beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เล่าเรื่องภาษาไทย : สระ "ใ" ไม้ม้วน


บทแรกท่องได้จนถึงทุกวันนี้ครับ ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่

   สมัยยังเป็นเด็ก ผมเคยท่องคำเขียน "สระไอไม้ม้วน ๒๐ คำ" ว่าเป็นกลอนเลย ถ้าจำไม่ผิดก็ท่องได้ตั้งแต่ตอนเรียนอยู่ชั้นป ๒ แล้วครับ เวลาผ่านมา ๔๐ ปี ก็ลืมๆ กันไปบ้างเลยเอามาทบทวนให้ดูกันครับ

   บทแรกท่องได้จนถึงทุกวันนี้ครับ "ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่"

 

 

 ๑ ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่

 
     
     ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่   ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ          มิหลงใหลใครขอดู
จะใคร่ลงเรือใบ         ดูน้ำใสและปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้             มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัว           หูตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง   ยี่สิบม้วนจำจงดี
 
 

Clip VDO

 
     

  บทที่สองนี่พอท่องได้ครับ แต่จำได้แค่ท่อนเดียว "ใฝ่ใจให้ทานนี้"

     
 

๒ ใฝ่ใจให้ทานนี้

 
     
    ใฝ่ใจให้ทานนี้     นอกในมีแลใหม่ใส
ใครใคร่แลยองใย   อันใดใช้อย่าใหลหลง
ใส่กลสะใภ้ใบ้        ทั้งต่ำใต้และใหญ่ยง
ใกล้ใบแลใช่จง     ใช้ให้คงคำบังคับ
 
 

Clip VDO

 
     

  ส่วนบทที่สามนี่ไม่เคยท่องได้เลย ลืมไปแล้วด้วย "สะใภ้ใหม่"

     
 

 ๓ สะใภ้ใหม่

 
     สะใภ้ใหม่ใส่ใจใคร่   อย่าหลงใหลใช่สิ่งดี
เยื่อใยในสามี             หน้าสดใสเป็นใบบุญ
ต่ำใต้ใช้ใกล้ชิด         บ้าใบ้จิตใฝ่การุณ
ผู้ใหญ่ใครมีคุณ         สิ่งใดชอบให้ตอบแทน
 
     

หมายเหตุ : ขณะตีพิมพ์บันทึกนี้ เป็นบันทึกที่ 430 มีข้อคิดเห็น 962 (most comments)

ที่มา : http://www.learningthai.com/poem_002.htm
และ  : http://www.e-learning.sg.or.th/act3_17/content1.html

 

คำสำคัญ (Tags): #ภาษาไทย
หมายเลขบันทึก: 30784เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2006 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
ขอบคุณอาจารย์สมลักษณ์ที่หวนให้ต้องระลึกถึงสมัยเด็กที่ยังต้องท่องจำ เรื่องเหล่านี้ สาระ ไม่เครียด ค่ะอาจารย์
  • รู้จักแค่บทแรกเท่านั้นเองค่ะ  ไม่แน่ใจว่าไม่ได้เรียน หรือว่าจำไม่ได้ เพราะยังไงก็ไม่คุ้นกับ บทที่ 2 และ 3 เลย
  • ขอบคุณที่เอามาให้เรียนรู้ใหม่ค่ะ

เรียนคุณ คนมีอดีต

  • ขอขอบคุณ ที่เข้ามาทิ้งรอยไว้ครับ
  • เป็นกำลังใจน้อยๆ ให้ได้เขียนเรื่องเหล่านี้
  • ภาษาไทยของเรามีเสน่ห์ครับ อยากให้คนไทยเก่งภาษาไทยด้วย
  • คนเขียนบันทึกได้ดีต้องมีการใช้ภาษาไทยที่ดีด้วย
  • คำที่มักเขียนผิด ร้อยละ ๕๐ คือ คำว่า "สังเกต" ครับ เป็นคำง่ายๆ ที่เขียนผิดบ่อยมาก "ใครเขียน สังเกต ว่า สังเกตุ แสดงว่าเขาไม่ค่อยได้ สังเกต" ครับ

เรียนคุณ audit3

  • ชื่อ Audit3 มีอยู่ท่านเดียวครับ เลยไม่ขอใส่ MSU
  • ขอขอบคุณอีกเช่นกันที่มาทิ้งรอยไว้ ทำให้ทราบว่ามีคนชอบเรื่องภาษาไทยเหมือนกัน
  • ตอนเด็กๆ บทกลอนเหล่านี้ คงได้ใช้เรียนกันหลายปีทีเดียว แต่ตอนหลังๆ ระบบท่องอาจจะน้อยลง ทำให้จำได้เฉพาะบทที่ 1
  • บทที่ 1 นี่ผมท่องได้จนปัจจุบัน บทที่ 2 จำได้แค่ 2 บรรทัด
  • ส่วนบทที่ 3 จำได้แค่ 1 บรรทัดครับ

ขอบคุณอาจารย์สมลักษณ์มากค่ะ ที่ทำให้ได้รับข้อมูล ความรู้ใหม่ ๆ หนูเองตั้งแต่เรียนมาก็จำได้แต่บทแรกเท่านั้น บทที่สอง ที่สาม แทบไม่เคยได้ยินด้วยซ้ำ พอได้มาอ่านก็อยากจะท่องจำให้ได้ซะเดี๋ยวนี้เลย ตอนนี้หนูเรียนคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย หนูจะนำความรู้ที่อาจารย์ให้วันนี้ไปสอนนักเรียนต่อไปในอีก 3 - 4 ปีข้างหน้าค่ะ

 

ขอบคุณมากสำหรับรายการนี้ แต่ผมรุ่นเก่ากว่านี้อีก ถ้าลงรุ่นเก่ากว่านี้อีกจักขอบคุณ หลายเติบ รุ่น ตากล่ำทำนาเกลือ พ่อเขาชื่อหมอหลำ ...อะไรประมาณนี้ ทราบข่าวว่ามีสัปดาห์หนังสือ แต่เสียดายผมอยู่ต่างแดน ยังไม่ได้จังหวะกลับเมืองไทย จะได้กลับไปซื้อหนังสือเรียนรุ่นเก่า จะได้อยากจะทบทวนบทอาขยาตหลายบท แล้วจะแวะมาชม

กำลังสอนเรื่องการใช้ ไอ ใอ อัย ไอย ป.๔

ไม่ได้มาตอบเสียนาน

  • ขอบคุณ คุณพักใจครับ
  • ป่านนี้คงจบไปสอนนักเรียนแล้ว..อิอิ

เรียน คุณสมพร

เรียน คุณฟางฟาง

  • เป็นแม่พิมพ์ของชาติ
  • ต้องใช้บทอาขยานสมัยเก่าครับ
  • ขอบคุณครับ

ทำใม กับ ทำไม อันไหนเขียนถูกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท