ขันหมากเบ็ง ...


สาธุเด้อ...คุณท่านพระศรีอารยราช...

 

         สาธุเด้อ...คุณท่านพระศรีอารยราช

ขันหมากเบ็ง ข้าน้อย...ยอไหว้ใส่หัว

ขอพระภูมินทร์ไท้มิ่งขวัญไทยอย่าหมองหม่น

คนบาปหลายคึดฮ้ายขอให้พ่ายหลีกไป.

        เพิ่นว่าบุญบาปนี่มันหากห่างกันไกล

ไผดวงใจมีธรรมต่อนบุญสิหนุนไว้

ซื่อว่าคนบุญนี่แม่นฝังดินกะหม่นออก

ซาดที่คนบาปฮ้ายแม่นแขนฟ้าห่ากะกิน.

                                                              www.cruroj.com

             ขันหมากเบ็ง หรือ ขันหมากเบญจ คือพานพุ่มดอกไม้ที่ใช้เป็นพานพุ่มบูชาในพิธีกรรม และบูชาพระรัตนตรัยในวันอุโบสถ หรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งการนำไปบูชาวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยนำไปวางไว้ตามเสารั้ววัด หรือหลักเส (ธาตุ ทำด้วยไม้แก่น แกะสลักสวยงามเจาะให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมขนาดสี่นิ้วฟุต สำหรับบรรจุอัฐิ) ซึ่งนิยมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และวันสงกรานต์
             ขันหมากเบ็ง คือพานพุ่มใส่ดอกไม้ หรือเครื่องบูชา ๕ อย่าง ได้แก่ หมาก พลู ธูป เทียน ข้าวตอก ดอกไม้ อย่างละ ๕ คู่ ใช้ใบตองทำเป็นซวย (กรวย) – บายศรี ใช้ใบตองรีดซ้อนกันให้เป็นรูปคล้ายเจดีย์ ทำเป็นสี่มุมรวมทั้งตรงกลางเป็น 5 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖ นิ้ว สูง ๖-๘ นิ้ว ประดับประตูด้วยเครื่อง ๕ อย่าง ดังได้กล่าวแล้ว ไว้บนยอดแหลมของบายศรี-กรวย-ซวย เรียงลดหลั่นลงมาตามลำดับเพื่อความสวยงาม
ดอกไม้ซึ่งเป็นที่นิยม เช่น ดอกดาวเรือง (จะทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง) ดอกสามปีบ่อเหนี่ยว (ดอกบายไม่รู้โรย) เชื่อว่าจะทำให้อายุมั่น ขวัญยืน แต่ปัจจุบันเห็นนิยมใช้ดอกรัก (ทำให้เกิดความรัก) 
              วิธีการใช้ขันหมากเบ็ง-เบญจ์
-ใช้เป็นเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย
-ใช้เป็นเครื่องสักการะอยู่ในเครื่องพลีกรรม ไหว้ครู บอกผี (เซ่นสรวงดวงวิญญาณ)
-บูชาวิญญาณบรรพบุรุษ โดยนำไปบูชาตามหลักเส (ธาตุ) ที่บรรจุอัฐิ (กระดูก)
-เป็นเครื่องให้พิจารณาเตือนคนได้ พิจารณาเบญจขันธ์คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
          รูป คือ ร่างที่คลุมรวมกันไว้ด้วยธาตุ ๔ อันเป็นส่วนที่ปรากฏด้วยตา
          เวทนา การเสวยอารมณ์ รู้สึกสุข เดือดร้อน เจ็บ แค้นใจ เบิกบาน เฉยๆ
          สัญญา รู้และจำอารมณ์ที่ผ่านอวัยวะทั้ง ๖ เข้ามาแล้วบันทึกไว้ในใจ
          สังขาร สภาวะปรุงแต่งวิญญาณ ผู้ก่อกรรมเกิดรูปนามติดต่อไป
         วิญญาณ รู้แจ้งอารมณ์ภายในที่สัมผัสปัจจัยภายนอก
พ่อบำเพ็ญ ณ อุบล ได้อรรถาธิบายเพิ่มเติมว่า นอกจากใช้ขันหมากเบ็ง เป็นเครื่องสักการระบูชาพระรัตนตรัยแล้ว ยังใช้ในการกราบไหว้ผู้ที่เคารพอย่างสูงอีกด้วย โดยมีเหตุผลว่า
     -การกราบโดยทั่วไป เป็น “ นามธรรม ” (เพราะเมื่อกราบเสร็จเหตุการณ์ก็ผ่านไป)
     -การกราบบูชาด้วยขันหมากเบ็ง เป็น “ รูปธรรม ” เพื่อให้การกราบคงอยู่ในรูปขันหมากเบ็ง
           ดังนั้น การกราบบูชาด้วยขันหมากเบ็ง จึงเสมือนการกราบด้วยเบ็ญจางคประดิษฐ์ เป็นเครื่องเบ็ญจขันธ์
เวลาหลายปีที่ผ่านมา ชาวอุบล ได้ใช้ขันธ์หมากเบ็งเพื่อสักการบูชา ตามความหมายดังกล่าวข้างต้น ในงานต่างๆ เช่น
     -สักการะเทียนหลวงพระราชทาน งานประเพณีแห่เทียนพรรษา
     -การบวงสรวงสักการะพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ผู้สร้างเมืองอุบลฯเจ้าเมืองคนแรก
     -ถวายสักการะ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ งานพิธีบายศรีเฉลิมพระขวัญฯ ภาพจำลองเคลื่อนที่ งานแห่เทียนพรรษาฯ
     -ถวายสักการะ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ “ งานราชภัฎมหกรรมวิชาการ เฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษามหาราชินี ด้านวัฒนธรรม ” ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๗
นอกจากนี้ยังใช้ขันหมากเบ็ง เป็นเครื่องสักการบูชาในวาระสำคัญต่างๆ อีกด้วย 
           อาจจะกล่าวได้ว่า “ การบายศรีสู่ขวัญ ” และการสักการบูชาด้วย “ ขันหมากเบ็ง ชาวอีสานได้ยึดถือเป็นประเพณี และปฏิบัติสืบเนื่องมาตลอดถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่ทรงคุณค่ายิ่งของชาวอีสาน แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้ชำนาญการในการจัดทำ “ พานบายศรี ” หรือ “ พาขวัญ ” และ “ ขันหมากเบ็ง ” มีจำนวนน้อย และอายุมากแล้ว ควรที่จะมีการสืบทอดจัดกิจกรรม “ การพัฒนาอาชีพบายศรีอีสานแบบบูรณาการสู่ชุมชน ” เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานโดยนำมาประยุกต์กับศิลปะยุคใหม่ให้เกิดความประณีตสวยงาม อ่อนช้อย สร้างอาชีพ ให้เกิดรายได้แบบยั่งยืน เป็นการส่งเสริม “ วัฒนธรรมาชีพ ” ก่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม สืบไป 

 

                       (แม่ใหญ่เฮ็ดขันหมากเบ็งขายที่ อ.ธาตุพนม)
           อานิสงส์ถวายหมากเบ็งบูชา  องค์สมเด็จพระบรมศาสดาได้เสด็จประทับอยู่ในวิหารเมืองสาวัตถีพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์๕๐๐รูปเป็นบริวารครั้นพระเจ้าปัสเสนทิโกศลได้ทรงตบแต่งดอกไม้ของหอมพร้อมกันยังขันหมากเบ็งมีข้าวพันก้อนด้วยความประณีตบรรจงเสด็จไปถวายแก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขพร้อมข้าราชบริพารทั้งหลายเมื่อถวายเสร็จแล้วพระเจ้าปัสเสนทิโกศลได้กราบทูลถามถึงผลอานิสงส์ของการสร้างหมากเบ็งบูชาแก่สมเด็จพระพุทธเจ้าและพระอริยสาวกจะมีอานิสงส์เป็นอย่างไร

                พระพุทธองค์ทรงตรัสพระธรรมเทศนาว่า “ ดูกรมหาบพิตรพระราชสมภารบุคคลใดมีใจศรัทธาใคร่จะทำหมากเบ็งกับข้าวพันก้อนถวายบูชาพระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ผู้นั้นเมื่อทำลายขันธ์ไปแล้วก็จะได้ไปเกิดในสวรรค์เสวยทิพย์สมบัติเป็นสุขสิ้นกาลช้านาน ดังกับหญิงผู้หนึ่ง ซึ่งได้ถวายหมากเบ็งบูชาพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้นทำกาลกิริยาตายไปก็บังเกิดในดาวดึงส์เทวสถานมีวิมานทองสูงสิบสองโยชน์มีนางฟ้าพันหนึ่งเป็นบริวารได้เสวย ทิพย์สมบัติ มากมายดังนี้แลดูกรมหาบพิตรอันบุคคลได้ให้หมากเบ็งบูชาพระรัตนตรัยมีผลมากนักเป็นสำดับชั้นตามขั้นหมากเบ็งคือว่าเมื่อตนได้ตายไปจากมนุษย์โลกนี้แล้วก็ไปอุบัติในบนสวรรค์ชั้นจตุมหาราช เมื่อจุติจากชั้นจาตุมหาราชแล้วก็ได้ไปอุบัติขึ้นในชั้นดาวดึงส์ จนถึงชั้นกามาพจรเป็นที่สุดตามบุญกุศลที่ตนได้กระทำไว้ได้เสวยสมบัติทิพย์มีวิมานอันงามวิจิตร และมีนางเทพกัญญาอัปสรแวดล้อมเป็นบริวารนานได้ ๙ ล้านปีในเมืองมนุษย์จะมีร่างกายผ่องใสปรารถนาสิ่งใดก็จะได้สมความปรารถนาทุกประการ”..........................                                                       http://www.84000.org/anisong/22.html

หมายเลขบันทึก: 307589เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2009 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

  • ยังไม่ทันได้ใส่ข้อความก็ไปกดบันทึกแล้ว ขออภัยครับ
  • สวัสดีครับคุณจอมใจ
  • เข้ามาอ่านบันทึก เก็บความรู้  และให้กำลังใจครับ
  • เดินหน้าต่อไปครับ

 

มาเก็บความรู้ค่ะ น่าสนใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นค่ะ

สวัสดีครับ มาร่วมเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณี และข้อคิดคติ จากขันหมากเบ็ง ครับ ขอบคุณครับ

ขอบคุณความรู้เรื่องขันหมากเบ็งครับ

สวัสดีค่ะ...แฟนตานุแฟน...(ขออนุญาตแต่งตั้งนะคะ) 

              ผู้ผ่านมาแวะยลและยาม

  •  P     
  •  P   
  •  P    
  •  P 

- หากผู้มีอำนาจ...นั่งเก้าอี้แต่ไม่มีวัฒนธรรมน่าเป็นห่วงอนาคตชาติไทยนะคะ

  • ลูกชาวนาทำนาไม่เป็น
  • ลูกชาวไร่ทำไร่ไม่ได้
  • ลูกหลานแม่ใหญ่ทำขันหมากเบ็งไม่เป็น

"เจ้าของที่นา ที่ไร่ ที่ดิน..." จึงถูกเปลี่ยนมือ.

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท