ภาษาไทย เนื้อหาสาระที่ควรรู้ จากสถาบันภาษาไทย สพฐ.


           สวัสดีค่ะ บันทึกนี้เป็นสาระภาษาไทยที่คุณครูภาษาไทยควรรู้ 
ที่ครูภาทิพได้รับเนื้อหามาในรูปของซีดี  แต่ไม่สามารถนำเสนอในรูปแบบ
โปรแกรมเวิร์ดได้  เพราะอักษรและสัญลักษณ์บางตัวแสดงผิดเพี้ยน  จึงมี
ความจำเป็นต้องเสนอในรูปแบบภาพและไฟล์ PDF  หากคุณครูท่านใด
ต้องการนำไปจัดทำเอกสาร  หรือเลือกเฉพาะบางเนื้อหาก็สามารถดาวน์โหลด
ได้จากที่นี่ค่ะ  คลิก >>> ภาษาไทย สาระที่ควรรู้

  

 

คำนำ

 

          ปีงบประมาณ ๒๕๕๒ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย   ปี ๒๕๕๒ - ๒๕๕๕ โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญประการหนึ่งคือ เร่งรัดพัฒนายกระดับคุณภาพ             ครูภาษาไทย โดยมีเป้าหมายว่าภายในปี ๒๕๕๒  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะมีการประเมินความรู้ความสามารถครูภาษาไทย รวมทั้งจัดหลักสูตรต่างๆ เพื่อพัฒนาครูภาษาไทย 

          จากการดำเนินงานสำรวจข้อมูลพื้นฐานครูภาษาไทยทั่วประเทศ พบว่า มีครูผู้สอนภาษาไทยจำนวนมากที่ไม่ได้จบวิชาเอกหรือวิชาโทภาษาไทย โดยเฉพาะครูผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาและเมื่อวิเคราะห์ผลการทดสอบความรู้ของครูผู้สอนภาษาไทย พบว่า ครูผู้สอนยังขาดความรู้ซึ่งต้องใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยหลายด้าน ด้วยเหตุนี้สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา      โดยสถาบันภาษาไทย จึงได้สรุปเนื้อหาในสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่ครูควรทราบ โดยเนื้อหาบางส่วนได้รับความอนุเคราะห์ในการสนับสนุนข้อมูลจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต ๒            หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแก่ครูผู้สอน         ได้ในระดับหนึ่ง  

 

 

                                                         

(นางเบญจลักษณ์  น้ำฟ้า)

ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ คศ.๔  รักษาราชการแทน

ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

ความหมายของภาษา ลักษณะสำคัญของภาษาไทย

พยัญชนะไทย สระไทย วรรณยุกต์ไทย 

การแจกลูกและสะกดคำ 

แนวการจัดการเรียนการสอนการแจกลูกและสะกดคำ

การผันวรรณยุกต์

แนวการสอนการผันวรรณยุกต์ 

มาตราตัวสะกด และแนวการสอน

อักษรนำ  อักษรควบ 

คำพ้อง 

คำย่อและอักษรย่อ  เครื่องหมายในภาษาไทย 

การสร้างคำในภาษาไทย 

ประโยค 

การใช้พจนานุกรม 

การคัดลายมือและแนวการสอน

คำที่มักเขียนผิด 

บรรณานุกรม ผู้จัดทำ   

 

           

ที่มาของข้อมูล  สถาบันภาษาไทย ภาษาไทย  สาระที่ควรรู้ (สำเนา)

หมายเลขบันทึก: 306386เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2009 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (50)

ฉันเป็นครูภาษาไทย แต่ไม่จบเอกไทยมาเลย

ได้มาเจอสาระดีๆอย่างนี้ คงต้องขอนำไปใช้กับเด็กๆบ้าง

ขอบคุณ ที่นำสาระดีๆมาฝาก

สวัสดีค่ะครูนวลรัตน์  ชื่นชมครูนวลรัตน์ค่ะ  แม้ว่าจะไม่จบเอกไทย  แต่ก็พยายามที่จะเติมเต็มให้กับตัวเองเพื่อจะได้นำไปพัฒนาเด็กๆ  แวะมาเก็บเกี่ยวได้ตลอดเวลาค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครูภาทิพ  ต้องขอขอบพระคุณมากค่ะที่ได้นำเสนอสาระดี ๆ ให้กับเพื่อนครู  จะนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนานักเรียนอย่างเต็มความสามารถเลยค่ะ

สวัสดีค่ะครูเบญจนา  ด้วยความยินดียิ่งค่ะ  

ครูภาทิพครับผมชื่นชมท่านมากจริงๆผมไม่จบเอกไทยหรอกแต่สอนไทยช่วงชั้น 4 มาตลอดพยายามหาเนื้อหาใหม่ๆมาให้นักเรียนก็ได้จากงานของคุณครูมาบางส่วนขอบคุณมากที่เอื้อเฟื้อ ผมอยากได้เรื่องที่เกี่ยวข้องจากการฟังเป็นเรื่องยาวประมาณ 15-20บรรทัดแล้วตอบคำถามจากเรื่องครับพอจะหามาอนุเคราะห์ได้เปล่าครับ ขอบคุณมากๆครับ ท่าน

ครูไทยแต่ไม่จบเอกไทยครับ ( ครูกฤช จากศรีสะเกษครับ )

ดิฉันหาเนื้อหาหลักภาษาไทยของสถาบันภาษาไทยมานานแล้วคะ วันี้ถือว่าโชคดีมากที่ครูภาทิพได้นำมาฝาก ขอบคุณมากคะที่ช่วยเป็นอีกหนึ่งแรงส่งเสริม สนับสนุนการใช้ภาษาไทย อยากให้ครูนำเสนอสิ่งดีๆอย่างนี้ต่อไป ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้ครูภาทิพเป็นแม่พิมพ์ภาษาไทยที่ดีตลอดไปนะคะ

ขอบคุณมากค่ะที่นำเรื่องที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากค่ะสำหรับครูไทย สอนภาษาไทย แต่ไม่ได้จบเอกไทย

สวัสดีค่ะ  ครูกฤช  ครูกานต์และครูอี๊ด   หากครูภาทิพ ยังมีเรี่ยวแรงอยู่ก็จะพยายามนำเนื้อหาสาระต่างๆมานำเสนอเพื่อนครูต่อไปค่ะขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะ

สวัสดีค่ะ  ครูภาทิพ

หนูเป็นคนหนึ่งที่สอนภาษาไทยค่ะ แต่หนูจบเอกบัญชี  พอดีทางโรงเรียนให้หนูสอนเรื่องหลักภาษาไทย  แต่หนูยังไม่รู้เลยว่าจะเริ่มสอนอะไรก่อนค่ะ

รบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำด้วยค่ะ

ขอขอบพระคุณคุณครูภาทิพมากๆที่ให้แบบฝึกดีๆแก่ครูและนักเรียนได้เรียนรู้ขอบคุณมากบุญกุศลจะส่งผลให้คุณครูภาทิพมีพลานามัยที่แข็งแรงเป็นที่พึ่งของครูทั่วประเทศไทยค่ะ

ขอบคุณครูภาทิพค่ะ ได้อ่านเรื่องราวดีดีจากเวปของคุณครูอยู่บ่อย ๆ

อย่าลืมส่งข่าวทุกระยะนะคะ

สวัสดีค่ะ ครูภาษาไทยทุกท่าน  วันที่ 14 มีนาคม 2553 สอบประเมินครูภาษาไทยนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณครูภาทิพพึ่งเข้ามาทักทายเป็นครั้งแรกค่ะ  น้องใหม่สอนมาได้แค่ปีเดียวกลัวประเมินไม่ผ่านค่ะ  อยากทราบว่าหากไม่ผ่านจะมีผลกระทบอะไรกับตัวหนูบ้างไม่มั่นใจเลยค่ะ ช่วยไขข้อข้องใจหน่อยเถอะค่ะ

สวัสดีค่ะครูบ้านนอก ครูภาทิพ ก็บ้านนอก  และนอกบ้านด้วยค่ะ

  • เป้าหมายการประเมิน  เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา  เป็นภาระหน้าที่ขององค์กรระดับประเทศ
  • หากผลการประเมินต่ำ  ก็เป็นหน้าที่ขององค์กรระดับประเทศ และเขตพื้นที่การศึกษา ที่จะต้องจัดอบรมให้ความรู้แก่ครู
  • หากคะแนนสูง ก็ต้องไปต่อยอดความรู้เพื่อมาเป็นแม่ไก่ให้เพื่อนๆ
  • ความวิตกกังวล มีทุกคน  ครูภาทิพเองก็สอนแต่ ม.ต้นความจำก็ไม่ดี  ก็กังวลเช่นเดียวกัน  แต่ก็เข้าใจจุดประสงค์ของการดำเนินการ
  • สาเหตุของการประเมินก็มาจากผลการประเมินนักเรียน   เมื่อผลการประเมินความรู้เด็กต่ำ   ก็ลองมาประเมินครู   (ก็คงตั้งสมมุติฐานว่าสาเหตุมาจากครู)

ได้ติดตามข่าวการสอบมาตลอดค่ะ ก็สอนม.ต้นค่ะ แล้วเนื้อหาข้อสอบสอบตามประเด็นที่คุณครูภาพทิพแจ้งใช่ไหมค่ะ

ไหนๆก็ได้สอบPre-test มาแล้ว ค่ะแล้วข้อสอบประเมินสมรรถนะครูเป็นข้อสอบจำนวนกี่ข้อคะ100 ข้อหรือเปล่าคะ

จะได้เตรียมตัวไว้ โจทย์คำถามยาวเหมือน ข้อสอบ O-net หรือเปล่าเอ่ย มีข่าวอะไรกรุณาแ้จ้งด้วยนะคะ

เป็นครูมานานแต่สอนวิชาอื่น เรียนเอกไทยของ มสธ.เอาไว้นานแล้วแต่เพิ่งได้ใช้สอนปีนี้ กลัวสอบไม่ผ่านจัง พยายามอ่านทบทวนตำราตลอดแต่ที่สพท.พะเยาเขต ๒ จำได้ว่าเทอมที่แล้วก็มีสอบแบบนี้ไปครั้งหนึ่ง มี ๔๐ ข้อ เป็นพวกหลักภาษา สอบทั้งเขต ไม่ทราบว่าเป็นอันเดียวกันหรือไม่ ขอบคุณครูภาทิพที่หาเรื่องดีๆมาให้อ่านเสมอ

สวัสดีค่ะ  ครูอร และครูจิ๋ว(ครูภาทิพ  เอกไทย มสธ.รุ่นแรก ค่ะ)  

 ข้อสอบออกโดย คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ 

ประถม กับมัธยม ข้อสอบคนละชุดกัน

ช้อสอบที่เคยทราบเมื่อครั้งไปประชุมคือ ๑๐๐ ข้อ  แต่ตอนหลังไม่ทราบว่า

เป็นไปตามนั้นหรือเปล่า

     เนื้อหา   เมื่อออกโดยคณะครุศาสตร์   ก็คงไม่ออกเฉพาะเนื้อหาภาษาไทย

น่าจะรวมถึง  บทบาทหน้าที่ของครู  การวัดประเมินผล   จิตวิทยา   การใช้สื่อนวัตกรรมเบื้องต้น  และอาจจะมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวิจัยชั้นเรียนด้วย  ความคิดเห็นส่วนตัวของครูภาทิพค่ะ

ขอขอบคุณครูภาทิพสำหรับสิ่งดีๆที่มอบให้ค่ะ

ป้าเป็นครูสอนชั้น ป.1 มานานมาก เรียกว่าสอนตั้งแต่เริ่มเป็นครูปีแรก ความรู้ภาษาไทยระดับสูงก็ลืมไปหมดแล้ว แต่จะพยายามดู

หนังสืออยู่ทุกวัน ดูไปแล้วมันก็หลงๆลืมๆไปหมด กลัวทำข้อสอบไม่ได้ แต่ก็ทำจิตใจให้สบาย ได้คะแนนต่ำก็จะไปอบรมกับเขา

ด้วยความยินดีค่ะครูแอ๋ม

 

เป็นกำลังใจให้กับครูป้าที่สอน ป.๑ ค่ะ 

เราต่างกังวลด้วยกันทุกคนค่ะ  กรรมทำให้เด็กเครียดติดจรวดมาถึงเราแล้วค่ะ

ที่เด็กเครียดเราไม่ทราบว่าทำไมต้องเครียดตอนนี้ครูภาทิพ  ซึ้งแล้วค่ะ

 

ขอขอบคุณครูภาทิพมาก ที่ให้ข้อมูลดีๆแก่ครูไทยทุกคน

  สวัสดีค่ะ ครูโคราช  ไม่เป็นไรค่ะ  ตราบใดที่ครูภาทิพยังมีแรงใจ แรงกาย

โดยมิต้องกินแรงเยอร์  อิอิ  ก็จะมาเล่า มาบอก มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกๆท่านค่ะ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่มอบมาค่ะ

ขอบคุณ คุณครูภาทิพมากๆนะคะที่เผยแพร่ความรู้ในกลุ่มสาระภาษาไทยให้กับเพื่อนครูทั่วประเทศได้ศึกษา ขอชื่นชมในการทำดีของคุณครูค่ะ ขอให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานยิ่งๆขึ้นไปนะจ๊ะ

สวัสดีค่ะครูน้อง ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจค่ะ

แต่ความก้าวหน้าสำหรับครูภาทิพ คงจะไม่มีค่ะ เพราะครูภาทิพไม่ได้คิดทำผลงาน

ทางวิชาการแต่อย่างใด  ที่ทำตรงนี้ก็หวังจะให้เป็นวิทยาทานจริงๆ

 

ส่วนตำแหน่ง คศ. ๓ ที่ติดตัวอยู่  เป็นผลมาจากการทำผลงานทางวิชาการ

ที่ได้ รับการอนุมัติ เป็น อาจารย์ ๓ ระดับ ๖-๘ เมื่อปี ๓๘  ค่ะ

อ่านเว็บครูภาทิพทีไร จิตใจมันชุ่มชื่นว่ามีครูดีๆอยู่ทำให้เรามีกำลังใจในการสอนภาษาไทยต่อไป ขอให้ครูมีสุขภาพกาย ใจ แข็งแรงและนำสิ่งดีๆมาให้ครูไทยต่อไปนะคะ (นักเรียนไม่รักการอ่าน ให้อ่านนิดเดียวก็บ่น เราจะทำไงดีคะ)

        สวัสดีค่ะ ครูจิ๋ว ครูภาทิพเคยทักทายครูจิ๋วมาบ้างแล้วใช่มั้ยคะ ดีใจค่ะที่เข้ามาทักทายบ่อยๆ

        เด็กไม่รักการอ่าน  เริ่มจาก

        ๑. ให้อ่านสิ่งที่เด็กรัก   เนื้อหาที่อให้อยู่ในความสนใจ   เช่น ข่าวดารา  ข่าวกีฬา 

ให้เขาอ่านแล้ววิเคราะห์

        ๒. ใช้คะแนน เป็นตัวล่อ  สำหรับการเนื้อหาที่เป็นความรู้   ให้อ่านเป็นคู่สำหรับเด็กที่ชอบทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน   อ่านแล้วตั้งคำถาม ถามเองตอบเอง  ส่งคำถามคำตอบให้ครูตรวจ  แล้วให้เด็กมานำเสนอผ่านเว็บ ซึ่งปัจจุบันเด็กสามารถใช้ได้ทุกคน  ใครไม่มีก็ให้ฝากเพื่อนนำเสนอแทน  คลิกดูตัวอย่างค่ะ  >>  ผลงานนักเรียน

 

ได้อ่านเรื่องประโยค เห็นประโยคความรวมไม่สอดคล้องกับบรรทัดฐานภาษาไทย ควรยึดอย่างหนึ่งอย่างใดให้ชัดเจน สะดวกในการอ่านเตรียมไม่ต้องกังวลว่าจะใช้สำนักไหน

สวัสดีค่ะ ครูภาทิพได้เนื้อหานี้มาจาก คุณนิจสุดา  สถาบันภาษาไทย

ก็รีบนำมาให้คุณครูได้อ่านกัน  ส่วนครูภาทิพ  ยังไม่ได้อ่านทั้งใน บันทึกนี้และ

ในหนังสือบรรทัดฐาน (ครูภาทิพไม่มีหนังสือ) 

 

หากมีรายละเอียดในหนังสือ  หรือพบเห็นข้อแตกต่างช่วยเล่าสู่กันฟังเป็นวิทยาทานบ้างนะคะ 

ตัวอย่างในนี้

- ครั้นถูกครูดุแล้วเขาจึงตั้งใจเรียน

เป็นประโยครวม แต่ในบรรทัดฐานเป็นประโยคซ้อน

ครั้นถูกครูดุแล้วเขาจึงตั้งใจเรียน

แล้ว......จึง  เป็นความรวม

 

  ที่  ซึ่ง  อัน  จึงจะเป็นความซ้อน

 

ช่วยบอกหน่อยค่ะ ว่า บรรทัดฐาน  เล่มที่เท่าไร

ประโยคเดียว เป็นประโยคที่มีกริยาวลีเดียว หรือหลายกริยาวลี (แต่ต้องไม่มีตัวเชื่อมกริยาวลี)

ประโยครวม เป็นประโยคที่มีตัวเชื่อมสมภาค แต่ และ หรือ เชื่อมกริยาวลี ให้สองประโยคมีความหนักแน่นเท่ากัน ไม่ทำหน้าที่ขยายกันและกัน (เป็นอิสระแก่กัน)

ประโยคซ้อน เป็นประโยคที่มีตัวเชื่อมอนุประโยค ทำหน้าที่เชื่อมประโยคหลักกับประโยคย่อย

๑. ทำหน้าที่เป็นนาม (นามที่ทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค) ใช้ตัวเชื่อม ที่ ที่ว่า ว่า ให้ เช่น ที่ว่าจะสอบครูภาษาไทย เป็นเรื่องจริง ที่ว่า เป็นตัวเชื่อมอนุประโยค เพื่อแสดงความ(ทำหน้าที่)เป็นประธานของกริยา เป็นเรื่องจริง หรือที่เขาจะสอบครูเป็นเรื่องจริง

๒. ทำหน้าที่ประกอบนาม ใช้ตัวเชื่อม ที่ ซึ่ง อัน (ประพันธสรรพนาม) ตามหลังนามที่ขยาย เช่น คนที่เดินมาเป็นครูภาษาไทย จะเห็นว่าที่ตามหลังนาม (คน) ทันที

๓. ทำหน้าที่ประกอบกริยา หรือวิเศษณ์ จะใช้ตัวเชื่อมที่เหลือจากกล่าวข้างต้น (ตัวเชื่อมต้องตามหลังคำหรือกล่มคำ กริยาหรือวิเศษณ์เท่านั้น เช่น ครูพูดเสียงเบาจนฉันฟังไม่ได้ยิน เขานั่งอ่านเพื่อเพิ่มเติมความรู้

เล่ม ๓ ครับผม

หน้า ๙๑ ถึง ๑๐๖ ลองอ่านดูเพื่อยืนยันว่าผมเข้าใจไม่ผิด ชักหวั่นๆ เหมือนกัน

หน้า ๙๘ - ๑๐๗ จะชัดเจนที่สุดครับ

เป็นได้ว่า สาระควรรู้ออกมาก่อนหนังสือบรรทัดฐาน

 

เมื่อครั้งที่ พี่ที่กลุ่มสาระไปอบรมที่หาดใหญ่   วิทยากรก็แจ้งให้ทราบว่า

มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องประโยค   ม.ต้นให้ยึดตามบรรทัดฐาน

แต่ ม.ปลายให้ถือแบบเดิมไปก่อน

 

แต่วิทยากรไม่ได้อธิบายอะไรเพิ่มเติม เนื่องจากเวลาน้อยมาก

เล่ม ๓ ค่ะ หน้า ๙๘ - ๑๐๗ ค่ะ ใช่เลย !!!!

สวัสดีคะ ขอรบกวนหน่อยนะคะ พอดีตอนนี้หนูต้องสอนบูรณาการ หนูได้วิชาภาษาไทยคะ หัวข้อเรื่องคือ "หอยขม" ไม่รู้ว่าจะสอนอย่างไรให้เข้ากับหอยขม  เด็กนักเรียน ป.3 คะ ช่วยรบกวนตอบของหนูด้วยนะคะ  

บทบาทของครูภาษาไทยในการสอนบูรณาการเรื่องนี้ น่าจะอยู่ที่การเรียบเรียง  การลำดับความ  การเล่าค่ะ

วิชาอื่นๆ ครูเขาอาจจะสอนเรื่องการเพาะเลี้ยง  การเก็บ การจำหน่าย  การแกง  การเจริญเติบโต  แหล่งอาหาร การวาดภาพ

หน้าที่ครูภาษาไทย ให้นักเรียนเรียบเรียงเรื่องราวเหล่านั้น  หรือเขียนข้อความสั้น หรือเล่าเรื่อง  บรรยายภาพ ฯลฯ

เป็นเนื้อหาวิชาภาษาไทยที่ครบถ้วนมากๆค่ะ หนูเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้นำความรู้ไปใช้ในการสอบ O-net หลายอย่างเลยค่ะ แต่หนูขอเพิ่มเติมหน่อยนะคะ คือ หนูอยากให้มีเนื้อหาวิชาอื่นๆอีกค่ะ จะเป็นประโยชน์มากเลยนะคะ สุดท้าย ต้องขอขอบคุณคุณครูมากๆนะคะ ขอบคุณค่ะ ><

ดิฉันขอขอบพระคุณคณะผู้จัดทำเอกสารชุดนี้ค่ะ ดิฉันได้รับความรู้มากมายจากการอ่านเนื้อหาสาระภาษาไทยดีๆ ค่ะ ด้วยความเคารพอย่างสูง

เด็กชายปกป้อง สุพพัตกุล

ขอบคุณมากๆนะครับที่ทำขึ้นมา^-^

ขอบคุณมากค่ะที่นำเรื่องที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากค่ะสำหรับครูสอนภาษาไทย

เป็นประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณมากๆเลยนำไปสอนนักเรียนสะดวกและได้ความรู้ค่ะ

สวัสดีครับผมครูพรหมเศก ผมไม่ได้จบเอกภาษาไทยเหมือนกันครับ แต่ก็พยายามหาความรู้มาให้นักเรียนตลอดเวลา

ขอบคุณครูภาทิพมากๆครับที่นำเนื้อฟาดีๆมาแบ่งปันกัน

ขอบคูณมากสำหรับข้อมูลดีๆครับ


นางสาวอ้อย อาจศิริ

ขอบคุณคุณครูมากค่ะ ช่วยได้มากจริงๆค่ะสำหรับครูบ้านนอก


ขอบคุณนะคะ มีประโยชน์มาก ๆ เลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท