ฟิลิปปินส์ : ขบวนการชาตินิยมของชาวฟิลิปปินส์


 
ขบวนการชาตินิยมในฟิลิปปินส์
ภูมิหลังและการเข้ามาชาติตะวันตก
                สภาพดั่งเดิมของฟิลิปปินส์ อยู่ในสภาพของยุคหินใหม่ ยังไม่ได้รับอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียและจีน ดังเช่นประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชนชาวพื้นเมืองดั่งเดิมเป็นชนเชื้อสายอินโดนีเซีย – มาเลย์เซีย ซึ่งอพยพเข้ามาตั่งถิ่นฐานบริเวณเกาะต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์ การมาตั้งถิ่นฐานนั้น มาโดยเรือเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละกลุ่มแยกย้ายไปตั้งหมู่บ้านเรีนกว่า บารังไก (Barangay) ตามชื่อเรือที่ใช้อพยพมา มีหัวหน้าหมู่บ้านเรียกว่า ดาดู (Datu) ซึ่งเคยเป็นกัปตันเรือ การตั้งหมู่บ้านจะกระจายไปตามเกาะ ทำให้การติดต่อระหว่างกันไม่ค่อยมี ส่วนในด้านการปกครองนั้นเป็นแบบพ่อปกครองลูก โครงสร้างทางการปกครองเป็นแบบง่าย ๆ มี ๔ ชนชั้นคือ ดาตู แลครอบครัว ขุนนาง อิสระชน ทาส
              ในส่วนของกฎหมายและกฎระเบียบการปกครองนั้นยังไม่มี สถาบันที่สำคัญคือ ศาสนา ซึ่งมีพ่อมดหมอผีเป็นผู้มีอิทธิพลในสังคม จากการนับถ่อศาสนาเป็นแบบ นับถือภูตผี บูชาธรรมชาติ พวกเขาเชื่อว่ามีพระผู้สร้างโลกสูงสุด คือ บาฮารา (Bathala) และบาอารามีสาวก ฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว เรียกว่า ดิวาทาส (Diwatas) เป็นผู้กำหนดการประกอบพิธีบวงสรวง เทพฝ่ายดีและฝ่ายชั่วคือ พ่อมด หมอผี ว่าจะประกอบพิธีเมื่อไหร่ ที่ใด สถานที่ประกอบพิธีนั้นไม่มีเฉพาะ พ่อมด หมอผีจะเป็นผู้กำหนด ที่เป็นดังนี้เพราะสภาพภูมิศาสตร์ และสภาพธรรมชาติของหมู่เกาะ ซึ่งฟิลิปปินส์นั้นมีภัยธรรมชาติอยู่เนือง ๆ จึงทำให้พ่อมด หมอผีมีอิทธิพลต่อประชาชนมาก และมากกว่าหรือเท่ากับดาตู อีกทั้งยังได้รับค่าประกอบพิธี เครื่องเส้นสังเวยจากประชาชนเป็นจำนวนมาก
              ทางด้านเศรษฐกิจนั้น ประชาชนทำการเกษตรและการประมง ไม่มีการค้าขาย มีแต่การแลกเปลี่ยนสินค้า และไม่มีการใช้เงินตรา นาน ๆ ครั้งจะมีพ่อค้าต่างชาติแวะมาจอดเรือแลกเปลี่ยนสินค้า
               สเปนสนใจฟิลิปปินส์ เพราะต้องการมีส่วนร่วมในการค้าเครื่องเทศในบริเวณหมู่เกาะเครื่องเทศ แต่ไม่สามารถเข้าไปได้ เพราะถูกโปรตุเกสกีดกัน อิทธิพลและอำนาจของโปรตุเกสมีมากกว่าสเปน ตามข้อตกลงการทำสัญญาแบ่งเขตการสำรวจดินแดน ระหว่างโปรตุเกสกับสเปนนั้น สเปนทำการสำรวจได้เฉพาะหมู่เกาะฟิลิปปินส์เท่านั้น สรุปจุดมุ่งหมายการเข้ามาของสเปนในฟิลิปปินส์ดังนี้
  1. เพราะต้องการตกลงกับโปรตุเกส โดยการขอมีส่วนร่วมในการค้าเครื่องเทศ
  2. ต้องการเมืองท่าค้าขายกับจีน
  3. ต้องการเผยแพร่ศาสนาคริสต์
              เนื่องจากสภาพสังคมของฟิลิปปินส์ยังอยู่ในสภาพที่ยังไม่พัฒนา คือยังไม่ได้รับอิทธิพลจากภายนอก สภาพยังค่อนข้างดำรงอยู่ในรูปแบบของยุคหินใหม่ ดังนั้น วิธีการขยายอิทธิพลจึงมี ๒ วิธีคือ
           การเผยแพร่ศาสนาคริสต์
           การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ให้กับชนพื้นเมือง โดยนำคณะมิชชันนารีเข้ามา ทำการผูกมิตรกับชาวพื้นเมือง โดยเฉพาะพวกดาตู คณะมิชชันนารีขออนุญาตดาตูสร้างโบสถ์เพื่อเผยแพร่ศาสนา วิธีการเผยแพร่ศาสนานั้น สเปนพยายามไม่ให้เกิดความชัดแย้งกับความเชื่อทางศาสนาดั่งเดิมของคนพื้นเมือง แต่ได้โยงความเชื่อเดิมของชาวพื้นเมืองให้เข้ากับศาสนาคริสต์ คือ บาฮารา เทพสูงสุดที่ชาวพื้นเมืองนับถือแท้จริงแล้วคือ พระเยซูคริสต์ นั่นเอง ส่วน ดิวาทาส ซึ่งมีรูปดีและรูปชั่วนั้น พระเยซูคริสต์ หรือ พระบุตรจะเป็นสาวกเพียงองค์เดียวที่จะไถ่บาปให้มวลมนุษย์ทั้งมวล การประกอบพิธีใด ๆ ในโบสถ์นั้นประชาชนจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้นดังที่เคยผ่านมาที่เสียให้กับพ่อมดหมดผี จึงทำให้ประชาชนหันมาเข้ารีตเป็นจำนวนมาก
              การใช้กำลังทหาร
               สเปนจำเป็นต้องใช้กำลังทหารในดินแดนที่พวกพ่อมด หมอผีมีอิทธิพลอยู่ และต่อต้านสเปน เพราะพระสเปนทำให้พวกเขาเสียผลประโยชน์จากการที่ประชาชนเลิกพิธีกรรมที่เคยปฏิบัติมา พวกเขาเหล่านั้นทำสงครามต่อต้านสเปน โดยที่ประชาชนบางกลุ่มที่ยังศรัทธาในพิธีกรรมแบบเดิมสนับสนุน แต่ยุทธปัจจัยที่เหนือกว่า ทำให้สเปนจัดการได้
             
            สเปนสามารถเข้าปกครองฟิลิปปินส์ได้โดยไม่ต้องใช้การทำสงครามากนัก เพราะการที่ทำให้ประชาชนศรัทธาในศาสนาคริสต์ ทำให้ประชาชนยกดินแดนให้วัด และยอมให้สเปนเข้ามาปกครองในฐานะผู้อุปถัมภ์ศาสนาคริสต์ ถ้าจงรักภักดีต่อพระเยซูคริสต์ ก็ต้องจงรักภักดีต่อรับบาลสเปน ประชาชนฟิลิปปินส์ยินยอมให้สเปนออกกฎหมายในการปกครองในฐานะประชากรชั้นที่ ๒
 
การปกครองของสเปน
             หลังจากที่สเปนขยายอำนาจในฟิลิปปินส์ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๕๖๕ และได้ขยายอำนาจเข้าไปครอบครองเกาะต่าง ๆ ได้ทั้งหมด สเปนได้ปกครองฟิลิปปินส์ ๓ ระยะคือ
ระยะที่ ๑
            เริ่มตั้งแต่สเปนมาถึงฟิลิปปินส์ ปี ค.ศ. ๑๕๖๕ คือการเข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ และได้ที่ดินจากการที่ประชาชนถวายที่ดินให้วัดด้วยความศรัทธา สเปนปกครองโดยใช้ระบบศักดินา โดยมีผู้แทนปกครองเรียกว่า Encommiendoro ปรกครองเป็นเขต ๆ หรือระบบ Encommienda
ระยะที่ ๒
           เมื่อสเปนได้ดินแดนทั้งหมด (ค.ศ. ๑๕๙๘ – ๑๘๒๑) สเปนให้ดินแดนที่ปกครองนี้ว่า ฟิลิปปินส์ ตามพระนามของพระเจ้าฟิลิปปินส์ ที่ ๒ ของสเปน ปกครองผ่านอุปราชที่แม็กซิโก ซึ่งเป็นอาณานิคมหนึ่งของสเปน
ระยะที่ ๓
           ค.ศ. ๑๘๒๑ – ๑๘๙๘ สเปนใช้วิธีการปกครองโดยตรง เพราะแม็กซิโกเป็นเอกราช
           เนื่องจากระบบการปกครองเดิมของฟิลิปปินส์ เป็นระบบการปกครองแบบพ่อปกครองลูก เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน สเปนจึงนำระบบการปกครองของสเปนมาใช้ทั้งหมด โดยจัดระบบการปกครองเดิมของฟิลิปปินส์ คือ บารังไก และ ดาตู เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการปกครอง แต่เป็นหน่วยเล็กที่สุดของการปกครอง คือตำบล และรวมตำบลเข้าเป็นอำเภอ และจังหวัดตามลำดับ โดยคณะผู้บริหาร ตั้งแต่รัฐบาลกลาง ถึงนายอำเภอเป็นชาวฟิลิปปินส์ทั้งสิ้น ดาตู เป็นเพียงกลุ่มเดียวที่มีอภิสิทธิ์เหมือนชาวสเปน คือรับราชการและเป็นเจ้าของที่ดินได้
           สเปนปกครองร่วมกัน ๒ ฝ่าย ระหว่างศาสนาจักรและอาณาจักร คือข้าหลวงใหญ่ คณะเจ้าหน้าที่ปกครอง และสภาบริหาร สเปนปกครองประชาชนชาวพื้นเมืองเป็นผลเมืองชั้นที่ ๒
          ในด้านเศรษฐกิจนั้น สเปนนำมาตรการทางเศรษฐกิจมาใช้กับฟิลิปปินส์คือ ระบบ Polo System ซึ่งกำหนดให้ชาวพื้นเมืองต้องอุทิศแรงงานให้กับทางราชการ โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนใด ๆ นอกจากอาหารประจำวัน ทำให้คนพื้นเมืองไม่พอใจ
         นอกจากนี้ยังมีระบบ Vandala System กำหนดให้ชาวพื้นเมืองขายผลิตผลให้ทางราชการและข้าราชการตอบแทนเป็นเงิน ระบบนี้ทำให้เกิดการใช้เงินตราในประเทศฟิลิปปินส์ และการบังคับให้ชาวพื้นเมืองขายผลิตผลให้ทางราชการเพราะฟิลิปปินส์ไม่มีผลิตผลหลัก ดังที่อินโดนีเซียมีเครื่องเทศ จึงต้องใช้วิธีนี้เพื่อสเปนจะได้มีผลผลิตไปขายได้
ด้านจัดการที่ดิน นั้น ดาตู มีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมดในหมู่บ้าน เพราะถือว่า ดาตู เป็นข้าราชการ ประชาชนไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน และที่ดินทั้งหมดจะเป็นของรัฐบาล ข้าราชการและวัด ผลจากการจัดการทางเศรษฐกิจของสเปน
    • ทำให้เกิดการค้าการแลกเปลี่ยน และการใช้เงินตรา
    • มีการผลิตเพื่อการส่งออก โดยชาวสเปนและชาวต่างชาติ
    • สเปนควบคุมการค้าภายในและภายนอกประเทศ
              สเปนปิดประเทศฟิลิปปินส์ไม่ให้ชาติอื่นเข้ามาค้าขายยกเว้นชาวจีน แต่สเปนก็ยังขาดทุน เพราะฟิลิปปินส์ไม่มีสินค้าหลัก ในระยะหลังสเปนจึงเปิดประเทศ ให้ชาติอื่น ๆ เข้ามาค้าขาย เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาลสเปน ยอมทำตามเงื่อนไขของรับบาลสเปนเช่น การเกณฑ์แรงงานชาวพื้นเมืองให้รับใช้ทางราชการ
             การปกครองของสเปนได้สร้างปัญหาให้กับประชาชนคือ
    1. ประชาชนไม่มีสิทธิ์เข้ารับราชการ ไม่มีส่วนร่วมในการปกครอง
    2. ไม่มีโอกาสในการศึกษา
    3. ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เป็นลูกจ้างหรือทาสในที่ดิน
    4. ถูกบังคับใช้แรงงาน
    5. เสียภาษีให้รัฐบาลสเปนตามที่สเปนเรียกเก็บ
    6. บังคับให้ชาวพื้นเมืองขายผลผลิตให้ทางราชการในราคาต่ำ ตามที่ราชการกำหนด เป็นต้น
 
            การเข้ามาและการปกครองของสหรัฐอเมริกาในฟิลิปปินส์
           สืบเนื่องจากการทำสงครามระหว่างสเปนกับสหรัฐอเมริกา ในปัญหาคิวบา การรบได้ขยายอาณาบริเวณจากทะเลแคริเบียนมาสู่มหาสมุทรแปรซิฟิก ในฐานะที่ฟิลิปปินส์เป็นกำลังสำคัญในสเปน ทำให้อเมริกามุ่งโจมตีกองทัพเรื่องของสเปนในฟิลิปปินส์ อเมริกามีคำสั่งให้นายเรือจัตวา ดิวอี้ เข้าโจมตีสินลาในวันที่ ๑ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๙๘ และสามารถทำลายกองทัพเรือของสเปนได้ทั้งหมด ผลจากการสำเร็จของเอมริกานั้น ส่วนหนึ่งได้รับการช่วยเหลือจากขบวนการชาตินิยมในฟิลิปปินส์เองที่ต้องการจะต่อต้านสเปน ชาวฟิลิปปินส์ต้องการที่จะตั้งรัฐบาลของตนเองขึ้น แต่ก็ไม่เป็นผลดังที่ตั้งไว้ เพราะสหรัฐอเมริกาประกาศเข้าครอบครองฟิลิปปินส์ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาปารีส ค.ศ. ๑๘๙๙ ทำให้ขบวนกาชาตินิยมในฟิลิปปินส์เข้าต่อต้านสหรัฐอเมริกา อมเมริกาสามารถปราบขวบการชาตินิยมได้ในปี ค.ศ. ๑๙๐๑ (ศิวพร ชัยประสิทธิกุล, ผศ., ๒๕๓๐ : ๓๗)
             สหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์เพราะเห็นคุณค่าของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ทางด้านการค้าและการคมนาคมเพื่อเป็นฐานสู่เอเชียตะวันออก สหรัฐอเมริกาเป็นความจำเป็นต้องปกครองฟิลิปปินส์อย่างไม่เป็นการถาวร ทั้งที่รู้ดีว่าหมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็นที่ต้องการของ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น และไม่อาจมอบหมู่เกาะฟิลิปปินส์ให้แก่ชาวฟิลิปปินส์ได้ปกครองตนเองได้เพราะ ด้อยพัฒนาในทุกด้าน เป็นเหตุให้ประธานาธิบดีแมคคิลเลย์แห่งสหรัฐอเมริกาตัดสินใจเข้าปกครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์ในระวะเวลาหนึ่ง และทำการปลดปล่อยในอนาคตเมื่อ ฟิลิปปินส์มีความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจ (อรพินท์ ปานนาค ,รศ., ๒๕๕๑ : ๓๖)
            ฟิลิปปินส์ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา (สีดา (เจนตีร์) สอนศรี, ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ : ๒๑ – ๒๖)
             ด้านสังคม
  1. ให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวพื้นเมืองมากกว่ารัฐบาลสเปน ยกฐานะของสตรีให้สูงขึ้น
  2. จัดระบบการศึกษาที่ทันสมัยให้แก่ฟิลิปปินส์ บังคับให้เรียนชั้นประถม ปี ๑ – ๖ จัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่ชาติและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ดำเนินการโดยเอกชนและหมอสอนศาสนาโปรแตสสแตนท์
  3. จัดให้มีสวัสดิการแก่ชนชั้นกรรมกร สงเสริมความยุติธรรมทางสังคมคุ้มครองแรงงานสตรีและเด็ก การทำงานมีค่าจ้าง
  4. ด้านที่ดิน ผู้เช่าจะต้องทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
  5. โอนคริตสจักรสเปนให้พระพื้นเมือง
ด้านเศรษฐกิจ
  1. ปรับปรุงแผนเศรษฐกิจ ควบคุมการค้าและภาษีของฟิลิปปินส์ ปรับปรุงธนาคารทางการเกษตรและอุตสาหกรรม มีการตั้งตั้งองค์กรมากมายเช่น องค์กรผลิตอาหารแห่งชาติ องค์กรข้าวโพดและข้าว องค์กรการทำน้ำตาลเป็นต้น
ด้านการเมือง
  1. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง ฝึกให้ประชนรู้จักการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย ในปี ค.ศ. ๑๙๐๒ สหรัฐอเมริกาได้ออก Philippine Act กำหนดให้สภาฟิลิปปินส์มีสภาผู้แทน ตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติ
  2. ในปี ค.ศ. ๑๙๓๔ ประธานาธิบดีรูสเวลท์ได้ลงนามใน Tyding Mcdiffie Act กำหนดให้ฟิลิปปินส์เป็นเอกราชในอีก ๑๐ ปี หลังจากประการใช้กฎหมายฉบับนี้แล้วก็เริ่มร่างรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะใช้วิธีการปกครองฟิลิปปินส์ดีเพียงใด แต่ก็ยังเกิดปัญหาที่สำคัญ ๒ ประการคือ (สีดา (เจนตีร์) สอนศรี, ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ : ๒๔)
  1. ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทางสังคมเศรษฐกิจและการเมือง (Social, economic and Political Mobitity) ทำให้เกิดชนชั้นกลาง และปัญญาชนขึ้น ซึ่งคนพวกนี้เป็นหลักสำคัญในการสร้างชาติ และรับถ่ายทอดการดำเนินงานการปกครองตราบเท่าทุกวันนี้ แต่การพัฒนานั้นเกิดขึ้นเฉพาะที่เมืองใหญ่ ๆ เท่านั้น ส่วนเมืองตามภูมิภาคนั้น การพัฒนาไม่สามารถไปได้ทั่วถึงได้
  2. ชนกลุ่มน้อยที่ร่ำรวยเข้ามาควบคุมกิจการของประเทศ ได้แก่ชาวจีน และชาวอเมริกัน เศรษฐกิจส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้ชนกลุ่มน้อยเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้น
ขบวนการชาตินิยมของชาวฟิลิปปินส์ในการต่อต้านสเปน
 
             ผลจากการปกครองของสเปนในฟิลิปปินส์ ที่ไม่ให้ชาวพื้นเมืองเป็นเจ้าของที่ดิน ไม่มี ส่วนร่วมในการปกครองตนเอง การกอบโกยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และมาตรการทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ทำให้คนพื้นเมืองเดือนร้อน ชาวพื้นเมืองต่อต้านสเปน การต่อต้านในระยะแรกนั้นเป็นการกบฏต่อต้านจากลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเท่านั้น คือพวกทหารที่ถูกเกณฑ์ พวกพระที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการเลื่อนตำแหน่งทางสงฆ์ และชาวพื้นเมืองที่ถูกเกณฑ์แรงงานไปใช้ในราชการ เช่น สร้างถนน สร้างสถานที่ราชการ
              กลุ่มกบฏเหล่านี้ถูกปราบปรามได้โดยง่าย เพราะเป็นกลุ่มเล็ก และเกิดขึ้นประปราย ดังนั้นกลุ่มปัญญาชนจึงให้ความสนใจให้ความช่วยเหลือ โดยการจัดพิมพ์สื่อเพื่อชี้แจง ให้รัฐบาลสเปนปรับปรุงการปกครองให้คนพื้นเมือง มีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ทางรัฐบาลสเปนไม่สนใจ ทำให้เกิดนักปฏิวัติต้องการขับไล่สเปนออกไป ซึ่งสรุปสาเหตุเกิดขบวนการชาตินิยมได้ดังนี้
  1. การเปิดคลองสุเอช เชื่อระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลคิวบาเป็นผลให้การเดินทางเข้าสู่ทวีปเอเชียได้สะดวกขึ้น ทำให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาสู่ประเทศฟิลิปปินส์มากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิเสรีภาพ และการเป็นเจ้าของที่ดิน
  2. การที่สเปนเปิดประเทศฟิลิปปินส์ให้ชาติต่าง ๆ เข้ามาทำการค้า นอกจากการทำให้คนพื้นเมืองรู้จักคนภายนอกแล้ว ยังมีรายได้จากการค้าขาย คนพื้นเมืองมีโลกทัศน์กว้างมากขึ้น และอิทธิพลแนวคิดทางด้านเสรีนิยมเข้ามาเผยแพร่ในฟิลิปปินส์
  3. การที่สเปนพัฒนาที่ดินทำการเกษตรขนาดใหญ่ เพื่อการส่งออกและการตัดถนน เพื่อทำการขนส่งสินค้า ทำให้คนพื้นเมืองมีโอกาสพบปะกัน แลกเปลี่ยนความรู้สึกกันได้ใกล้ชิดกันกว่าก่อน จึงเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมกลุ่มกันต่อต้านสเปน
  4. การที่คนพื้นเมืองไม่มีสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา เช่นตอนใต้ที่นับถือศาสนาอิสลาม แต่กลับถูกบังคับให้นับถือสาสนาคริสต์ การกีดกันพระพื้นเมืองใช่ไม่ให้เลื่อนตำแหน่งทางศาสนา
  5. การใช้มาตรการทางเศรษฐกิจระบบ Polo System และ Vandala System การใช้แรงงานประชาชน การบังคับซื้อผลผลิตจากประชาชนในราคาถูก ทำให้คนพื้นเมืองไม่พอใจ
  6. การแยกกฎหมายแยกประชาชนชาวพื้นเมืองออกจากชาวสเปน ทำให้ชาวพื้นเมืองเป็นประชากรชั้นที่ ๒ (ศิวพร ชัยประสิทธิกุล, ผศ., ๒๕๓๐ : ๕๐ - ๕๒)
ขบวนการชาตินิยมเกิดขึ้น ๓ ระยะคือ
ระยะการกบฏ และการต่อต้านในระดับท้องถิ่น (ค.ศ. ๑๕๖๕ – ๑๘๗๒)
ระยะขบวนการหาเสียงและโฆษณาชวนเชื่อ(ค.ศ. ๑๘๗๒ – ๑๘๙๒)
ระยะของการปฏิวัติ (ค.ศ. ๑๘๙๒ – ๑๘๙๘)
๑. ระยะการกบฏ และการต่อต้านในระดับท้องถิ่น (ค.ศ. ๑๕๖๕ – ๑๘๗๒)
เริ่มจากการที่สเปนเข้าปกครองตั้งแต่ต้น ประชาชนไม่พอใจพากันต่อต้าน แต่การรวมกลุ่มนั้นไม่แน่นอน ไม่มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ ไม่มีหลักการและเป้าหมายที่ชัดเจน เพียงแต่แสดงปฏิกิริยาในสเปนได้รับทราบกับการไม่พอใจของชาวพื้นเมือง การก่อกบฏในช่วงนี้เช่น การก่อกบฏของพวกโมโรส์ (Moros) ในมินดาเนา ซึ่งไม่พอใจที่สเปนบังคับให้นับถือศาสนาคริสต์ การก่อกบฏของทหารในกองทัพชาวฟิลิปปินส์ที่ไม่ได้รับเงินเดือน การกีดกันสีผิวในคริสตจักร เป็นต้น
          ๒. ระยะขบวนการโฆษณาหาเสียงและโฆษณาชวนเชื่อ (ค.ศ. ๑๘๗๒)
          โดยกลุ่มปัญญาชนออกบทความและหนังสือพิมพ์ ปฏิรูปการปกครองและรับฟังปัญหาของประชาชน เพราะการก่อกบฏนั้นรัฐบาลสเปนไม่ได้ดูสาเหตุที่การก่อกบฏ สเปนมุ่งปราบเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงมีการตั้งขบวนการ Propaganda Movement ขึ้นในปี ค.ศ. ๑๘๗๒ เพื่อให้สเปนได้รับทราบปัญหาของชาวฟิลิปปินส์ สิ่งที่ขวบการนี้เรียกร้องคือ
  1. สิทธิและเสรีภาพ
  2. การเก็บภาษีอย่างเป็นธรรม
  3. ให้คนพื้นเมืองมีส่วนร่วมประชุมสภานิติบัญญัติ (Corte) ของสเปน เปิดโอกาสให้คนฟิลิปปินส์ดำรงตำแหน่งทางสงฆ์
            บุคคลสำคัญในบวนการนี้คือ (ศิวพร ชัยประสิทธิกุล, ผศ., ๒๕๓๐ : ๕๔ – ๕๗)

Graciano Lopez

(ที่มา : http://www.lakb.net/articles.html)

              กราเซียโน โลเปส เฮน่า (Graciano Lopez) เขาเขียนเรื่องเปิดโปงความเลอะเทอะของสังคมเช่น Frey Botol เป็นเรื่องของพระสเปนที่ไม่ตั้งอยู่ในศีลธรรม และ Esperanza เป็นเรื่องเกี่ยวกับความหวังที่จะปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของชาวฟิลิปปินส์ให้ดีขึ้น ข้อเขียนของเขาทำให้รัฐบาลสเปนเพ่งเล็ง เขาต้องหลบหนีไปอยู่ประเทศสเปน และเข้าร่วมเป็นสมาชิกของชาวสเปน – ฟิลิปปินส์ รณรงค์ปฏิรูปประเทศและออกหนังสือพิมพ์รายปักษ์ La Solidaridad เพื่อให้สเปนปฏิรูปการปกครองให้ชาวพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ดีขึ้น

Marcelo H. Delpilar

(ที่มา : http://www.lakb.net/articles.html)

            มาเซโล เอส. เดลปิลาร์ (Marcelo H. Delpilar)เขาเป็นนักปฏิวัติ และเป็นนักปลุกใจประชาชนให้รักชาติ เขียนบทความต่อต้านระบบการปกครองที่ไม่เป็นธรรมชองข้าราชการและพระ เขาได้ออกหนังสือพิมพ์ Diarong Tagalog เมื่อรัฐบาลสั่งจับเขา เขาหลบหนีไปประเทศสเปน และเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ La Solidaridad เขาไม่มีเจตจำนงที่จะเรียกร้องเอกราช เพียงต้องการให้รัฐบาลสเปนยกฐานะของประชนชนให้เท่าชาวสเปน

Hose RiJzal

(ที่มา : http://lunaticg.blogspot.com/2009/03/philippine-2-dalawang-piso-banknote.html)

              โฮเซ่ ริซา (Hose RiJzal) เขาได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการปฏิวัติ เพราะเขาเป็นผู้นำที่ทำให้เกิดแนวคิดในการปฏิวัติ เขาเรียกร้องให้รัฐบาลสเปนปฏิรูปสังคม เขาได้เขียนหนังสือ ๒ เล่ม คือ Noil Me Tangaree ที่แปลว่าสังคมมะเร็ง เป็นหนังสือที่เปิดโปงความเหลวแหลกของสังคมฟิลิปปินส์ ที่พวกพระสเปนมีบทบาทอยู่ พวกพระเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ ครอบครองที่ดิน หลอกลวงให้ประชาชนงมงายในไสยศาสตร์ และความอยุติธรรมของบรัฐบาลสเปนที่มีต่อ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง หนังสืออีกหนึ่งเล่มคือ Reign of Greed หรือ ยุคแห่งความโลภ ที่บรรยายถึงการตักตวงผลประโยชน์ของรัฐบาลสเปน หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมปรัชญาของริซาในการปฏิวัติ โรเซ ริซาได้ถูกรัฐบาลสเปนเพ่งเล็งเป็นอย่างมากและถูกเนรเทศลงไปอยู่ตอนใต้ของเกาะมินดาเนา
                ในระยะแรกของขบวนการหาเสียงนั้น ยังไม่มีเป้าหมายในเรื่องเอกราชมากนัก มุ่งการปฏิรูปการปกครองมากกว่า ทำให้ไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร และการดำเนินงานส่วนใหญ่นั้นอยู่ในต่างประเทศ ดังนั้นพวกขบวนการชาตินิยม จึงเริ่มเปลี่ยนแปลงแนวทางไปสู่การปฏิวัติ
                ๓. ระยะของการปฏิวัติ (ค.ศ. ๑๘๙๒ – ๑๘๙๘)

Andres Bonifacio

(ที่มา : http://kapirasongkritika.wordpress.com/2009/02/)

                ขบวนการปฏิวัติ ขบวนการนี้นำโดย อังเดรส บอนบิฟาบิโอ (Andres Bonifacio) ซึ่งเห็นว่าวิธีการใช้วิธีการทางสันติวิธีไม่ได้ผล ควรใช้แนวความรุนแรงการปฏิวัติจึงจะได้ผล เขาได้ตั้งขวบการ กาติปูนัน (Katipunan) ได้รับความนิยมจากประชาชนชาวไร่ชาวนา การปฏิวัติเกิดขึ้นโดยได้ปรึกษาโฮเซ ริซาก่อน แต่เฮโซ ริซาไม่เห็นด้วยกับวิธีการนี้ แต่บอนบิฟาบิโอยังยืนยันที่จะทำการปฏิวัติ ทำให้รัฐบาลจับโฮเซ ริซา ประการชีวิต โดยข้อหาเป็นผู้นำในการปฏิวัติ ทำให้ประชนชนหันมาในการสนับสนุนบอนบิฟาบิโอ จึงทำให้การปฏิวัติได้ผลดี ในระยะแรกคือ สามารถยึดพื้นที่จากรัฐบาลสเปนได้หลายแห่ง จนสามารถตั้งรัฐบาลปกครองตนเองได้ แต่ภายหลังพวกปัญญาชนไม่ยอมรับบอนบิฟาบิโอ จึงให้การปฏิวัติแตกแยก ถูกรัฐบาลสเปนปราบอย่างหนัก ในเวลานั้นสเปนต้องเผชิญศึก ๒ ด้าน คือ สงครามกับสหรัฐอเมริกาในคิวบา ค.ศ. ๑๘๙๘ กับบวนการปฏิวัติในฟิลิปปินส์ ดังนั้น รัฐบาลสเปนต้องใช้วิธีการปราบปรามโดยรวดเร็ว และการใช้เงินหว่านล้อมเพื่อให้พวกนักปฏิวัติยุติการต่อต้านทั้งปวง และให้ออกนอกประเทศไป การปฏิวัติจึงล้มเหลว
             อย่างก็ตาม สเปนฝ่ายผ่ายแพ้ในสงครามคิวบาต่อสหรัฐอเมริกา อเมริกาเข้ายึดอาณานิคมของสเปนในฟิลิปปินส์ และเข้าปกครองฟิลิปปินส์แทนสเปน
ขบวนการชาตินิยมของชาวฟิลิปปินส์ในการต่อต้านสหรัฐอเมริกา
ขบวนการชาตินิยมในสมัยสหรัฐอเมริกาปกครอง (ค.ศ. ๑๘๙๘ – ๑๙๔๖)
            เมื่อสหรัฐอเมริกาขับไล่สเปนออกจากฟิลิปปินส์ และเข้าปกครองเองเพราะเห็นว่า คนพื้นเมืองยังไม่พร้อมที่จะปกครองตนเอง ทั้ง ๒ ด้านคือ ทางด้านเศรษฐกิจ และทางการศึกษา
            ขบวนชาตินิยมในฟิลิปปินส์เตรียมจัดตั้งรัฐบาลขึ้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ แต่การที่สหรัฐอเมริกาเข้ามากครองเสียก่อน การจัดตั้งจึงชะงักงัน ขบวนการชาตินิยมทำการปราบปรามและสามารถให้ขบวนการชาตินิยมวางอาวุธได้ โดยเสนอให้เข้ารับราชการสำหรับผู้ที่มีการศึกษา และปฏิรูปที่ดิน เวนคืนที่ดินและจัดสรรมาสู่ประชาชน ทำให้ฟิลิปปินส์เกิดความสงบ และทำให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ดังที่กล่าวไป
             สาเหตุที่สหรัฐอเมริกาปลดปล่อยฟิลิปปินส์หลังจากที่ปกครองร่วม ๕๐ ปี เพราะหมู่เกาะฟิลิปปินส์อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ห่างไกลจากสหรัฐอเมริกา และชาวฟิลิปปินส์ต่อต้านสหรัฐอเมริกาอย่างหนัก สหรัฐอเมริกาต้องใช้เวลาในการปราบปรามถึง ๓ ปีเต็ม ในระหว่างการปราบปรามนั้น สหรัฐนำความเจริญทางด้านภาษา การคมนาคม สาธารณสุข สาธารณูปโภค และยอมรัฐขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นเมืองของชาวฟิลิปปินส์ (อรพินท์ ปานนาค ,รศ., ๒๕๕๑ : ๓๖)

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง

หนังสืออ้างอิง
ศิวพร ชัยประสิทธิกุล, ผศ. ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอดีตถึงปัจจุบันโดยสังเขป. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ๒๕๕๐.

 

“_____________”. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายหลังการเข้ามาของชาติตะวันตกถึงภายหลัง

 

สงครามโลกครั้งที่ ๒. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ๒๕๓๐.

 

สุดา (เจตีร์) สอนศรี. “ฟิลิปปินส์ : การเปลี่ยนแปลง การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม (ตั้งแต่ก่อนเป็นอาณานิคม–ปัจจุบัน).” หนังสือในโครงการศึกษาเอเชียอาคเนย์ คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์.

 

อรพินท์ ปานนาค, รศ..ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์รามคำแหง. ๒๕๕๑.

 

http://www.lakb.net/articles.html สืบค้นเมื่อ ๙ - ๓ - ๒๕๕๓.

 

http://lunaticg.blogspot.com/2009/03/philippine-2-dalawang-piso-banknote.html สืบค้นเมื่อ ๙ - ๓ - ๒๕๕๓.

 

http://kapirasongkritika.wordpress.com/2009/02/ สืบค้นเมื่อ ๙ - ๓ - ๒๕๕๓.

 

(ปรับปรุง ๓ - ๓ - ๒๕๕๓)

หมายเลขบันทึก: 309091เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2009 08:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีมากค่ะ  ดีมากค่ะ ดีมากค่ะ บายบายบายบายบาย

มันเป็นเว็บที่เยี่ยมมาก เยี่ยมมาก เยี่ยมมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท