การเขียน บัน และ บรร


คำไทยที่ใช้ บันนำหน้า

 

การเขียน บัน และ บรร

คำไทยที่ใช้ บัน นำหน้า

 

    บันดาลลงบันได     บันทึกให้ดูจงดี 

รื่นเริงบันเทิงมี           เสียงบันลือสนั่นดัง

บันโดย บันโหยให้     บันเหินไปจากรวงรัง

บันทึงถึงความหลัง    บันเดินนั่งนอนบันดล
บันกวดเอาลวดรัด     บันจวบจัดตกแต่งตน

คำ บัน นั้น ฉงน         ระวังปน กับ ร - หัน.

คำไทยที่ปรากฏนอกจากกลอนบทนี้ให้ใช้ บรร

เช่น

บรรกวด              - ประกวด, แข่งขัน.

 

บรรจง                - ตั้งใจทํา เช่น บรรจงเขียน, ทําโดยระมัดระวัง

                           เช่น มีน้อย      ใช้น้อยค่อยบรรจง. 

                           - อย่างประณีต เช่น เขียนบรรจง, ตัวบรรจง.

 

 บรรจถรณ์ [บันจะถอน] - เครื่องลาด, เครื่องปู, ที่นอน.   

 

 บรรจบ      - เพิ่มให้ครบจํานวน เช่น บรรจบให้ครบร้อย

                  บรรจบให้ครบถ้วน;

                  - จดกัน, ใกล้ชิดติดต่อกัน, เช่น ปูกระดานให้บรรจบกัน 

                   ทาง ๒ สายมาบรรจบกัน, ทําให้เข้ากันสนิท

                   เช่น ติดกรอบหน้าต่าง         ให้มุมบรรจบกัน;

                   - ชนขวบ เช่น บรรจบรอบปี, 

 

 บรรจวบ         - ประจวบ, ประสบ, พบปะ, สบเหมาะ, บังเอิญพบ.

 

 บรรจุ              - ประจุ, ใส่ลงในขวด หีบ หรือถุง เป็นต้น,

                       ใส่ลงไว้ในภาชนะ        หรือสถานที่ที่ใดที่หนึ่งที่มิดชิด

                       เช่น บรรจุอังคาร บรรจุอัฐิ บรรจุศพ; 

                      - โดยปริยายหมายความว่า ให้เข้าประจําที่,

                       ให้เข้าประจําตําแหน่งครั้งแรก,

                       เช่น บรรจุให้เป็นข้าราชการ,

                     - ใส่ลงไว้ตามอัตรา เช่น บรรจุเข้าไว้ในรายการ.

 

  บรรเจิด        -  เชิดสูงขึ้น, สูงเด่น, เฉิดฉาย.

                      - งาม.

 

  บรรณ, บรรณ- [บัน, บันนะ-] - ปีก;

                                              - หนังสือ;

                                             - ใบไม้. 

 

 บรรณกุฎี                        -กระท่อมอันมุงบังด้วยใบไม้. 

 

 บรรณพิภพ, บรรณโลก   - วงการหนังสือ.

 

 บรรณศาลา              -ที่สํานักของฤๅษีหรือผู้บําเพ็ญพรตเป็นต้น

                                 ถือกันว่ามุงบังด้วยใบไม้.   

 

บรรณสาร                      - หนังสือราชการ.

 

 บรรณาการ [บันนากาน] - สิ่งที่ส่งไปให้ด้วยความเคารพนับถือหรือด้วยไมตรี. 

 

 บรรณาคม [บันนาคม]   -ห้องหนังสือ.

 

 บรรณาธิกร [บันนา-]    - รวบรวมและจัดเลือกเฟ้นเรื่องลงพิมพ์.

 

 บรรณาธิการ [บันนาทิกาน] - ผู้จัดเลือกเฟ้น รวบรวม ปรับปรุง 

                                          และรับผิดชอบเรื่องลงพิมพ์;

                                        - บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการจัดทํา  ตรวจแก้

                                        คัดเลือก    หรือควบคุมบทประพันธ์

                                        หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์.

 

 บรรณานุกรม [บันนานุกฺรม]  - บัญชีรายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบ

                      การค้นคว้า, บัญชีรายชื่อหนังสือในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

                      ยุคใด  ยุคหนึ่ง หรือของผู้เขียนคนใดคนหนึ่ง

                      มักจะมีรายละเอียดหรือ บทวิจารณ์สั้น ๆ ประกอบ.

 

 บรรณารักษ์ [บันนารัก] - บุคคลที่รับผิดชอบในการบริหาร

                                      และดำเนินงานในห้องสมุด.

 

 บรรณารักษศาสตร์ [บันนารักสะสาด, บันนารักสาด]

                             -  วิชาที่ว่าด้วย การบริหารห้องสมุด.

 

 บรรดา [บัน-]       -  ทั้งหลาย, ทั้งปวง, ทั้งหมด,

                                (มักใช้อยู่ข้างหน้า) เช่น บรรดามนุษย์ 

 

 บรรดาศักดิ์ [บันดา-] - ฐานันดรศักดิ์ที่พระราชทานแก่ข้าราชการ

                                 หรือบุคคลทั่วไป แบ่งออกเป็น เจ้าพระยา พระยา พระ

                                หลวง ขุน หมื่น พัน และทนาย โดยมีราชทินนามต่อท้าย

                                 เช่น เจ้าพระยายมราช 

                                    

 บรรทม         - นอน,   

 

บรรทัด          - ข้อความที่เขียนหรือพิมพ์เป็นต้นต่อเนื่องกันเป็นแถวเป็น

                     แนวแต่ละแนว เช่น ตัดบรรทัดที่ ๒๐ ออก,

                     -ลักษณนามว่า บรรทัด เช่น ให้เขียนเรียงความ

                      อย่างน้อย ๕๐ บรรทัด,

                     -เรียกตัวหนังสือที่ เขียนเต็มช่วงระหว่างเส้นบรรทัด

                       ๒ เส้น   ว่า ตัวเต็มบรรทัด,

                     -เรียกตัวหนังสือที่เขียนเพียงครึ่งหนึ่งของช่วงระหว่าง

                      เส้นบรรทัด ๒ เส้น      ว่า ตัวครึ่งบรรทัด,

                      -เรียกอุปกรณ์การเขียนชนิดหนึ่งทําด้วยไม้เป็นต้น 

                      สําหรับทาบเป็นแนว  เพื่อขีดเส้นให้ตรง ว่า ไม้บรรทัด,

                      -เรียกเส้นที่ตี   หรือพิมพ์ไว้บนกระดาษเป็นต้นเพื่อเขียน

                       หรือพิมพ์ตัวอักษรบนเส้น     ใต้เส้นหรือระหว่างเส้น

                       ว่า เส้นบรรทัด.

 

 บรรทัดฐาน        - แบบแผนสําหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ;

 

 บรรทุก             - วางไว้ ใส่ลง หรือบรรจุลงบนยานพาหนะเป็นต้น

                          เพื่อขนย้าย  ไปทีละมาก ๆ, 

                       - โดยปริยายหมายความว่า รับภาระ เช่น   บรรทุกงานไว้มาก,   

 

บรรเทา               - ทุเลาหรือทําให้ทุเลา, ผ่อนคลายหรือทําให้ผ่อนคลายลง, 

                            เบาบางหรือทําให้เบาบางลง, สงบหรือทําให้สงบ,

                           เช่น บรรเทาทุกข์ 

 

 บรรเทือง          - ทําให้กระเตื้องขึ้น, พยุง,  ทําให้ดีขึ้น.

 

 บรรพบุรุษ         - ผู้เป็นต้นวงศ์ตระกูลซึ่งมีผู้สืบสายโลหิตมา,

                          บุคคลที่นับตั้งแต่ปู่ย่าตา  ยายขึ้นไป.

 

บรรพสตรี        - หญิงผู้เป็นต้นวงศ์.

 

บรรพชา [บันพะ-, บับพะ-]    - การบวช เช่น  บรรพชาเป็นสามเณร.   

 

บรรพชิต [บันพะชิด]    -  นักบวชในพระพุทธศาสนา. 

 

บรรพต, บรรพต- [บันพด, บันพดตะ-]     -  ภูเขา. 

 

บรรยง                      - ทําให้งาม, ทําให้ดี.

 

บรรยงก์                   -  ที่นั่ง.   

 

บรรยากาศ           -  อากาศที่หุ้มห่อโลกหรือเทห์ฟากฟ้าใด ๆ,

                           - โดยปริยายหมายความ   ถึงความรู้สึกหรือสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว

                           เช่น บรรยากาศในที่ประชุม    บรรยากาศรอบ ๆ บ้าน

 

บรรยาย [บันยาย, บันระยาย]    -  ชี้แจงหรืออธิบายเรื่องให้ฟังเป็นต้น, เล่าเรื่อง 

                                           เช่น ภาพยนตร์มีอักษรไทยบรรยายกํากับไว้.   

 

บรรลัย [บันไล]                  - ฉิบหาย, วอดวาย, ย่อยยับ, มอดม้วย, 

 

บรรลัยกัลป์ [บันไลกัน]     - เรียกไฟที่เชื่อกันว่าจะล้างโลกเมื่อสิ้นกัป 

                                       ว่า ไฟบรรลัยกัลป์,    ไฟกัลป์ หรือ ไฟประลัยกัลป์ 

 

 บรรลัยจักร [บันไลยะจัก]   - วายวอด, มักใช้เป็นคําด่าประกอบคํา ฉิบหาย

                                            เป็น ฉิบหายบรรลัยจักร.

 

 บรรลาย                            - ปราย, โปรย, เช่น หยั่งหยาด

                                         -  ยอด, ที่สุด, ตรงข้ามกับ ต้น.

 

 บรรลุ [บัน-]                      - ลุ, ถึง, สําเร็จ, เช่น บรรลุมรรคผล

 

บรรลุนิติภาวะ           - มีอายุถึงกําหนดที่กฎหมายให้พ้นจากภาวะผู้เยาว์

                              และให้มี  ความสามารถใช้สิทธิตามกฎหมายได้ด้วยตนเอง 

 

บรรเลง                         - ทําเพลงด้วยเครื่องดุริยางค์ให้เป็นที่เจริญใจ.

 

บรรโลม                         -  ประโลม, ทําให้พึงใจ.

 

บรรษัท [บันสัด] ( แผลงมาจาก บริษัท)       

                         - หมู่, ผู้แวดล้อม; การรวมกันเข้าหุ้นส่วนทํา การค้าขาย;

                         -  นิติบุคคลที่มีฐานะอย่างเดียวกับบริษัทจํากัด ซึ่งมีกฎหมาย

                          จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ. (อ. corporation).

 

บรรหาร [บันหาน]   ( แผลงมาจาก บริหาร)   -  เฉลย, กล่าวแก้, ตรัสสั่ง.

หมายเลขบันทึก: 308497เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2009 19:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ผมกำลังเขียน เรื่อง การเขียนคำภาษาไทย พอดี ก็ยินดีด้วยนะครับที่มีคนร่วมอุดมการณ์เดียวกัน ที่จะสร้างคนไทยใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง ถ้ามีโอกาสอย่าลืมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันบ้างนะครับ

http://gotoknow.org/post/wt_kaitch

ผมกำลังเขียน เรื่อง การเขียนคำภาษาไทย พอดี ก็ยินดีด้วยนะครับที่มีคนร่วมอุดมการณ์เดียวกัน ที่จะสร้างคนไทยใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง ถ้ามีโอกาสอย่าลืมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันบ้างนะครับ

http://gotoknow.org/post/wt_kaitch

อยากให้เพิ่มคำมากกว่านี้หน่อยค่ะ

สุดยอดเลยครับผมทำได้ตั้ง47ข้อ

สุดยอดไปเลย.........

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท