ประสบการณ์ KM ของจังหวัดนครพนม (1)


การทำงานต้องเป็นทีมเวอร์ค ทำงานคนเดียวก็ดีนะ แต่ทำงานคนเดียวมันเหงานะ ลองหาทีมเวร์คดูบ้าง พูดคุยกันบ้าง จะได้เข้าใจกัน ขัดแย้งกันบ้าง บางครั้งก็ต้องเป็นผู้ตามที่ดี ร่วมแรงร่วมใจกัน หนทางลำบากก็ไม่ย่อท้อ เพื่อหนทางข้างหน้าเราต้องก้าวไป

        เมื่อวันที่ 22-23 พ.ค.2549 กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อสรุปบทเรียน KM ครึ่งปีแรก ที่โรงแรมชากังราวริเวอร์วิว จังหวัดกำแพงเพชร สำหรับภาพรวมของกระบวนการสัมมนาทั้ง 2 วัน ติดตามได้ใน Blog  KM นักส่งเสริมการเกษตร ของคุณวีรยุทธ สมป่าสัก ค่ะ 

         ดิฉันขอเล่าขยายความเพิ่มเติมในส่วนของประเด็นเนื้อหาในแต่ละช่วง โดยขอเริ่มจาก ในช่วงของการเล่าเรื่อง ประสบการณ์การจัดการความรู้ ของจังหวัดนำร่อง ซึ่งมีตัวแทนจังหวัดนำร่องเป็นผู้เล่า 3 จังหวัดด้วยกัน ประกอบด้วย คุณสุทธิชัย ยุทธเกษมสันต์  เกษตรจังหวัด และคุณทวี มาศขาว จากจังหวัดนครพนม คุณประสาร เฉลิมศรี จากจังหวัดนครศรีธรรมราช คุณสายัณห์ ปิกวงศ์ และคุณวีรยุทธ สมป่าสัก จากจังหวัดกำแพงเพชร  ดำเนินรายการโดย   คุณมนตรี    วงศ์รักษ์พานิช  ผอ.กองวิจัยฯ ซึ่งเป็นประธานคณะทำงาน KM ของกรมส่งเสริมการเกษตร 

                         

        เริ่มจากจังหวัดนครพนม คุณสุทธิชัย ยุทธเกษมสันต์  เกษตรจังหวัดนครพนม ซึ่งท่านเป็น CKO ที่เป็นแบบอย่างของผู้บริหารที่ดีมาก จะเห็นว่าท่านให้ความสำคัญ สนใจ ใส่ใจเรียนรู้ นำไปปฏิบัติ และช่วยผลักดัน KM ของจังหวัดนครพนมมาอย่างต่อเนื่อง  ท่านได้เล่าว่า

  • การทำ KM ไม่มีถูก ไม่มีผิด ไม่มีใครดีที่สุด หรือแย่ที่สุด ทุกคนมีดี  แต่เราจะเอาความดีของแต่ละคนมาเจอกันได้อย่างไร 
  • จังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดนำร่องตั้งแต่รอบแรก ปีที่แล้ว ได้รับคำสั่งให้ไปเข้าสัมมนา KM ที่กรมฯ จัดที่โรงแรมมารวยฯ  ไม่รู้เรื่องเลย พอไปถึงเขาบอกว่ามีจังหวัดนำร่องอยู่ 6 จังหวัดแล้ว ขอเพิ่มอีก 3 จังหวัด และเลือกนครพนมเพิ่ม  ก็เลยอยู่ สัมมนาฯต่อ อีก 1 วัน เสร็จแล้วพอกลับจังหวัดนครพนม เจ้าหน้าที่บอก ผมฟังไม่รู้เรื่อง  ครั้งแรกก็อยากให้กรมฯ ไปบรรยายก่อน แต่ก็ลองพูดเอง 
  • ปีที่แล้ว KM ทำอย่างไร ทำระบบอย่างไร  ผลงานเป็นอย่างไร รู้สึกไม่กล้าให้ใครดู แต่ทำไปแล้ว เกิดระบบการทำงาน เราทำให้เกิดระบบการทำงาน
  • ปัญหาที่พบ คือ 1.งบประมาณมีจำกัด   ไม่มีงบประมาณเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เราต้องหาโอกาสให้คนของเรารู้จัก KM  ถ้ามีการประชุม ก็เอาเรื่อง KM เข้าชี้แจง ทำความเข้าใจเรื่อยๆ  2. งานมีมาก  3. เป็นงานใหม่   คนยังไม่เข้าใจ ไม่ยอมรับ
  • สิ่งที่ปฏิบัติ คือ 1. มีการมอบนโยบาย   เล่าให้ทุกคนฟัง  2. กำกับติดตาม  ถามเรื่อยๆ คุยเรื่อยๆ  3. มีการกำหนดเป้าหมาย  การประชุม DM แต่ละครั้ง  ต้องกำหนดให้มีการแลกเปลี่ยนอย่างน้อยกี่เรื่อง ให้จังหวัดรวบรวม  กลุ่มต่างๆในจังหวัดต้องจัดทำด้วย สั่งอย่างเดียวไม่ได้ 4. ใช้ระบบส่งเสริมเป็นเครื่องมือ  และ 5. กำหนดเป็นวาระร่วมโดยคณะกรรมการศูนย์ฯ
  • ต้องทำงานเป็นทีมเวอร์ค  ทำคนเดียวไม่ได้ มดตัวเล็กๆ ทำงานคนเดียวไม่ได้   บางครั้งทำงานคนเดียวก็ดีนะ แต่ทำงานคนเดียวมันเหงานะ ลองหาทีมเวร์คดูบ้าง พูดคุยกันบ้าง จะได้เข้าใจกัน ขัดแย้งกันบ้าง บางครั้งก็ต้องเป็นผู้ตามที่ดี ร่วมแรงร่วมใจกัน หนทางลำบากก็ไม่ย่อท้อ เพื่อหนทางข้างหน้าเราต้องก้าวไป 
  • ทำให้เป็นองค์กรเรียนรู้ เริ่มจากทีมงาน   1.ทำให้ทีมงานทราบว่าเป็นประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร  2. สร้างนิสัยเป็นนักวิเคราะห์   เหมือนคนเป็นหมอ ชอบคิดวิเคราะห์ มีญาติเป็นหมอ ปลูกต้นไม้เหี่ยว ก็มาถามว่าทำไมมันเหี่ยว ใส่ปุ๋ยอะไร ทำยังไงถึงโต  และ 3. สร้างนิสัยเป็นนักปฏิบัติ    ถ้าไม่ปฎิบัติ ทำอะไรเลื่อนลอย จะไม่แข็งแรง
  • ขั้นตอนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ 1.  หาผู้เชี่ยวชาญ   KM ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่เราจะจัดการอย่างไร ให้คนยอมรับ และจะพัฒนาอย่างไร ถ้าคุยเรื่องเงาะ จะต้องหาผู้เชี่ยวชาญในบ้าน นอกบ้าน 2.จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. ทดลองปฎิบัติ  และ 4. บันทึกความรู้
  • ท้ายสุดที่ฝากไว้คือ สิ่งที่ควรปฏิบัติในองค์กรจะต้อง  1.มีการรวบรวมคลังความรู้     เช่น  เทคนิคการถอดไข่อย่างไรให้ฟู และอร่อย จะต้องมีการเก็บความรู้นี้ว่าทำอย่างไร   2.การให้รางวัลทีมงาน   เมื่อตอนงานมหกรรม KM ได้มีโอกาสเข้าฟังหัอง KM ภาคเอกชน  ที่  7 Eleven  พนักงานที่คิดวิธีการจัดเรียงแผ่น CD อย่างไรให้สามารถค้นหาง่าย  โดยมีการตั้งทีมงานทำ ศึกษาพฤติกรรมคนแต่ละวัย แล้วทำสีว่าเพลงของคนแก่ควรใช้สีอะไร   คนหนุ่มสาวสีอะไร ทีมงานที่คิดระบบนี้สำเร็จ บริษัทมีการให้รางวัลไปเที่ยวฮ่องกง   ในอนาคตเราควรต้องมีแบบนี้บ้าง  คนเราต้องการการเชิดชู การให้เกียรติ..... 

                   ท่านเกษตรจังหวัดได้เล่าประสบการณ์การจัดทำ KM ของจังหวัดนครพนม จากการปฏิบัติจริง มาตั้งแต่ ปี 2548  ในมุมมองของผู้บริหาร หรือ CKO  เพียงเท่านี้  และได้มอบให้คุณทวี มาศขาว  ซึ่งเป็นคุณอำนวย ได้เล่าในรายละเอียดของการปฏิบัติการจัดการความรู้ ในปี 2549 ซึ่งดิฉันจะได้นำมาเสนอเพื่อการ ลปรร. ในตอนต่อไปค่ะ..... ( ตอนที่ 2)

หมายเลขบันทึก: 30739เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2006 20:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เล่าดีมีประโยชน์

ขอบคุณที่ให้กำลังใจค่ะ... แล้วเมื่อไรคุณเบิร์ด จะเขียนบันทึกดีๆ มาเล่าสู่กันฟังบ้างละค่ะ กำลังรอสมาชิกใหม่ชุมชนส่งเสริมการเกษตรอยู่ค่ะ.... 

จับประเด็น และถอดข้อมูลมาได้อย่างละเอียด ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท