ่ายทอดสู่บุคลากรในการทำงานส่งเสริมการเกษตร  สิ่งสำคัญที่หลีกหนีไม่ได้กับความเปลี่ยนแปลงของภาวะปัจจุบันที่ข้าราชการควรเก็บและรวบรวมผลการปฏิบัติงานที่ตนเองได้กระทำขึ้น เป็นสิ่งยืนยันถึงผลงานที่ตนเองได้ทำหน้าที่และ ปฏิบัติภารกิจ

   "ความคิดดังกล่าว" จึงนำไปสู่การค้นหาเครื่องมือที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับตนเอง  ดิฉันจึงนำเอา Portfolio หรือ แฟ้มสะสมผลงาน ที่วงการศึกษา หรือ ครูมาประยุกต์ใช้ในการทำงานของดิฉัน  ดังนั้น จึงได้ออกแบบกระบวนการที่จะจัดทำหรือสร้าง Portfolio เป็นของตนเองซึ่งเรียกว่า จัดกระบวนการเพื่อสร้างแฟ้มสะสมงานให้กับตนเอง  สิ่งนี้ เป็นงานที่ดิฉันได้ทดลองตั้งคำถามและทดลองตอบตนเองในการจัดทำงานดังกล่าว โดยเริ่มจาก

     คำถามที่ 1 ถ้าดิฉันต้องการทำ Portfolio นั้น ดิฉัน...จำเป็นต้องมีความรู้อะไรบ้าง ?

       คำตอบที่เกิดขึ้นคือ  ดิฉันต้องศึกษาและค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับ Portfolio คืออะไร  มีประโยชน์อะไรบ้าง  ใช้ทำงานอะไรได้  มีกี่รูปแบบ  มีกี่ประเภท  รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร และลองไปค้นหาตัวอย่างของครูและนักเรียนที่ทำนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งผลที่เกิดขึ้น คือ หลักการและวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ Portfolio

     คำถามที่ 2 แล้วที่บอกว่า "Portfolio" นั้นสามาถนำไปใช้ในการประเมินผลงานได้ "เขาทำกันอย่างไร?" และ "เขาต้องดูอะไรกันบ้าง?"

       คำตอบคือ  ดิฉันก็ไปศึกษาตัวอย่างการประเมินแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นหลักการวิชาการจริง ๆ จากหนังสทอและตำราต่าง ๆ ที่ผู้รู้เขียนขึ้นมาจำหน่วยและเผยแพร่  และดิฉันก็ไปดูตัวอย่างของจริงที่เป็นแฟ้มสะสมงานของครูที่ใช้ประเมินผลงานเพื่อปรับระดับตำแหน่ง  ตลอดจนไปดูตัวอย่างของจริงที่เป็นแฟ้มสะสมผลงานของเด็กนักเรียนที่เป็นวิชาต่าง ๆ รายคน  ดังนั้น ผลที่เกิดขึ้นคือ เริ่มมีความเข้าใจถึง "รูปร่างหน้าตาของ Portfolio  ประโยชน์  และการนำไปประยุกต์ใช้กับงานของเราเอง"

     คำถามที่ 3 แล้ว Portfolio ของดิฉันเองละ...จะมีเรื่องอะไรบ้าง?

      คำตอบคือ  ดิฉันจะต้องจัดทำแผนงานที่ปฏิบัติ  ดิฉันจะต้องบันทึกการปฏิบัติงานเป็นรายวัน  ดิฉันจะต้องสรุปงานออกมาเป็นรายเดือน ครึ่งปี  และปี  ดิฉันจะต้องรายงานผลการไปปฏิบัติราชการทุกครั้ง  ดิฉันจะต้องสรุปผลการปฏิลบัติงานที่ตนเองปฏิบัติ  และดิฉันจะต้องสรุปผลการเรียนรู้และพัฒนาตนเองที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน

     คำถามที่ 4 ตกลงแล้ว...ดิฉันจะออกแบบ Portfolio ของตนเองเป็นแบบไหน? มีอะไรบ้าง?

       คำตอบ คือ  ส่วนที่ 1  บทบาทหน้าที่และภารกิจที่ตนเองปฏิบัตินั้นมีว่าอะไรบ้าง? 

                        ส่วนที่ 2  แผนการปฏิบัติงานที่ตนเองวางไว้มีว่าอย่างไร?  อะไรที่ได้ทำ  อะไรที่ไม่ได้ทำ  เพราะอะไร?  และการปรับแก้แผนการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นและทำจริงนั้นมีอะไรบ้าง? ของปีงบประมาณ 2549

                        ส่วนที่ 3  บันทึกการไปปฏิบัติราชการ ได้แก่  ประเด็นที่ 1 ไปทำอะไร กับใคร ที่ไหน เรื่องอะไร และ เมื่อไหร่  ประเด็นที่ 2  สรุปผลงานและเนื้อหาที่เกิดขึ้นมรอะไรบ้าง? (ได้อะไรบ้าง)  ประเด็นที่ 3  การเรียนรู้ของตนเองมีอะไรบ้าง?  ประเด็นที่ 4  ข้อเสนอแนะที่เกิดขึ้นมีว่าอย่างไร?  และ ประเด็นที่ 5  งานที่เห็นควรและจะดำเนินการในครั้งต่อไปมีอะไรบ้าง?

                        ส่วนที่ 4  งานเขียนที่ตนเองได้จัดทำและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ นั้นมีอะไรบ้าง?  รู้ร่างหน้าตาเป็นเช่นไร  ใช้ช่องทางไหน  และเกิดขึ้นเมื่อไหร่

                        ส่วนที่ 5  สรุปผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นทั้งหมดมีว่าอย่างไร มีกี่เรื่อง ๆ อะไรบ้าง  ผลงานหรือค้นพบอะไรบ้าง/เป็นอย่างไร  ข้อเสนอแนะที่ควรดำเนินงานหรือพัฒนามีอะไรบ้าง  และงานที่เห็นควรปฏิบัติต่อเนื่องนั้นมีอะไรบ้าง 

                        ส่วนที่ 6  การเรียนรู้และการพัฒนาตนเองที่เกิดขึ้นมีเรื่องอะไรบ้าง  สรุปได้ว่าอย่างไร  และตนเองจะเรียนรู้อะไรต่อไปบ้าง

   สิ่งนี้คือ การจัดกระบวนการเพื่อออกแบบและสร้าง "แฟ้มสะสมงาน" ที่เป็น Portfolio สำหรับ  ตัวดิฉันเอง โดยเริ่มจากการบันทึกงานที่ปฏิบัติประจำวัน  การสรุปงานเป็นรายเดือน  การรายงานผลการปฏิบัติงานในรอบ 6 เดือนแรก  และ การสรุปผลงานที่ทำเป็นรายปี  ซึ่งมีประเด็นที่ดิฉันแก้ไขและปรับเปลี่ยนตลอดเวลาตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น "ทำไปแก้ไป" เพราะเป็นการเรียนรู้ของตนเอง

   ดังนั้น ความคิดและการปฏิบัติดังกล่าวจึงเริ่มนำสู่การขยายและถ่ายโอนให้กับบุคคลเป้าหมายที่เริ่มจาก  1)  ทำให้ติดชื่อของคำว่า " Portfolio"  โดยใช้ระยะเวลา ประมาณ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2546 ถึงปัจจุบัน  2)  นำเอกสารไปให้อ่าน หรือ แจกเอกสาร Portfolio ในปี 2546-2547 3) นำไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำ โดยให้กลุ่มเป้าหมายทดลองทำเอง ในปี 2548 ถึงปัจจุบัน  และ 4) ถ่ายโอนความรู้และประสบการณ์ที่ตนเองทำ ได้แก่  หลักการและวิชาการ  การออกแบบ Portfolio และการประเมินผล ซึ่งในปี 2549 กำลังดำเนินการกับงานชิ้นดังกล่าว

   ทั้งนี้ถ้ากลุ่มเป้าหมายเห็นว่า "เครื่องมือ" ชิ้นนี้มีประโยชน์สำหรับตนเองแล้ว ย่อมจะต้องขวนขวายเรียนรู้  แต่เรามีหน้าที่จัดกระบวนการเพื่อให้เขารู้เข้าใจ และทำเป็น เพราะเป็นการนำความรู้และผลงานในงานส่งเสริมการเกษตรออกสู่สาธารณชนอย่างเป็นรูปธรรม.

                                      ศิริวรรณ  หวังดี

                                    26 พฤษภาคม 2549

หมายเลขบันทึก: 30993เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2006 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้ดีเช่นนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท