ประสบการณ์ KM จังหวัดนครพนม (2)


สิ่งที่เป็นเสน่ห์ของ KM คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่ปี 2548 จังหวัดนครพนมหลงทางไป ไปให้ความสำคัญกับการบันทึก KA มากเกินไป

             วันนี้.... ขอนำเสนอเรื่องเล่าประสบการณ์ KM จังหวัดนครพนมต่อเป็นตอนที่ 2  เป็นการถอดความรู้จากการเล่าเรื่องการจัดการความรู้ของคุณทวี มาศขาว คุณอำนวยของจังหวัดนครพนม  คุณทวี มาศขาว ได้เล่าเกี่ยวกับผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ ของจังหวัดนครพนม ในครึ่งปี 2549   ว่า....

                        

                        

  • เดิมทีก็มีปัญหาค่อนข้างเยอะ นึกว่าเอาภาระงานมาเพิ่ม  ช่วงหลังก็ดีขึ้น นครพนมมีโอกาสไปขายสินค้าที่มุกดาหาร เกษตรอำเภอก็ตอบรับค่อนข้างดี สำหรับผลการดำเนินงานในรอบครึ่งปี 2549  มีการดำเนินการ ดังนี้  

     1. การเตรียมการ  

        1.1 ได้มีการทำความเข้าใจกับคณะทำงาน  KM และคณะทำงาน  Food Safty

        1.2 มีการนำผลการดำเนินงาน KM ในปี 2548 มาปรับใช้  

        1.3 มีการชี้แจงการนำ KM มาใช้ในการดำเนินโครงการ Food Safty ให้แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 

        1.3  มีการกำหนดเป้าหมาย (KV) 

         1.4 มีการจัดทำแผนการดำเนินงาน และแจ้งแผนการดำเนินงาน KM ร่วมกับ Food Safty ให้อำเภอทราบและให้ปฏิบัติตามแผน 

      2. การดำเนินงานตามกระบวนการจัดการความรู้ 

          2.1 การกำหนดเป้าหมาย (KV) 

                เป้าหมายหลัก คือ สินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน

                เป้าหมายย่อยในแต่ละกิจกรรม  คือ 1. จำแนกระดับความปลอดภัยของพื้นที่  2. เกิดการบูรณาการแผนพัฒนาการเกษตร ระดับ ตำบล อำเภอ จังหวัด   3. เกษตรกรได้รับความรู้การผลิตพืชปลอดภัยและได้มาตรฐาน  4. เกิดการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การผลิตและการตลาด 5. สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรปลอดภัย

          2.2 กระบวนการทำงานตามกิจกรรมโครงการ Food Safty

                1) การจำแนกพื้นที่  วิธีการคือ มีการเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบล ข้อมูลการผลิตพืช/สัตว์ รายงานการวิเคราะห์สารพิษในพืช และข้อมูลอัตราการเจ็บป่วยจากสารเคมี   จากกิจกรรมนี้ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย กัน  

                2)  การประชุมคณะกรรมการศูนย์ฯ  ครั้งที่ 1 โดยใช้เวที DW  กำหนดวาระการประชุมร่วมกัน  วางแผนการจัดเก็บข้อมูลการจำแนกพื้นที่    และชี้แจงแบบและทดสอบการกรอบแบบสำรวจ และทดลองทำ    

                3)  การจัดเก็บข้อมูลรายครัวเรือน  วิธีการคือ มีการจัดเตรียมแบบสำรวจ คสป 1/1 ตามจำนวนครัวเรือน ประชาสัมพันธ์ และนัดเกษตรกรล่วงหน้า อย่างน้อย 2 วัน โดยให้คณะกรรมการศูนย์ฯ รับผิดชอบคนละ 1 หมู่บ้าน และมอบให้เลขานุการศูนย์ฯ รวบรวมข้อมูล 

                4) การวิเคราะห์ข้อมูล  และสรุปข้อมูลเบื้องต้นด้วยตนเอง มีการสรุปภาพรวมระดับความปลอดภัย 1,2,3 ดาว   และเตรียมผลการวิเคราะห์ เพื่อนำเสนอประชาพิจารณ์  

                5)  การจัดเวทีชุมชน  มีการวางแผนการจัดเวทีชุมชน  แบ่งหน้าที่รับผิดชอบทีมงานอย่างน้อย 3 คน   

                6)  การประชุมคณะกรรมการศูนย์ฯ ครั้งที่ 2-3   มีการรายงานผลการประชาพิจารณ์การจำแนกพื้นที่ วางแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยี 

                7) การบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์  โดยบันทึกข้อมูล คสป.1/1 และตรวจสอบข้อมูล 

                8) การประชาสัมพันธ์ผลการจำแนกพื้นที่  มีการประชุมวางแผนร่วมกับคณะกรรมการศูนย์ฯ    จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนักให้ชุมชนได้รับรู้

                 ส่วนกิจกรรมที่ 2  เรื่องการบูรณาการแผน อยู่ระหว่างรวบรวมบันทึกการปฏิบัติงาน และกิจกรรมที่ 3 เรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี อยู่ระหว่างการดำเนินงานถ่ายทอดเทคโนโลยี ครั้งที่ 1      

             ท้ายที่สุดคุณทวีได้ ฝากไว้ว่า.... สิ่งที่เป็นเสน่ห์ของ KM คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่ปี 2548 จังหวัดนครพนมหลงทางไป  ไปให้ความสำคัญกับการบันทึก  KA  มากเกินไป  มีการสั่งการให้เจ้าหน้าที่ทุกคนเขียนบันทึก บางคนก็ไปลอกกันมา สิ่งที่เขียนไม่ได้เกิดจากการปฏิบัติ  ข้อสังเกต บันทึกเรื่องเล่า จะเล่าปัญหามากกว่า Best Practics  ถามว่าจะโทษใคร ต้องโทษกรมส่งเสริมการเกษตร ที่ผ่านมาเน้นแต่ปัญหา และแนวทางแก้ไข .....             

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 30884เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2006 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
    ขอบคุณมากครับที่นำเสนอในรายละเอียดทั้งหมด วันนั้นฟังเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อได้อ่านทบทวนทั้ง 2 ตอน ได้เรียนรู้อีกหลายประเด็นครับ 
      พี่นันทา ลิขิต Content ได้ครบถ้วนดีจังค่ะ    อ้อ อยากจะเอาไฟล์ VDO ที่บันทึกไว้มาแนบใส่ Blog อยู่เหมือนกัน   เดี๋ยวขอหาวิธีก่อนนะคะ        
ขอบคุณคุณวีรยุทธ และคุณอ้อ ... ช่วยกันเผยแพร่หลายๆ ทางนะคะ .... จะติดตามชม VDO  และขอให้กำลังใจคุณอ้อ ทำสำเร็จเร็วๆ ด้วยนะคะ...  
 ฝากบอก "คุณทวี" ด้วยว่า...KM ปี 2548 มิได้หลงทางหรอกค่ะ  เพราะปัญหาเป็นหนทางการได้มาซึ่งวิธีการแก้ปัญหา  และเมื่อแก้ปัญหาได้ "องค์ความรู้" ก็เกิดขึ้น และ การลอกมาของเจ้าหน้าที่ถ้าลอกหลายครั้งก็ต้องอ่านหลายครั้ง เมื่ออ่านหลายครั้งก็เกิดการรับรู้และเรียนรู้ ซึ่งมี "องค์ความรู้" เกิดขึ้น เพราะทุกสิ่งที่เกิดขึ้น คือ บทเรียนและประสบการณ์ของการได้มาซึ่ง "ความรู้" ของคนที่จะสั่งสมและซ่อนเร้นไว้กับตัวตน  และทำถูกแล้วที่สร้างความสำคัญ "กับการบันทึก" เพราะสิ่งนี้คือ คลังความรู้ ที่จำนำไปสร้าง KV และ KS
เห็นด้วยกับคุณจือค่ะ  KM ไม่มีถูก ไม่มีผิด ทำไป เรียนรู้ไป ปรับไปเรื่อยๆ  เกลียวความรู้ก็จะหมุนไป เหมือนที่คุณวีรยุทธ สรุปไว้ในประสบการณ์ KM จังหวัดกำแพงเพชร....
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท